Sustainability Expo 2022 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 03 Oct 2022 10:29:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จะหยุดวิกฤต ‘ขยะ’ อย่างไรในมุมมอง ‘สิงห์ วรรณสิงห์’ จากงาน Sustainability Expo 2022 https://positioningmag.com/1402733 Tue, 04 Oct 2022 10:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402733

ถือเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้วสำหรับ Sustainability Expo 2022 (SX2022) หรือมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่ได้ 5 องค์กรธุรกิจ ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผนึกกำลังกันพัฒนา โดยภายในงานก็มีการจัดกิจกรรมมากมาย และหนึ่งในความน่าสนใจคือ การพูดคุยถึงแนวทางการสร้างความยั่งยืนจาก Speaker ที่มีชื่อเสียงในวงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘สิงห์ วรรณสิงห์’


จากทำคลิปกำจัดขยะ สู่การศึกษาอย่างจริงจัง

เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จัก สิงห์ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล จากรายการ เถื่อน Travel ที่พาไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่หลายคนอาจไม่คิดที่จะไป แต่หลังจากที่สิงห์ได้เดินทางไปทั่วโลกทำให้เขาได้เห็น ปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม ทำให้เริ่มหันมันศึกษาอย่างจริงจัง

“ความตั้งใจตอนแรกคือ ว่าจะเดินทางไปทั่วโลกเพื่อไปสร้างทำสารคดีเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนทุกมุมโลกเลย แต่โดน COVID-19 เบรกไว้ เลยหันมาดูว่าในไทยมีปัญหาวิกฤตอะไรบ้าง ซึ่งก็มีเยอะมาก เพราะมันแบ่งซอยย่อยเป็นหลายหัวข้อมาก” วรรณสิงห์ อธิบาย

วรรณสิงห์ เล่าว่า สาเหตุที่เขาหันมาศึกษาเรื่อง วิกฤตขยะ อย่างจริงจังเป็นเพราะเคยถูกจ้างให้ทำวิดีโอเกี่ยวกับการ สถานีการจัดการขยะอ่อนนุช ว่า แยกไปก็เทรวม มันจริงไหม จากนั้นก็มีโอกาสได้ทำสารคดีเกี่ยวกับขยะเรื่อยมา จนในที่สุดก็ตัดสินใจ เรียนปริญญาโทด้านการจัดการขยะพลาสติกทางทะเล


ไทยติด Top 10 ปล่อยขยะพลาสติกลงทะเล

ที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยติด อันดับ 6 ของโลก ที่ปล่อยขยะพลาสติกลงทะเล แม้ตอนนี้อันดับจะลดลงเป็นที่ 9-10 แต่ก็ยังถือว่าติด Top Ten ของโลกอยู่ดี ซึ่งปัญหาไม่ได้เกิดจากการ มีขยะพลาสติกเยอะกว่าประเทศอื่น แต่จัดการได้แย่กว่าประเทศอื่นมาก

“ปัญหาของไทยไม่ใช่การปล่อยคาร์บอน แต่เป็นปัญหาขยะทางทะเล เพราะมลพิษของมันกระจายไปทั่วโลก ซึ่งถ้าดูเฉพาะการปล่อยคาร์บอนของไทยจะประมาณ 3.7-3.8 ตันต่อหัวต่อปี จากค่าเฉลี่ยโลกที่ 4 ตันต่อคนต่อปี ส่วนประเทศที่ปล่อยเยอะ ๆ จะเป็นประเทศในตะวันออกกลางซึ่งปล่อยกันปีละ 20 ตันต่อคนต่อปี หรือ อเมริกาที่ปล่อยปีละ 16 ตันต่อคนต่อปี”


ขยะเป็นปัญหาปัญหาเชิงโครงสร้างมากกว่าพฤติกรรม

แน่นอนว่าเรื่อง ขยะ มีความละเอียดอ่อนในการในการจัดการดูแลเพราะมีแยกเยอะมาก ขณะที่หลายคนมองเป็น ปัญหาเชิงพฤติกรรม คือ คนไม่แยกขยะ, คนทิ้งไม่เป็นที่, คนไม่มีจิตสำนึก แต่จากข้อมูลที่ได้เห็นเรื่องขยะกลับเป็น ปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบ ไม่ว่าจะเรื่องการจัดการบริหารจัดการ, เรื่องของกฎหมายรองรับ, เรื่องของงบประมาณและเงินทุน และการนำเทคโนโลยีต่างประเทศที่นำมาประยุกต์ใช้

“แน่นอนว่าในระบบจัดการขยะมันมีเรื่องพฤติกรรมมนุษย์รวมอยู่ในนั้น แต่มันไม่ใช่เป็นส่วนใหญ่อย่างที่เราเข้าใจกัน เรามักจะคิดว่าเราต้องแก้ที่พฤติกรรม แก้ที่จิตสำนึก ผมว่ามันเป็นส่วนที่น้อยมากในการแก้ปัญหาวิกฤตขยะ”

ปัจจุบัน การจัดการขยะทางอบต. อบจ. จัดการกันเอง ส่วนในแง่ของกฎหมายรองรับมีแค่ พ.ร.บ รักษาความสะอาดฯ พ.ร.บ.อนามัย ไม่ให้ไปปนเปื้อนในที่สาธารณะ แต่ไม่มีกฎหมายระดับชาติ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้มันไม่ได้มีมาตรฐานระดับชาติ แล้วไม่มีงบประมาณมากพอ ที่จะทำให้ทุกท้องถิ่นสามารถทำได้ระดับที่ดีเท่ากัน นอกจากนี้ ภาคธุรกิจก็ต้องรับผิดชอบด้วย ใครที่ผลิตอะไรก็ควรรับผิดชอบจัดการสิ่งเหล่านั้นให้จบสุดทาง

“พอจัดการขยะต้นทางไม่ดี สุดท้ายไปลงบ่อฝังกลบ หรือในบางจังหวัดไม่มีรถขยับไปเก็บด้วยซ้ำ ชาวบ้านก็ไม่รู้จะทำไง ก็เผาทิ้ง กลายเป็นเกิดมลพิษในบนดิน เป็นมลพิษในอากาศ หรือในกรุงเทพที่การจัดการขยะไปไม่ถึงเขาก็ทิ้งลงน้ำ จะเห็นว่ามีเตียงเต็มไปหมด”


ระบบดีจิตสำนึกจะตามมา

หากสามารถสร้างระบบที่ดี มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจเหมือนที่ต่างประเทศมี ก็จะช่วย เปลี่ยนพฤติกรรม โดยคนไทยทุกคนรู้ว่าการแยกขยะนั้นดี แต่ 9 ใน 10 คน ไม่ศรัทธาเรื่องแยกขยะ เพราะยังคิดว่าแยกไปก็เทรวม ซึ่งตอนนี้มันมีแค่ระบบของเอกชน ไม่มีระบบของภาครัฐในการรับรอง ดังนั้น ไทยต้องมีโครงสร้างทางกฎหมายที่บังคับใช้ มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สร้างแรงจูงใจ นอกจากนี้ ต้องให้การศึกษาประชาชนในเรื่องเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่มีหลักสูตรในโรงเรียนเรื่องการแยกขยะ

“การแยกต้นทางจะนำไปสู่ต้นทุนปลายทางในการจัดการที่ต่ำลงอย่างมหาศาล ซึ่งจุดเริ่มต้นง่าย ๆ คือ แยกเศษอาหารออกจากขยะที่เหลือ การจัดการจะง่ายขึ้นเยอะมาก แต่มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะการปรับระบบต่างหากที่เป็นสิ่งทำให้อิมแพ็คมากกว่า”


จัดการขยะดี ๆ สร้างรายได้กว่าที่คิด

วรรณสิงห์ ยกตัวอย่าง ประเทศสวีเดน มีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ซึ่งได้ทั้งพลังงานและกำจัดขยะ และถ้าจัดการขี้เถ้าดี ๆก็ไม่ทำให้เกิดมลพิษลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยทางสวีเดนมีขยะน้อยจนต้องนำเข้าขยะมาเผาเพราะทำกำไรได้ หรือที่เมือง คามิคาสึ ของญี่ปุ่นก็มีการแยกขยะเป็น 37 ประเภท โดยรีไซเคิลทุกอย่างเอากลับมาใช้ หรืออย่างกรุงเทพ ก็มีการนำเอาขยะเศษอาหารไปหมักเป็นปุ๋ย ซึ่งปัจจุบัน 15-50% ของขยะทั้งหมดในกรุงเทพเป็นขยะเศษอาหาร

“หลายคนก็ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วขยะเป็นเงินเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก อลูมีเนียม แก้ว มันกลับเข้ามาสู่ระบบได้ อย่างกระป๋องอลูมิเนียมก็ราคาดีมากกิโลกรัมละ 50-60 บาท แล้วก็ขยะรีไซเคิลที่ไม่ถูกนำมารีไซเคิลก็เป็นการสูญเสียเชิงทรัพยากร ตอนนี้คนเดียวที่เห็นคุณค่าเหล่านี้คือซาเล้ง”

วรรณสิงห์ ทิ้งท้ายว่า ปัญหาบนโลกนี้อีกมากมายที่มากกว่าขยะ โดยเฉพาะ เรื่องโลกรวน ซึ่งจะเห็นว่าหน้าฝนที่ยาว 6 เดือนนี้ พายุที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แม้ไทยจะไม่ได้มีผลเยอะนักในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโลก แต่สิ่งที่เมืองไทยควรจะทำคือ ลดขยะ และ เตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม กับสภาวะของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเรื่องการผลิตพลังงาน เรื่องของการผลิตอาหาร และเรื่องของโครงสร้างการคมนาคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกสูงมากในช่วง 10-20 ปีจากนี้ ซึ่งมันเข้ามาใกล้มากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว

]]>
1402733
ผู้นำ 5 องค์กรธุรกิจชั้นนำเปิดมุมมองทางรอดสู่ความยั่งยืนผ่านธุรกิจ บนเวที SX2022 https://positioningmag.com/1402886 Tue, 04 Oct 2022 04:00:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402886

ในขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมในสังคม ภาคธุรกิจไม่เพียงมีความรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนอนาคตเพื่อความยั่งยืนของทุกคนบนโลกนี้ด้วย

นอกจากผนึกกำลังกันจัดงานมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน Sustainability Expo 2022 แล้ว ซีอีโอจากทั้ง 5ของบริษัทชั้นนำ ได้แก่ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้มารวมตัวกันบนเวทีเสวนาในหัวข้อ Leading Sustainable Business เพื่อเปิดกลยุทธ์องค์กรด้านความยั่งยืน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความท้าทาย และเส้นทางเพื่อความอยู่รอดของโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ ซีพี กล่าวว่า “การที่องค์กรจะดำเนินกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนได้ ต้องเริ่มจากผู้นำองค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ที่จะต้องตระหนักรู้ว่า ขณะนี้ทุกคนกำลังเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนจริง ๆ และเป็นปัญหาของโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นในอัตราเร่ง เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ นำไปสู่การบริโภคที่ดึงทรัพยากรของโลกและก่อให้เกิดมลภาวะ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือปัญหาขยะจำนวนมหาศาล

“ทุกวันนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนมีการพัฒนาเศรษฐกิจกันอย่างเต็มที่ และถูกขับเคลื่อนออกมาในเชิงบริโภคนิยม โดยไม่ตระหนักว่าของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต และทำลายทรัพยากรจากการบริโภคนั้นสร้างผลกระทบในวงกว้างขนาดไหน ฉะนั้นถ้าหากทุกคนมีแต่เป้าหมายในชีวิตของตัวเอง มีแต่เป้าหมายขององค์กร แต่ไม่เคยตั้งเป้าหมายความรับผิดชอบต่อความยั่งยืนของโลกและต่อตัวเราเอง โลกก็จะไม่ยั่งยืน องค์กรจึงควรมีการตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านความยั่งยืน สร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร พนักงาน รวมไปถึงคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน มีการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนขององค์กร มีการส่งเสริม ให้การยอมรับ และมอบผลตอบแทนแก่พนักงานรวมทั้งครอบครัวของพนักงานทุกคนที่ทำงานเพื่อความยั่งยืนอย่างจริงจัง รวมถึงการให้ทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

“ซีพี ตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 10 ปีบริษัทจะผงาดอยู่ใน 20 อันดับแรกของโลกในด้านธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็น 1 ใน 10 ของโลกด้านความยั่งยืนด้วย เพราะผมเชื่อมั่นว่าบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยการมีวัตถุประสงค์ที่ดีต่อส่วนรวมจะเป็นองค์กรที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง”

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในอดีต ตนเองเคยคิดเพียงว่าจัดการปัญหาภายในองค์กรได้ก็ถือว่าทำสำเร็จแล้ว แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่องค์กรไม่แสวงหากำไรและคู่ค้าธุรกิจอยากเห็น คือบริษัทมีการดูแลปัญหาไปจนถึงซับพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ดังนั้นไทยยูเนี่ยนต้องทำงานใกล้ชิดกับทั้งฝ่ายรัฐบาล คู้ค้าที่ขายวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นเรือประมงทั้งหลาย เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งในฟาร์ม รวมไปถึงการจัดหาจัดจ้างแรงงานโดยตรงจากต่างประเทศด้วยไม่เพียงแต่แรงงานภายในองค์กรเท่านั้น ไทยยูเนี่ยนยังมีจรรยาบรรณทางธุรกิจที่กำหนดให้คู่ค้าทุกรายในระบบต้องปฏิบัติต่อแรงงานทุกคนอย่างถูกต้องตามหลักมนุษยธรรม มีมาตรการในการจัดซื้อวัตถุดิบที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Responsible Sourcing) โดยมีการตรวจสอบการจัดการเรือประมงทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงการบริหารจัดการฟาร์มที่เป็นคู่ค้าของบริษัทด้วย

นายธีรพงศ์ กล่าวว่า สำหรับธุรกิจของไทยยูเนี่ยน การดำเนินการด้านความยั่งยืนถือเป็นใบอนุญาตในการทำงาน เพราะเป็นความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น นักลงทุน คู่ค้าทุกส่วน ที่ต้องการเห็นการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเกิดขึ้นอย่างจริงจัง ทุกวันนี้คู่ค้าธุรกิจต้องการค้าขายกับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ฉะนั้นบริษัทที่ไม่ใส่ใจด้านนี้ ก็จะไม่สามารถทำธุรกิจได้”

“สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโดยเฉพาะในประเทศไทย ผมอยากให้มองว่าเรื่องความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว การทำเรื่องนี้ไม่ใช่ทำเพื่อความอยู่รอดของโลกเท่านั้น แต่เป็นความอยู่รอดของตัวเราเองและของธุรกิจเราด้วย ผมเชื่อว่าการทำเรื่องความยั่งยืนจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และจะนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้ในอนาคต”

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “การดำเนินการเรื่องความยั่งยืนโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่มีความไม่แน่นอนสูง เพราะสภาวะการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน การดำเนินธุรกิจเพื่อลดโลกร้อนจึงควรเริ่มที่คำถามว่า “ทำไม” และสร้างแนวทางที่ส่งผลกระทบด้านบวกให้มากที่สุด เพื่อสร้างแนวทางแก้ปัญหาที่ตรงจุด ทำได้จริงและยั่งยืน อีกความท้าทายหนึ่งของโลก คือการทำให้ได้อย่างที่พูด จึงจะสามารถแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างจริงจัง แม้จะมีพันธกิจร่วมกันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แต่สิ่งที่ทุกคนหวั่นใจคือไม่ได้ลงมือทำตามที่พูดไว้ สุดท้ายแล้วแผนการต่าง ๆ ที่ตกลงมาก็ไร้ประโยชน์”

นายรุ่งโรจน์ เสนอแนะว่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก การดำเนินกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนควรตั้งต้นจากลูกค้าว่า ลูกค้ามีความต้องการอะไรที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้า การใช้งาน หรือการรีไซเคิล เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากลูกค้ามาบวกกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นแนวทางดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนได้อย่างชัดเจนขึ้น ซึ่งจะทำให้มีกรณีของความสำเร็จที่สามารถนำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนกันภายในองค์กร และทำให้เกิดการขยายวงกว้างขึ้นได้

ขณะที่ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้ทรรศนะว่าความวุ่นวายของโลกเกิดจากการบริโภคนิยม (Consumerism) ที่ทำให้ภาคธุรกิจพยายามตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะมีพันธกิจทั้งระดับองค์กร ระดับประเทศ และระดับโลก ที่มุ่งไปสู่เป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ ในปี 2030 พร้อมทั้งเป้าหมายสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ แต่ทุกคนต้องกลับมาถามตัวเองก่อนว่า เราสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้มากน้อยแค่ไหน

“ผมอยากให้ตั้งคำถามร่วมกันว่า หลังจากปี 2030 องค์การสหประชาชาติจะใช้หัวข้ออะไรในอีก 15 ปีถัดไป หรือปี 2545 ผมเชื่อว่าการคิดเรื่องความยั่งยืนจะกลับมาที่ปัจเจกบุคคล โดยการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม”

นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า “GC ได้นำแผนการพัฒนาความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กรเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ภายใต้แนวคิด Chemistry for Better Living ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น และมีสุขอนามัยดีขึ้น แต่สำคัญกว่านั้นคือ กระบวนที่จะให้ได้มาซึ่งสินค้าก็ต้องดีด้วย นั่นคือ การใช้ทรัพยากรน้อยลง ดีต่อโลก บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีหลายรูปแบบ นอกจากไบโอพลาสติก หรือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ หรือรีไซเคิล การใช้นวัตกรรมและการออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มีความคงทนมากขึ้น ก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยทำให้มีการใช้น้อยลง สิ่งที่ GC ทำจะต้องไม่เป็นภาระแก่คนรุ่นหลัง ดังนั้น GC จึงวางแผนการลงทุนระยะยาว 30 ปีข้างหน้าเพื่อลดคาร์บอนในกระบวนการผลิต”

นายคงกระพัน กล่าวอีกว่า “การสร้างสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้นั้น อยู่ที่ความเข้าใจขององค์กรตนเอง เพราะแต่ละองค์กรมีบริบทที่แตกต่างกัน”

นายฐาปน ยังกล่าวอีกว่าหลังยุคมิลเลนเนียมปี 2000 เกิดความร่วมมือกันของประเภทธุรกิจที่อยู่บนกระดานเดียวกัน (industry collaboration) เพื่อสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งและเติบโต แต่หลังวิกฤตการณ์โควิด-19 จะเป็นยุคของความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม (cross-industry collaboration) ซึ่งจะเห็นได้จากงาน SX 2022 ที่เกิดจากการรวมพลังของเครื่องข่าย Thailand Supply Chain Network และสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งทุกคน ซึ่งถือเป็นพลังร่วมที่สำคัญและเป็นมิติใหม่ที่จะหาคำตอบว่า ทุกคนจะอยู่กันอย่างไรต่อไป และจะช่วยกันรักษาโลกใบนี้ได้อย่างไร

SX2022 #GoodBalance #BetterWorld #BetterMe #BetterLiving #BetterCommunity

#SustainabilityExpo #SustainabilityExpo2022 #Sustainablity #สมดุลที่ดีเพื่อโลกที่ดีกว่า

#FrasersProperty #GC #SCG #ThaiBev #ThaiUnion #SXfoodFestival

]]>
1402886
สยามพิวรรธน์ โชว์แนวคิดสร้างคุณค่าร่วม ผ่าน ECOTOPIA มัลติแบรนด์สโตร์รักษ์โลกแห่งแรกของไทย สะท้อนบทบาทองค์กรแห่งความยั่งยืน ในงาน Sustainability Expo 2022 https://positioningmag.com/1401835 Tue, 27 Sep 2022 10:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401835
  • ความยั่งยืนในแบบสยามพิวรรธน์ เกิดขึ้นผ่านแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบร่วมสร้าง (Co-creation) ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม จึงผสานศักยภาพร่วมกันทุกฝ่าย และดำเนินการตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก (Net Positive Impact) ให้กับ ผู้คน ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม
  •  ECOTOPIA เป็นแบรนด์ที่ริเริ่มโดยสยามพิวรรธน์จากอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจที่สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยมีเจตนาที่ต้องการสะท้อนความตั้งใจในการปลุกจิตสำนึกของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดรักษ์และฟื้นฟูโลกแบบครบวงจร เพื่อส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้ทุกชีวิต

  • บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ตอกย้ำอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจที่สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยในงานได้จำลองเมืองแห่งคนรักษ์โลก ECOTOPIA มัลติแบรนด์สโตร์ร้านแรก ที่รวมสินค้ารักษ์โลกครบครันหลากหลายที่สุดในประเทศไทย ร่วมโชว์ศักยภาพด้านความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2022 (SX2022) มหกรรมด้านการพัฒนาความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน สะท้อนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจของสยามพิวรรธน์ผ่านการสร้างคุณค่าร่วม (Shared value) เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน และทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกสู่สังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ

    สยามพิวรรธน์เปิด ECOTOPIA ในปี 2560 สะท้อนการเป็นผู้บุกเบิกที่กล้านิยามกระบวนทัศน์ใหม่ให้กับโลก ด้วยการนำเสนอสินค้าสร้างสรรค์จากแนวคิดรักษ์โลกและ well-being เพื่อให้เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจรักษ์โลกที่ครบวงจรยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย (Asia’s leading Eco Lifestyle Destination) โดยร่วมมือกับ 12 สุดยอดครีเอเตอร์ และผู้ประกอบการรายย่อย พัฒนาและรังสรรค์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก มากกว่า 300 แบรนด์ และสินค้ากว่า 100,000 รายการ บนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่

    นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า “งาน Sustainability Expo 2022 ที่มีแนวคิด พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก เป็นการรวมพลังครั้งสำคัญขององค์กรชั้นนำของไทย ในการร่วมสร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า (Good Balance, Better World) ซึ่งมีแนวทางที่สอดคล้องกับสยามพิวรรธน์ และถือเป็นโอกาสอันดีที่สยามพิวรรธน์จะนำเสนอต้นแบบของการสร้างแบรนด์ที่สะท้อนด้านความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดช่วงเวลากว่า 63 ปีของการทำธุรกิจ การพัฒนาโครงการภายใต้สยามพิวรรธน์ทั้งหมดเป็นรูปแบบของการสร้างคุณค่าร่วม (Shared Values) และผลกระทบเชิงบวกไปสู่ชุมชนสังคมและประเทศชาติ

    สยามพิวรรธน์ได้นำแนวคิดความยั่งยืนมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจผ่านหลากหลายโครงการ อาทิ การเดินหน้าสู่การเป็น “องค์กรขยะเป็นศูนย์” ภายใต้โครงการ “Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” ที่คำนึงถึงการจัดการขยะแบบครบวงจรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การรณรงค์เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะและจัดตั้งจุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้วแบบไดร์ฟทรูแห่งแรกในประเทศไทย นับเป็นการนำขยะเข้าสู่กลไกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ แล้วส่งต่อไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบ ซึ่งบางส่วนนำเข้าสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง นำกลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม

    นางอุสรา ยงปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจค้าปลีก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า “ECOTOPIA เป็นแบรนด์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดรักษ์และฟื้นฟูโลกแบบครบวงจร กลายเป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ที่ได้ปฏิวัติวงการร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่สร้างระบบนิเวศธุรกิจ ที่เชื่อมกลุ่มคนรักษ์โลกมาร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับโลกไปด้วยกัน ล่าสุด ECOTOPIA ยังถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งใน 20 ร้านค้าปลีกที่เยี่ยมยอดที่สุดเอเชีย จาก Inside Retail สื่อธุรกิจรีเทลชั้นนำของเอเชีย ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จอีกก้าวและเป็นความภาคภูมิใจของสยามพิวรรธน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจด้านความยั่งยืนอีกด้วย”

    ในงานครั้งนี้ สยามพิวรรธน์ได้นำหลักการความยั่งยืนมาใช้ในการออกแบบและนำเสนอโครงสร้างบูธ ECOTOPIA ซึ่งประกอบด้วยวัสดุที่สามารถแยกชิ้นส่วนเพื่อไปใช้ประโยชน์ได้อีก

    ผู้เข้าร่วมงาน Sustainability Expo 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สามารถเข้าชมบูธ “ECOTOPIA โดย สยามพิวรรธน์” ทั้งในส่วนบูธ Showcase ที่ Exhibition Hall 3 ชั้น G โซน Better Living และ บูธ Market Place ชั้น LG ซึ่งจะอยู่ในโซนจำหน่ายสินค้า โดยในโซน Exhibition จะมีกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้เยี่ยมชมทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมถ่ายภาพ และกิจกรรม Workshop ร่วมกับ Co-creator ของ Ecotopia ซึ่งเป็น คูเรเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ กิจกรรมระบายสีท้องฟ้าด้วยสี Soft Pastel ร่วมกัน ENVIRONMAN และ Friend & Forest กิจกรรม “ปลูกผักกับลุงรีย์” เรียนรู้การปลูกผักในธีมสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกับ “ลุงรีย์” หรือ ชารีย์ บุญญวินิจ หรือ กิจกรรมของสาวรักษ์โลก ที่ Cleo ร่วมกับ Ali แบรนด์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไร้สารเคมี

    พิเศษสุด สำหรับสาวก สินค้ารักษ์โลก 1,000 ท่านแรกที่มาเยี่ยม บูธ Ecotopia ในโซน Market Place จะได้รับของที่ระลึกเป็น เมล็ดพันธุ์ผักจากฟาร์มลุงรีย์ และรับโปรโมชั่นสำหรับการซื้อสินค้ามากมายในราคาพิเศษ

    สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่ Facebook: ECOTOPIA และ Sustainability Expo หรือ www.sustainabilityexpo.com

    ]]>
    1401835