คอนเซ็ปต์หลักของ AIS D.C. ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก เพียงแต่มีการปรับแต่งดีไซน์ใหม่ราวๆ 30% เน้นในเรื่องของเทคโนโลยี ดีไซน์ และธุรกิจ รวมถึงเป็นพื้นที่ให้สตาร์ทอัพได้ต่อยอดไอเดีย ภายในมีพื้นที่ 2,300 ตารางเมตร ประกอบด้วย 6 โซนด้วยกัน ได้แก่ ห้องสมุด, ห้องประชุม, นิทรรศการ, สัมมนา/เวิร์คช้อป, ห้องสตูดิโอ และ Playground
การที่เอไอเอสรุกธุรกิจนี้เพื่อเป็นการเติมจิ๊กซอว์ให้กับแนวคิด Digital for Thais เป็นวิชั่นที่ได้ประกาศถึงการเป็น Digital Service Provider ที่เน้น 4 ด้านด้วยกัน เกษตรกรรม, สุขภาพ, การศึกษา และสตาร์ทอัพ โดยที่ AIS D.C. ได้เข้ามาเติมเต็มส่วนของสตาร์ทอัพที่มีทิศทางในการเติบโตสูง ซึ่งเอไอเอสเองก็มีโครงการ AIS The StartUp ที่ทำต่อเนื่องมา 6 ปีแล้ว
ก่อนหน้านี้เอไอเอสได้มีโปรเจกต์ C.A.M.P. AIS ที่ห้างเมญ่า จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2557 เป็นคอนเซ็ปต์ Co-working Space และมีพื้นที่นั่งแฮงก์เอาต์ได้ แต่พื้นที่เล็กแค่ 300-400 ตารางเมตร หลังจากที่เปิดให้บริการมาก็พบว่าได้ผลตอบรับที่ดี จึงอยากเปิดโมเดลนี้ที่กรุงเทพฯ และทำขนาดให้ใหญ่ขึ้น จึงได้พูดคุยกับกับทาง TCDC ในการบริหารพื้นที่ที่เอ็มโพเรียมต่อ
ปรัธนา ลีลพนัง รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด เอไอเอส กล่าวว่า “การเปิด AIS D.C. จะทำให้ภาพของการลงทุนด้านสตาร์ทอัพชัดขึ้น รวมถึงสร้างเป็นคอมมูนิตี้สำหรับคนทั่วไปด้วย ต้องการทำให้เป็นห้องสมุดกึ่ง Co-working Space พูดคุยกันได้ มีคาเฟ่นำเครื่องดื่มขนมมาทานได้ และเป็นพื้นที่ต่อยอดในการทำธุรกิจของกลุ่มสตาร์ทอัพ”
ไฮไลต์สำคัญของ AIS D.C. ก็คือโซน Playground ที่ให้นักพัฒนาโปรแกรม หรือสตาร์ทอัพได้ทดสอบระบบเชื่อมต่อ API บนผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เพื่อทดสอบการทำงานของแอปพลิเคชั่นแบบเสมือนจริงกับอุปกรณ์ให้ทดสอบกว่า 100 รุ่น เปิดให้ทดสอบฟรี แต่ต้องมาลงทะเบียนในเว็บไซต์
ส่วนโซนเวิร์คช้อปจะเป็นพื้นที่บ่มเพาะให้กับสตาร์ทอัพในเครือของเอไอเอส จะมี Speaker ที่มีชื่อเสียงมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ
จะเปิดให้บริการในวันที่ 13 ก.ค. 2560 มีอัตราค่าบริการ 150 บาท/คน/วัน หรือสมาชิกรายปี บุคลทั่วไป 1,200 บาท/คน นักเรียน/นักศึกษา 600 บาท/คน โดยที่สามารถใช้บริการ TCDC ได้ทุกที่
]]>นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า TCDC ได้ย้ายที่ให้บริการจากห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม ไปยังอาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง สำหรับที่ตั้งใหม่นั้นได้มีการออกแบบและปรับปรุงให้มีความทันสมัย และกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,000 ตารางเมตร และมีบริการใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นจากที่เดิม เช่น Creative Space พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการทำงานรองรับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ Maker Space พื้นที่ปฏิบัติการที่เพียบพร้อมไปด้วยเครื่องมือในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างครบครัน Business Service พื้นที่พิเศษที่เปิดขึ้นเพื่อให้บริการคำปรึกษา และแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งใช้แนวคิดการออกแบบเป็นทางออกของธุรกิจ
สำหรับพื้นที่ให้บริการในส่วนอื่นๆ ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบนั้นได้มีการขยายและปรับปรุง พร้อมเพิ่มเติมอุปกรณ์ และฟังก์ชันการใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในห้องสมุดเฉพาะด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ (TCDC Resource Center) การขยายพื้นที่ให้บริการของห้องประชุม (Auditorium) พื้นที่นิทรรศการ (Exhibition & Showcase) ฯลฯ
นายอภิสิทธิ์เผยด้วยว่า ขณะนี้ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้ดำเนินการจัดสร้างและออกแบบพื้นที่ในส่วนต่างๆ ใกล้แล้วเสร็จ และจะพร้อมเปิดให้ทดลองใช้บริการแก่สมาชิกและประชาชนทั่วไปตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2560 นี้เป็นต้นไป โดยกำหนดจัดกิจกรรมในวันที่ 5-7 พฤษภาคม 2560 นี้ ที่จะมีทั้งการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ การจัดกิจกรรม Creative Market ตลาดที่รวบรวมสินค้าสุดสร้างสรรค์ กิจกรรมแสดงดนตรีหลากหลายแนว รวมถึงวงดนตรีเลือดไทยที่โด่งดังระดับโลกอย่าง The Paradise Bangkok การฉายภาพยนตร์ และชิมอาหารดังย่านเจริญกรุงกว่า 30 ร้าน
ที่มา : http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000042090
]]>
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ จัดทำ e-Book “เจาะเทรนด์ 2017” มุ่งจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ผู้ประกอบการทุกแวดวงธุรกิจให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยพบว่า ผลจากความทันสมัยของเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมต่างๆ ที่ได้สร้างปรากฏการณ์ “ความเบลอ” หรือ “ความเลือนราง” ใน 4 ประเด็น ดังนี้
1. ประชากรศาสตร์ (Demographic Blur) 2. เขตแดน (Boundary Blur) 3. ความจริง (Reality Blur) 4. ธรรมชาติ (Nature Blur)
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า ปี 2017 นี้ถือเป็นปีที่มีความผสมผสานระหว่างโลกยุคเก่าและโลกยุคใหม่ อันเห็นได้จากประชากรบนโลกที่มีมากมายหลายเจเนอเรชั่น ตั้งแต่ เบบี้บูมเมอร์ (1945 – 1960) เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (1961 – 1981) มิลเลนเนียล (1982 – 2004) เจเนอเรชั่นซี หรือไอเจน (2005 – 2009) และอัลฟ่า เจเนอเรชั่น (2010 – 2015) โดยแต่ละรุ่น แต่ละช่วงอายุคนได้รับอิทธิพลความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความทันสมัยของเทคโนโลยีแตกต่างกันออกไป
ประกอบกับเทรนด์และกระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทรนด์และกระแสต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนโดยเฉพาะผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจ เพราะเทรนด์หรือกระแสดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสนใจของผู้บริโภค ผู้ประกอบการที่รู้เท่าทันกระแสย่อมได้เปรียบในเรื่องการพัฒนาสินค้าและบริการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด
จากโจทย์ดังกล่าว จึงกลายเป็นบทสรุปได้ว่า กระแสของเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมต่างๆ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ความเลือนราง” ใน 4 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ดังนี้
การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามหลักประชากรศาสตร์กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยการแบ่งกลุ่มแบบเดิมตาม เพศ วัย หรือศาสนา มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จลดลง ในทางกลับกันหลายธุรกิจแบ่งประเภทสินค้าและบริการ ตามความสนใจ และรสนิยมของผู้บริโภคมากขึ้น
จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดเป็นสินค้าและบริการแบบใหม่ที่ไม่ได้จำกัดด้วยหลักประชากรศาสตร์ อาทิ แฟชั่นเครื่องแต่งกายแบบไม่ระบุเพศของแบรนด์ต่างๆ เช่น เอชแอนด์เอ็ม (H&M) และซาร่า (Zara) การใช้เด็กผู้ชายร่วมเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาตุ๊กตาบาร์บี้ โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่รองรับครอบครัวแบบหลายเจเนอเรชั่น และเทศกาลงานดนตรีวันเดอร์ฟรุต (Wonderfruit Festival) ที่รวบรวมประสบการณ์ทั้งดนตรี ศิลปะ สุขภาพเข้าไว้ด้วยกัน
เส้นแบ่งของเขตแดนเลือนรางลง การย้ายถิ่นฐานอย่างอิสระนำไปสู่การผสมผสานทางวัฒนธรรม นอกจากนี้เส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างทวีปทำให้เกิดความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
ทั้งหมดนี้นำไปสู่การเปิดกว้างทางความหลากหลายของเชื้อชาติ อันเห็นได้จากหลายสิ่ง อาทิ งานโอลิมปิก 2016 ณ ประเทศบราซิล กับธีม “Global Diversity”, ตัวละครผิวสีที่ชื่อ “ฟิน” (Finn) ในภาพยนตร์เรื่องสตาร์วอร์ส, หรือแม้แต่ บารัค โอบามา ประธานาธิบดีเชื้อชาติแอฟริกัน – อเมริกันคนแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
โลกเสมือนจริงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตประจำวันและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยผลของกระแสเทคโนโลยีดิจิทัลนี่ทำให้เกิดผลต่างๆ ตามมามากมาย อาทิ กระแสความต้องการอนาล็อก กลับมาเนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากจนเกินไปจนกลายเป็นเทรนด์ของสินค้าแบรนด์ดังต่างๆ อาทิ กล้องโพลารอยด์ของ Leica หรือเครื่องเล่นเกมส์ Nintendo Classic ในอีกด้านหนึ่งเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันมากขึ้นกว่าเคย โดยเฉพาะ เทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่ (wearable) เทคโนโลยีสมองกล (A.I.) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) และอื่นๆ อีกมากมาย ที่กำลังเข้ามาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในทุกด้าน
ถึงแม้โลกยุคปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีที่ล้ำนำสมัย และนวัตกรรมต่างๆ มากมาย แต่เทรนด์ผู้บริโภคที่กำลังมาแรงและเป็นกระแสอยู่เทรนด์หนึ่งคือ กระแสธุรกิจที่ตอบโจทย์คนรักธรรมชาติ อาทิ ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ อาหารออแกนิคจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมหลักจากธรรมชาติ ปลูกผักและสร้างฟาร์มเล็กๆ ของตัวเอง เป็นต้น โดยในกระแสรักธรรมชาตินี้ ยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และเน้นหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ
อันเห็นได้จากประเด็นและสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นกระแสโลก อาทิ ปรากฏการณ์คอนมาริ (Konmari) หรือการเลือกจัดของตามความสำคัญในการใช้งาน และเทรนด์การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังสือบทสรุป “เจาะเทรนด์โลก 2017” ที่ทางศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ในฐานะศูนย์กลางแห่งการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้สังคมไทย ได้ทำการศึกษาวิจัย และสรุปเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมไทย โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหลักคือ นักออกแบบ นักการตลาด นักบริหารแบรนด์ และผู้ประกอบการในทุกแวดวงธุรกิจ เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงกระแสโลก และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อันจะสามารถนำไปสร้างสรรค์ ต่อยอด พัฒนาเป็นสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด e-Book “เจาะเทรนด์โลก 2017” ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจาก www.tcdc.or.th
]]>สมาชิกสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อสำรองที่นั่งก่อนใช้บริการได้ที่ www.coworkingvisa.tcdc.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทรศัพท์ 02-105-7441 หรือเว็บไซต์ www.tcdc.or.th
นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า ปัจจุบันศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) อยู่ในระหว่างการก่อสร้างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งใหม่ ณ ถนนเจริญกรุง ภายในพื้นที่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ซึ่งนอกจาก TCDC Commons ที่เปิดให้สมาชิกได้ใช้บริการแล้ว ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ยังได้จัดโครงการ Co-working visa โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วกรุงเทพฯ ให้บริการพื้นที่แก่สมาชิก อาทิ HUBBA, HUBBA-TO, Discovery HUBBA, The Hive, Draft Board, Launchpad, Muchroom, Fabcafe Bangkok, Paperspace, Kliquedesk, The Rabbit Hub, TK Park, E88, Think Space B2S, SYNHUB ฯลฯ
สำหรับการย้ายที่ทำการและที่ให้บริการของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเจริญกรุงนั้น ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้แผนพัฒนาย่านสร้างสรรค์ เจริญกรุง-บางรัก-คลองสาน สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น มุ่งสร้างย่านดังกล่าวให้เป็นศูนย์รวมนักคิด นักสร้างสรรค์ นักลงทุนและผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นเพิ่มเติมนวัตกรรมและไอเดียเข้าสู่ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเจริญกรุงคาดว่าจะพร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบประมาณเดือนเมษายน 2560 ด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานเดิมและเพิ่มบริการใหม่ๆ พร้อมรองรับจำนวนสมาชิกที่มากขึ้นอย่างไรก็ตามปัจจุบัน ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เปิดให้บริการมากว่า 11 ปี ได้มีสมาชิกรวมกว่า 40,000 คน มีผู้เข้าใช้บริการต่อปีราว 150,000 ครั้ง นายอภิสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบยังเปิดรับพื้นที่สร้างสรรค์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยติดต่อได้ที่อีเมลล์ [email protected] และสำหรับสมาชิกที่สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อสำรองที่นั่งก่อนใช้บริการได้ที่ www.coworkingvisa.tcdc.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทรศัพท์ 02-105-7441 หรือเว็บไซต์ www.tcdc.or.th
]]>อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เผยว่า เพื่อเป็นการดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่ทรงเป็น “กษัตริย์นักคิด นักพัฒนา” TCDC ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการต่างๆ ภายในประเทศ ให้นำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์กับทุนทางวัฒนธรรมและสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ ให้มี “มูลค่า” ได้จัดทำนิทรรศการ “Baht & Brain” ในระหว่างวันที่ 19-23 ต.ค.ที่ผ่านมา ณ ไบเทคบางนา เพื่อนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการ 5 กลุ่มธุรกิจที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการได้ ได้แก่
1.กลุ่มเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food) ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านการเกษตรและอาหารติดอันดับต้นๆ ของโลก เมื่ออาศัยความได้เปรียบด้านภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นทุนเดิม และทำการเพิ่มเติมนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยต่างๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการในกลุ่มธุรกิจนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะทำให้ประเทศไทยสามารถทยานสู่การเป็นที่ 1 ในธุรกิจเกษตรและอาหาร และกลายเป็น “แหล่งอาหารของโลก” จากผลผลิตท้องถิ่นที่มีมูลค่าและเป็นที่ต้องการระดับโลก
โดยตัวอย่างของความคิดสร้างสรรค์ที่ประยุกต์ใช้กับกลุ่มธุรกิจนี้และประสบผลสำเร็จ คือ สมาร์ทฟาร์ม ระบบเทคโนโลยีวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยาเพื่อกำหนดรูปแบบการเพาะปลูกที่เน้นเพิ่มผลผลิต และประหยัดทรัพยากรไปในเวลาเดียวกัน
2. กลุ่มหัตถกรรม (Craft) หนึ่งในธุรกิจที่เกิดขึ้นจากศิลปวัฒนธรรมไทยที่กลายเป็นที่รู้จักระดับโลก โดยธุรกิจงานฝีมือและหัตถกรรมเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของงานออกแบบและงานศิลปะของไทย จึงเป็นแหล่งรวมของแรงงานสร้างสรรค์ที่มีมากกว่า 323,000 คนทั่วประเทศ (ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดข้อจำกัดในการผลิตงานฝีมือ ทั้งในด้านการเพิ่มปริมาณการผลิต และสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่จะต่อยอดงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันมากขึ้น และมีมูลค่าสูงขึ้นตามลำดับ
ตัวอย่างความสำเร็จของนักออกแบบในกลุ่มนี้ อาทิ การผลิตผ้าทอจากเส้นใยสเตนเลส ที่นำเสนอความแปลกใหม่ และสามารถนำไปใช้ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อผ้าดีไซน์แปลกใหม่ กระเป๋าถือป้องกันคลื่นรบกวน และวัสดุบุผนังป้องกันคลื่นรบกวน
3. กลุ่มบริการ (Service) กลุ่มธุรกิจบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยว เป็นหนึ่งในรายได้หลักของประเทศ และประเทศไทยเป็นยังได้รับเลือกให้เป็น “เป้าหมายของการท่องเที่ยวระดับโลก” (World’s top travel destination) หากสามารถประยุกต์แนวคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน และใช้เทคโนโลยีเป็นตัวอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มเป้าหมายที่กระจายอยู่ทั่วโลก จะทำให้เกิดรายได้จากธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ
โดยตัวอย่างความสำเร็จ คือ แพลตฟอร์มทัวร์ชุมชน ที่เน้นวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่ม และประสานงานกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับความเป็นไทยอย่างแท้จริง ด้วยความสะดวกและสบายไปในขณะเดียวกัน
4. กลุ่มไลฟ์สไตล์ (Life style) หนึ่งในธุรกิจใหม่ที่สร้างรายได้ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในยุคปัจจุบัน ผ่านการถ่ายทอดวัฒนธรรมและวิถีความเป็นไทยสู่กิจกรรมบันเทิงต่างๆ เช่น การแสดงดนตรี ภาพยนตร์และแอนิเมชัน และรายการเกมโชว์ สู่สายตาผู้ชมทั่วโลก ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงโลกให้สามารถเข้าถึงสารจากทั่วทุกมุมโลกผ่านอินเทอร์เน็ต กระจายกลิ่นอายความเป็นไทย และเปลี่ยนเป็นมูลค่าเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างสำเร็จในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ อาทิ การขายลิขสิทธิ์รายการเกมโชว์ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ วงดนตรีหมอลำที่สร้างชื่อเสียงระดับโลก เดอะพาราไดซ์บางกอก (The Paradise Bangkok Molam International Band) และภาพยนตร์แอนนิเมชั่นที่ประสบความสำเร็จในเวทีนานาชาติจาก The Monk Studios
5. กลุ่มกีฬา (Sport) กีฬาไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง “มวยไทย” เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก มีค่ายฝึกที่ขึ้นทะเบียนกับสภามวยโลกกระจายอยู่ใน 128 ประเทศทั่วโลก แต่ปัญหาหลักคือหลักสูตรขาดมาตรฐาน สภามวยไทยโลกจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานมวยไทยไอกล้าขึ้นเพื่อจัดทำหลักสูตรออนไลน์ (iGLA Muaythai Animation Education System – iMAES) ผ่านการประยุกต์นวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มวยไทย กลายเป็น “ทรัพย์สินทางปัญญาประจำชาติ” ที่ถ่ายทอดผ่านหลักสูตรการสอนที่ได้มาตรฐานแบบออนไลน์ แอนิเมชัน และเกม ที่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
]]>ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center: TCDC จัดทำอีบุ๊ค “เจาะเทรนด์โลก 2014 โดย TCDC : แฟชั่น วัสดุ เทคโนโลยี สี พื้นที่ และการใช้ชีวิต” เปิดเผยกระแสเทรนด์หลักที่จะมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในปี 2014 พร้อมรวบรวมแนวโน้มที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดจากสำนักเทรนด์ระดับโลกอย่าง Carlin, Mix Trends, Nelly Rodi, Pantone View ซึ่งครอบคลุมหัวข้อ: แนวโน้มเทรนด์ปี 2014 4 เทรนด์หลัก แนวความคิดด้านสีและองค์ประกอบ ภาพรวม Mood & Tone และกรณีศึกษา ตัวอย่างวัสดุ และวัตถุดิบทางความคิด โดยนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตรงใจผู้บริโภค
ผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี ที่ http://www.tcdc.or.th/trend2014/ หรือ แอปพลิเคชั่น TCDC Digital Resource สำหรับผู้ใช้ iPad ผ่าน App Store หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ 02- 664- 8448 ต่อ 213, 214 และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tcdc.or.th