Start-up – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 26 Sep 2022 08:47:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “แสนรู้” ร่วมเป็นพันธมิตร “หัวเว่ย คลาวด์” สร้างความแกร่ง-เสริมโอกาสการค้าให้บริการ DataTech https://positioningmag.com/1308420 Thu, 03 Dec 2020 04:00:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308420
“แสนรู้” (Zanroo) จับมือกับ “หัวเว่ย” (Huawei) ผ่านเครือข่ายพันธมิตรหัวเว่ยคลาวด์ (HCPN) ผนึกกำลังเทคโนโลยีวิเคราะห์ดาต้าขั้นสูงของแสนรู้ เข้ากับแพลตฟอร์ม Big Data ระดับโลกของหัวเว่ย ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยี ทำให้การทำ Digital Transformation ให้กับลูกค้าคล่องตัวขึ้น และยังเป็นการเปิดให้แสนรู้เข้าถึงโอกาสทางการค้า นอกจากนี้ แสนรู้ยังได้เป็นแขกพิเศษเพื่อแบ่งปันข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัลในกิจกรรม Cloud Diary ของหัวเว่ยอีกด้วย

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 บริษัท อินเตอร์เน็ต เบส บิซิเนส กรุ๊ป จำกัด (บริษัท แสนรู้ จำกัด) ร่วมกับ หัวเว่ยคลาวด์ ประเทศไทย สร้างความร่วมมือโดยการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการเข้าร่วม “เครือข่ายพันธมิตรหัวเว่ยคลาวด์ (HUAWEI CLOUD Partner Network – HCPN)”

การลงนามครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อผนึกกำลังของเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงของแสนรู้ เข้ากับแพลตฟอร์ม Big Data ของหัวเว่ย เพื่อมอบประสบการณ์การตลาดดิจิทัลที่ดีที่สุดบนระบบคลาวด์ให้แก่องค์กรในประเทศไทย ตั้งแต่กลุ่มสตาร์ทอัพและอีคอมเมิร์ซ ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่

สำหรับแสนรู้ เป็นสตาร์ทอัพที่เริ่มต้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีการตลาด (MarTech) เช่น เครื่องมือ Social Listening ที่จะทำให้นักการตลาดเข้าใจกลุ่มเป้าหมายบนโซเชียลมีเดียได้ลึกยิ่งขึ้น จนมีการขยายไปพัฒนา เทคโนโลยีข้อมูล (Data Tech) เช่น การเก็บข้อมูลของผู้ซื้อให้เป็นระบบเพื่อง่ายต่อการเข้าถึง

หลังขยายขอบข่ายการทำธุรกิจ แสนรู้มีบริการสร้างโซลูชันสำหรับ Digital Transformation ในองค์กรของลูกค้า สามารถรวบรวมข้อมูลในองค์กรให้เป็นระบบเดียวกันแบบ Big Data เพื่อให้มองเห็นมุมมองจากทุกแผนกในจุดเดียว และนำไปใช้วิเคราะห์ได้ง่ายกว่าเดิม

ดังนั้น ความท้าทายสำหรับผู้พัฒนาโซลูชันอย่างแสนรู้ คือการเฟ้นหาโครงสร้างพื้นฐานแพลตฟอร์ม Big Data ที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่น ซึ่งหัวเว่ยคลาวด์ได้เข้ามาตอบโจทย์ในจุดนี้

“การบูรณาการระบบเดิมเข้ากับแพลตฟอร์ม Big Data การโต้ตอบระหว่างหลากหลายแพลตฟอร์มที่มีอยู่ เช่น CRM, OCR, ระบบโฆษณาอัตโนมัติและอื่นๆ รวมทั้งการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่นับไม่ถ้วนให้มีประสิทธิภาพ นับเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับการใช้เทคโนโลยี Big Data ประสบการณ์ของลูกค้าและความเชี่ยวชาญในข้อมูลของนักวิเคราะห์จะขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ระบบบริหารแบบเรียลไทม์ และการจัดการลูกค้ารวมศูนย์ เทคโนโลยีการนำข้อมูลแบบใช้ได้ทันทีหลังติดตั้ง โซลูชันที่สามารถสร้างมุมมองแบบองค์รวมของลูกค้า คือสิ่งที่แบรนด์ต่างๆ ต้องการอย่างแท้จริง” เจย์ ชอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แสนรู้ จำกัด กล่าว

 

ด้าน อุดมศักดิ์ ดอนขำไพร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของแสนรู้ กล่าวเสริมว่า บริการของหัวเว่ยคลาวด์ช่วยให้แสนรู้มีความยืดหยุ่นในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยสร้างโอกาสทางการค้าให้เพิ่มขึ้น เพราะหัวเว่ยคลาวด์ช่วยให้โซลูชันของแสนรู้สามารถปรับเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น

“แพลตฟอร์ม DataTech ใหม่ล่าสุดของแสนรู้ ซึ่งประกอบด้วย โมดูลทรงประสิทธิภาพต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ทางสังคม ศูนย์ติดต่ออัจฉริยะ ฮับวิเคราะห์ข้อมูล บริการวิจัยและความเชี่ยวชาญ O2O จะผสานรวมเข้ากับหัวเว่ยคลาวด์ในการจัดให้มี APIs แบบเปิดเพื่อช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ใช้ AI/ML ในการเปิดใช้การสื่อสารแบบ M2M (ระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร) ได้เหมาะสมที่สุด” อุดมศักดิ์กล่าว

ส่วนโปรแกรม “เครือข่ายพันธมิตรหัวเว่ยคลาวด์ (HUAWEI CLOUD Partner Network – HCPN)” นั้นเป็นโปรแกรมระดับโลกของหัวเว่ย มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนด้านธุรกิจ เทคนิค และการตลาด ให้กับพันธมิตรแต่ละราย โดยมองว่าผู้ที่เข้ามาเป็น HCPN นั้นคือพันธมิตรที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า

โรเบ็น หวาง ประธานกลุ่มธุรกิจคลาวด์และ AI หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงแสนรู้ว่า แพลตฟอร์ม Data Tech ของแสนรู้มีความเข้าใจเชิงลึกด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่บนสังคมออนไลน์ และเมื่อเกิดความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้หัวเว่ยและแสนรู้ได้ร่วมมือกันพัฒนาโซลูชันที่ปรับแต่งให้เข้ากับบริบทไทยโดยเฉพาะ ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหัวเว่ยคลาวด์ที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับท้องถิ่น (Localization)

“เราจะร่วมมือและดำเนินการทดลองทางเทคนิคสำหรับแพลตฟอร์ม Big Data ขององค์กร รวมถึงการวิจัยและพัฒนาของแพลตฟอร์มบริการแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาโซลูชันแหล่งเก็บข้อมูล (Data Lake) อัจฉริยะ” หวางกล่าว

ความร่วมมือที่จะสนับสนุน HCPN ทำให้หัวเว่ยเชิญทั้ง เจย์ ชอง ซีอีโอ และ อุดมศักดิ์ ดอนขำไพร ซีทีโอ แห่งบริษัท แสนรู้ จำกัด มาเป็นแขกผู้มีเกียรติในการจัดกิจกรรม Cloud Diary ของหัวเว่ย โดยเป็นกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ภาษาไทย เพื่อแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยนำไปสู่ Digital Transformation

ทั้งคู่ได้แบ่งปันข้อมูลจากแสนรู้ไปแล้วเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ส่วนหนึ่งของข้อมูลที่นำเสนอใน Cloud Diary มาจากเวทีสัมมนาครั้งใหญ่ในงาน POWERING DIGITAL THAILAND 2021: HUAWEI CLOUD & CONNECT ซึ่งเพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ณ เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ทำให้เห็นว่า หัวเว่ยและแสนรู้มีความร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้น

ผู้ที่สนใจข้อมูลจากแสนรู้ในหัวข้อ “Zanroo x HUAWEI CLOUD Unleashed The Power of Data” สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่นี่ >> https://fb.watch/1-8Mhydpd9/ และอย่าลืมกดติดตามหน้าเพจเฟซบุ๊ก @HuaweiCloudTH เพื่อไม่พลาดกิจกรรม Cloud Diary ตอนต่อๆ ไป และรับข้อมูลดีๆ จากหัวเว่ยเกี่ยวกับโลกเทคโนโลยี

ส่วนผู้ที่สนใจรับชมข้อมูลอัดแน่นด้านดิจิทัลจากเวที POWERING DIGITAL THAILAND 2021: HUAWEI CLOUD & CONNECT รับชมย้อนหลังได้ที่ >> https://fb.watch/23r5uBOzpU/

]]>
1308420
คนเดียวก็ไลฟ์ขายของได้! รู้จักระบบ “Fillgoods” ตัวช่วยแม่ค้าออนไลน์ที่ให้ “ใช้ฟรี” ตลอดชีพ https://positioningmag.com/1307523 Mon, 30 Nov 2020 04:00:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307523

“ไลฟ์ขายของ” เป็นหนึ่งในนวัตกรรมการขายของออนไลน์ที่ลูกค้าไทยนิยมมาก แต่ปัญหาของการไลฟ์ขายของคือถ้าไม่มีผู้ช่วยคอยจดออร์เดอร์ การมาตามเก็บข้อความแจ้ง ‘CF’ ทีหลังนั้นมีโอกาสตกหล่นสูง และต้องใช้เวลามาก แต่ปัญหาเหล่านี้กำลังจะหมดไปเมื่อสตาร์ทอัพไทย “Fillgoods” คิดค้นระบบอัตโนมัติมาเป็นตัวช่วยจัดระเบียบคำสั่งซื้อ ทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มีแค่คนเดียวก็ขายได้ ที่สำคัญคือ “ใช้ฟรี” ตลอดชีพ!

เวลานี้ถ้าหากร้านค้าออนไลน์ร้านไหนยังไม่เคยไลฟ์ขายของน่าจะตกขบวนพฤติกรรมลูกค้าไปแล้ว แต่การไลฟ์ขายของก็ไม่ใช่ง่าย เพราะกระบวนการทำงานจะต่างจากการขายบนมาร์เก็ตเพลซหรือโซเชียลคอมเมิร์ซปกติ เมื่อพ่อค้าแม่ค้ากำลังไลฟ์ขายของ ถ้าไม่มีผู้ช่วยคอยตอบข้อความลูกค้าทันที อาจจะต้องรอจนจบไลฟ์จึงค่อยเลื่อนดูตรวจสอบข้อความ CF สินค้าที่ส่งเข้ามา และตอบข้อความทาง inbox ลูกค้ากลับไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทำให้การทำงานเสียเวลามาก ยิ่งถ้ามีลูกค้าล้นทะลักยิ่งยากที่จะเก็บครบทุกข้อความ เสียโอกาสการขายไปอย่างง่ายดาย

ด้วยความนิยมที่มาพร้อมกับปัญหาการทำงาน ทำใหFillgoods พัฒนาระบบอัตโนมัติขึ้นมาแก้โจทย์ให้พ่อค้าแม่ค้า โดยเป็นฟีเจอร์ใหม่คือ “ระบบจัดการ Facebook Live” ที่สามารถส่งข้อความอัตโนมัติให้ลูกค้าที่สั่งออร์เดอร์เข้ามา เพื่อปิดการขายแจ้งยอดชำระเงินและรับที่อยู่จัดส่ง เมื่อผู้ขายไลฟ์จบ สามารถเช็กการชำระเงินของลูกค้าแล้วเริ่มแพ็กสินค้าจัดส่งได้ทันที ไม่เสียเวลา


วิธีการทำงานของระบบ Facebook Live จาก Fillgoods

  1. เชื่อมระบบ Fillgoods เข้ากับ Facebook Live
  2. ตั้งโค้ดสินค้าที่จะขาย เช่น ‘CF เสื้อ 01’ ตั้งค่าบัญชีที่ให้โอนเพื่อชำระเงิน และตั้งค่าค่าจัดส่งที่จะเรียกเก็บจากลูกค้า
  3. เมื่อลูกค้าพิมพ์ว่า ‘CF เสื้อ 01’ ในช่องแชทระหว่างการไลฟ์ ระบบจะดูดคอมเมนต์ได้แม่นยำ 100% ส่งข้อความและส่งสรุปออเดอร์หาหาลูกค้าอัตโนมัติเพื่อยืนยันการชำระเงินและขอที่อยู่จัดส่ง
  4. ข้อมูลลูกค้าจะถูกสรุปเข้ามาในระบบ Fillgoods เพื่อจัดการต่อได้ง่าย โดยแบ่งลูกค้าเป็นลำดับตั้งแต่ รอลูกค้ายืนยัน > ตรวจสอบข้อมูล > ยืนยันแล้ว จะเห็นได้ว่าการจัดการคำสั่งซื้อจากการไลฟ์เป็นระบบขึ้นมาก
  5. มีระบบเสียงเตือนเจ้าของร้านว่าสินค้าตัวไหนนั้นได้หมด stock
  6. สามารถทำการสร้างหรือแก้ไขสินค้าได้ระหว่าง LIVE  ทำให้การขายไม่สะดุด เมื่อมีของชิ้นใหม่ที่อยากจะขาย หรือมีการจะจัดโปรโมชั่นใหม่ระหว่าง LIVE
  7. คิดคำนวนค่าขนส่งในที่อยู่ห่างไกลและคำนวนคิดค่าขนส่งเพิ่มในแต่ละออเดอร์
  8. สามารถทวงยอดจากลูกค้าได้โดยอัตโนมัติ
  9. มีระบบตัดรอบสินค้า และนำออเดอร์ที่ชำระแล้วมาเตรียมแพ็คสินค้า
  10. สามารถตั้งราคาโปรโมชั่นค่าขนส่งในแบบที่ต้องการได้ เช่น “ชิ้นแรก ค่าส่ง 50 บาท CF ต่อไป เพิ่มชิ้นละ 10 บาท, สั่งครบ 10 ชิ้น เหมา 80 บาท”

โดยฟีเจอร์ Facebook Live จะเริ่มเปิดให้ใช้จริงช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 หลังจากนั้น Fillgoods ได้เร่งพัฒนาระบบเซ็นเซอร์การตรวจจับข้อความระหว่างไลฟ์ให้แม่นยำจนพร้อมสมบูรณ์ และปรับหน้า User Interface (UI) ให้สวยงาม ใช้งานง่ายยิ่งขึ้น

Fillgoods ช่วยดูแลการขายออนไลน์ได้ทั้งระบบ

ฟีเจอร์ Facebook Live เป็นเพียงฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดอย่างหนึ่งของ Fillgoods เท่านั้น แต่ระบบของ Fillgoods ทั้งหมดคือการดูแลการขายให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อย่างครบวงจร

วิธีทำงานของแม่ค้าออนไลน์อาจจะเริ่มจากจดออร์เดอร์ใส่กระดาษ เมื่อร้านเริ่มติดตลาดก็เริ่มปรับมาเป็นการทำตาราง Excel แต่เมื่อสินค้าที่ขายมีหลาย SKUs มากขึ้น ลูกค้ามีเยอะขึ้น และแต่ละรายก็มีเงื่อนไขต่างกัน มีทั้งแบบโอนเงินทันทีและ COD (เก็บเงินปลายทาง) มีการเลือกบริษัทขนส่งต่างกัน มีสินค้าที่ถูกตีกลับ เมื่อทุกอย่างเริ่มซับซ้อน การทำตาราง Excel เพื่อจัดการทั้งคำสั่งซื้อ ติดตามการชำระเงิน การแพ็กของไปจุดขนส่ง และตัดสต็อกสินค้าให้ถูกต้อง ก็เริ่มจะไม่ถูกต้องและผิดพลาดสูงขึ้น

ปัญหาเหล่านี้ Fillgoods มีการพัฒนาโซลูชันมาแก้ได้ทั้งหมด เพราะเป็นระบบที่จัดการให้ตั้งแต่ลงสต็อกและตัดสต็อกสินค้า สร้างออร์เดอร์ขึ้นมาพร้อมเลขแทร็กกิ้ง เมื่อลูกค้ายืนยันคำสั่งซื้อแล้วสามารถปรินท์ใบปะหน้าสำเร็จรูปพร้อมนำไปแพ็กของทันที ด้วยระบบพื้นฐานเหล่านี้ ทำให้เมื่อเปิดฟีเจอร์ Facebook Live จึงเชื่อมต่อเข้ากับระบบเดิมที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อยืนยันออร์เดอร์เรียบร้อย พร้อมใบปะหน้าแพ็กของเสร็จ ไฮไลต์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ระบบ Fillgoods ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทขนส่งทั้งหมด 5 บริษัท ได้แก่ SCG Express, Flash Express, Bee Express, Ninja Van และ J&T Express ทำให้ผู้ขายที่ใช้ระบบนี้สามารถเรียกรถจากขนส่งที่ต้องการเข้าไปรับสินค้าได้ถึงที่ร้าน ไม่ต้องวุ่นวายกับการขนสินค้าขึ้นรถส่วนตัวเพื่อไปส่งที่จุดส่งพัสดุด้วยตนเอง รวมถึงสามารถเชื่อมต่อกับผู้ขนส่งเพื่อเช็กการจัดส่งแบบ COD ว่าได้รับชำระเงินเรียบร้อยถูกต้องหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้น Fillgoods ยังเปิดให้ “ใช้ฟรี” ตลอดชีพทุกฟีเจอร์ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นยกเว้นค่าขนส่งกับบริษัทโลจิสติกส์ที่เลือก ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่พ่อค้าแม่ค้าต้องชำระอยู่แล้ว โดยบริษัทมองว่าในตลาดธุรกิจระบบการขายอัตโนมัติในไทย Fillgoods น่าจะเป็นเจ้าเดียวที่เปิดให้ใช้ฟรีตลอดการใช้งาน

สตาร์ทอัพไทยที่ต้องการแก้ปัญหาให้คนขายของออนไลน์

เบื้องหลังระบบ Fillgoods นั้นเกิดจากฝีมือสตาร์ทอัพไทยดาวรุ่ง บริษัท ฟิลกู้ด เทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 โดย “อดิศร แสนศิริพันธุ์” ซึ่งมีตำแหน่งซีอีโอบริษัทอยู่ในขณะนี้ เคยสัมผัสกับปัญหาการขายของออนไลน์โดยเฉพาะโซเชียลคอมเมิร์ซมาก่อน เพราะเป็นผู้ช่วยพี่สาวขายสินค้าออนไลน์ ทำให้มีไอเดียต้องการแก้ปัญหาเหล่านี้เพื่อช่วยให้ SMEs มีโอกาสเติบโตได้ง่ายขึ้น และไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงเพื่อลงระบบการขาย

หลังเปิดตัวมา 2 ปี ปีนี้รายได้ของ Fillgoods พุ่งขึ้นจากปี 2562 ถึง 529% การเติบโตที่สูงมาจากลูกค้าที่ไว้วางใจไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ เช่น เวชสำอางสมูธอี, สีทีโอเอ เป็นต้น และในฝั่งการลงทุนพัฒนา Fillgoods ก็เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกับ True Incube ฮับบ่มเพาะสตาร์ทอัพในเครือของทรู คอร์ปอเรชั่น

ส่วนรายได้ที่เติบโตของ Fillgoods มาจากไหน ทั้งที่เปิดให้ลูกค้าใช้ฟรี คำตอบคือ “ค่าขนส่ง” ที่ลูกค้าชำระผ่านระบบ Fillgoods นั้น บริษัทจะได้รับส่วนแบ่งจากบริษัทโลจิสติกส์ เพราะถือเป็นความร่วมมือที่บริษัทสามารถรวบรวมลูกค้าให้กับโลจิสติกส์ได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าบริษัทจะโตเร็ว แต่ส่วนที่บริษัทไม่เคยละเลยคือ Customer Support ซึ่งรับประกันว่าเมื่อลูกค้ามีปัญหาติดต่อเข้ามา พร้อมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสอนการใช้งานระบบถึงที่แบบไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะลูกค้าทุกรายจะมีทีมบริการลูกค้า 1 คนที่รับผิดชอบลูกค้ารายนั้นๆ โดยเฉพาะ ตามจุดมุ่งหมายของบริษัทที่ต้องการเป็นระบบซึ่งช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าเติบโตทางธุรกิจได้เร็วขึ้น ใหญ่ขึ้น และแข็งแรง

สนใจระบบ Fillgoods สมัครใช้งานฟรี  https://fillgoods.co

 

]]>
1307523
เทคโนโลยีดิจิทัล ความหวังของผู้ประกอบการ SMEs – Start-up ยุค New Normal https://positioningmag.com/1302342 Fri, 23 Oct 2020 10:00:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302342

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปในยุค New Normal เร่งให้เกิดการปรับตัวอย่างฉับพลัน กระทบธุรกิจจนต้องเรียกร้องให้ผู้ประกอบการ SMEs – Start-up ตั้งลำใหม่เพื่อพาธุรกิจให้รอดและสร้างการเติบโตฝ่าสถานการณ์นี้ให้ได้

งานวิจัยล่าสุด “การอยู่รอดเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจ” จาก เอชพี อิงค์ ที่สำรวจมุมมองเจ้าของธุรกิจ SMEs กว่า 1,600 ราย ใน 8 ประเทศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค รวมถึงประเทศไทย พบว่า ผู้ประกอบการ มากกว่า 50% มีความคาดหวังว่าธุรกิจของตนไม่เพียงต้องสามารถอยู่รอดได้แต่ต้องสามารถเติบโตไปต่อในโลกวิถีใหม่ New Normal โดยเชื่อมั่นว่า ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูธุรกิจ

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทย สาเหตุของการขาดความชัดเจนในแนวคิดการนำนวัตกรรมมาใช้ในธุรกิจ เพราะยังมีความกังวลด้านเงินทุนและกระแสเงินสด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs โดยรวม ทั้งในอินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ออสเตรเลีย และไทย ยังคงมีความมั่นใจสูงถึงศักยภาพและความสามารถของธุรกิจตนที่จะรองรับทรานส์ฟอร์มเมชั่นของธุรกิจ ในขณะที่ SMEs ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ มีความระมัดระวังมากในการคาดการณ์ถึงอนาคตบนสภาพเศรษฐกิจของโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้

เทคโนโลยียุคสมัยใหม่ คือความคาดหวังของผู้ประกอบการ เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ทันท่วงทีและเข้าใจความต้องการผู้บริโภคที่ซับซ้อนขึ้น เอชพี อิงค์ ประเทศไทย ได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อธุรกิHP for Business ไอทีโซลูชั่นครบวงจร ด้วยนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีความปลอดภัยที่มั่นใจได้จากประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีระดับโลกมากว่า 90 ปี เอชพี ไม่หยุดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อรองรับวิธีการทำงานยุคใหม่ที่ต้องการความยืดหยุ่นด้วยโซลูชั่นอันหลากหลายของนวัตกรรมและบริการช่วยผู้ประกอบการบริหารจัดการกิจการได้อย่างง่ายดาย

“ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถือเป็นหัวใจขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สถานการณ์ในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs อย่างหนัก จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงเทคโนโลยีทันยุคทันสมัย HP for Business จึงเป็นแพลตฟอร์มมาสนับสนุนการฟื้นธุรกิจของพวกเขา ให้อยู่รอดและต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ ได้” มร. ลิม ชุน เต็ก กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย กล่าว

ผลการสำรวจนี้ให้ข้อมูลเชิงลึก การเข้าถึงเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ นำมาเพื่อเป็นเครื่องมือบริหารที่ยึดลูกค้าและพนักงานเป็นศูนย์กลาง เพิ่มศักยภาพ ทักษะและความสามารถในการฟื้นตัวและความพร้อมสำหรับอนาคต ที่น่าสนใจคือ พบว่า 65% ผู้ประกอบการ SMEs ประเทศไทย เชื่อมั่นว่าธุรกิจตนเองจะอยู่รอดและสามารถเติบโตได้หลังสถานการณ์โควิด และมีมุมมองเชิงบวกต่อความเติบโตในปีหน้า โดย 11% คาดว่าจะเติบโต และ 40% เชื่อมั่นว่าการนำดิจิทัลมาใช้มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ

กลยุทธ์การฟื้นตัวที่สำคัญ 3 อันดับแรกที่ SMEs ไทย ต้องการ คือ การมีรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น รองลงมาคือกลยุทธ์การนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด และการได้รับคำแนะนำกลยุทธ์ธุรกิจที่เหมาะสม สิ่งที่ผู้ประกอบการมองว่าเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ คือ ขาดการตลาดที่ตอบโจทย์ ปัญหากระแสเงินสด และขาดบุคลากรที่ต้องการ

ความสามารถขององค์กรด้านดิจิทัลเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วย SMEs ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อเสริมการทำงานให้คล่องตัว และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมรรถภาพของเทคโนโลยีที่ต้องการจะต้องสามารถเชื่อมต่อร่วมกันด้วยนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ พีซี เครื่องพิมพ์ ให้มีความประหยัดคุ้มค่า ลดต้นทุนเพิ่มผลกำไร ตลอดจนช่วยป้องกันความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานในปัจจุบัน เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญจากการทำงานในทุกที่ ผ่านซอฟแวร์ความปลอดภัยที่ติดตั้งมาในอุปกรณ์

เอชพี ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและมีหน้าที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันธุรกิจ สนับสนุน SMEs ให้เดินหน้าต่อไป ด้วยแพลตฟอร์ม HP for Business ในประเทศไทย เป็นโปรแกรมเช่าซื้อ-เช่าใช้รายเดือนที่ให้ลูกค้าเข้าถึงโซลูชั่นและนวัตกรรมเพื่อการทำงานประสิทธิภาพ พร้อมติดตั้งระบบความปลอดภัยมาในผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป และเครื่องพิมพ์ของเอชพี กับบริการดูแลเรื่องเทคนิคตลอด 24 ชั่วโมง ลดความซับซ้อน ลดภาระในการบริหารจัดการทรัพยากรไอที

มร. ลิม ชุน เต็ก กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย มั่นใจว่า “ประเทศไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์โควิด-19 ได้เป็นอย่างดี และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยมีความมั่นใจว่าจะสามารถฟื้นตัวและอยู่รอดหลังจากสถานการณ์นี้ โดยรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูแผนธุรกิจ การสำรวจนี้ยังให้ข้อมูลเชิงลึกถึงแนวทางที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นและยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการคิดแผนโซลูชั่นการตลาดเพื่อฟื้นฟูธุรกิจในอนาคต”

]]>
1302342