Solar Cell – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 12 Jul 2023 01:37:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองโอกาสตลาด ‘โซลาร์เซลล์ไทย’ ที่อาจมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้าน! https://positioningmag.com/1437465 Tue, 11 Jul 2023 09:15:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437465 ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการใช้ พลังงานสะอาด เช่นเดียวกันกับประเทศไทย ที่หลายคนเจอกับ ค่าไฟ แสนแพง ทำให้เริ่มตื่นตัวกับพลังงานจาก แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ หลายคนคงสงสัยแล้วตลาดโซลาร์เซลล์ของไทยนั้น ใหญ่ ขนาดไหน และมีโอกาสให้สอดแทรกอย่างไรได้บ้าง

มองสถานการณ์พลังงานสะอาดโลก

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) มองว่า ปีนี้กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นราว 1 ใน 3 เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคงทางพลังงาน และภาครัฐที่บังคับใช้นโยบาย โดย พลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลม จะเป็น ตัวขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้พลังงานสะอาดขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ กำลังผลิตพลังงานทดแทนทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 107 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยคาดว่าในปีหน้ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะแตะ 4,500 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งเทียบเท่ากับกำลังการผลิตไฟฟ้าของจีนและสหรัฐอเมริการวมกัน

นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า โซลาร์เซลล์ จะเพิ่มขึ้นราว 2 ใน 3 และคาดว่าจะยังมีการเติบโตต่อเนื่องในปี 2024 เนื่องจากราคาค่าไฟของโลกเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้ผู้คนเริ่มหันมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขณะที่ พลังงานลม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 70% ในปี 2023 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

โซลาร์เซลล์ไทยมีเพียง 3,000 เมกะวัตต์

สำหรับสถานการณ์ด้านพลังงานสะอาดของไทยนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ ประธานที่ปรึกษา สมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) ปัจจุบันไทยมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าใหม่กรอบปี 2018-2025 อยู่ที่ 20,343 เมกะวัตต์ เป็นส่วนแบ่งของ โซลาร์เซลล์ 3,000 เมกะวัตต์ มากสุดในกลุ่ม ตามด้วย กังหันลม 1,500 เมกะวัตต์

ส่วนกรอบปี 2018-2037 จะมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าใหม่ 56,431 เมกะวัตต์ เป็นส่วนแบ่งของพลังงานสะอาดรวมโซลาร์เซลล์และกังหันลม 18,833 เมกะวัตต์

“เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เฉลี่ยวัตต์ละ 80 บาท แต่ปัจจุบันเหลือ 10 บาทเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลที่แนวโน้มมีแต่จะสูงขึ้น ดังนั้น ต่อไปไม่มีทางจะหนีพ้นการใช้พลังงานสะอาด และไม่มีอะไรจะชนะพลังงานแสงอาทิตย์และลมได้”

โอกาสมากกว่า 60,000 ล้านบาท

ไววิทย์ อุทัยเฉลิม กรรมการบริหาร บริษัท ซันเดย์ โซลาร์ ซัพพลาย จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ครบวงจร กล่าวว่า หากนับเฉพาะแผนการผลิตพลังงานของไทย (Power Development Plan : PDP) ที่ต้องการผลิตพลังงานสะอาดให้ได้แตะ 20,000 เมกะวัตต์ คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท ดังนั้น ตลาดโซลาร์เซลล์ของไทยจะมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านแน่นอน

อย่างในส่วนภาค ครัวเรือน มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ติดโซลาร์เซลล์ อย่างเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีครัวเรือนกว่า 3 ล้านหลัง แต่มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่ ไม่ถึง 10% แต่ภายใน 3 ปีจากนี้ คาดว่าสัดส่วนจะเพิ่มเป็น 20% เพราะผู้บริโภคมีความตื่นตัวมาก หลังจากที่ค่าไฟสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงนโยบายจากทางภาครัฐก็มีการสนับสนุน และธนาคารก็มีการให้กู้เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ด้วย

“ตอนนี้เดเวลอปเปอร์ก็หันมาติดโซลาร์เซลล์ในโครงการกันหมด มีโปรโมชันใช้ไฟฟรีเพื่อดึงดูดลูกค้า และต่อไปการติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็จะเหมือนมือถือ ที่มีราคาถูงลงเรื่อย ๆ ดังนั้นตลาดยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก”

ผนึกทงเวย โซลาร์ เบอร์ 1 ของโลก

สำหรับ ซันเดย์ โซลาร์ ล่าสุดได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในไทยแต่เพียงรายเดียวของ ทงเวย โซลาร์ แบรนด์ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaic: PV) ชนิดผลึกซิลิคอนรายใหญ่ที่สุดในโลกสัญชาติจีน ปัจจุบัน ทงเวย เป็นหนึ่งในบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศจีน โดยในปี 2022 มีผลประกอบการรวมประมาณ 783,241 ล้านบาท

ทงเวย มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ 6 แห่งในประเทศจีน ได้แก่ เหอเฟย, ซวงหลิว, เหม่ยซาน, จินถัง, เหยียนเฉิง, หนานทง และที่โครงการทงเหอ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์แผงโซลาร์เซลล์ (modules) ไปยัง 48 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีเหมืองซิลิคอนที่สามารถซัพพลายผนึกซิลิคอนให้กับบริษัทผู้ผลิต PV ชั้นนำ อาทิ Jinko, JA, Cannadian, LONGI, Trina, เป็นต้น

ปัจจุบัน ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ครบวงจรในไทยมีประมาณ 15-20 บริษัท เฉพาะบริษัทที่มีพาร์ตเนอร์เป็นบริษัทใหญ่แบบทงเวยมีไม่ถึง 5 บริษัท ดังนั้น การแข่งขันจึงไม่ได้สูง โดย ซันเดย์ โซลาร์ จะจับลูกค้าองค์กรเป็นหลัก เช่น กลุ่มผู้รับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ลูกค้าธุรกิจ ผู้ประกอบกิจการ โรงงาน สถานประกอบการ และโครงการอสังหาริมทรัพย์

โดยในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้ 2,000 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ตั้งเป้า 3 ปี มีรายได้รวม 5,000 ล้านบาท และภายใน 5 ปีตั้งเป้าโกยรายได้ 10,000 ล้านบาท โดยบริษัทมีแผนจะรุกตลาดอีวีด้วย อาทิ หัวชาร์จอีวีชาร์จเจอร์ แบตเตอรี่สำหรับรถและโรงงานไฟฟ้า

“เราจะทำหมดเดี่ยวกับพลังงานสะอาด อย่างตลาดอีวีเราก็จะไปแน่แต่ไม่ได้ไปทำสถานีชาร์จ แต่จะนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์แทน”

]]>
1437465
ส่องบทบาท VISTEC มหาวิทยาลัยแนวหน้าแห่งวงการนวัตกรรมไทย ส่งนักวิทย์คว้ารางวัลระดับประเทศ https://positioningmag.com/1356107 Tue, 12 Oct 2021 10:00:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356107

6 ปีหลัง “สถาบันวิทยสิริเมธี” หรือ VISTEC ก่อตั้งขึ้น จากการมุ่งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าของไทยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม วันนี้ผลงานของสถาบันฯ ผลิดอกออกผล “ศ.ดร.วินิช พรมอารักษ์” บุคลากรของสถาบันได้ “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2564” ด้วยผลงานการคิดค้นเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน (New Solar Cell and Innovative Lighting Technology for Renewable Energy Transformation) โดยสถาบันฯ ยังมีผลงานวิจัยอีกมากที่จะพลิกวงการวิทยาศาสตร์ไทย เช่น แบตเตอรีลิเธียมไอออน หุ่นยนต์ เศรษฐกิจหมุนเวียนจากขยะอินทรีย์

คำกล่าวที่ว่า “ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยน้อยเกินไป” ไม่ใช่คำกล่าวเกินจริงเลย วัดได้จากข้อมูลของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) พบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่ทำวิจัยเทียบเท่าเต็มเวลาอยู่เพียง 20 คนต่อประชากร 10,000 คน และถ้าคิดสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยต่อจีดีพีประเทศ จะคิดเป็นเพียง 1.11% เท่านั้น

จากความขาดแคลนนักวิจัยดังนี้ กลุ่ม ปตท. และผู้ร่วมสนับสนุน จึงจัดตั้ง “สถาบันวิทยสิริเมธี” หรือ VISTEC ขึ้นเมื่อปี 2558 ตั้งอยู่ในวังจันทร์ วัลเลย์ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) จ.ระยอง เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนเฉพาะระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และสนับสนุนนักวิจัยเป็นรายโครงการ เรียกได้ว่าพุ่งเป้าไปที่การศึกษาขั้นสูงและการวิจัย ตรงจุดความต้องการของประเทศ


สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่กำลังหาสถานที่เรียนต่อหรือทำวิจัย VISTEC จึงเป็นหนึ่งสถาบันการศึกษาที่น่าสนใจ ที่นี่จะมี 4 สาขาวิชาให้เลือก คือ 1) สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล (School of Molecular Science and Engineering: MSE) 2) สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน (School of Energy Science and Engineering: ESE) 3) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล (School of Biomolecular Science and Engineering: BSE) และ 4) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (School of Information Science and Technology: IST) ซึ่งตามการคาดการณ์ของ OECD Megatrends ความรู้ทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ไบโอเทค วัสดุขั้นสูง และดิจิทัล จะเป็นวิทยาการสำคัญของโลก!


ตัวอย่างการวิจัยภายในสาขาต่างๆ ที่เปิดสอน

เป้าหมายระยะยาวของ VISTEC ต้องการเป็นผู้นำการสร้างองค์ความรู้และนักวิทยาศาสตร์นักวิจัยรุ่นใหม่ในด้านต่างๆ ให้กับประเทศ มีความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำของไทย ทำให้งานของนักวิจัยจะถูกนำไปใช้กับภาคอุตสาหกรรมจริง เกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาไปสู่การเป็นประเทศผู้พัฒนานวัตกรรมได้

ผลงานด้านวิชาการของ VISTEC ยังได้รับการยอมรับ โดย Nature Index เมื่อปี 2563 จัดอันดับให้สถาบันวิทยสิริเมธีเป็นอันดับ 1 ของไทยและอันดับ 3 ของอาเซียนในด้านสาขาเคมี เป็นอันดับ 2 ของไทยในภาพรวมทุกสาขาวิชา ปัจจุบัน พฤษภาคม 2564 เป็นอันดับหนึ่งของไทยในทุกสาขาวิชา และถือเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 12 ของโลกในหมวดมหาวิทยาลัยที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

ล่าสุด อีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า VISTEC ได้สนับสนุนสร้างผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ คือการที่คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประกาศให้ “ศ.ดร. วินิช พรมอารักษ์” นักวิจัยวัสดุนาโน สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล (School of Molecular Science and Engineering) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ผู้คิดค้น “เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน” (New Solar Cell and Innovative Lighting Technology for Renewable Energy Transformation) ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2564 และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 400,000 บาท


“ศ.ดร. วินิช พรมอารักษ์” นักวิจัยวัสดุนาโนสำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

ศ.ดร.วินิช อธิบายว่า “เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน” เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัสดุกึ่งตัวนำอินทรีย์แบบใหม่ วัสดุกึ่งตัวนำอินทรีย์นี้เป็นสารประกอบของคาร์บอน นำมาออกแบบใหม่ในระดับโมเลกุลให้มีคุณสมบัติเปล่งแสงได้ดี ดูดกลืนแสงได้ดี หรือนำไฟฟ้าได้ดี เป้าหมายคือนำมาใช้แทนวัสดุกึ่งตัวนำซิลิคอนที่ใช้กันในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมวัสดุใหม่ที่นำไปใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หน้าจอ OLED, เซลล์แสงอาทิตย์, วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ยืดหยุ่นพับงอได้ (แบบที่ใช้ในหน้าจอสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ) การวิจัยครั้งนี้ต้องใช้ความรู้ทั้งด้านเคมี วัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์


ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เยี่ยมชมบูธนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น

งานวิจัยของ ศ.ดร.วินิช ไม่ใช่หัวข้อเดียวที่เกิดขึ้นในสถาบันวิทยสิริเมธี ทั้งนักศึกษาและนักวิจัยใน VISTEC ต่างเลือกหัวข้อวิจัยที่จะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ยกตัวอย่างหัวข้องานวิจัยปี 2564 ด้านพลังงานมีการวิจัยเรื่อง “เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไฟฟ้า” พัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออนให้เก็บพลังงานได้มากขึ้น อายุใช้งานนานขึ้น ซึ่งสำคัญมากในยุคนี้ที่ความต้องการใช้แบตเตอรีเติบโตสูง หรือด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ มีการวิจัย “ระบบอัจฉริยะของโครงกระดูกรยางค์ล่างภายนอก” สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวตัวช่วงล่าง

ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมก็น่าสนใจเช่นกัน เพราะมี “โครงการขยะเพิ่มทรัพย์ C-ROS” เข้าเทรนด์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นงานวิจัยที่รวมความรู้แบบสหวิทยาการ ต้องการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ไบโอเทคได้แบบมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าทำสำเร็จ ประเทศไทยเราก็จะเป็น “สังคมไร้ขยะ” ได้จริง

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับดิจิทัล หุ่นยนต์ ไบโอเทค ฯลฯ คือความหวังการสร้างเศรษฐกิจ “New S-Curve” ในประเทศไทย และนักศึกษา-นักวิจัยใน VISTEC ทั้งที่จบการศึกษาแล้วหลายรุ่น รวมถึงที่ยังศึกษาอยู่กว่า 300 คนขณะนี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวงการนวัตกรรมแห่งอนาคต!

]]>
1356107