William Li – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 20 Jun 2021 02:57:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “William Li” เตรียมพา NIO บุกนอร์เวย์ พารถยนต์ไฟฟ้าจีนพรีเมียมแซง Tesla https://positioningmag.com/1337847 Sat, 19 Jun 2021 20:09:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337847 “Li Bin” หรือที่โลกรู้จักกันในนามวิลเลียม ลี่” (William Li) นั้นเป็นผู้ก่อตั้งและซีอีโอของสตาร์ทอัพผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสัญชาติจีนชื่อ NIO ข่าวใหญ่ที่สุดในรอบปีที่ทำให้มหาเศรษฐีจีนรายนี้ถูกจับตามองคือราคาเฉลี่ยของรถยนต์ NIO นั้นแซงหน้าราคาเฉลี่ยของรถรุ่นพี่ทั้ง Tesla, BMW และ Audi ไปเรียบร้อย และสามารถนับเป็นแบรนด์รถยนต์ระดับไฮเอนด์ได้ในที่สุด

ลี่ประกาศเรื่องนี้บนเวทีการประชุมสุดยอดผู้ประกอบการดาวรุ่งจีนครั้งที่ 4 เมื่อปลายพฤษภาคม 64 โดยบอกว่า NIO วางจุดยืนเป็นผู้ผลิตรถยนต์ระดับพรีเมียม และโพสิชั่นตัวเองให้เป็นกลุ่มนิชในเซ็กเมนต์ EV สิ่งที่เกิดขึ้นคือ NIO สามารถส่งมอบรถยนต์จำนวน 102,803 คันในช่วงระยะเวลา 3 ปี ราคาขายเฉลี่ยของรถของบริษัทอยู่ที่ 434,700 หยวน หรือประมาณ 2.1 ล้านบาท

ราคานี้สูงกว่าราคาเฉลี่ยของผู้ผลิตรถยนต์หรูหราที่โลกคุ้นตา เช่น BMW และ Audi ขณะเดียวกันก็มีมูลค่ามากกว่าราคาเฉลี่ยของรถยนต์ Tesla นับแสนหยวน แถมลี่ยังชี้ให้เห็นถึงกลุ่มลูกค้าผู้ซื้อรถ NIO ที่มีอายุเฉลี่ย 37.2 ปี เป็นสัญญาณว่าแบรนด์สามารถเข้าถึงผู้ที่อายุน้อยกว่าแบรนด์อื่นที่อยู่ในระดับเดียวกัน

เหตุที่ทำให้ประเด็นนี้สำคัญ คือนักลงทุนมักจะสบายใจเมื่อได้เห็นบริษัทใดก็ตามมีพื้นที่ยืนอยู่ในระดับไฮเอนด์ สำหรับกรณีของ NIO บริษัทสามารถเรียกความเชื่อมั่นได้อีกครั้งหลังจากที่บริษัทเติบโต ดิ่งเหว แล้วกลับมาเติบโตอีกครั้ง โดยช่วงปี 62 ดาวรุ่งอย่าง NIO นั้นเกือบเข้าข่ายหมดเนื้อหมดตัว แต่วันนี้กลับมีมูลค่าตลาดสูงกว่ายักษ์ใหญ่เก่าแก่อย่าง General Motors ขณะเดียวกันก็สามารถรักษาช่องว่าง และส่วนต่างของราคาได้โดยที่จุดยืนพรีเมียมไม่ได้ส่งผลกระทบต่อยอดขาย เห็นได้ชัดจากการเติบโตของการส่งมอบรถที่เพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลักเมื่อเทียบปีต่อปี

ขยายไปนอร์เวย์

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ลี่ก้าวขึ้นไปบนเวทีงานใหญ่ที่เซี่ยงไฮ้ด้วยเสื้อยืดสีน้ำเงินเข้มที่พิมพ์คำ 2 คำ นั่นคือนอร์เวย์ 2021” งานวันนั้นเรียกความตื่นเต้นได้มากเพราะเป็นครั้งแรกที่ NIO จะให้รายละเอียดเรื่องแผนขยายอาณาจักรออกไปต่างประเทศ

เหตุที่ทุกอย่างมาลงตัวที่นอร์เวย์ คือนอร์เวย์เป็นประเทศแรกในโลกที่รถยนต์ไฟฟ้ามียอดขายแซงหน้ารถยนต์ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบเดิม ทำสถิติ 77,000 คันโดยกินสัดส่วนเกือบ 55% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในปี 2563

การปักธงที่นอร์เวย์จะเป็นบันไดสู่การขยายตลาดยุโรป ซึ่งแซงหน้าจีนไปเมื่อปีที่แล้วในฐานะตลาด EV ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลังที่รัฐบาลจีนออกงบอุดหนุนเพื่อกระตุ้นการซื้อในช่วงการระบาดใหญ่ 

ผลคือตั้งแต่ปี 65 เป็นต้นไป NIO เตรียมพร้อมจะเข้าสู่ตลาดยุโรปอีก 5 ประเทศหลังจากเริ่มส่งมอบรถยนต์ไปยังนอร์เวย์ในเดือนกันยายน 64 โดยวางแผนประเดิมตลาดด้วยรถเอสยูวี ES8 ในปีนี้ แล้วตามด้วยรถซีดาน ET7 ในปี 65 ก่อนจะเดินหน้าจัดตั้งระบบนิเวศที่สมบูรณ์ที่นอร์เวย์ ซึ่งจะครอบคลุมการพัฒนายานยนต์และการบริการเพื่อรวมแบรนด์เข้ากับไลฟ์สไตล์ชุมชน

ลี่วางหมากให้ NIO ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างสถานีชาร์จ รวมถึงสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ 4 แห่งในนอร์เวย์ที่จะเชื่อมต่อ 5 เมืองใหญ่ภายในสิ้นปี 2565 จุดนี้ลี่ย้ำว่านอร์เวย์เป็นประเทศที่เป็นมิตรกับ EV มากที่สุด ในขณะเดียวกัน วัฒนธรรมเรื่องความรักในธรรมชาติและนวัตกรรมก็สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทในหลายด้าน การตัดสินใจให้นอร์เวย์เป็นจุดหมายปลายทางในต่างประเทศแห่งแรกของบริษัทจึงสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของบริษัท ขณะที่ฐานของผู้ซื้อในนอร์เวย์ค่อนข้างมั่งคั่ง และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีก็จะยิ่งขับเคลื่อนการเติบโตของแบรนด์ขึ้นอีก

ลี่ยอมรับว่าตัวเองกำลังเผชิญกับความท้าทายในการขยายธุรกิจ แม้ว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในยุโรปจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่แล้วท่ามกลางการระบาดใหญ่ แต่แบรนด์ท้องถิ่นก็ยังมีภาษีมากกว่า ในไตรมาสแรก Volkswagen ของเยอรมนีเป็นแบรนด์ EV ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยคิดเป็น 21% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้ายุโรป ขณะที่ Tesla ซึ่งเคยครองตลาด 1 ใน 3 ในปลายปี 2562 ก็สูญเสียส่วนแบ่งตลาดไปเช่นกัน

แม้ว่าการเจาะตลาดใหม่ที่อยู่ไกลบ้านนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ซีอีโอคนเก่งแสดงความมั่นใจในแผนงานของบริษัทที่เติบโตได้ดี โดยระบุว่าจีนเป็นตลาด EV ที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในโลกอยู่แล้ว ดังนั้นถ้า NIO สามารถทำได้ในประเทศจีน ก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่สามารถทำในพื้นที่อื่นได้

ลุกแล้วล้ม ล้มแล้วลุก

ความมั่นใจถือเป็นจุดเด่นมากในตัวลี่ ที่ผ่านมา ซีอีโอวัย 46 ปีรายนี้ได้รับฉายาว่าเป็นอีลอน มัสก์ (Elon Musk) แห่งประเทศจีน ตลอดช่วง 7 ปีที่ผ่านมา บริษัทของลี่ได้เปลี่ยนจากสตาร์ทอัปมาเป็นธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของจีน สถิติการส่งมอบรถที่เติบโตสามารถนำ NIO กลับมาจากการล้มละลายในช่วงปลายปี 62 ได้อย่างตื่นตา

เวลานั้น NIO พบปัญหาผู้บริหารลาออก ต้องเรียกคืนรถที่วางจำหน่ายไปแล้ว และการชะงักของเงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่ล้วนทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทั้งหมดนี้ลี่เรียกว่า สุดยอดบททดสอบความเครียดซึ่งเป็นวิกฤตที่ทำให้บริษัทมืดมนของจริง

ลี่เคยให้สัมภาษณ์ว่าปัญหาครั้งนั้นของบริษัทเริ่มต้นขึ้นตามสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีการขัดขวางไม่ให้การระดมทุนในตลาดหุ้นอเมริกันเป็นไปอย่างที่วางแผนไว้ หลังจากการเปิด IPO ครั้งแรกของ NIO ในปี 2018 ที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก บริษัทจึงระดมทุนได้เพียงครึ่งหนึ่งของงบใหญ่ 2 พันล้านดอลลาร์ที่คาดหวังไว้ในช่วงแรก ซึ่งทำให้แผนการเงินของบริษัทยุ่งเหยิง

การเรียกคืนแบตเตอรี่ที่มีต้นทุนสูง ยิ่งทำให้การเงินของ NIO ตึงเครียดยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการชะลอตัวของตลาดรถยนต์จีนในช่วงที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าลดลง 4% ในปี 62 การโบกมือลาของผู้บริหารระดับสูงจึงตามมา ขณะที่ NIO ในเซี่ยงไฮ้ลดจำนวนพนักงานทั่วโลกลง 1 ใน 4 จนเหลือพนักงานน้อยกว่า 7,500 คน ซึ่งรวมถึงการยุบหน่วยงานที่สำนักงานในอเมริกา 

ช่วงที่ NIO กลับมาได้ คือปลายปี 62 จุดนี้ลี่ยอมรับว่า NIO มีข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งที่บริษัทสตาร์ทอัปรายอื่นไม่มี นั่นคือการขายรถยนต์นั้นทำให้มีกระแสเงินสดเติมเข้ามารวดเร็วมาก โดยมียอดส่งมอบรถยนต์ประมาณ 8,000 คันในไตรมาสที่ 4 ของปี 62 ทำให้กระแสเงินสดกว่า 400 ล้านดอลลาร์ไหลเข้ามาในบริษัท

นั่นเป็นส่วนสำคัญมากสำหรับเรา เพราะ จุดนั้น เราไม่มีช่องทางทางการเงินอื่น

ถึงวันนี้ NIO ส่งมอบรถยนต์ 20,060 คันในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 5 เท่าจากปีก่อนหน้าแม้ความต้องการในตลาดจะถูกระงับเพราะโควิด-19 ยอดขายของบริษัทเติบโตมากกว่า 490% ในช่วงเวลานั้น แตะระดับ 7.4 พันล้านหยวน และขาดทุนสุทธิลดลงเหลือ 451 ล้านหยวน

ทั้งหมดนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของชายหนุ่มที่ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัประดับโลกตั้งแต่เริ่มต้นด้วยการจ้างนักออกแบบและวิศวกรในลอนดอนและแคลิฟอร์เนียภายในหนึ่งปี จนกระทั่ง Tencent ยื่นมือเข้ามาเป็นเจ้าของหุ้น 10% ใน NIO ก่อนจะผ่านการเปลี่ยนแปลงและการระดมทุนหลายพันล้านดอลลาร์จากกลุ่มทุนของ Baillie Gifford, BlackRock, Sequoia China และ Temasek 

คาดกันว่า NIO จะขาดทุนติดตัวแดงนาน 3 ปีเท่านั้น ซึ่งลี่ย้ำว่าตั้งใจแน่วแน่ที่จะไล่ตามเส้นทางที่วางเอาไว้.

ที่มา

อ่านข่าวต่อเนื่อง >> https://positioningmag.com/1299306

]]>
1337847
“วิลเลี่ยม หลี่” เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า Nio มหาเศรษฐีฉายา “อีลอน มัสก์” สัญชาติจีน https://positioningmag.com/1299306 Fri, 02 Oct 2020 14:15:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299306 เกิดในฟาร์มโคนม แต่โตมาเป็นซีอีโอของยนตรกรรมไฟฟ้าสุดล้ำ นิโอ (Nio) ก็ได้ด้วย ซึ่งจากผลงานความล้ำสมัยนี่เอง ทำให้ วิลเลี่ยม หลี่ หรือ หลี่ปิน มหาเศรษฐีชาวจีน คว้าฉายา “อีลอน มัสก์” สัญชาติจีนมาครอง

หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง หลี่ปิน ก็ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพด้านไอทีของตัวเองขึ้นมาตอนอายุ 21 เช่นเดียวกับ อีลอน มัสก์ นายใหญ่ Tesla ทำการลงทุนในธุรกิจไอที และรถยนต์ตั้งแต่เริ่มต้น

กว่าจะถึงปัจจุบันที่วัย 45 ปี หลี่ปิน ก็ลงทุนในอุตสาหกรรมไอที และรถยนต์ไปแล้วกว่า 40 บริษัท รวมทั้ง Nio โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

คาดว่า “อีลอน มัสก์” แห่งเซี่ยงไฮ้ ร่ำรวยราวๆ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลำพังเฉพาะ Nio บริษัทเดียวก็สร้างรายได้มากกว่าครึ่ง

หลี่ปิน ก่อตั้งบริษัท Nio ขึ้นในปี 2014 ก่อนที่จะเปิดตัวรถ SUV ระบบไฟฟ้าให้สั่งจองได้เป็นคันแรกในปี 2017 ผ่านรูปแบบคราวด์ฟันดิ้ง ได้เงินทุนไปถึง 2,100 ล้านดอลลาร์ และสามารถเปิดตัวผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้อย่างเป็นทางการในปีต่อมา

ไม่แปลกเลยที่ Nio มักจะได้รับการขนานนามว่าเป็น เทสลาแห่งจีนแผ่นดินใหญ่ ด้วยยอดขายที่พุ่งพรวดอย่างรวดเร็ว โดยในเดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา ทำลายสถิติการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าได้ถึง 3,965 คันในเดือนเดียว เมื่อรวมทั้งปีมีอัตราการขยายตัวของยอดขาย 104.1%

Photo : Shutterstock

ถึงจะเป็นลูกชายของเจ้าของฟาร์มเล็กๆ ในมณฑลอานฮุย แต่บิดาของหลี่ปินเป็นคนทันสมัย เขามองการณ์ไกลตั้งแต่แรก ด้วยการเก็บเงินสำหรับเป็นทุนการศึกษาของลูกชายตั้งแต่เด็ก ขณะที่หลี่ปินก็สนับสนุนปณิธานของผู้เป็นพ่อ ด้วยการเรียนไปทำงานไป จนในที่สุดก็จบการศึกษาเอกสังคมวิทยา โทกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

หลี่ปินเปิดบริษัทสตาร์ทอัพด้านอินเทอร์เน็ตบริษัทแรกขึ้นในปี 1996 กระทั่งอีก 4 ปีต่อมา ก็เปิดบริษัททำเว็บข่าวการตลาดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ขึ้นมา

การได้คลุกคลีกับบริษัทรถยนต์ ได้สัมภาษณ์ผู้บริการระดับสูงของค่ายรถยนต์ชั้นนำ ทำให้เขาเข้าใจตลาดรถยนต์อย่างทะลุปรุโปร่ง เว็บของเขาได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง จนทำให้หลี่ปินกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลในวงการรถยนต์ไปโดยปริยาย เขาทำเว็บไซต์นี้อยู่ 13 ปี ก่อนจะขายออกไปในปี 2013 แล้วเริ่มนำเงินไปลงทุนในอุตสาหกรรมรถจริงจัง โดยเริ่มจากการก่อตั้ง โมไบค์ ผู้บุกเบิกแพลตฟอร์มจักรยานสาธารณะ ก่อนจะเปิดบริษัท Nio ในปีต่อมา

หลี่ปิน บอกว่า แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ยนตรกรรมไฟฟ้า มาจากการเห็นความสำเร็จของ เสี่ยวหมี่ บริษัทไอทีของจีนที่ได้การยอมรับไปทั่วโลก โดยโมเดลแรกของ Nio เป็นรถยนต์สปอร์ต 2 ประตู Nio EP9 เปิดตัวที่ซาตชิ แกลเลอรี ในกรุงลอนดอน ปี 2016 ขายให้นักลงทุนกลุ่มแรก 6 คันมูลค่ารวม 3.2 ล้านดอลลาร์

Nio เพิ่งออกมาประกาศเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่าสามารถระดมทุน (Crowdfunding) ได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งช่วยลดค่าใช่จ่ายสำหรับแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าของพวกเขาลงได้ถึง 25%

Source

]]>
1299306