ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัต (United Nations Conference on Trade and Development – UNCTAD) ระบุว่าการจะฟื้นเศรษฐกิจโลกให้สำเร็จได้นั้น เหล่าผู้นำโลกจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เข้มข้นขึ้น ทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบในภาคการเงินและดำเนินนโยบายเชิงรุกในภาคอุตสาหกรรม
รายงานการค้าและการพัฒนาประจำปีนี้ เน้นย้ำว่าภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก สำหรับประเทศกำลังพัฒนาก็เผชิญปัญหาเช่นเดียวกัน
“ผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกต่างต้องเผชิญความท้าทายพร้อมๆกันหลายด้าน ตั้งแต่การชะลอตัวของการลงทุน การผลิต การค้า ตลอดจนปัญหาการกระจายรายได้และภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งต้องการวิธีคิดเชิงรุกใหม่ๆ มากกว่ามาตรการเดิมๆ” เลขาธิการอังค์ถัต – Mukhisa Kituyi กล่าว
ปีอันตราย
ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ การดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวดในภาวะเช่นนี้ ทำให้การฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้อ่อนแอที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ การเติบโตของค่าจ้างแรงงานที่เชื่องช้ามาเป็นเวลานาน ได้นำไปสู่อุปสงค์ในภาคครัวเรือนและการใช้จ่ายเพื่อลงทุนที่ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปในปีนี้ อยู่ที่เพียงร้อยละ 1.6 เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น ที่อยู่ในภาวะซบเซา นอกจากนี้ ทางสหราชอาณาจักรที่ดูจะฟื้นตัว กลับต้องชะงักจากการตัดสินใจที่จะออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) แม้ว่าจะยังคาดเดาผลกระทบได้ยาก เหล่านี้ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉลี่ยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4 ซึ่งต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจร้อยละ 2.5 สำหรับผลกระทบในแต่ละภูมิภาคนั้นมีความแตกต่างกัน เช่น อเมริกาใต้อยู่ในภาวะถดถอย ส่วนเอเชียยังเติบโตช้าแต่สม่ำเสมอ เป็นต้น
อัตราการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาที่ชะลอตัวลงทำให้เกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก (ตาราง 1) ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ของอังค์ถัตคาดการณ์ว่าการเติบโตเฉลี่ยในปีนี้ต่ำกว่าร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตในปี 2557 และ 2558 นอกจากนี้ ปัญหาอุปสงค์และค่าจ้างที่แท้จริง (real wage) ที่เติบโตช้า เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราการเติบโตของการค้าโลกลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.5 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกอยู่ร้อยละ 1 แต่ถ้าหากว่าผู้กำหนดนโยบายไม่สามารถจัดการผลกระทบทางลบจากการปล่อยกลไกตลาดเสรี และหันกลับไปใช้นโยบายกีดกันทางการค้า ก็จะยิ่งนำไปสู่วงจรแห่งความเลวร้าย (vicious cycle) ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อทุกคน
การกำกับดูแลในภาคการเงิน : เงินที่สูญเปล่า การลงทุนที่ยังไม่ฟื้นตัว
“ผู้ที่เชื่อในตลาดที่มีประสิทธิภาพเชื่อว่าการผ่อนคลายกฎระเบียบในภาคการเงินจะช่วยกระตุ้นการลงทุน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อนั้นยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง แม้ว่าผลกำไรของบริษัทและอัตราเงินปันผลจะเติบโตด้วยดี และมีการควบรวมกิจการมากขึ้น แต่ก็ไม่เกิดการสร้างโรงงาน การซื้อเครื่องจักรใหม่ๆ หรือ การแสวงหาทักษะและการวิจัยและพัฒนา” Richard Kozul-Wright หัวหน้าฝ่ายโลกาภิวัตน์และกลยุทธ์การพัฒนาของอังค์ถัต กล่าว
กิจการต่างๆไม่นำกำไรที่ได้กลับมาลงทุนในกิจกรรมที่เกิดผลิตผล การจ้างงาน หรือการเติบโตที่ยั่งยืน สัดส่วนการลงทุนของภาคเอกชนต่อ GDP กลับต่ำกว่าเมื่อ 35 ปีก่อนมากกว่าร้อยละ 3 แม้ว่าส่วนแบ่งกำไรจะเพิ่มสูงขึ้น (ภาพที่ 1) เกิดจากการพึ่งพิงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและสินเชื่อราคาถูกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
อังค์ถัตเตือนว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนามีความเปราะบางต่อความผันผวนในตลาดการเงินโลกมากขึ้นรวมทั้งสภาวะที่มีการเก็งกำไรและการเคลื่อนย้ายเงินทุนจำนวนมาก การผ่อนคลายกฎระเบียบในภาคการเงินของประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้กิจการต่างๆลดสัดส่วนการนำกำไรกลับมาลงทุนใหม่ เช่น บราซิล มาเลเซีย และตุรกี ที่สัดส่วนดังกล่าวลดลงอย่างมากต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990s ซึ่งส่งผลเสียต่อการเติบโตในระยะยาว
เงินทุนที่ไหลเข้าสุทธิ (net capital flows) สู่ประเทศกำลังพัฒนา กลับมาเป็นลบในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 ส่วนในปี 2558 และไตรมาสแรกของปี 2559 มีเงินทุนไหลออก 650 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 185 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ (ภาพที่ 2) แม้ว่าปัญหาจะทุเลาลงบ้างในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 แต่ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืด (deflationary spiral) เนื่องจาก การไหลออกของเงินทุน การลดลงของค่าเงิน และการตกต่ำของราคาสินทรัพย์ ล้วนแล้วแต่เป็นผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้รายได้ของรัฐบาลลดลง ในปัจจุบัน ผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายประสบปัญหาการชำระหนี้ ซึ่งหากไม่มีความพร้อมในการจัดการก็จะนำมาซึ่งผลที่เลวร้ายมากขึ้น
การเพิ่มสูงขึ้นของหนี้สินภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีปริมาณมากกว่า 25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปัจจุบัน เป็นสัญญาณเตือนที่ต้องจับตา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆกับการสะสมสินทรัพย์ทางการเงิน และการลงทุนที่มักจะลงไปยังภาคเศรษฐกิจที่เน้นค่าเช่าและผันแปรไปตามวัฎจักรเศรษฐกิจสูง ได้แก่ พลังงาน เหมืองแร่ ไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ และภาคบริการที่ไม่ใช่อุตสาหกรรม
อังค์ถัตแนะนำให้รัฐปิดช่องโหว่ในด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล ประกอบกับดำเนินมาตรการทางการคลังและการวางกฎกติกาเพื่อส่งเสริมการลงทุนระยะยาว และในระบบการเงินควรมีการกระจายตัวมากขึ้น รวมทั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาต่างๆ ควรมีบทบาทมากขึ้น
นโยบายเศรษฐกิจมหภาคเชิงรุก : การกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศเป็นกุญแจสำคัญสู่การเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ประเทศพัฒนาแล้วสามารถช่วยเริ่มต้นให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยั่งยืนด้วยการดำเนินนโยบายการคลังในเชิงรุก ได้แก่ การใช้จ่ายเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน ไปพร้อมๆกับนโยบายทางการเงินที่ช่วยสนับสนุน และมาตรการกระจายรายได้ ซึ่งรวมถึง นโยบายด้านรายได้ ค่าแรงขั้นต่ำ การจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า และการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมต่อท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งนโยบายดังกล่าวควรจะต้องพยายามกำกับดูแลระบบเศรษฐกิจที่การเงินมีอิทธิพลสูง (financialization)
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาควรจะเสริมสร้างอุปสงค์ภายในประเทศ ใช้กฎระเบียบต่างๆเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอิทธิพลของภาคการเงินในบริบทของตน และรักษาความเป็นอิสระทางนโยบายและความยืดหยุ่นด้านการคลังเพื่อจัดการกับวิกฤตที่ไม่อาจคาดเดาได้ หลายๆมาตรการเหล่านี้จำเป็นต้องมีการประสานกันในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลกสูงในกลุ่ม G20
ประสิทธิภาพการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนาเติบโตสูงขึ้น
ในปัจจุบัน ประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสที่จะเติบโตทันมากขึ้น (ตาราง 2) ในบางภูมิภาค เช่น เอเชียตะวันออก ประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและรายได้จากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งอออก ซึ่งไม่มีภูมิภาคใดเลยนอกจากภูมิภาคนี้ (แม้แต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่จะสามารถเพิ่มสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP ได้มากกว่าร้อยละ 30 (ตารางที่ 3)
กระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคอื่นๆยังมีปัญหา ประเทศที่มีรายได้ปานกลางจะยกระดับไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงได้ยากขึ้น ในบางกรณี เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “การย้ายจากภาคอุตสาหกรรมก่อนที่จะพัฒนาเต็มที่” (premature deindustrialization) ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างฉับพลันโดยที่เชื่อในกลไกตลาด ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไม่พัฒนาหรือลดลง นำไปสู่สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP และการจ้างงานที่ลดลง และอัตราการเติบโตของการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาครัฐที่ลดต่ำลงอย่างมาก
ในปี 2557 การส่งออกจากเอเชียมีสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 90 จากการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด และร้อยละ 94 ของการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งสร้างรายได้แก่ประเทศได้เป็นจำนวนมาก (ภาพที่ 4)
อย่างไรก็ตาม การพัฒนารูปแบบนี้เริ่มมีความไม่แน่นอน เนื่องจากการที่อุปสงค์โดยรวมตกต่ำลงทั่วโลกทำให้ตลาดการส่งออกมีการแข่งขันที่สูงขึ้น แรงกดดันต่อราคาและค่าจ้างแรงงานส่งผลกระทบแม้แต่กับประเทศผู้ส่งออกในเอเชียที่ประสบความสำเร็จที่สุด (ตารางที่ 4) นอกจากนี้ การจ้างงานยังชะลอตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง
การพัฒนาเทคโนโลยีและการประหยัดต่อขนาดในบางอุตสาหกรรมอาจจะเป็นทางออก อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของห่วงโซ่อุปทานของโลก (global value chain) ซึ่งทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่มีอำนาจต่อรองและอำนาจในการกำหนดราคาที่สูง ทำให้ยากต่อกิจการของประเทศกำลังพัฒนาที่จะเข้าสู่ตลาดได้อย่างสมเหตุสมผล และสูญเสียประโยชน์จากประสิทธิภาพในการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการที่ราคาลดต่ำลง
ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องวางกลยุทธ์เชิงนโยบายเพื่อยกระดับการผลิตและความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์และการตลาด เพื่อที่จะเข้าสู่ตลาดในประเทศพัฒนาแล้ว ตัวอย่างเช่น นโยบายด้านการแข่งขันและกฎเกณฑ์ต่างๆที่นำไปสู่การพัฒนาและช่วยส่งเสริมกิจการภายในประเทศ นอกจากนี้ควรมีการส่งเสริมในระดับนานาชาติที่จะติดตามแนวโน้มในภาคอุคสาหกรรมต่างๆในแต่ละส่วนของห่วงโซ่อุปทาน และติดตามดูแลพฤติกรรมไม่ชอบในทางธุรกิจอีกด้วย
อังค์ถัตเห็นว่าตลาดในระดับภูมิภาคและการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันยังเปิดโอกาสในการส่งออกใหม่ๆ แต่ก็ต้องมีการวางกลยุทธ์เชิงนโยบายที่สมดุลเพื่อส่งเสริมตลาดภายในประเทศไปพร้อมกัน และยืนยันว่าการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในแบบเดิมๆ ซึ่งมักจะมาควบคู่กับค่าเงินที่สูงเกินจริงและการกดค่าจ้างแรงงานให้ต่ำลง จะไม่นำมาซึ่งผลสำเร็จที่ยั่งยืน
การฟื้นฟูนโยบายอุตสาหกรรม
สภาพแวดล้อมของโลกที่ท้าทายมากขึ้นทำให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถเติบโตได้สูงเหมือนเมื่อต้นศตวรรษที่ 21 อีกต่อไป แนวทางแก้ไขปัญหาจะต้องใช้มาตรการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ที่สูงแต่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เช่น การจัดสรรทรัพยากรไปยังกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการกระจายตัวและสร้างมูลค่าเพิ่มสูง เป็นต้น
นโยบายด้านอุตสาหกรรมโดยทั่วไปมักจะใช้วิธีเลือกสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม รายงานการค้าและการพัฒนาในปีนี้เสนอให้ใช้วิธีที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การสร้างความเชื่อมโยงและความสามารถในการสร้างฐานการผลิตที่สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสนับสนุนให้เกิดการทดลองและเรียนรู้ทั้งในภาครัฐและเอกชน เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญสำหรับประเทศพัฒนาแล้วที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวและปัญหาการที่กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางมีสัดส่วนลดลงเช่นกัน
รายงานฉบับนี้เรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายทั้งหลายคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและเรียนรู้จากทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว ความมีเสถียรภาพและศักยภาพของสถาบันภาครัฐ ประกอบกับการมีทรัพยากรสาธารณะที่เพียงพอ มีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่การที่รัฐและเอกชนมีความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูล และมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ รัฐควรที่จะสามารถเพิกถอนหรือระงับการช่วยเหลือทางการเงินในกรณีที่กิจการไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่คาดหวัง
อังค์ถัตยังเห็นว่าควรที่จะถกเถียงกันในเรื่องความสมบูรณ์แบบของการสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายให้น้อยลง และไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยนโยบายด้านอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจัยความสำเร็จขึ้นกับการบูรณาการระหว่างนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การค้า และอุตสาหกรรมไปพร้อมกัน
ตารางที่ 1: การเติบโตของเศรษฐกิจโลก, 2008–2016
(Annual percentage change)
Region/country |
2008 |
2009 |
2010 |
2011 |
2012 |
2013 |
2014 |
2015 |
2016a |
World |
1.5 |
-2.1 |
4.1 |
2.8 |
2.2 |
2.2 |
2.5 |
2.5 |
2.3 |
Developed countries |
0.1 |
-3.6 |
2.6 |
1.5 |
1.1 |
1.1 |
1.7 |
2.0 |
1.6 |
of which: |
|||||||||
Japan |
-1.0 |
-5.5 |
4.7 |
-0.5 |
1.7 |
1.4 |
0.0 |
0.5 |
0.7 |
United States |
-0.3 |
-2.8 |
2.5 |
1.6 |
2.2 |
1.7 |
2.4 |
2.6 |
1.6 |
European Union (EU-28) |
0.4 |
-4.4 |
2.1 |
1.8 |
-0.4 |
0.3 |
1.4 |
2.0 |
1.8 |
of which: |
|||||||||
Euro zone |
0.5 |
-4.5 |
2.1 |
1.6 |
-0.9 |
-0.3 |
0.9 |
1.7 |
1.6 |
France |
0.2 |
-2.9 |
2.0 |
2.1 |
0.2 |
0.7 |
0.2 |
1.2 |
1.5 |
Germany |
1.1 |
-5.6 |
4.1 |
3.7 |
0.4 |
0.3 |
1.6 |
1.7 |
1.7 |
Italy |
-1.1 |
-5.5 |
1.7 |
0.6 |
-2.8 |
-1.8 |
-0.3 |
0.8 |
0.8 |
United Kingdom |
-0.5 |
-4.2 |
1.5 |
2.0 |
1.2 |
2.2 |
2.9 |
2.3 |
1.8 |
European Union member States after 2004 |
3.6 |
-3.6 |
2.0 |
3.1 |
0.5 |
1.1 |
2.7 |
3.4 |
2.6 |
South-East Europe and CIS |
5.4 |
-6.6 |
4.7 |
4.6 |
3.3 |
2.0 |
0.9 |
-2.8 |
0.0 |
South-East Europeb |
5.8 |
-1.9 |
1.5 |
1.7 |
-0.6 |
2.4 |
0.3 |
2.0 |
2.8 |
CIS, including Georgia |
5.3 |
-6.8 |
4.9 |
4.8 |
3.5 |
2.0 |
0.9 |
-3.0 |
-0.2 |
of which: |
|||||||||
Russian Federation |
5.2 |
-7.8 |
4.5 |
4.3 |
3.5 |
1.3 |
0.7 |
-3.7 |
-0.3 |
Developing countries |
5.2 |
2.4 |
7.8 |
5.9 |
4.8 |
4.6 |
4.4 |
3.9 |
3.8 |
Africa |
5.5 |
3.2 |
5.2 |
1.1 |
5.6 |
2.0 |
3.7 |
2.9 |
2.0 |
North Africa, excluding Sudan |
6.3 |
2.8 |
4.1 |
-6.6 |
10.1 |
-3.7 |
1.5 |
2.9 |
1.7 |
Sub-Saharan Africa, excluding South Africa |
6.1 |
5.8 |
6.7 |
4.7 |
4.6 |
5.2 |
5.8 |
3.5 |
2.8 |
South Africa |
3.2 |
-1.5 |
3.0 |
3.2 |
2.2 |
2.2 |
1.5 |
1.3 |
0.3 |
Latin America and the Caribbean |
3.7 |
-2.1 |
5.9 |
4.5 |
3.0 |
2.7 |
1.1 |
0.2 |
-0.2 |
Caribbean |
2.6 |
-0.9 |
3.1 |
2.2 |
2.1 |
2.9 |
2.8 |
3.6 |
2.5 |
Central America, excluding Mexico |
3.8 |
-0.7 |
3.7 |
5.4 |
4.8 |
3.6 |
3.9 |
4.1 |
4.0 |
Mexico |
1.4 |
-4.7 |
5.2 |
3.9 |
4.0 |
1.4 |
2.2 |
2.5 |
2.2 |
South America |
5.0 |
-1.0 |
6.6 |
4.8 |
2.6 |
3.3 |
0.3 |
-1.4 |
-1.8 |
of which: |
|||||||||
Brazil |
5.1 |
-0.1 |
7.5 |
3.9 |
1.9 |
3.0 |
0.1 |
-3.8 |
-3.2 |
Asia |
5.7 |
3.8 |
8.8 |
7.0 |
5.2 |
5.5 |
5.5 |
5.1 |
5.1 |
East Asia |
6.9 |
5.9 |
9.7 |
7.8 |
6.0 |
6.3 |
6.2 |
5.4 |
5.5 |
of which: |
|||||||||
China |
9.6 |
9.2 |
10.6 |
9.5 |
7.7 |
7.7 |
7.3 |
6.9 |
6.7 |
South-East Asia |
4.2 |
1.6 |
8.0 |
4.8 |
5.8 |
4.9 |
4.4 |
4.4 |
4.3 |
South Asia |
4.8 |
4.4 |
9.1 |
5.5 |
3.1 |
5.0 |
6.3 |
6.1 |
6.8 |
of which: |
|||||||||
India |
6.2 |
5.0 |
11.0 |
6.1 |
4.9 |
6.3 |
7.0 |
7.2 |
7.6 |
West Asia |
4.0 |
-2.0 |
6.2 |
7.7 |
4.1 |
3.4 |
3.0 |
2.9 |
2.1 |
Oceania |
2.0 |
0.8 |
4.1 |
3.7 |
2.7 |
2.2 |
3.6 |
4.7 |
2.9 |
Source: UNCTAD secretariat calculations, based on United Nations Department of Economic and Social Affairs, National Accounts Main Aggregates database, and World Economic Situation and Prospects: Update as of mid-2016; Economic Commission for Latin America and the Caribbean, 2016; Organization for Economic Cooperation and Development, 2016; International Monetary Fund, World Economic Outlook, April 2016; Economist Intelligence Unit Country Data database; JP Morgan, Global Data Watch; and national sources.
Note: Calculations for country aggregates are based on gross domestic product at constant 2005 dollars.
Abbreviations: CIS, Commonwealth of Independent States.
a Forecasts.
b Albania, Bosnia and Herzegovina, Montenegro, Serbia and the former Yugoslav Republic of Macedonia.
ภาพที่ 1. การลงทุนภาคเอกชนและกำไร, ประเทศพัมานาแล้ว 1980–2015
(สัดส่วนต่อ GDP)
Source: UNCTAD secretariat calculations, based on United Nations Statistics Division and national sources.
ภาพที่ 2. เงินทุนไหลเข้าสุทธิ แยกตามกลุ่มประเทศ, 2000–2016
(พันล้านเหรียญสหรัฐ)
Source: UNCTAD, Financial Statistics Database, based on International Monetary Fund, Balance of Payments Database; and national central banks.
Note: Samples of economies by country group are as follows: Transition economies (Kazakhstan, Kyrgyzstan, the Russian Federation and Ukraine); Africa (Botswana, Cabo Verde, Egypt, Ghana, Mauritius, Morocco, Mozambique, Namibia, Nigeria, South Africa, the Sudan and Uganda); Latin America (Argentina, the Plurinational State of Bolivia, Brazil, Chile, Colombia, Ecuador, El Salvador, Mexico, Nicaragua, Paraguay, Uruguay and the Bolivarian Republic of Venezuela); Asia excluding China (Hong Kong (China), India, Indonesia, Jordan, Lebanon, Malaysia, Mongolia, Pakistan, Philippines, the Republic of Korea, Saudi Arabia, Singapore, Sri Lanka, Thailand, Turkey and Viet Nam).
ภาพที่ 3. สัดส่วนองภาคเศรษฐกิจต่างๆต่อการเพื่มขึ้นของหนี้สินและการสะสมทุนที่เป็นตัวเงิน
ระหว่างปี 2010-2014
(ร้อยละ)
Source: UNCTAD secretariat calculations, based on Thomson Reuters Worldscope database.
Note: Chart shows aggregate data for the following countries: Argentina, Brazil, China, Chile, India, Indonesia, Malaysia, Mexico, the Republic of Korea, the Russian Federation, South Africa, Thailand and Turkey. The nominal value is in dollars.
ตารางที่ 2. ความน่าจะเป็นที่ประเทศจะตามสหรัฐอเมริกาได้ทัน
แยกตามรายได้, 1950–1980 and 1981–2010
Source: UNCTAD secretariat calculations, based on the Maddison Project database. Available at: http://www.ggdc.net/maddison/maddison-project/home.htm, 2013 version (accessed 2 September 2016).
Note: Countries are classified in three income groups: low income (with their per capita income below 15 per cent of that of the United States); middle income (15–50 per cent); and high income (more than 50 per cent). Probabilities (ranging between 0 and 1) present the observed relative frequency of a change between income groups within the two considered periods.
ตารางที่ 3. สัดส่วนของภาคการผลิตต่อมูลค่าเพิ่มและการจ้างงาน, 1970–2014
(ร้อยละ)
Source: UNCTAD secretariat calculations, based on United Nations Statistics Division; and Groningen Growth and Development Centre, GGDC-10 Sector Database.
Note: Calculations at constant prices are based on value added at constant 2005 dollars. Regional values correspond to unweighted averages. Manufacturing corresponds to sector D of ISIC Rev. 3. The samples of economies by country group are as follows: Developed countries (Denmark, France, Germany, Italy, Japan, the Netherlands, Spain, Sweden, the United Kingdom and the United States of America); North Africa (Egypt and Morocco); sub-Saharan Africa (Botswana, Ethiopia, Ghana, Kenya, Malawi, Mauritius, Nigeria, Senegal, South Africa, the United Republic of Tanzania and Zambia); Latin America and the Caribbean (Argentina, the Plurinational State of Bolivia, Brazil, Chile, Colombia, Costa Rica, Mexico, Peru, and the Bolivarian Republic of Venezuela); East Asia (China, Taiwan Province of China and the Republic of Korea); South-East Asia (Indonesia, Malaysia, the Philippines, Singapore and Thailand).
ตารางที่ 4. สัดส่วนการส่งออกสินค้าที่ใช้ทักษะและเทคโนโลยีในระดับสูงและปานกลางต่อการส่งออกทั้งหมด แยกตามกลุ่มประเทศ 1980–2013
(ร้อยละ)
Source: UNCTAD secretariat calculations, based on the United Nations Comtrade database (SITC categories 5–8 less 667 and 68); United Nations Statistics Division, Main Statistical Aggregates database.
Note: For the categories of manufactures of high- and medium-skill and technology intensive, see Trade and Development Report, 2002, annex 1 to chapter III; the categories are based on SITC, Rev. 2. See also note to table 4.2.
ภาพที่ 4. การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าเพิ่มในประเทศของสินค้าส่งออก และสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมในมูลต่าเพิ่มทั้งหมด, 1995–2011
(ร้อยละที่เปลี่ยนแปลง)
Source: UNCTAD secretariat calculations, based on Organization for Economic Cooperation and Development–World Trade Organization, Trade in value added (TiVA) database; and United Nations Statistics Division, Main Statistical Aggregates database.
Note: Change refers to the percentage point difference between current share values in 2011 and 1995. Line displays fitted values.
For interviews and further information, please contact Matthew Brown or Catherine Huissoud on 41 22 917 58 28 and at [email protected].