‘พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ’ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส กล่าวถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมการบินว่าหลังจากที่ผ่านพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 อุตสาหกรรมการบินก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีอุปสงค์การเดินทางทางอากาศเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นของโลก
แนวโน้มนี้สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของบริษัทฯ ซึ่งในปี 2567 มีรายได้รวม 26,041 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายรวม 20,638 ล้านบาท มีผลกำไรสุทธิ 3,798 ล้านบาท ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปี 2567 เป็นจำนวน 5,454 ล้านบาท อัตราการทำกำไร (EBITDA Margin) อยู่ที่ 28% และอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทในปี 2567 ที่ 2.53 เท่า
สำหรับเป้าหมายดำเนินงานในปี 2568 ตั้งเป้ารายได้โต 8-9% และคาดการณ์จำนวนเที่ยวบิน 48,077 เที่ยวบิน, อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 82%, ขนส่งผู้โดยสาร 4.7 ล้านคน และราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยประมาณ 4,200 บาทต่อที่นั่ง
การสร้างการเติบโตให้เป็นไปตามเป้าหมาย หนึ่งในนั้น คือ การมุ่งเน้นตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะการต่อยอดการขายเส้นทาง ‘สมุย’ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด และมาแรงขึ้นจากกระแสซีรีส์ White Lotus Season 3 โดยมีการสำรองที่นั่งล่วงหน้าในช่วงเดือนมีนาคม – กันยายน 2568 เพิ่มขึ้น 14%
การขยายดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือกับเชนโรงแรมใหญ่ อาทิ โฟร์ ซีซั่น, อนันตรา ฯลฯ ทำแคมเปญจับกลุ่มลูกค้าที่ตามรอยซีรีส์ โฟกัสนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรเลีย
การเน้นตลาดที่เติบโตสูง เช่น คาซัคสถาน ซาอุดีอาระเบีย ตลาดที่มีฟรีวีซ่า เช่น อินเดีย และจีน ขยายการเชื่อมต่อตรงผ่านระบบกลุ่ม API/NDC/Direct Connect ให้มากขึ้น เพราะเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับสายการบินในยุคดิจิทัล ที่สามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เริ่มจากสายการบินแควนตัสบนระบบ QDP และพันธมิตรอื่นเพื่อขยายความร่วมมือต่อไป เช่น สายการบิน Thai Airways, British Airways, Lufthansa Group, Emirates, Etihad, Eva Air
การขยายเส้นทางการบิน โดยวางแผนกลับมาให้บริการเส้นทาง สมุย-กัวลาลัมเปอร์ วันละ 1 เที่ยวบิน ในไตรมาส 4 เพื่อรองรับการเดินทางของผู้โดยสารจากยุโรปที่เดินทางผ่านทางสนามบินกัวลาลัมเปอร์
จากปัจจุบันบางกอกแอร์เวย์สให้บริการเที่ยวบินสู่ 19 จุดหมายปลายทาง แบ่งเป็น ‘ภายในประเทศ’ 11 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) เกาะสมุย เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ ตราด ลำปาง แม่ฮ่องสอน สุโขทัย หาดใหญ่ อู่ตะเภา และ ‘ต่างประเทศ’ 8 แห่ง ได้แก่ มัลดีฟส์ สิงคโปร์ เสียมเรียบ พนมเปญ หลวงพระบาง ฮ่องกง เฉิงตู ฉงชิ่ง
เดินหน้ากลยุทธ์เครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรสายการบิน ปัจจุบันมีสายการบินพันธมิตร (Codeshare Partners) รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 สายการบิน และมีสายการบินข้อตกลงร่วม (Interline Partners) กว่า 70 สายการบินทั่วโลก
การบริหารจัดการฝูงบินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเครื่องบินรวมทั้งสิ้นรวม 25 ลำ และมีแผนจะปรับฝูงบิน (Re-fleet) เครื่องบินรุ่น ATR72-600 รวมทั้งสิ้น 12 ลำ มีกำหนดทยอยส่งมอบระหว่างปี 2569 – 2571
การลงทุนโครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ล่าสุดได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจและ ‘บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)’ เพื่อยกระดับความร่วมมือในการศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกันพัฒนาธุรกิจศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เบื้องต้นคาดการณ์เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท และจะเห็นความชัดเจนประมาณไตรมาส 3 ของปีนี้
การพัฒนาศักยภาพธุรกิจสนามบิน โดยมีแผนปรับปรุงอาคารผู้โดยสารของสนามบินสมุยที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในไตรมาส 4 ของปีนี้ ส่วนสนามบินตราดมีแผนขยายรันเวย์ เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบินแอร์บัส 320 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ
]]>ปลุกกระแสการท่องเที่ยวตามรอยในไทย โดยเฉพาะพื้นที่สมุย สะท้อนจากข้อมูลของ บมจ. ไมเนอร์ (MINT) เจ้าของ 4 โรงแรมที่ใช้ถ่ายทำซีรีส์นี้ คือ
“ดิลลิป ราชากาเรีย” ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่ม บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ MINT กล่าวว่า ซอฟต์พาวเวอร์ดังกล่าว ผลักดันยอดบุ๊กกิ้งของโรงแรมในสมุยขยายตัวสูง ตั้งแต่ยังไม่ถึงช่วงไฮซีซั่น ขณะที่ ราคาเฉลี่ยห้องพักต่อคืน (ADR) สูงขึ้น 40%
ซึ่งเป็นผลดีต่อไทย ในแง่การนำเสนอภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทยรูปแบบลักซูรี จากเดิมไทยมักจะถูกมองเรื่องท่องเที่ยวแบบแบ็กแพ็ก ฟีลสบาย ๆ ในราคาสบายกระเป๋ามากกว่า
อย่างไรก็ดี กลุ่มไมเนอร์ฯ มีแผนการลงทุนธุรกิจโรงแรม 3 ปี (พ.ศ. 2568 – 2570) ประมาณ 8,000-9,600 ล้านบาท (สัดส่วน 80% ของงบลงทุนรวม 1-1.2 หมื่นล้านบาท)
โดย ขยายโรงแรมเกือบ 300 แห่ง ครอบคลุมไทย ยุโรป ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง และอเมริกา เบื้องต้น ปี 2568 มีแผนขยาย 54 แห่ง และอยู่ในไปป์ไลน์อนาคตอีก 100 กว่าแห่ง ทำให้ภายในปี 2570 ไมเนอร์จะมี รร. รวม 850 แห่ง จากปัจจุบันอยู่ที่ 562 แห่ง
การขยายโรงแรมสอดรับกับแนวโน้ม ความต้องการเดินทางของทั่วโลกที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยมีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 350 ล้านล้านบาท
]]>