Virtual Bank – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 08 Oct 2024 12:55:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทำความรู้จัก ‘5 กลุ่มทุน’ ชิงไลเซนส์ ‘Virtual Bank’ ก่อนเคาะชื่อกลางปี 68 https://positioningmag.com/1493207 Tue, 08 Oct 2024 05:46:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1493207 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อนุมัติใบอนุญาตให้บริการธนาคารเสมือนจริง หรือ Virtual Bank ในประเทศไทย โดยมีเป้าหมาย ช่วยให้คนไทย 27% ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงธุรกรรมทางการเงิน ได้เข้า รวมไปถึงช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ โดยปัจจุบันมีผู้ยื่นขอใบอนุญาตทั้งหมด 5 กลุ่ม โดยทาง Positioning จะพาไปรู้จักแต่ละกลุ่มว่ามีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง

KTB + AIS + GULF + OR

ถือเป็นกลุ่มที่น่าสนใจด้วยจำนวน Touch Point และ ฐานลูกค้า โดย ธนาคารกรุงไทย (KTB) ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่มี สาขามากที่สุด ครอบคลุมคนไทยทั่วประเทศ นอกจากนี้ ธนาคารกรุงไทยยังเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม เป๋าตัง ทำให้มีฐานลูกค้าถึง 40 ล้านคน

ส่วน เอไอเอส (AIS) ก็มีจำนวนลูกค้าโมบายกว่า 45 ล้านเลขหมาย และลูกค้าบรอดแบนด์ 4.9 ล้านราย และมีช่องทางการจัดจำหน่ายและบริการลูกค้า 23,000 แห่ง ในส่วนของ OR ที่เด่น ๆ ก็มี PTT Station 2,256 แห่ง ร้าน คาเฟ่ อเมซอน กว่า 4,196 สาขา และมี สมาชิกบลูการ์ดราว 7.9 ล้านคน

ด้วยจำนวน Touch Point ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปั๊มน้ำมัน ร้านกาแฟ ศูนย์บริการของเอไอเอส ถือว่าได้เปรียบในการเข้าถึงประชาชนคนไทยอย่างมาก แต่ที่สำคัญกว่าก็คือ ฐานลูกค้า ที่เมื่อนำข้อมูลมาเทียบกันก็จะยิ่งทำให้ได้ อินไซต์พฤติกรรมของลูกค้า นอกจากนี้ เอไอเอสยังเป็นบริษัทที่ทำเรื่องเทคโนโลยี ก็น่าจะยิ่งเสริมการทำ Virtual Bank

Sea Group + BBL + VGI + เครือสหพัฒน์ + ไปรษณีย์ไทย

ถือเป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจ เฉพาะแค่ Sea Group ที่มีธุรกิจ 3 ขา ได้แก่ อีคอมเมิร์ซ ก็คือแพลตฟอร์ม Shopee ฝั่ง Garena ก็คือเกมชื่อดังอย่าง Free Fire, ROV และ Sea Money ที่ทำด้านการเงินอย่าง e-Wallet ซึ่งก็คือ ShopeePay ดังนั้น มั่นใจได้เลยว่าฐานข้อมูลลูกค้าแน่นแน่นอน

ในฝั่งของพันธมิตรที่มาร่วมแต่ละรายก็มาช่วยเติมเต็มในฝั่งของ Touch Point และ Know how ไม่ว่าจะเป็น ไปรษณีย์ไทย ที่มีสาขากว่า 1,600 แห่ง และพนักงานส่งไปรษณีย์ 25,000 คน นอกจากนี้ยังได้ บริษัท วีจีไอ (VGI) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ BTS ดังนั้น ก็จะได้ประโยชน์จากเส้นทางรถไฟฟ้า และบัตรแรบบิท และสุดท้าย เครือสหพัฒน์ เจ้าของสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของคนไทย ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางการขายกว่า 90,000 ช่องทางทั่วประเทศ และ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เองก็มีสาขา 882 สาขา ทั่วไทย (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566)

ascend money + Ant Group

แค่ ascend money อย่างเดียวก็แทบจะรับจบได้หมด เพราะ ascend money เป็นกลุ่มบริษัทใน เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ที่ให้บริการ e-Wallet อย่าง TrueMoney Wallet ก็มีผู้ใช้กว่า 27 ล้านราย (ข้อมูล ณ ปี 2566) ถ้านับเฉพาะแค่จุดบริการอย่าง 7-Eleven ก็มีกว่า 14,500 สาขา เข้าไปแล้ว แต่ถ้านับจุดรับชำระของแพลตฟอร์มทั้งหมดจะมีกว่า 7 ล้านจุด เลยทีเดียว และต้องอย่าลืมว่ายังมี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ในไทย กว่า 51 ล้านเลขหมาย ที่ซีพีมีหุ้นอยู่

อีกพันธมิตรสำคัญก็คือ แอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) บริษัทฟินเทคของ อาลีบาบา (Albaba) จากจีน ซึ่ง Alipay ถือเป็น แพลตฟอร์มชำระเงินผ่านมือถือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น ไม่น่าห่วงเรื่อง Know how และเทคโนโลยี เพราะถือเป็นเบอร์ต้น ๆ แน่นอน

SCBx + WeBank + KakaoBank

เอสซีบี เอกซ์ (SCBx) ยานแม่ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน โดยมี 11 บริษัทภายใต้กลุ่มฯ ครอบคลุม 3 กลุ่มธุรกิจสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจธนาคาร (Banking Business) ธุรกิจบริการทางการเงินดิจิทัลและสินเชื่อเพื่อรายย่อย (Consumer and Digital Finance Business) ธุรกิจแพลตฟอร์มและเทคโนโลยี (Platform and Technology Business) รวมถึง Climate Technology ดังนั้น หากพูดถึงเรื่องทรัพยากร ถือว่าแกร่งเป็นเบอร์ต้น ๆ ของแบงก์ไทยเลยทีเดียว

ในส่วนของพาร์ทเนอร์อย่าง WeBank ก็ถือเป็น ธนาคารดิจิทัลอันดับหนึ่งในจีน มีบัญชีผู้ใช้งานมากกว่า 362 ล้านบัญชี มากที่สุดในจีน ที่น่าสนใจคือ 75% ของคนที่เข้าถึงบริการทางการเงินของ WeBank คือ กลุ่มชนชั้นแรงงาน ซึ่งเป็นกลุ่ม Unserved และUnderserved ที่เป็นเป้าหมายของการทำ Virtual Bank ส่วน KaKao Bank ก็เป็น ธนาคารดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ โดยใช้เวลาเพียง 4 ปีเท่านั้น

Lightnet + WeLab

คนไทยอาจไม่คุ้นกับชื่อ Lightnet Group แต่ในระดับภูมิภาคถือเป็นฟินเทคที่น่าจับตามอง โดยบริษัทก่อตั้งโดย หิรัญกฤษฎิ์ อรุณานนท์ชัย และ ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ โดย Lightnet มีจุดเด่นที่บริการ โอนเงินข้ามประเทศผ่านระบบบล็อกเชน โดยนับตั้งแต่ปี 2018 ที่ก่อตั้ง บริษัทมีธุรกรรมทางการเงินมูลค่ากว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแต่ละปี ครอบคลุม 95% ของธุรกิจการเงินทั่วโลก รองรับ 150 สกุลเงิน และมีเครือข่ายดิจิทัลวอลเล็ตกว่า 20 ล้านราย และมีใบอนุญาตด้านการเงินกว่า 20 ใบทั่วโลก

ในส่วนของ WeLab ถือเป็นบริษัท Virtual Bank ที่มีผู้ใช้กว่า 65 ล้านรายในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แบรนด์ WeLab Bank ใน ฮ่องกง และแบรนด์ Bank Saqu ใน อินโดนีเซีย ที่ผ่านมา ได้อนุมัติสินเชื่อดิจิทัลแล้วกว่า 5 แสนล้านบาท ด้วยเทคโนโลยี AI และโซลูชัน Edge Computing ช่วยให้ในช่วงช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา WeLab มีหนี้เสียลดลงจาก 0.59% มาเป็น 0.50% ต่ำกว่าหนี้เสียของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ที่หนี้เสียเพิ่มขึ้นจาก 1.92% มาเป็น 2.89%

โดย หิรัญกฤษฎิ์ เปิดเผยว่า นอกจากเรื่องเทคโนโลยี บริษัทมีพาร์ทเนอร์ที่จะช่วยให้เข้าถึงคนไทยกว่า 46 ล้านราย ได้ตั้งแต่วันแรก และมีจุดให้บริการกว่า 150,000 แห่ง ทั่วประเทศ แม้จะไม่เปิดเผยชื่อพาร์ทเนอร์ แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็น SABUY หรือ บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ที่เคยมีข่าวว่าบริษัทจะเข้าซื้อหุ้น แล้วดีลดังกล่าวจะล่มไปแล้วก็ตาม

ลุ้นจะได้ใบอนุญาตฯ ทั้ง 5 รายหรือไม่

จะเห็นว่าผู้เล่นแต่ละรายก็มีจุดแข็งแตกต่างกันไป บางรายเน้นดึงพันธมิตรในประเทศ บางรายเน้นดึงพันธมิตรจากต่างประเทศ ซึ่งคงต้องมาลุ้นอีกทีในช่วงกลางปี 2568 ว่า ธปท. จะให้ใบอนุญาตฯ ผู้เล่นทั้งหมด 5 รายหรือไม่ หรือจะให้แค่ 3 ราย ตามที่มีข่าวลือ

แต่ไม่ว่าจะมีผู้เล่นกี่ราย ก็หวังว่าการมาของ Virtual Bank จะเข้ามาช่วยให้คนไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน สามารถเข้าถึงได้ และแก้ปัญหา เศรษฐกิจนอกระบบ สูงถึง 50% ต่อ GDP ซึ่งถือเป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคอาเซียน

]]>
1493207
รู้จัก ‘Lightnet’ ฟินเทคที่ ‘หลานเจ้าสัวธนินท์’ ร่วมก่อตั้ง ผู้เล่นรายที่ 5 พร้อมลุยในศึก Virtual Bank! https://positioningmag.com/1493151 Mon, 07 Oct 2024 05:52:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1493151 หลังจากที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อนุมัติใบอนุญาตให้บริการธนาคารเสมือนจริง หรือ Virtual Bank ในประเทศไทย โดยมีทั้งหมด 5 กลุ่มทุนที่ยื่นขอใบอนุญาต โดย 4 กลุ่มแรกถ้าได้เห็นชื่อ เชื่อว่าคนไทยจะต้องรู้จัก แต่ถ้าพูดถึงชื่อ Lightnet – WeLab มั่นใจว่าคนไทยส่วนน้อยจะรู้จัก ดังนั้น Positioning จะพาไปรู้จักกับผู้เล่นรายสุดท้ายกัน

รู้จัก Lightnet

กว่าจะรู้ว่ามีผู้เล่นกี่รายที่ได้รับคัดเลือกดำเนิน Virtual Bank ก็ต้องรอไปถึงช่วงกลางปี 2568 แต่ที่แน่ ๆ เคาะแล้วว่ามีผู้ยื่นขอใบอนุญาตทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่ม SCBX จับมือกับ KakaoBank และ WeBank
  • กลุ่ม GULF ร่วมกับ AIS, ธนาคารกรุงไทย และ OR
  • กลุ่ม BTS ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ, Sea Group, เครือสหพัฒน์ และไปรษณีย์ไทย
  • กลุ่ม Ascend Money (TrueMoney) และ Ant Group
  • กลุ่ม Lightnet Group ร่วมกับ WeLab
หิรัญกฤษฎิ์ อรุณานนท์ชัย กรรมการบริหาร Lighthub Asset และผู้ร่วมก่อตั้งและ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Lightnet Group

จะเห็นว่า 4 กลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มทุนใหญ่ที่คนไทยคุ้นเคย มีเพียง Lightnet Group x WeLab ที่คนไทยอาจไม่คุ้น แต่ถ้าเป็นในระดับภูมิภาค ถือเป็น Fintech ที่น่าจับตามองอย่างมาก โดย Lighthub Asset และ Lightnet Group ก่อตั้งโดย หิรัญกฤษฎิ์ อรุณานนท์ชัย และ ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ซึ่งชัชวาลย์​ถือว่ามีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการเงินกว่า 30 ปี โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอิออน ธนสินทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส

Lightnet มีจุดเด่นที่บริการ โอนเงินข้ามประเทศผ่านระบบบล็อกเชน โดยนับตั้งแต่ปี 2018 ที่ก่อตั้ง บริษัทมีธุรกรรมทางการเงินมูลค่ากว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแต่ละปี ครอบคลุม 95% ของธุรกิจการเงินทั่วโลก รองรับ 150 สกุลเงิน และมีเครือข่ายดิจิทัลวอลเล็ตกว่า 20 ล้านราย และมีใบอนุญาตด้านการเงินกว่า 20 ใบทั่วโลก 

ชัชวาลย์ เจียรวนนท์

WeLab ผู้ให้บริการ Virtual Bank

ในส่วนของ WeLab ถือเป็นบริษัท Virtual Bank ที่มีผู้ใช้กว่า 65 ล้านรายในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แบรนด์ WeLab Bank ใน ฮ่องกง และแบรนด์ Bank Saqu ใน อินโดนีเซีย ที่ผ่านมา ได้อนุมัติสินเชื่อดิจิทัลแล้วกว่า 5 แสนล้านบาท ทางบริษัทฯ ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบงก์กิ้งที่ครอบคลุม ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กร และโซลูชันทางเทคโนโลยีสำหรับลูกค้าสถาบัน

ซึ่งจุดเด่นของทั้ง Lightnet และ WeLab คือ เทคโนโลยี AI และโซลูชัน Edge Computing ที่จะมาช่วยบริหารความเสี่ยง โดยในช่วงช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา WeLab มีหนี้เสียลดลงจาก 0.59% มาเป็น 0.50% ต่ำกว่าหนี้เสียของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ที่หนี้เสียเพิ่มขึ้นจาก 1.92% มาเป็น 2.89% 

นอกจากนี้ เทคโนโลยีของ WeLab ยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้ภายใน 2 นาที จากการคำนวณข้อมูลจากโซเชียล, การทำธุรกรรม, พฤติกรรม หรือการวิเคราะห์เครดิตในหลายมิติ ต่างจากธนาคารดั้งเดิมที่วิเคราะห์การปล่อยสินเชื่อจากข้อมูลเครดิต, มูลค่าทรัพย์สิน โดย ไซมอน หลุง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WeLab อธิบายว่า Virtual Bank ของ WeLab ยังเป็นผู้ช่วยแนะนำด้านการเงินส่วนตัวของผู้ใช้จริง ๆ ไม่ใช่เป็นเหมือน Mobile Banking

“Mobile Banking เราต้องรู้ก่อนว่าจะทำอะไรถึงเข้าไปใช้ แต่ Virtual Bank ของเราจะแนะนำบริการทางการเงิน เหมือนมีโค้ชทางการเงิน และมีความ Personal มากขึ้น ซึ่งคนไทยเข้าถึงน้อยมาก ๆ” ไซมอน หลุง กล่าว

ไซมอน หลุง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WeLab (ขวา)

มั่นใจเข้าถึงคนไทยทุกกลุ่ม

แม้ว่าชื่อเสียงของ Lightnet และ WeLab จะไม่เป็นที่คุ้นเคยของคนไทยนัก ซึ่ง หิรัญกฤษฎิ์ อรุณานนท์ชัย ก็ ยอมรับในจุดนี้ และมองว่า การทำธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน ความเชื่อมั่น (Trust) เป็นสิ่งสำคัญและต้องใช้เวลาสร้าง แต่ก็มั่นใจว่าจะเข้าถึงคนไทยได้ทั่วถึงกว่า 46 ล้านรายได้ตั้งแต่วันแรก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกร ทรานสปอร์ต มีเดีย ร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร ฯลฯ และมีจุดให้บริการกว่า 150,000 แห่งทั่วประเทศ 

แม้ว่า หิรัญกฤษฎิ์ จะไม่เปิดเผยชื่อพาร์ทเนอร์ที่ช่วยให้เข้าถึงประชาชนคนไทย แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็น SABUY หรือ บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เพราะถึงแม้ว่า Lightnet จะล้มดีลเข้าซื้อหุ้น SABUY เพราะราคาหุ้นผันผวน แต่เมื่อพิจารณาจาก 5 กลุ่มธุรกิจ ที่เข้าถึงระดับชุมชน ก็เป็นไปได้ว่า SABUY นี่แหละจะเป็นพาร์ทเนอร์ของ Lightnet ปัจจุบัน 5 กลุ่มธุรกิจของ SABUY มี

  • Payments ซึ่งเป็นธุรกิจเติมเงิน และ รับชำระเงินให้บริการผ่านทางตู้เติมเงินอัตโนมัติ ทั้งในรูปแบบการชำระด้วยเงินสด และ เงินผ่อน
  • Retail แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชสำหรับการซื้อ-ขายสินค้าหลากหลายประเภทอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า ผัก ผลไม้อาหาร ขนม และ เครื่องแต่งกาย รวมไปถึงสินค้าประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย
  • Solutions and Channels แพลตฟอร์มการจัดการธุรกิจร้านค้าปลีก และศูนย์อาหาร ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการสต็อกสินค้า การคำนวณต้นทุน และ การจัดส่ง รวมถึงการให้บริการ Cloud Platform
  • Financial Inclusion บริการด้านสินเชื่อสำหรับธุรกิจ และ ธุรกิจด้านประกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ
  • Innovation การลงทุนในกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีโอกาสเติบโตสูง

พร้อมให้บริการได้ภายใน 1 ปี

ทั้งนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกในช่วงกลางปี 2568 และจะเริ่มให้ดำเนินการจริงได้ในช่วง กลางปี 2569 ซึ่งทาง Lightnet มั่นใจว่าพร้อมจัดตั้ง Virtual Bank ภายใน 12 เดือน หลังจากที่ได้รับใบอนุญาตฯ 

“เราใช้เวลา 6 เดือนในการเปิด Bank Saqu Virtual Bank ในอินโดนีเซีย ดังนั้น เรามั่นใจว่าไม่เกิน 12 เดือนก็เปิดในไทยได้ จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีมีความพร้อม แต่แค่ต้องทำให้โลคอลไรซ์ เช่น ภาษา” ไซมอน หลุง กล่าว

โดย ไซมอน หลุง มองว่า โอกาสของประเทศไทยอยู่ที่บริการทางการเงินสำหรับ กลุ่มลูกค้า Unserved และ Underserved ทั้งในกลุ่มรายย่อย และกลุ่ม MSME ที่มีความต้องการสินเชื่อรวมกว่า 1.4 ล้านล้านบาท 

“เรามองว่ายิ่งมีผู้เล่นเยอะ ยิ่งมีการแข่งขันยิ่งดี เพราะในฮ่องกงมีธนาคารกว่า 70 ราย แต่ไทยมีไม่ถึง 20 ราย ด้วยประสบการณ์ทำให้เรามีความมั่นใจ” ไซมอน หลุง ทิ้งท้าย

]]>
1493151
เปิดมุมมอง ‘ผยง ศรีวณิช’ CEO ‘กรุงไทย’ ถึงการทำ ‘Virtual Bank’ จะเป็นตัวช่วยสำคัญ ‘ต่อลมหายใจ SME’ https://positioningmag.com/1486911 Tue, 20 Aug 2024 07:00:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486911 ประเทศไทยมีจำนวน SMEs ประมาณ 2 ล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 99.5% ของผู้ประกอบการของไทย และ SMEs ก็รองรับการจ้างงานประมาณ 70% ของภาคการผลิตไทย แต่อย่างที่รู้กันว่าปัจจุบัน SMEs ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทาย ดังนั้น การที่ SMEs จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในระบบ อาจเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้ SMEs ลืมตาอ้าปากได้ แต่คำถามคือ จะทำอย่างไร

เศรษฐกิจนอกระบบไทยสูงถึง 50% ของ GDP

ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้เล่าถึง ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการเงินของไทย ภายในงาน CEO Vision : Business Strategy 2024 ว่า ไทยเป็นประเทศที่ เศรษฐกิจนอกระบบ สูงถึง 50% ต่อ GDP ซึ่งถือเป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคอาเซียนเลยทีเดียว โดยถ้าเทียบกับ เวียดนาม นั้นอยู่เพียง 14.4% เท่านั้น ส่วนเพื่อนบ้านที่มีตัวเลขสูง ๆ อาทิ ฟิลิปปินส์ ก็อยู่ที่ 39.8% หรือ มาเลเซีย ที่ 30.5%

เมื่อดูตัวเลขของ SMEs ที่ จดทะเบียนธุรกิจ มีเพียง 26% ขณะที่ ผู้ประกอบการที่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารมีเพียง 17% ด้านประชากรไทยที่ไม่สามารถเข้าถึงธุรกรรมการเงินได้ก็มีตัวเลขถึง 27% นอกจากนี้ จำนวนประชากรไทยหายออกไปจากระบบแรงงานหรือไม่มีข้อมูลในระบบธนาคารพาณิชย์ยังสูงถึง 51% ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ เงินกู้นอกระบบ จึงเป็นทางเลือกเดียวที่ประชาชนหรือผู้ประกอบการต้องไปหยิบยืมเพื่อนำไปดำเนินธุรกิจต่อ

 

ปรับรูปแบบปล่อยกู้แล้ว แต่ยังไม่พอ

ที่ผ่านมา กรุงไทยยังได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปล่อยสินเชื่อ จากที่ให้แต่ละสาขาสามารถอนุมัติเองได้มาเป็นการ อนุมัติผ่านศูนย์กลาง เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งคนทั่วไปและ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น แต่จากตัวเลขเศรษฐกิจนอกระบบก็แสดงให้เห็นว่า ยังไม่เพียงพอ ดังนั้น การมาของ Virtual Bank จะเข้ามาลดช่องว่างได้

ปัจจุบัน ธนาคารกรุงไทย มีลูกค้า 40 ล้านคน และมีลูกค้าที่ไม่อยู่ในช่องทางดิจิทัลเพียง 7 ล้านคน แต่ต้องยอมรับว่าไม่ใช่คนทุกกลุ่มที่จะใช้บริการดิจิทัลได้ โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ ดังนั้น ธนาคารกรุงไทยจึงเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่มี จำนวนสาขามากที่สุดในไทย เพื่อให้บริการลูกค้า

“เรามีสาขาและจุดบริการมากที่สุด 966 จุดทั่วประเทศ โดยเราพยายามทำให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล โดยเรามีการวัดระยะรัศมีจากสาขาหรือตู้เอทีเอ็มให้ครอบคลุมประชากรในระยะ 5-10 กิโลเมตร เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะบางคนมีมือถือ แต่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ นี่จึงเป็นข้อจำกัด”

Virtual Bank ไม่ใช่ใครก็ทำได้

ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติให้มีการเปิดให้บริการ Virtual Bank โดยหนึ่งในปัจจัยหลัก ๆ คือ ต้องการแก้ปัญหาการเข้าสินเชื่อให้กลุ่มคนที่อยู่นอกระบบ อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อจำกัดเพื่อให้เป็น Virtual Bank แตกต่างจากแบงก์ก็คือ ห้ามมีสาขา ยกเว้นมีผ่านพันธมิตร เพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด อีกทั้งต้องมี Economy of Scale และสุดท้ายต้อง เข้าถึงลูกค้านอกระบบ ได้จริง ดังนั้น พันธมิตรต้องมีมิติที่มาเติมเต็มในสิ่งที่กรุงไทยไม่มี โดยเฉพาะศักยภาพการเข้าถึงช่องว่างของระบบเศรษฐกิจได้ ดังนั้น พันธมิตรต้องมีส่วนช่วยในการวิเคราะห์สินเชื่อ และเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนถึงฐานรากจริง ๆ

“ปัจจุบัน เรามีการใช้เอไอช่วยวิเคราะห์สินเชื่อ แต่ต่อให้ใช้เอไอยังไงก็หนีมิติ Humanization กับ Special Data ที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของคนที่ปล่อยกู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น พันธมิตรที่เข้ามาทำ Virtual Bank ต้องเติมเต็มตรงนี้ เพราะธนาคารไม่มีข้อมูลของเศรษฐกิจนอกระบบ ดังนั้น การที่ได้ข้อมูลจากพันธมิตร จะช่วยให้ธนาคารมีความเข้าใจพฤติกรรมได้ดีขึ้น

เพื่อตอบโจทย์ข้อกำหนดดังกล่าว กรุงไทยจึงได้ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานรายใหญ่ของไทย และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทย มาเป็น พันธมิตร ในการทำ Virtual Bank

เพราะกัลฟ์และเอไอเอสมี ฐานลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยให้ Virtual Bank สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากจำนวน สาขา ที่มีด้วย และเมื่อนำดาต้ามารวมกันจะยิ่งช่วยให้มีความเข้าใจตัวลูกค้า ซึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านราย แต่กรุงไทยมีลูกค้า 40 ล้านราย ส่วนเอไอเอสมีลูกค้า 40 ล้านราย ซึ่งมีจุดที่ทับซ้อนกันสูง ดังนั้น ก็จะสามารถนำดาต้าลูกค้ามาแมตช์กันเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อให้บริการได้อย่างแม่นยำและตรงจุด นอกจากนี้ ยังใช้ประโยชน์จากสาขาของเอไอเอสในการเข้าถึงลูกค้าได้ด้วย

Virtual Bank ก็เสี่ยงเจ๊ง

สุดท้าย ผยง ย้ำว่า Virtual Bank จะเข้ามาลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการเงิน แต่ไม่อยากให้มองว่าเป็น การผูกขาดของทุนใหญ่ เพราะการทำ Virtual Bank ก็มีความเสี่ยงที่จะ เจ๊ง

“ทุกคนเข้ามาโดยเชื่อว่าจะได้กำไร แต่ไม่ได้แปลว่าจะรอด อย่าง Virtual Bank ในสิงคโปร์ก็ยังร่อแร่ ดังนั้นคำว่า ผูกขาดปัญหาใหม่ แต่อยากให้ชั่งน้ำหนักปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาหนี้นอกระบบ ปัญหาหนี้ครัวเรือน”

]]>
1486911
SCBX เปิดตัวพันธมิตรอีกรายจากประเทศจีน ‘WeBank’ มองช่วยขยายขอบเขตในการทำธุรกิจ Virtual Bank https://positioningmag.com/1467383 Fri, 22 Mar 2024 14:48:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1467383 SCBX ได้เปิดตัวพันธมิตรอีกรายในการทำธุรกิจ Virtual Bank นั่นก็คือ ‘WeBank’ ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่จากประเทศจีน ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินรายดังกล่าวมีพันธมิตรที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้อย่าง KakaoBank ซึ่งมาจากเกาหลีใต้

SCBX ได้ประกาศเปิดตัวพันธมิตรอีกรายในการทำธุรกิจ Virtual Bank นั่นก็คือ ‘WeBank’ ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่จากประเทศจีน ซึ่งทางสถาบันการเงินรายใหญ่มองว่าจะช่วยขยายขอบเขตในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการเจาะลูกค้าที่ยังไม่เข้าถึงบริการทางการเงิน

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของ SCBX ตามหลังมาจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศแนวทางการขอใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ในปี 2022 ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง SCBX ได้เปิดตัวพันธมิตรได้แก่ KakaoBank ซึ่งมาจากเกาหลีใต้

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX กล่าวว่า เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์และมีความคล่องตัวจะเป็นรากฐานที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้ Virtual Bank ประสบความสำเร็จ WeBank ซึ่งเป็นธนาคารดิจิทัลชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SCBX ยังชี้ว่า การร่วมมือกับ WeBank ในครั้งนี้ จะช่วยขยายขอบเขตและศักยภาพทางเทคโนโลยีของ Virtual Bank พร้อมยกระดับประสบการณ์การใช้บริการธนาคารที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า มุ่งหวังที่จะร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการบริการที่ทันสมัยเพื่อตอบสนองความต้องการของคนไทย

ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายนปี 2023 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SCBX ได้กล่าวว่า Virtual Bank จะช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มโอกาสให้กลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบนี้ ให้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และการจัดตั้ง Virtual Bank ให้แข็งแรงนั้น จะต้องอาศัยเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคตที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

สำหรับ WeBank นั้นถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจ Virtual Bank ในประเทศจีน มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดคือ Tencent ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของประเทศจีน เจ้าของแพลตฟอร์มอย่าง WeChat และ QQ เป็นต้น

การประกาศเป็นพันธมิตรกับ WeBank และ KakaoBank แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการขอใบอนุญาต Virtual Bank ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งคู่แข่งทั้งสถาบันการเงินและบริษัทใหญ่ๆ ในประเทศไทยต่างจับจ้องในการขอใบอนุญาตดังกล่าว

]]>
1467383
‘True Money’ พร้อมเป็น ‘เวอร์ชวล แบงก์’ วางเป้าใหญ่ปี 2025 คนไทย ‘ครึ่งประเทศ’ ใช้แพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1431798 Thu, 25 May 2023 13:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431798 หลังจากที่ ดอลฟิน วอลเล็ท (Dolfin Wallet) โบกมือลาตลาดไทยตามรอย เจดี เซ็นทรัล (JD CENTRAL) ตลาดอีวอลเล็ทก็เหลือผู้เล่นหลัก ๆ เพียง 3-4 รายเท่านั้น และเบอร์ 1 ของตลาดในนาทีนี้คือ ทรูมันนี่ (True Money) ที่ให้บริการมาแล้ว 8 ปี และก้าวต่อไปจากนี้ของทรูมันนี่ คือการเทียบชั้นกับ ธนาคาร และกำลังมองถึงความเป็นไปได้ของ เวอร์ชวล แบงก์ (Virtual Bank)

ดันแพลตฟอร์มเป็นมากกว่าอีวอลเล็ท

อยู่ในตลาดมานานถึง 8 ปี สำหรับ ทรูมันนี่ (True Money) จนปัจจุบันมีผู้ใช้ในไทยถึง 27 ล้านราย โดยมีแอคทีฟยูสเซอร์ราว 17-18 ล้านคน/เดือน มีจุดรับชำระของแพลตฟอร์มมีกว่า 7 ล้านจุดมากสุดในประเทศไทย และสามารถใช้จ่ายบนร้านค้าออนไลน์กว่า 1.3 ล้านร้านค้าทั่วโลก นอกจากนี้ ยังสามารถใช้จ่ายในต่างประเทศได้กว่า 40 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น, เกาหลี และจีน ที่จะสามารถชำระได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

ปัจจุบัน สามารถแบ่งบริการของทรูมันนี่ได้ 3 กลุ่ม ซึ่งครอบคลุมแทบไม่ต่างจากธนาคาร ได้แก่

  • บริการในกลุ่มใช้จ่าย: ทั้งการจ่ายออนไลน์ ออฟไลน์ โอนเงิน ใช้จ่ายต่างประเทศ และวงเงินใช้ก่อนจ่ายทีหลัง
  • บริการในกลุ่มการเงิน: บริการด้านการออม ลงทุน ประกัน และสิทธิประโยชน์หลากหลาย
  • บริการสนับสนุนธุรกิจ: บริการสนับสนุน SME และผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ระบบสมาชิก และฟีเจอร์โปรโมตร้านค้า เป็นต้น

แม้จะมีบริการทางการเงินที่หลากหลาย มีธุรกรรมต่อวันหลายสิบล้านผ่านแอปพลิเคชัน แต่การใช้บริการหลักจะเป็น ดิจิทัลเพย์เมนต์ เช่น การซื้อแอปพลิเคชัน, ชำระค่าบริการคอนเทนต์ต่าง ๆ , เติมเงินเกม รวมถึงการซื้อสินค้าบนอีมาร์เก็ต ส่วนผู้ที่เปิด บัญชีเงินฝากและลงทุนมีเพียง 2.5 ล้านบัญชี เท่านั้น ส่วนบริการ ใช้ก่อนโอนที่หลัง มีลูกค้า 1.2-.1.3 ล้านราย

ดังนั้น ภารกิจของทรูมันนี่คือ ดันบริการอื่น ๆ ให้ผู้ใช้เก่าได้ใช้ ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มฐานผู้ใช้ใหม่ ซึ่งปัจจุบัน ลูกค้ากลุ่มใหญ่ของทรูมันนี่จะเป็นกลุ่ม Gen Y มีสัดส่วนมากถึง 40% เฉลี่ยมีการเติมเงินเข้าระบบราว 3-4 พันบาท มีการใช้งานเฉลี่ย 20 ครั้ง/เดือน

ทุ่มงบดึงลิซ่าหวังเพิ่มผู้ใช้เป็น 35 ล้านราย

มนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา การเติบโตของทรูมันนี่เป็นแบบออร์แกนิกซึ่งเกิดจากการแนะนำบอกต่อแบบปากต่อปาก เนื่องจาก ทรูมันนี่ยึดหลักว่า ต้องทำให้การเข้าถึงทำได้ง่าย มีข้อจำกัดให้น้อยที่สุด และต้องเกิดคุณค่าในทุก ๆ การใช้งาน รวมถึงแพลตฟอร์มต้องมีความปลอดภัย นอกจากนี้ การมาของโควิดก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้คนใช้งานแพลตฟอร์มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายปีนี้ของทรูวอลเล็ทคือ เพิ่มผู้ใช้เป็น 35 ล้านรายภายในสิ้นปี และมีแอคทีฟยูซเซอร์ 20% โดยมนสินี ยอมรับว่าเป็นตัวเลขที่สูงแต่มั่นใจว่าเป็นไปได้ เพราะในปีนี้แบรนด์ได้ดึง ลิซ่า แบล็กพิงก์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น

“เราต้องการสื่อว่าแบรนด์เราก็ใหญ่ เป็นระดับ Top เหมือนกับลิซ่า และเชื่อว่าภาพของลิซ่านั้นเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม โดยการดึงลิซ่ามาเราลงทุนหนักมาก และเราจะเข้าถึงทุกช่องทางทั้งออนไลน์ ออฟไลน์”

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ทรูมันนี่ต้องการเข้าถึงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • เด็ก วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 13 ปี: ที่จะเป็นรากฐานใหม่ของแพลตฟอร์ม
  • เฟิร์สจ็อบเบอร์: เพื่อขยายการเข้าถึงการลงทุน
  • sme รายย่อย: เพื่อขยายบริการกลุ่มสินเชื่อ

นอกจากนี้ ทรูมันนี่มองว่ากลุ่ม ต่างจังหวัด เป็นอีกส่วนที่ยังเติบโตได้ แต่ที่ปัจจุบันผู้ใช้งานหลักของทรูมันนี่เป็นคนกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ เพราะมีจุดชำระที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังพร้อมที่จะใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ

“เรามองว่ามันเป็นจังหวะเวลาที่ใช่สำหรับการใช้พรีเซ็นเตอร์ระดับโลกครั้งแรก เพราะที่ผ่านมา 90% ลูกค้าใช้เราโดยไม่เกี่ยวกับแคมเปญการตลาด ซึ่งตอนนี้เราไม่ใช่แค่ต้องการดึงลูกค้าใหม่ แต่โจทย์ต้องทำให้ลูกค้าเก่ารู้ว่าเรามีบริการที่หลากหลาย และลอยัลตี้จะยิ่งแข็งแกร่งกว่านี้ ถ้ารู้ว่าเรามีเฟีเจอร์เยอะ ไม่ใช่แค่จ่ายเงิน แต่เป็นไฟแนนเชียลแพลตฟอร์ม”

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด, นางสาวณัฐวดี แซ่เอี้ย ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และนวัตกรรมทางธุรกิจ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด และนางอนัณทินี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด

ก้าวข้ามวอลเล็ทสู่การเป็น เวอร์ชวล แบงก์

แม้ว่าจำนวนผู้เล่นในตลาดอี-วอลเล็ทจะลดลง แต่ไม่ได้ทำให้นัยการแข่งขันแตกต่างไป เพราะแพลตฟอร์มก้าวข้ามการเป็นอีวอลเล็ทไปแล้ว และปัจจุบันก็มีจำนวนการใช้งานไม่ต่างจาก ธนาคาร ซึ่งแพลตฟอร์มพยายามจะหา ช่องว่างที่ธนาคารไม่มี มาพัฒนาเป็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อมาตอบสนองลูกค้า

“ในตลาดอี-วอลเล็ทเราคิดว่าเราเป็นอันดับ 1 มีมาร์เก็ตเเชร์เกิน 90% และตอนนี้เราไม่ได้เทียบตัวเรากับตลาดวอลเล็ท แต่เราเทียบกับธนาคาร จะบอกว่าเป็นซูเปอร์แอปฯ ก็ได้ แต่เป็นซูเปอร์แอปฯ ทางด้านไฟแนนซ์”

เป้าหมายภายในของทรูมันนี่ ก็คือการทำ IPO รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะผันตัวเป็น เวอร์ชวล แบงก์ (Virtual Bank) ซึ่งทรูมันนี่มองว่าแพลตฟอร์มีหลายคุณสมบัติที่จะทำเวอร์ชวล แบงก์ได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการต่าง ๆ ที่คล้ายกับธนาคาร รวมถึงฐานลูกค้าที่แข็งแรง ดังนั้น ทรูมันนี่จึงต้องเร่งสร้างการเติบโตที่แข็งแรงมากพอที่จะทำ IPO และการเป็นเวอร์ชวล แบงก์ในอนาคต

เป้าใหญ่ดึงคนไทยครึ่งประเทศเป็นแอคทีฟยูสเซอร์

ปัจจุบัน รายได้จากกลุ่มเพย์เมนต์ถือเป็นสัดส่วนหลัก ส่วนกลุ่มอื่น ๆ อาทิ การกู้ยืม, การลงทุน อยู่ในจุดที่สามารถทำกำไรให้กับบริษัทได้แล้ว นอกจากนี้ อัตราหนี้เสียก็ยังน้อยมาก โดยมองว่า ภายใน 2 ปี กำไรจากบริการทางการเงินจะมีสัดส่วนถึง 50% จากปัจจุบันคิดเป็น 10% นอกจากนี้ 50% ของประชากรไทยต้องเป็นแอคทีฟยูสเซอร์ที่ใช้งานทรูมันนี่วอลเล็ททุกเดือน และ 20% ต้องใช้บริการทางการเงินของแพลตฟอร์ม

“แน่นอนว่าเราอยากเป็นเวอร์ชวล แบงก์ แต่ตอนนี้กฎยังไม่ชัดเจน ถ้าเกณฑ์กำหนดมันไม่ยากเกินไป เราก็มีโอกาส ซึ่งถ้าเราได้ทำเวอร์ชวล แบงก์ ในแง่ประโยชน์ของลูกค้าปลายทางก็จะได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ และเราก็สามารถขยายความเสี่ยงในการปล่อยกู้ไปยังกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น เซกเมนต์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น”

]]>
1431798
ผลสำรวจของ Visa เผยคนไทยสนใจใช้งาน Virtual Bank ถึง 90% ปี 73 ไทยเป็นสังคมไร้เงินสดได้ https://positioningmag.com/1423086 Tue, 14 Mar 2023 08:40:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423086 ผลสำรวจล่าสุดจาก Visa ชี้ว่าคนไทยถึง 90% สนใจใช้งาน Virtual Bank อย่างไรก็ดีก็ยังเลือกใช้บริการของธนาคารรูปแบบปกติ เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือ ขณะเดียวกัน 71% ของผู้สอบถามยังชี้ว่าประเทศไทยสามารถเป็นสังคมไร้เงินสดได้ภายในปี 2573 ได้

วีซ่า (Visa) ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยที่มีอายุ 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา และมีรายได้ขั้นต่ำต่อคนที่ 15,000 บาท จำนวน 1,050 คน จากผู้สำรวจทั้งหมดใน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม รวมกัน 6,550 คน เพื่อสอบถามถึงทัศนคติต่อการชำระเงิน

ผลสำรวจพบว่าคนไทยจำนวน 90% สนใจใช้งานธนาคารเสมือนจริง (Virtual Bank) ซึ่งบริการดังกล่าวนั้นให้บริการเหมือนธนาคารเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการฝากถอนเงิน การลงทุน ไปจนถึงเรื่องของสินเชื่อ เพียงแต่บริการดังกล่าวนี้ไม่มีสาขาของธนาคารเท่านั้น

สำหรับบริการ Virtual Bank ที่คนไทยสนใจใช้งานมากที่สุดคือ ฝากและถอนเงิน รองลงมาคือโอนเงินและชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่เพียงเท่านี้ ผลสำรวจของ Visa ยังชี้ว่าคนไทยมากถึง 92% สนใจที่จะใช้วิธีการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless)

ปัจจุบันทั้งสถาบันการเงินไทย ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร หรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งต่างสนใจ รวมถึงศึกษาเรื่องการทำธุรกิจ Virtual Bank อย่างจริงจัง อย่างไรก็ดีบริษัทที่จะทำธุรกิจดังกล่าวต้องใช้เงินลงทุนขั้นต่ำอย่างน้อย 5,000 ล้านบาท โดยในขั้นต้นนั้นทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกใบอนุญาตให้กับผู้ที่ชนะ โดยใบอนุญาตดังกล่าวมีจำนวนจำกัดแค่ 3 ใบ

อย่างไรก็ดีผู้ตอบแบบสอบถามมากถึง 65% กลับระบุว่าจะเลือกใช้บริการธนาคารทั่วไปเป็นบัญชีหลักมากกว่า  Virtual Bank เนื่องจากการบริการที่ดี ประสบการณ์การใช้บริการ และความน่าเชื่อถือที่ธนาคารเหล่านี้มอบให้กับลูกค้า

นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มากถึง 71% ยังเชื่อว่าประเทศไทยสามารถเป็นสังคมไร้เงินสดได้ภายในปี 2573 โดยหมวดการใช้จ่ายอันดับแรกๆ ที่จะเป็นแบบไร้เงินสดเต็มรูปแบบคือ การชำระค่าสาธารณูปโภคและบริการต่างๆ การชำระเงินที่ร้านสะดวกซื้อ และการชำระเงินในซูเปอร์มาร์เก็ต ตามลำดับ

]]>
1423086