Zero Waste – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 06 Dec 2023 09:20:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เอไอเอส x กลุ่มเซ็นทรัล สานภารกิจความยั่งยืน ปั้นโมเดลการจัดการขยะแบบครบวงจร https://positioningmag.com/1454593 Wed, 06 Dec 2023 08:46:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454593 เอไอเอส ร่วมกับ กลุ่มเซ็นทรัล เดินหน้าสานพันธกิจ ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม สร้างโมเดลด้านการจัดการขยะทุกประเภทให้ถูกวิธีด้วยการร่วมมือกันของ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ เร่งการเปลี่ยนแปลงผ่านการสร้างความร่วมมือส่งเสริมทุกภาคส่วนให้เกิดการจัดการขยะแบบ 100 % เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมที่เริ่มต้นได้ง่ายๆ จากตัวเรา

ทั้งนี้การยกทีมผู้บริหารลงพื้นที่ ณ หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เกาะชินโชกุประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการซึมซับแนวคิด Zero Waste และกระบวนการจัดการขยะที่ทรงประสิทธิภาพและต่อเนื่องอย่างการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท ผ่านหลักการพื้นฐานที่ทุกคนทำได้โดยการลดขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) จนกลายเป็นเมืองต้นแบบปลอดขยะระดับโลกพร้อมนำมาต่อยอดการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า

“นโยบายหลักของเรา นอกจากสร้างมาตรฐานของสินค้า บริการ นวัตกรรม และการดูแลลูกค้าอย่างเป็นเลิศแล้ว ยังมีภารกิจในการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม สนับสนุนสู่ Sustainable Nation โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ใน 2 แกนหลัก คือ 1) ลดผลกระทบผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ 2) ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัด E-Waste อย่างถูกวิธี เพราะการมาถึงของ Digital ส่งผลให้เกิดขยะ E-Waste มากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาระดับโลก เช่นกรณีมูลค่าขยะ E-Waste ที่ถูกเผาทำลายมีมากถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลับมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและรีไซเคิลได้เพียง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ปริมาณที่สูญหายในระหว่างทางนั้นมีอยู่มหาศาลและสามารถส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหากกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง”

“จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนภารกิจคนไทยไร้ e-waste ในปี 2562 เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี 2563 รณรงค์และเป็นช่องทางรับทิ้ง E-Waste ได้สะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น ผ่านศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัลที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 37 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงร้าน Power Buy ผู้นำธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที มือถือ แกดเจ็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร รวม 40 สาขาทั่วประเทศ และผ่าน Application E-Waste Plus ที่เพิ่มเติมเข้ามา อันเป็นการร่วมเสริมพลังกับ 190 องค์กร ขับเคลื่อน HUB of e-waste ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแห่งแรกของไทย ที่มีทั้งความรู้ เครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ การขยายจุดรับทิ้งให้ครอบคลุม การบริการด้านการขนส่ง และการรีไซเคิลสู่กระบวนการ Zero e-waste to landfill ได้ในท้ายที่สุด”

พิชัย  จิราธิวัฒน์  กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า

การจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากตัวเราเองที่ต้องทำทุกวันและต่อเนื่องจนเป็นนิสัย และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสำเร็จได้ต้องร่วมมือกันทำจากทุกภาคส่วน จึงเป็นที่มาของการผนึกกำลังกันระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล และ เอไอเอส ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนาน การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการสานต่อจากโครงการ การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ซึ่งทางกลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นสานต่อเจตนารมณ์ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทำ – ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ” โครงการเพื่อความยั่งยืนดำเนินการโดยกลุ่มเซ็นทรัลผ่าน 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน

  1. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพ และบรรเทาสาธารณภัย (Community & Social Contribution)
  2. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาส อย่างเท่าเทียม (Inclusion) การศึกษา (Education)
  3. พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Development)
  4. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (Circular Economy & Waste Management)
  5. ลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Reduction)
  6. ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะ และผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน (Climate Action)ทำให้เรามีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร และขับเคลื่อนการลดการสร้างขยะให้เป็นศูนย์ผ่านแคมเปญ Journey to Zero เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 เพื่อสร้างคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมทุกมิติ เป็นรีเทลแห่งแรกของไทยที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์ต้นแบบในด้านการจัดการขยะทั่วประเทศ เราพร้อมที่จะเร่งปรับและเปลี่ยนเพื่อโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน

การเดินหน้าภารกิจศึกษาแนวคิด และกระบวนการจัดการขยะในครั้งนี้ ทั้ง 2 บริษัทเห็นพ้องตรงกันว่า เราจะร่วมมือกันทำ ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากเห็นประเทศไทยมีโมเดลต้นแบบในการ คัด แยก ทิ้งขยะ ได้อย่างถูกที่และถูกวิธีและยังเป็นการลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาอีกมากมาย พร้อมสร้างพฤติกรรมการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นถัดไป

กรณีศึกษา Kamikatsu Zero Waste เมืองคามิคัตสึ

คามิคัตสึ เป็นเมืองในจังหวัดโทคุชิมะ ที่ตั้งอยู่บนเกาะชิโกกุทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น มีประชากรเพียง 1,401  คน หรือ 734 ครัวเรือน (ตัวเลข ณ วันที่ 1 ต.ค. 2023) โดยมีสัดส่วนเป็นผู้สูงอายุ เป็น 52.25%

เมืองคามิคัตสึ มีพื้นที่ขนาด 109.63 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ป่าไม้ 88% และ 80% เป็นป่าปลูก) มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-700 เมตร

โดยที่เมืองคามิคัตสึ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องปลอดขยะ และการจัดการขยะอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นต้นแบบการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่เรียนรู้ของคนที่รักสิ่งแวดล้อม เริ่มทำโครงการ Zero Waste ตั้งแต่ปี 2003 มีการแยกขยะอย่างจริงจัง ส่งไปรีไซเคิล หรือรียูสได้

ในปี 2020 สามารถทำให้ขยะเป็นศูนย์ได้ราว 80% โดยมีกระบวนการเอาไปรียูส รีไซเคิล ส่วนอีก 19% ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ต้องนำไปฝังกลบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มหนังยางรัดแกง รองเท้า ของที่แยกชิ้นส่วนไม่ได้ และขยะอันตราย เช่น ผ้าอ้อม หน้ากากอนามัย ทิชชู และขยะปนเปื้อนต่างๆ

Zero waste หรือขยะเป็นศูนย์ หมายถึง การกำจัดของเสียและขยะ แต่สำหรับเมืองคามิคัตสึไม่เพียงหมายถึงการจัดการขยะเท่านั้น แต่ยังหมายถึงวิธีคิดที่จะไม่สร้างขยะตั้งแต่เริ่มแรก

ประวัติศาสตร์ของ เมืองคามิคัตสึ

1974       โรงบำบัดดินส่วนเกินฮิบิกาทานิถูกใช้เป็นโรงบำบัดขยะชั่วคราว

1991       มีการให้เงินอุดหนุนสำหรับซื้อถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 3,100 เยน) จนถึงปี 1999

1994       จัดทำแผนเมืองรีไซเคิลคามิคัตสึ

1995       มีการอุดหนุนการซื้อเครื่องกำจัดขยะไฟฟ้า (Gomi nice) สำหรับครัวเรือน (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 10,000 เยน)

1996       ปิดโรงบำบัดขยะฮิบิกาทานิบางส่วน (ยกเลิกในส่วนการฝังกลบขยะที่เผาไม่ได้และขยะขนาดใหญ่)

1997       เปิดสถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิ และเริ่มการคัดแยกขยะออกเป็น 9 ประเภท

1998       ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก 2 แห่ง และปิดสถานที่เผาขยะฮิบิกาทานิ (เผาขยะกลางแจ้ง)

2001       ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก เริ่มจัดระบบการคัดแยกเป็น 33 หมวดหมู่ (หลังจากปีนี้ไม่นานก็ได้เพิ่มเป็น 35 หมวดหมู่) ที่สถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน

2003       ออกปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste)

2005       เปิดตัวองค์กรไม่แสวงหากำไร (NPO) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ขยะเป็นศูนย์ ชื่อ Zero Waste Academy

2006       เปิดศูนย์ส่งเสริมการซื้อสินค้าใช้ซ้ำ Kurukuru Shop

2007       เปิดร้านรีเมค Kurukuru Kobo แหล่งรวบรวมสินค้ารีไซเคิล

2008       เริ่มมีการให้เช่าอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่ใช้แล้วนำไปใช้ซ้ำ

2013       เริ่มแคมเปญสะสมคะแนน Chiritsumo (เป็นคะแนนที่ได้จากจากการคัดแยกกระดาษต่างๆ ฯลฯ และดัดแปลงเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน)

2016       เปลี่ยนจำนวนหมวดหมู่การคัดแยกขยะอย่างเป็นทางการ จาก 34 ประเภทเป็น 13 ประเภท และ 45 หมวดหมู่สามารถทำยอดรีไซเคิลขยะได้ในอัตราสูงกว่า 80% เป็นครั้งแรก

2017       ริเริ่มการให้การรับรองขยะเป็นศูนย์เริ่มการทดสอบการขายขยะตามน้ำหนักเริ่มนำเสนอเซ็ตผ้าอ้อมที่ทำจากผ้า

2018       เริ่มรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก

2020       ก่อสร้างศูนย์ Kamikatsu-cho Zero Waste Center เพื่อช่วยกำจัดขยะเมืองคามิคัตสึให้เป็นศูนย์เสร็จสมบูรณ์

ปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ของเมืองคามิคัตสึ

17 ปีหลังจากออกปฏิญญา Zero Waste ในปี 2003 คนในชุมชนทุกคนได้ร่วมกันลดขยะในเมืองคามิคัตสึและได้พิสูจน์ตนเองด้วยสถิติรีไซเคิลขยะได้ในอัตรามากกว่า 80% ซึ่งความท้าทายในการร่วมกันกำจัดขยะของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ได้ดึงดูดความสนใจจากคนทั่วโลก และได้ปูทางเมืองแห่งนี้ไปสู่สังคมที่ยั่งยืนโดยเมืองคามิคัตสึมีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้มีความงามทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่ที่ทำให้ทุกคนมีความสุข และสามารถเติมเต็มความฝันของพวกเขาได้ และในฐานะผู้บุกเบิกเรื่องขยะเป็นศูนย์ เมืองคามิคัตสึก็ได้ประกาศนโยบายขยะเป็นศูนย์อีกครั้ง ผ่านเป้าหมายหลัก “การคิดถึงอนาคตของสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลาน ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล และส่งเสริมผู้อื่นให้ร่วมลงมือ” โดยตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายภายในปี 2030

เมืองคามิคัตสึดำเนินโครงการริเริ่มการรีไซเคิลอย่างทั่วถึงเพื่อบรรลุสังคมขยะเป็นศูนย์ โดยสื่อสารปรัชญาและความคิดริเริ่มขยะเป็นศูนย์ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มเปอร์เซ็นต์คนที่มีความคิดไปในแนวเดียวกันในสังคม

]]>
1454593
สยามพิวรรธน์ โชว์แนวคิดสร้างคุณค่าร่วม ผ่าน ECOTOPIA มัลติแบรนด์สโตร์รักษ์โลกแห่งแรกของไทย สะท้อนบทบาทองค์กรแห่งความยั่งยืน ในงาน Sustainability Expo 2022 https://positioningmag.com/1401835 Tue, 27 Sep 2022 10:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401835
  • ความยั่งยืนในแบบสยามพิวรรธน์ เกิดขึ้นผ่านแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบร่วมสร้าง (Co-creation) ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม จึงผสานศักยภาพร่วมกันทุกฝ่าย และดำเนินการตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก (Net Positive Impact) ให้กับ ผู้คน ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม
  •  ECOTOPIA เป็นแบรนด์ที่ริเริ่มโดยสยามพิวรรธน์จากอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจที่สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยมีเจตนาที่ต้องการสะท้อนความตั้งใจในการปลุกจิตสำนึกของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดรักษ์และฟื้นฟูโลกแบบครบวงจร เพื่อส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้ทุกชีวิต

  • บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ตอกย้ำอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจที่สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยในงานได้จำลองเมืองแห่งคนรักษ์โลก ECOTOPIA มัลติแบรนด์สโตร์ร้านแรก ที่รวมสินค้ารักษ์โลกครบครันหลากหลายที่สุดในประเทศไทย ร่วมโชว์ศักยภาพด้านความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2022 (SX2022) มหกรรมด้านการพัฒนาความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน สะท้อนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจของสยามพิวรรธน์ผ่านการสร้างคุณค่าร่วม (Shared value) เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน และทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกสู่สังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ

    สยามพิวรรธน์เปิด ECOTOPIA ในปี 2560 สะท้อนการเป็นผู้บุกเบิกที่กล้านิยามกระบวนทัศน์ใหม่ให้กับโลก ด้วยการนำเสนอสินค้าสร้างสรรค์จากแนวคิดรักษ์โลกและ well-being เพื่อให้เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจรักษ์โลกที่ครบวงจรยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย (Asia’s leading Eco Lifestyle Destination) โดยร่วมมือกับ 12 สุดยอดครีเอเตอร์ และผู้ประกอบการรายย่อย พัฒนาและรังสรรค์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก มากกว่า 300 แบรนด์ และสินค้ากว่า 100,000 รายการ บนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่

    นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า “งาน Sustainability Expo 2022 ที่มีแนวคิด พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก เป็นการรวมพลังครั้งสำคัญขององค์กรชั้นนำของไทย ในการร่วมสร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า (Good Balance, Better World) ซึ่งมีแนวทางที่สอดคล้องกับสยามพิวรรธน์ และถือเป็นโอกาสอันดีที่สยามพิวรรธน์จะนำเสนอต้นแบบของการสร้างแบรนด์ที่สะท้อนด้านความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดช่วงเวลากว่า 63 ปีของการทำธุรกิจ การพัฒนาโครงการภายใต้สยามพิวรรธน์ทั้งหมดเป็นรูปแบบของการสร้างคุณค่าร่วม (Shared Values) และผลกระทบเชิงบวกไปสู่ชุมชนสังคมและประเทศชาติ

    สยามพิวรรธน์ได้นำแนวคิดความยั่งยืนมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจผ่านหลากหลายโครงการ อาทิ การเดินหน้าสู่การเป็น “องค์กรขยะเป็นศูนย์” ภายใต้โครงการ “Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” ที่คำนึงถึงการจัดการขยะแบบครบวงจรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การรณรงค์เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะและจัดตั้งจุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้วแบบไดร์ฟทรูแห่งแรกในประเทศไทย นับเป็นการนำขยะเข้าสู่กลไกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ แล้วส่งต่อไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบ ซึ่งบางส่วนนำเข้าสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง นำกลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม

    นางอุสรา ยงปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจค้าปลีก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า “ECOTOPIA เป็นแบรนด์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดรักษ์และฟื้นฟูโลกแบบครบวงจร กลายเป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ที่ได้ปฏิวัติวงการร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่สร้างระบบนิเวศธุรกิจ ที่เชื่อมกลุ่มคนรักษ์โลกมาร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับโลกไปด้วยกัน ล่าสุด ECOTOPIA ยังถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งใน 20 ร้านค้าปลีกที่เยี่ยมยอดที่สุดเอเชีย จาก Inside Retail สื่อธุรกิจรีเทลชั้นนำของเอเชีย ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จอีกก้าวและเป็นความภาคภูมิใจของสยามพิวรรธน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจด้านความยั่งยืนอีกด้วย”

    ในงานครั้งนี้ สยามพิวรรธน์ได้นำหลักการความยั่งยืนมาใช้ในการออกแบบและนำเสนอโครงสร้างบูธ ECOTOPIA ซึ่งประกอบด้วยวัสดุที่สามารถแยกชิ้นส่วนเพื่อไปใช้ประโยชน์ได้อีก

    ผู้เข้าร่วมงาน Sustainability Expo 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สามารถเข้าชมบูธ “ECOTOPIA โดย สยามพิวรรธน์” ทั้งในส่วนบูธ Showcase ที่ Exhibition Hall 3 ชั้น G โซน Better Living และ บูธ Market Place ชั้น LG ซึ่งจะอยู่ในโซนจำหน่ายสินค้า โดยในโซน Exhibition จะมีกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้เยี่ยมชมทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมถ่ายภาพ และกิจกรรม Workshop ร่วมกับ Co-creator ของ Ecotopia ซึ่งเป็น คูเรเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ กิจกรรมระบายสีท้องฟ้าด้วยสี Soft Pastel ร่วมกัน ENVIRONMAN และ Friend & Forest กิจกรรม “ปลูกผักกับลุงรีย์” เรียนรู้การปลูกผักในธีมสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกับ “ลุงรีย์” หรือ ชารีย์ บุญญวินิจ หรือ กิจกรรมของสาวรักษ์โลก ที่ Cleo ร่วมกับ Ali แบรนด์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไร้สารเคมี

    พิเศษสุด สำหรับสาวก สินค้ารักษ์โลก 1,000 ท่านแรกที่มาเยี่ยม บูธ Ecotopia ในโซน Market Place จะได้รับของที่ระลึกเป็น เมล็ดพันธุ์ผักจากฟาร์มลุงรีย์ และรับโปรโมชั่นสำหรับการซื้อสินค้ามากมายในราคาพิเศษ

    สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่ Facebook: ECOTOPIA และ Sustainability Expo หรือ www.sustainabilityexpo.com

    ]]>
    1401835
    สยามพิวรรธน์ ตอกย้ำจุดยืนพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน เดินหน้าส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์” https://positioningmag.com/1312862 Wed, 06 Jan 2021 10:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312862

    · คว้ารางวัลอันทรงเกียรติจากเวที “Asia Responsible Enterprise Awards 2020”

    · ตั้งเป้าสู่การเป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกรายแรกผู้ส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์”

    กรุงเทพฯ (23 ธันวาคม 2563)- บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ “ไอคอนสยาม” และ สยามพรีเมี่ยม เอาท์เล็ต ตอกย้ำจุดยืนการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน เมื่อ “ชฎาทิพ จูตระกูล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ได้รับรางวัลในสาขา Responsible Business Leadership จากเวที “Asia Responsible Enterprise Awards 2020” หรือ AREA 2020 ในฐานะผู้นำวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน และคำนึงถึงการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับชุมชน สังคมตลอดจนการดูแลสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยรางวัล “Green Leadership” ให้กับสยามพิวรรธน์ ในฐานะองค์กรที่มีนโยบายดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆพื้นที่ที่ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจ และในการนี้สยามพิวรรธน์เดินหน้า Green Leadership ตั้งเป้าสู่การเป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกรายแรกผู้ส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์” กับการจัดการขยะได้แบบ 360 องศา เพื่อที่จะสร้างความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

    นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ กล่าวว่า “รางวัล Responsible Business Leadership เป็นรางวัลของทุกคนในบริษัทสยามพิวรรธน์ ที่ร่วมกันทำหน้าที่ตามปณิธานหลักของบริษัทคือ การพัฒนาโครงการให้เป็นรูปแบบธุรกิจเพื่อส่วนรวมที่สร้างคุณค่าต่อผู้คน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราได้ใช้กลยุทธ์ “ร่วมกันรังสรรค์ (Co-creation) และการสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Creating Shared Values)” ซึ่งได้บรรจุเข้าไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยให้ความสำคัญใน 3 มิติ คือ ผู้คน ชุมชนสังคม และสิ่งแวดล้อม โครงการที่สยามพิวรรธน์บริหารจะต้องสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับสังคมในวงกว้าง เราไม่ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมเป็นครั้งคราว แต่เราได้ปลูกฝังเข้าไปอยู่ในการดำเนินธุรกิจทุกๆวัน สยามพิวรรธน์มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคน ผ่านการนำภูมิปัญญาไทย และความคิดสร้างสรรค์ส่งต่อประโยชน์ให้กับคนจำนวนมากในสังคมไทยและทั่วประเทศ โดยใช้พื้นที่ในโครงการของสยามพิวรรธน์เป็นเวทีของการนำเสนอสินค้าและบริการในหลากหลายประเภท ตลอดจนช่วยพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยแบบครบวงจร นอกจากนี้เราเชื่อว่าการพัฒนาธุรกิจในพื้นที่ใดของสยามพิวรรธน์จะต้องนำความเจริญ และความสะดวกสบายเข้าไปช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนโดยรอบโครงการ ตลอดจนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวลด้วยการสร้างพื้นที่ตามแนวคิดอารยสถาปัตย์ ซึ่งนับว่าสยามพิวรรธน์เป็นผู้นำเรื่องการทำอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ในอาคารอย่างครบวงจรเป็นรายแรกในวงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก”

    โครงการที่สยามพิวรรธน์ริเริ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพคนและได้บรรจุเข้าไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจ อาทิเช่น ไอคอนคราฟต์ พื้นที่สนับสนุนส่งเสริมผลงานจากช่างฝีมือไทยทั่วประเทศที่ใหญ่ที่สุด พร้อมเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยในมุมมองใหม่ลงบนงานหัตถศิลป์ สุขสยามเวทีสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน พร้อมเชิดชูความสามารถและผลักดัน ปั้น “Local Heroes” ให้กลายเป็น “Global Heroes” O.D.S. (Objects of Desire Store) พื้นที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์และงานออกแบบที่โดดเด่นของดีไซเนอร์ไทยชั้นนำที่ชนะรางวัลระดับนานาชาติ และโซน “Made By Beautiful People” พื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ ของเหล่าผู้มีความสามารถในการออกแบบและผลิตสินค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ เด็กพิเศษ หรือผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น

    “บนเวทีเดียวกันนี้ สยามพิวรรธน์ ได้รับรางวัล “Green Leadership” ในฐานะองค์กรที่มีนโยบายดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ พื้นที่ที่ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจด้วยการจัดทำนโยบาย และวางแผนแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนตั้งแต่แรกเริ่มและถูกดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เรายังได้ขยายผลด้วยการบรรจุแนวคิดการดูแลรักษา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เข้าไปอยู่ในกระบวนการดำเนินธุรกิจในทุกๆวัน อาทิ การใช้สยามดิสคัฟเวอรี่ เป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ที่สนับสนุนให้คนใช้ชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ECOTOPIA พื้นที่สร้างสรรค์จากกลุ่มคนรักษ์โลกตัวจริงที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์รักษ์โลกกว่า 300 แบรนด์ ตั้งแต่สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สินค้าที่สามารถนำบรรจุภัณฑ์มา Refill เพื่อช่วยลดขยะให้กับโลกได้ อาหารเพื่อสุขภาพที่คัดเลือกวัตถุดิบออร์แกนิคจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำมารีไซเคิลใหม่ จนไปถึงงานฝีมือและภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างสรรค์จากวัตถุดิบธรรมชาติเพื่อสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนและชาวบ้าน เพื่อให้เป็นคอมมูนิตี้ที่ชวนให้ทุกคนมาเริ่มเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและสร้างปรากฎการณ์รักษ์โลกไปด้วยกัน ซึ่งจะเป็นต้นแบบที่แสดงการใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะสยามพิวรรธน์เชื่อว่า เราสร้างโลกให้ดีขึ้นได้ด้วยกัน Together, We Co-Create a Better World” นางชฎาทิพ เสริม

    เปิดบ้าน “สยามพิวรรธน์” ต้นแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกรายแรก ผู้ส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์”

    สยามพิวรรธน์พร้อมที่จะขยายผลต่อยอดจากการได้รับรางวัล Green Leadership ด้วยการยกระดับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมตั้งเป้าสู่การเป็นองค์กรต้นแบบของการจัดการขยะเป็นศูนย์ (zero waste) โดยสามารถจัดการขยะได้แบบ 360 องศา เพื่อที่จะสร้างความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

    นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานปฏิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า “ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน เป็นหน้าที่ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันรับผิดชอบ สยามพิวรรธน์เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด และกว่า10 ปีที่ผ่านมา สยามพิวรรธน์ ได้นำหลักการ 3Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle มาใช้ในการสร้างระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในโครงการ โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการขยะ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ที่สยามพิวรรธน์ลงมือทำอย่างจริงจัง จนทำให้ได้รับการชื่นชมจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับการจัดการขยะว่าเป็นองค์กรที่มีระบบการคัดแยกขยะที่สมบูรณ์แบบและครบวงจรที่สุด โดยในปีนี้ สยามพิวรรธน์ ได้ยกระดับการจัดทำแผนบริหารจัดการขยะแบบ 360 องศา เพื่อเป้าหมาย “การจัดการขยะเป็นศูนย์ (zero waste)” เริ่มตั้งแต่การรณรงค์ให้ลูกค้าและประชาชนเห็นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม เข้าใจและเรียนรู้ที่จะคัดแยกขยะ การสร้างระบบคัดแยกขยะที่ครบวงจร เพื่อส่งต่อไปรีไซเคิลให้กลายเป็นวัตถุดิบ จนสามารถนำมาเข้ากระบวนการอัพไซคลิ่งเพิ่มมูลค่าได้”

    ในปีนี้สยามพิวรรธน์ได้ร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ และเอกชนมากมาย จัดโครงการเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเรียนรู้ และเข้าใจหลักการของการแยกขยะ เริ่มจาก

    1. โครงการ ‘ส่งพลาสติกกลับบ้าน’ ร่วมกับ เครือข่ายความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) สร้างโมเดลต้นแบบการเรียกคืนขยะพลาสติกที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนเพื่อทำการแยก ทำความสะอาด ขยะพลาสติกประเภทต่างๆ จากที่บ้านแล้วนำมาหยอดในจุดบริการที่สยามพิวรรธน์จัดให้

    2. โครงการ ‘มือวิเศษ x ถังวน’ ร่วมกับ พีพีพี พลาสติก (PPP Plastics) ที่เปิดให้ประชาชนนำขยะพลาสติกประเภทยืดมาส่งคืนให้นำกลับไปรีไซเคิล

    3. โครงการ ‘Recycle Collection Center’ ร่วมกับ TRBN จัดทำจุด Drop-Off Point ขยะประเภทต่าง ๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิล โดยเปิดให้ประชาชนสามารถนำขยะที่คัดแยกขยะแล้วมาทิ้งที่ Recycle Collection Center แห่งนี้ ซึ่งความโดดเด่นและพิเศษของศูนย์นี้คือการที่จุด Drop-Off Point ผลิตจากกระบวนการอัพไซคลิ่ง โดยเป็นความร่วมมือของบริษัท เบสท์โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ บริษัท ดั๊ก ยูนิต จำกัด พร้อมได้รับการสนับสนุนจากเจ้าของแบรนด์ชั้นนำ กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เต็ดตราแพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่มาร่วมมือกับสยามพิวรรธน์ในครั้งนี้ ทั้งนี้ เราตั้งใจให้ศูนย์นี้เป็นต้นแบบที่จะส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักจัดการทรัพยากรที่ไม่ใช้แล้ว และนำมาส่งมอบให้กับศูนย์รีไซเคิล หรือ เจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ เพื่อนำกลับไปรีไซเคิลต่อไป

    การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง คือจุดเริ่มต้นวงจรการจัดการขยะที่สมบูรณ์ ซึ่งในขั้นตอนหลังจากที่ได้ทำการคัดแยกขยะแล้ว สยามพิวรรธน์จะทำการส่งต่อขยะเหล่านี้ไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล ด้วยการเชื่อมโยงกับ ร้านรับซื้อขยะ หรือ ศูนย์รีไซเคิล ให้พบกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง หรือบริษัทผู้ผลิตแบรนด์ชั้นนำ อาทิ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี ที่จะนำขยะพลาสติกประเภท PET และ PE เข้าสู่ขั้นตอนของการผลิตวัตถุดิบเพื่อจำหน่ายต่อให้กับผู้ผลิตสินค้าจากวัสดุรีไซเคิล เพื่อเข้ากระบวนการอัพไซคลิ่ง และดีไซน์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ บริษัท เบสท์ โพลิเมอร์ ที่จะนำขยะพลาสติกประเภท Multi-layer ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่งเหล่านี้บางส่วนจะถูกนำมาจำหน่ายในพื้นที่สำหรับสินค้ารักษ์โลก “อีโค่โทเปีย” ที่ สยามดิสคัฟเวอรี่

    สยามพิวรรธน์ยังคงเดินหน้า เป็นองค์กรที่สร้างคุณค่า ต่อผู้คน ชุมชนสังคม ประเทศชาติ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในวงกว้าง ตลอดจนยกระดับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์” พร้อมเป็นต้นแบบที่จะขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

    ]]>
    1312862
    สยามพิวรรธน์เดินเกมรุกเปิดพื้นที่รีเทลสินค้าเพื่อชีวิตวิถีใหม่ “Ecotopia” ภายใต้แนวคิด “Together, We Co-Create a Better World” https://positioningmag.com/1292043 Tue, 11 Aug 2020 12:00:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292043

    สยามดิสคัฟเวอรี่ ดิเอ็กซ์พลอราทอเรี่ยม ขับเคลื่อนตามกลยุทธ์ของสยามพิวรรธน์ เปิด “Ecotopia” เมืองแห่งคนรักษ์โลกที่ทุกคนมีความเชื่อเหมือนกันว่า Together, We Co-Create a Better World นำเสนอการใช้ชีวิตรักษ์โลกที่สามารถสร้างให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี คอมมูนิตี้ที่หลอมรวมความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบสนองวิถีใหม่ของการดำรงชีวิตเพื่อความยั่งยืนของทุกฝ่ายร่วมกัน ผ่านการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าที่เสริมสร้างชีวิตที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

    ทุกวันนี้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญในแนวทางการดำรงชีวิตเพื่อความยั่งยืน สินค้าและบริการในยุค New Normal ต้องนำเสนอคุณค่า (Value) ของสินค้าและประสบการณ์ ในด้าน Sustainability การเปิด Ecotopia ซึ่งเป็นพื้นที่รีเทลที่รวบรวมสินค้าเพื่อวิถีชีวิตยุคใหม่ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบสนอง Sustainable Living ในทุกมิติ ไว้มากที่สุด จึงเป็นความชาญฉลาดของผู้นำธุรกิจรีเทลที่ตอบโจทย์และนำเสนอสินค้าและบริการสำหรับผู้บริโภคในยุคใหม่ได้อย่างตรงจุด

    สินค้าใน Ecotopia ที่ผ่านการคัดสรรมากกว่า 300 แบรนด์ Ecotopia แบ่งเป็น 8 โซน ได้แก่

    1.โซน Hygienic รวบรวมสินค้า household ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและสินค้าทำความสะอาดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง

    2. โซน Beautiful แหล่งรวม Organic skincare และ Personal care ที่ผลิตจากสารสกัดจากธรรมชาติไม่ผสมสารเคมี ไม่มีการทดลองกับสัตว์

    3.โซน Healthy โซนอาหารเพื่อสุขภาพที่คัดเลือกวัตถุดิบออร์แกนิคจากธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย

    4.โซน Green แหล่งรวมต้นไม้ฟอกอากาศ พืชต่างๆที่ใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง

    5.โซน Up-cycled ผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำมารีไซเคิลใหม่ จนเกิดมูลค่าและคุณค่าขึ้นมาใหม่ รวมถึงผลิตภัณฑ์ UPCYCLING By PTTGC และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล Demark Award จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

    6.โซน Stylish รวมแฟชั่นที่ทำมาจากฝ้ายออร์แกนิค, เศษผ้า และมุม clothes swap ที่สามารถนำเสื้อผ้ามาแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าดีไซน์ใหม่ได้

    7.โซน Kind โซนที่รวมงานฝีมือและภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างสรรค์จากวัตถุดิบธรรมชาติเพื่อสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนและชาวบ้าน

    8.โซน Zero Waste สามารถนำบรรจุภัณฑ์มารีฟิลสินค้าอุปโภค บริโภค ของใช้ประจำวัน เพื่อช่วยลดปริมาณขยะให้กับโลก

    Ecotopia ยังมีวิธีการนำเสนอเรื่องราว Storytelling ของผลิตภัณฑ์รักษ์โลกผ่านเทคโนโลยีได้ง่ายดายแบบ New Normal โดยสแกน QR Code เรื่องราวความเป็นมาและการเดินทางของผลิตภัณฑ์กว่าจะมาเป็นสินค้าอีโค่ได้ พร้อมมอบความสะดวกสบายผ่านบริการ cashshierless อีกด้วย

    สยามพิวรรธน์มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจร่วมกันโดยการรังสรรค์ (Co-creation) เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Creating Shared Value) เป็นหลักการในการพัฒนาทุกโครงการที่ผ่านมาของสยามพิวรรธน์ผ่านการผนึกกำลังความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่กับทุกภาคส่วนในสังคม สร้างระบบนิเวศของธุรกิจค้าปลีก (Retail Ecosystem) โดยการเปิดพื้นที่ Ecotopia ได้ต่อยอดกลยุทธ์เหล่านี้ จากการรวมพลังความคิดสร้างสรรค์ซึ่งล้วนเป็นต้นแบบของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดรักษ์โลก เกิดขึ้นจากพลังความคิดสร้างสรรค์และศักยภาพของเหล่าคนไทยหัวใจรักษ์โลกตัวจริงจาก 12 Eco-Curators ที่เป็นต้นแบบของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดรักษ์โลกเพื่อความยั่งยืน สิ่งสำคัญที่สุด Ecotopia ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาร่วมกัน Co-Create แสดงพลังร่วมกันในการสร้างโลกให้น่าอยู่ร่วมกัน ได้แก่ PTTGC, กรมควมคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน เป็นต้น จนกลายเป็นอีโค่คอมมูนิตี้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

    มาร่วมกันโคครีเอทอย่างสร้างสรรค์เพื่อโลกเพื่อเรา “Together, We Co-Crate a Better World”

    ]]>
    1292043