เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ต้องการให้เขาไปทำอะไรหน้าถัดไป เช่น ในตัวอย่างของบทความคราวที่แล้ว เป็นแพลตฟอร์มเรียกรถ ก็ต้องมีหน้าที่สำหรับการเรียกรถ ต้องเลือกประเภทรถที่ต้องการใช้งาน หรือเส้นทางที่ต้องการไป จนกระทั่งไปถึงกระบวนการการจ่ายเงิน และการรับบริการนั้นๆ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของ UX บนดิจิทัลแพลตฟอร์มทั้งหมด
UI (User Interface) คือ การออกแบบกราฟิกดีไซน์ ออกแบบปุ่มกดต่างๆ เมนูบนหน้าจอ แบบฟอร์ม รวมถึงตัวหนังสือ คำอธิบายที่อยู่บนแพลตฟอร์มในแต่ละหน้า และส่วนประกอบอื่นๆ บนหน้าจอทั้งหมด ซึ่งจะเป็นหน้าจอที่ผู้ใช้งานจะใช้งานจริงในการมีปฏิสัมพันธ์กับระบบ
ขั้นแรกเลย คือเราจะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของเราก่อน โดยมีความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายนั้นคือใครให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มเรียกรถ กลุ่มเป้าหมายเราก็ต้องให้คำจำกัดความว่ากลุ่มนี้จะอยู่ในพื้นที่ไหน เราจะให้บริการเฉพาะกรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัด จังหวัดใดบ้าง ใครจะเป็นผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนั้น ผู้ชายหรือผู้หญิง อายุประมาณเท่าไรที่จะเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์ม เมื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนแล้ว เราก็ต้องมาดูว่ากลุ่มเป้าหมายนั้นมีความต้องการอย่างไร มีปัญหาในชีวิตประจำวันที่เขาต้องการให้เราแก้อย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ห้ามนั่งเทียนคิดเอาเอง จะต้องไปสอบถามกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ ด้วยวิธีการที่ไปพูดคุย ทำโฟกัสกรุ๊ป หรือทำแบบสอบถาม ในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนมาก
ขั้นที่สอง ในการออกแบบนั้น ส่วนใหญ่จะไม่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้เพียงกลุ่มเดียว เพราะความต้องการในแต่ละกลุ่มนั้น อาจจะมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน โดยมากเราจะมีกลุ่มเป้าหมายหลัก และกลุ่มเป้าหมายรอง ซึ่งความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรองต่างๆ นั้น อาจจะมีความไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงต้องออกแบบย่อยลงไป ส่วนใหญ่ในเฟสแรกจะเป็นการออกแบบในส่วนของกลุ่มเป้าหมายหลักก่อน เพื่อให้มี Hero Flow ที่จะออกแบบตั้งแต่ต้นจนจบไปก่อน
ขั้นที่สาม กลับไปดูว่าแพลตฟอร์มนี้ เราต้องการแก้ปัญหาอะไรให้กับผู้ใช้งานในชีวิตประจำวัน เขียนความไม่สะดวกในการใช้งานทั้งหมดออกมาก่อน แล้วเขียนว่ามีฟังก์ชันอะไรที่จะทำให้การใช้งานนั้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน เลือกความต้องการที่มีความสำคัญที่สุดที่ต้องการแก้ไขลงไปในแพลตฟอร์มก่อน ไม่ต้องเลือกทุกอัน เสร็จแล้วเราค่อยมาเรียงลำดับเส้นทางการใช้งาน (User Journey) ของแพลตฟอร์มนั้นๆ อีกทีหนึ่ง โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้กระดาษโพสอิทต์ในการทำสิ่งนี้ โดยการเขียนฟังก์ชันต่างๆ ที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องใช้เพื่อแก้ปัญหา แล้วลองเอามาเรียงเป็นลำดับดู สลับกันไปมาจนเห็นว่าอะไรคือ Priority แล้วค่อยๆ สรุปเส้นทางการใช้งานทั้งหมดของผู้ใช้งานนั้น ๆ
ขั้นที่สี่ ขั้นตอนนี้เป็นการลงรายละเอียดหลังจากที่เราได้เส้นทางของการใช้งานแพลตฟอร์มนั้นแล้ว เราก็มาลงรายละเอียดว่าในแต่ละหน้านั้นจะมีขั้นตอนการใช้งาน ด้วยลำดับแบบไหน ถ้ายกตัวอย่างง่ายๆ เป็นหนังสือ ขั้นตอนที่สามนั้น บอกเล่าโครงเรื่องว่าหนังสือนั้นจะเป็นอย่างไร ส่วนขั้นตอนที่สี่นั้น เป็นการบอกเล่าว่าในแต่ละหน้าของหนังสือเล่มนั้น จะมีขั้นตอนในการอ่านอย่างไร โดยที่ยังไม่ต้องลงรายละเอียดว่าเนื้อหาใจความของหนังสือเป็นอย่างไร คำพูดเป็นอย่างไร รูปภาพเป็นอย่างไรในขั้นตอนนี้ จะต้องวาดหน้าจอ ที่ผู้ใช้งานจะใช้ออกมาเป็นหน้าๆ โดยบอกว่ามีปุ่มอะไรอยู่ตรงไหน แต่ไม่ต้องออกแบบให้มีความสวยงามหรือกำหนดสีสัน หรือกำหนดรูปภาพ ทางภาษาของดิจิทัลเรียกว่าการทำ Wireframe
ขั้นตอนสุดท้าย คือเอาผลลัพธ์ที่เราทำทั้งหมดนั้นกลับไปถามผู้ใช้งานอีกครั้งว่า ถ้าเราออกแบบเป็นแบบนี้ เขาจะมีผลตอบรับเป็นอย่างไร แล้วเอาผลตอบรับนั้นๆ หรือคำแนะนำมาปรับปรุงในขั้นตอนที่สอง สาม สี่ ต่อไป
กล่าวโดยสรุปคือ ในการออกแบบ UX นั้นจะต้องเอาผู้ใช้งาน หรือเป้าหมายผู้ใช้งานมาเป็นตัวตั้งก่อน เพื่อออกแบบให้มีการใช้งานที่ตอบโจทย์ สามารถแก้ปัญหาผู้ใช้งานได้จริง และมีการใช้งานที่ง่าย ทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่นและลงตัว
วิธีการออกแบบ UI ที่ดีนั้นจะมีแนวคิดดังต่อไปนี้
ส่วนใน EP. หน้า เราจะพูดถึงตัวอย่างแพลตฟอร์มในแต่ละ Segment ธุรกิจว่าแต่ละกลุ่มเขามีหลักในการสร้างแพลตฟอร์มอย่างไรกันบ้าง ตั้งแต่แพลตฟอร์ม Finance, Food, Travel รวมถึง E-commerce ว่ามีอะไรที่เรานำไปปรับใช้ได้
]]>