Work Life Balance – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 Jun 2024 02:28:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไม่ใช่เล่น ๆ! ‘Work ไร้ Balance’ อาจส่งผลทำให้ GDP โลกลดถึง 9% https://positioningmag.com/1478308 Sun, 16 Jun 2024 12:29:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478308 ขึ้นชื่อว่าการทำงาน แน่นอนว่า ความเครียด ถือเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอารมณ์เชิงลบในแต่ละวันของพนักงานและการขาดความเป็นอยู่ที่ดี อาจจะยิ่งส่งผลเสียต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน และเป็นไปได้ว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจในที่สุด

จากการสำรวจพนักงาน 128,278 คนในกว่า 140 ประเทศ เมื่อปีที่ผ่านมา โดย Gallup ได้เปิดเผยรายงานที่ประมาณการว่า การมีส่วนร่วมของพนักงานที่ต่ำ ทำให้เกิด ความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก 8.9 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 9% ของ GDP โลก

โดยแบบสำรวจดังกล่าวพบว่า พนักงานประมาณ 20% ทั่วโลกรายงานว่ารู้สึกเหงา โกรธ หรือเศร้าในแต่ละวัน และโดยเฉลี่ย 41% บอกว่าพวกเขารู้สึกเครียด และผู้ที่มีแนวโน้มจะรู้สึกเหงามากที่สุดคือ 

  • พนักงานที่รู้สึกไม่ผูกพันกับงาน (31%)
  • พนักงาน Full Time ที่ทำงานจากระยะไกล (25%)
  • พนักงานอายุน้อย (22%)

โดยงานสามารถช่วยให้ความเป็นอยู่ของพนักงานแย่ลงหรือดีขึ้นได้ โดยรายงานของ Gallup ระบุว่า เมื่อพนักงานพบว่างานและความสัมพันธ์ในการทำงานของตนมีความหมาย งานจะสัมพันธ์กับความเพลิดเพลินในแต่ละวัน ในทางกลับกัน พนักงานที่ไม่ชอบงานของตน มักจะมีความเครียดและความกังวลในแต่ละวันในระดับสูง รวมถึงอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ ในระดับสูงด้วย

อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่า มีพนักงานเพียง 23% เท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการทำงาน ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า โดยพนักงานที่มีส่วนร่วมเหล่านี้ เขามองว่าตนเองเป็น เจ้าของกิจการ ในเชิงจิตวิทยา ทำให้คนกลุ่มนี้จะมีส่วนร่วมอย่างมากและกระตือรือร้นเกี่ยวกับงานและสถานที่ทำงานของตน ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพและนวัตกรรม และองค์กรไปข้างหน้า

แต่ก็มีพนักงานมากถึง 62% ที่ไม่ยึดติดกับงานและบริษัท ซึ่งเพิ่มขึ้น 3% เนื่องจากความต้องการด้านการมีส่วนร่วมของพวกเขาไม่ได้รับการสนองตอบอย่างเต็มที่ พวกเขาจึง ทุ่มเทเวลาแต่ไม่ได้ใช้พลังงานหรือความหลงใหลในการทำงาน

ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดขององค์กร คือ การเน้นย้ำความเป็นอยู่ที่ดีทั้งในที่ทำงานและในชีวิต และให้ความสำคัญกับการจ้างงานและการพัฒนาผู้จัดการเป็นอันดับแรก เพราะ มื่อผู้จัดการมีส่วนร่วม พนักงานมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้น

“หน่วยธุรกิจที่พนักงานมีส่วนร่วมสูง มีแนวโน้มที่จะเห็นความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับประสิทธิภาพการทำงาน ความสามารถในการทำกำไร และการขายที่สูงกว่าทีมที่มีส่วนร่วมต่ำ”

Source

]]>
1478308
‘โคเปนเฮเกน’ ขึ้นแท่นเมืองที่มี Work Life Balance อันดับ 1 ของโลก https://positioningmag.com/1421731 Fri, 03 Mar 2023 06:48:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421731 ตามรายงานฉบับใหม่จาก MoneyNerd เว็บไซต์การเงินส่วนบุคคลที่ใช้ข้อมูลจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD), รายงานความสุขโลก, Glassdoor, LinkedIn เพื่อพิจารณาว่า 25 เมืองใหญ่สุดของโลก เมืองไหนมี ผู้อยู่อาศัยที่มีความสุขที่สุดและมีโอกาสเข้าถึงงานที่มีค่าตอบแทนสูงมากที่สุด โดยวัดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ค่าครองชีพ เงินเดือนเฉลี่ย จำนวนโอกาสในการทำงาน โดย 5 อันดับเมืองที่มีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและการใช้จ่าย ได้แก่

1.โคเปนเฮเกน

รายได้เฉลี่ย: 44,474 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 1,556,000 ล้านบาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 8.6 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7.6 เต็ม 10

2.อัมสเตอร์ดัม

รายได้เฉลี่ย: 44,367 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 1,552,000 บาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 8.3 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7.4 เต็ม 10

อัมสเตอร์ดัม
(Photo: Shutterstock)

3.นิวยอร์ก

รายได้เฉลี่ย: 71,401 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 2,499,035 บาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 5.2 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7 เต็ม 10

ภาพจาก Shutterstock

4.ออสโล

รายได้เฉลี่ย: 46,196 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 1,161,000 บาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 8.5 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7.4 เต็ม 10

5.ซูริก

รายได้เฉลี่ย: 82,191 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 2,876,000 บาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 7.7 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7.5 เต็ม 10

โคเปนเฮเกนได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองอันดับ 1 ของโลกที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตที่ดีและให้เงินเดือนที่แข่งขันได้ โดยเมืองหลวงของเดนมาร์กมีเงินเดือนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 44,474 ดอลลาร์/ปี แม้ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยเงินเดือนที่สูงที่สุด แต่คะแนนความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานสูงถึง 8.6 เต็ม 10 คะแนน เนื่องจากโคเปนเฮเกนได้รับการยกย่องว่า เป็นเมืองที่ปลอดภัย สินค้าอุปโภคบริโภคราคาย่อมเยา มีสวัสดิการที่น่าสนใจแก่คนงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Remote Working และนโยบายการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร

ที่น่าสนใจคือการติดอันดับของ นิวยอร์ก เพราะเป็นหนึ่งในเมืองที่มี ค่าครองชีพแพงสูงสุดของโลก และถือเป็นเมืองที่ต้อง เร่งรีบ แต่กลายเป็นว่านิวยอร์กกลับมีคะแนนความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก เช่น ฮ่องกงและดูไบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะว่าชาวนิวยอร์กมีรายได้มากกว่า

ในขณะเดียวกัน ปักกิ่ง ลิสบอน และ บูดาเปสต์ ถือเป็นเมืองที่เลวร้ายที่สุดสำหรับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน จากข้อมูลของ เนื่องจากทั้ง  เมืองนี้มี เงินเดือนเฉลี่ยต่อปีต่ำกว่าที่อื่น เมืองเหล่านี้มีเงินเดือนเฉลี่ยต่อปีต่ำตั้งแต่ 12,664-18,366 ดอลลาร์ (ราว 443,000-642,000 บาท) นอกจากนี้ยัง มีตำแหน่งงานที่ว่างน้อย ทำให้การหางานมีการแข่งขันที่สูง

ส่วนอันดับ 4 และ 5 ของเมืองยอดแย่ ได้แก่ ดูไบ และ ฮ่องกง ตามลำดับ แม้ว่าช่วงเงินเดือนเฉลี่ยจะดีขึ้นเป็น 34,271-50,853 ดอลลาร์ (1,199,000-1,779,000 บาท) แต่เมืองเหล่านี้ก็ยังขาดคะแนนความสุข (6.6 และ 5.4 ตามลำดับ) และคะแนนค่าครองชีพเทียบกับเงินเดือนเฉลี่ยของเมือง (ตั้งแต่ 57.2 ถึง 70.6)

]]>
1421731
ส่องเทรนด์ทำงาน ‘4 วัน/สัปดาห์’ ในเอเชีย ประเทศไหนพร้อม-ไม่พร้อมเปิดรับ! https://positioningmag.com/1376175 Thu, 03 Mar 2022 09:38:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376175 การมีสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพนักงานจำนวนมาก แต่บางประเทศในเอเชียการทำงานยาว 6 วัน/สัปดาห์ยังคงเป็นเรื่องปกติ! ในขณะที่เทรนด์โลกเริ่มมีการทดลองทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ หลังจากเจอกับการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้พนักงานทั่วโลกได้ Work From Home อย่างไรก็ตาม ลองไปดูกันว่าแต่ละประเทศในภูมิภาคเอชียคิดเห็นอย่างไรกับการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์กันบ้าง

เจมส์ รูท หุ้นส่วนและประธานร่วมของ Bain Futures นักคิดของบริษัทที่ปรึกษา Bain & Company กล่าวว่า ที่ในภูมิภาคเอเชียมีการทำงานถึง 6 วัน/สัปดาห์เป็นเพราะหลายคนมีค่านิยมว่า การทำงานหนักจะทำให้ประสบความสำเร็จ โดยมีหลายประเทศที่มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน เช่น เกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พนักงานหลายคนเริ่มมองหา Work Life Balance ทำให้บริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงเอเชียกำลังมองหาวิธีที่ทำให้พนักงานมีสมดุลมากขึ้น อาทิ สามารถทำงานครึ่งวันทุกวันศุกร์, ทางเลือกในการทำงานจากที่บ้าน, การลาคลอด, ให้ทุนสนับสนุนสำหรับการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ แต่ปัจจุบันมีเทรนด์แรงที่คนใกำลังให้ความสนใจก็คือ การทำงาน 4 วัน/สัปดาห์

“เป้าหมายคือ การให้เวลาแก่พนักงานให้มีวันหยุดยาว แต่ยังคงประสิทธิภาพการทำงาน แน่นอนว่าค่าตอบแทนต้องไม่ลดตามจำนวนวันทำงาน ซึ่งจะทำให้ win-win สำหรับพนักงานและบริษัท”

Photo : Shutterstock

เริ่มมีบางบริษัทปรับใช้

ญี่ปุ่น ขึ้นชื่อว่ามีวัฒนธรรมการทำงานที่ โหดเหี้ยม ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน แถมคาดหวังให้พนักงานให้ความสำคัญกับ อาชีพของตนเหนือสิ่งอื่นใดในชีวิต จนเกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ว่า Karoshi ที่แปลว่า ความตายจากการทำงานหนักเกินไป

แต่เพราะ COVID-19 ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานที่เข้มงวดสูงของประเทศกลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้ง หลังจากที่ธุรกิจญี่ปุ่นเปลี่ยนให้มีชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และสามารถ Work From Home ได้ ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อความสุขของพนักงานอย่างไร

ย้อนไปในปี 2019 Microsoft Japan ได้ทดสอบการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ แม้ว่าชั่วโมงทำงานโดยรวมจะลดลง แต่ค่าจ้างพนักงานยังคงเท่าเดิมโดยพบว่า ประสิทธิภาพของพนักงานเพิ่มขึ้นเกือบ 40% และช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา Panasonic ได้ทดลองให้พนักงานทดลองทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เพื่อส่งเสริมสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับพนักงาน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้จะยังไม่เกิดขึ้น 100% จนกว่าจะถึงเดือนเมษายน 2566

“สวัสดิภาพของพนักงานของเรามีความสำคัญเป็นอันดับแรก และเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องสื่อสารและส่งเสริมความเข้าใจในจุดประสงค์นี้” Airi Minobe โฆษกของ Panasonic กล่าว

(Photo : Shutterstock)

พนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สนใจปรับใช้

จากการสำรวจที่ตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์โดยบริษัทวิจัย Milieu ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า พนักงานจากสิงคโปร์ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียต่างก็ กระตือรือร้นที่จะทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ โดยชาว สิงคโปร์ มากกว่า 76% แสดงความสนใจอย่างมากในงานที่มีวันหยุดสามวัน

พนักงานหลายคนในสิงคโปร์ไม่ต้องการชีวิตที่พวกเขาอาศัยอยู่เพื่อทำงาน แต่พวกเขาต้องการ “มีชีวิตและทำงานเพื่อรักษาชีวิตไว้” Jaya Dass กรรมการผู้จัดการ บริษัทจัดหางาน Randstad Singapore กล่าว ดังนั้น การมีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน เงินเดือน และผลประโยชน์ถือเป็นแง่มุมที่มีค่าที่สุดของงานสำหรับพนักงาน

Dass กล่าวว่า พนักงานชาวสิงคโปร์ไม่พร้อมที่จะสละชีวิตส่วนตัวเพื่อประกอบอาชีพอีกต่อไป แต่เนื่องจากค่าครองชีพที่สูง หลายคนจึงไม่เห็นด้วยที่จะลดชั่วโมงการทำงานลง หากเงินเดือนจะลดลงตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่คนงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกคนที่มีความกระตือรือร้นในการทำงานสัปดาห์ที่สั้นลง อย่างใน มาเลเซีย มีเพียง 48% เท่านั้นที่สนใจแนวคิดนี้อย่างมาก และอีก 41% รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับแนวคิดนี้ จากการสำรวจของ Milieu

Dass ระบุว่า ไม่ใช่แค่มาเลเซีย แต่ เมียนมา และ กัมพูชา ก็ไม่ได้สนใจที่จะทำงานแค่ 4 วัน/สัปดาห์ เพราะความต้องการความสมดุลระหว่างชีวิตและงานในประเทศเหล่านี้มีน้อย เพราะในระบบเศรษฐกิจเหล่านี้ ชั่วโมงการทำงานที่นานขึ้นมักจะแปลเป็นเงินมากขึ้น

“ในประเทศกำลังพัฒนา พนักงานมักต้องการทำงานให้หนักที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมีคติประจำใจคือ ถ้าฉันต้องตายจากการทำงาน ฉันจะทำ นั่นหมายความว่าฉันสามารถทำเงินได้ ฉันสามารถซื้อทรัพย์สินของฉัน ฉันสามารถทำให้ครอบครัวของฉันมีชีวิตที่ดีขึ้นได้”

เอเชียล้าหลังตะวันตก

อย่างไรก็ตาม หากเทียบภูมิภาคเอเชียกับฝั่งตะวันตกถือว่ายังตามหลังอยู่ เพราะ รัฐบาลไอซ์แลนด์และสเปน ได้ทดลองลดชั่วโมงการทำงานตั้งแต่ปี 2019 และ 2021 ตามลำดับ เบลเยียม เป็นประเทศล่าสุดที่ประกาศว่าเร็ว ๆ นี้คนงานจะได้รับสิทธิ์ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์

โครงการของเบลเยียมซึ่งกำลังเริ่มทดลองกำหนดให้พนักงานต้องทำงาน 4 วัน ในจำนวนชั่วโมงที่เท่ากับการทำงานใน 5 วัน และคนงานยังได้รับอนุญาตให้ เพิกเฉยต่อการทำงานนอกเวลา โดยไม่ต้องเผชิญกับผลที่ตามมาจากเจ้านายของพวกเขา

สหราชอาณาจักร ในเดือนมกราคมประกาศเปิดตัวการทดลองใช้สัปดาห์ทำงาน 4 วันเป็นเวลา 6 เดือน โดยจะเริ่มในเดือนมิถุนายน ความคิดริเริ่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พนักงานของบริษัทต่าง ๆ ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโปรแกรมสามารถทำงานได้ 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยที่เงินเดือนและผลประโยชน์ไม่เปลี่ยนแปลง

]]>
1376175
‘พานาโซนิค’ เตรียมให้ทำงาน ‘4 วัน/สัปดาห์’ หวังปรับบาลานซ์ชีวิตพร้อมดึงดูดคนเก่ง https://positioningmag.com/1369886 Mon, 10 Jan 2022 10:24:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369886 หากพูดถึงภาพลักษณ์การเป็นมนุษย์เงินเดือนในประเทศญี่ปุ่นแล้ว หลายคนคงติดภาพการทำงานที่จริงจัง ต้องทำงานจนดึกดื่น แต่ ‘พานาโซนิค’ (Panasonic) ต้องการที่จะทำลายภาพเหล่านั้นทิ้ง โดยเตรียมให้พนักงานทำงานแค่ 4 วัน/สัปดาห์ เพื่อให้พนักงานได้มี Work Life Balance รวมถึงเพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถให้ทำงานในองค์กร

ยูกิ คูซูมิ ประธานและซีอีโอของกลุ่มพานาโซนิค กล่าวว่า บริษัทเพิ่งจะประกาศถึงวันหยุดที่ 3 วัน/สัปดาห์ เพื่อ สนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน โดยพานาโซนิคว่าเวลาอีก 1 วันที่ได้หยุดเพิ่ม จะทำให้คนงานได้ทำประโยชน์กับตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานอาสาสมัครหรืองานเสริมต่าง ๆ

จากแบบสำรวจของกระทรวงสุขภาพ แรงงาน และสวัสดิการ ในปี 2020 พบว่า มีบริษัทญี่ปุ่นเพียง 8% ที่มีวันหยุดมากกว่า 2 วัน/สัปดาห์ เช่น Yahoo Japan และ Sompo Himawari Life Insurance ซึ่งเริ่มที่เพิ่มวันหยุดเป็น 3 วัน/สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม บริษัทจำนวนมากเริ่มเห็นประโยชน์เมื่อเพิ่มวันหยุดให้กับพนักงาน เนื่องจากทำให้พนักงานมีเวลาเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่อาชีพเกิดใหม่ นอกจากนี้ ผู้พัฒนาระบบ Encourage Technologies ที่ให้ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2020 ได้ระบุว่า พนักงานที่อายุน้อยให้ความสำคัญกับเวลาที่พวกเขาหยุด ดังนั้น สิ่งนี้ทำให้บริษัทได้เปรียบในเรื่องการว่าจ้างคนรุ่นใหม่

แม้จะมีความสนใจเพิ่มขึ้น แต่มีบริษัทญี่ปุ่น น้อยกว่า 10% ที่นำแนวคิดนี้ไปใช้จริง ส่วนใหญ่เป็นเพราะอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ สถานที่ทำงานหลายแห่งที่ผูกค่าแรงกับจำนวนวันที่ทำงาน และ คนงานมักลังเลที่จะหาเวลาพักผ่อนมากขึ้น เพราะกังวลว่าเพื่อนร่วมงานจะต้องรับภาระแทน

อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นเริ่มใช้เวลาทำงานน้อยกว่าที่เคย เนื่องจากการปฏิรูปวัฒนธรรมการทำงานที่มีข้อเรียกร้องอย่างฉาวโฉ่ของประเทศ แต่ญี่ปุ่นยังคงรั้งท้ายกลุ่ม G7 ในด้านแรงงาน ดังนั้น การลดวันทำงานอาจเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและปรับปรุงสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน โดยรัฐบาลเองก็พร้อมจะส่งเสริมแนวคิดนี้ภายใต้แนวทางล่าสุดสำหรับนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง

ทั้งนี้ แนวคิดการทำงานแค่ 4 วัน/สัปดาห์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะบริษัทในสหราชอาณาจักรมากกว่า 60% ที่ใช้เวลาทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ตั้งแต่ปีปี 2019 และ Microsoft Japan ทดสอบแนวคิดนี้ในปี 2019 พนักงานประมาณ 90% ตอบสนองอย่างดี และก็ช่วยให้บริษัทประหยัดไฟฟ้าด้วย และในเดือนธันวาคม 2020 ยูนิลีเวอร์ เริ่มทดลองใช้งาน 4 วัน/สัปดาห์ในนิวซีแลนด์ โดยบริษัทพร้อมจะปรับใช้กับตลาดอื่น ๆ  หากประสิทธิภาพออกมาดี

Source

]]>
1369886