ช้อปช่วยชาติ คาดเงินสะพัด 1.3 หมื่นล้าน

จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปี ด้วยการเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้ที่ซื้อสินค้าและบริการ ในระหว่างวันที่ 14-31 .. 59 รวมเวลา 18 วัน ตามที่ได้มีการใช้จ่ายจริงไม่เกินคนละ 1.5 หมื่นบาท 

ม็ดเงินหมุนเวียน 2 หมื่นล้านบาท

กระทรวงการคลัง คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิ์ประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งแม้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีประมาณ 3.2 พันล้านบาท แต่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม เพราะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 0.2% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นจากการดำเนินการเมื่อช่วงปลายปี 2558 ซึ่งออกมาตรการมาเพียง 7 วัน มีผู้มาสิทธิ์ประมาณ 1 ล้านคน ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 1 หมื่นล้านบาท     

คาด เงินสะพัด 1.3 ล้านบาท

ทางด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดแรงส่งของมาตรการช้อปช่วยชาติจะส่งผลต่อเม็ดเงินที่สะพัดในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร และธุรกิจบริการอื่นๆ สูงกว่ามาตรการที่ออกมากระตุ้นครั้งก่อน 

เนื่องจากการขยายกรอบเวลาของการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น 

โดยจากการสำรวจพบว่ามาตรการช้อปช่วยชาติ 1.5 หมื่นบาทในปี 2559 ค่อนข้างได้รับความสนใจจากประชาชนที่ต้องเสียภาษีมากกว่าปีที่ผ่านมา สะท้อนได้จากประชาชนกว่าร้อยละ 60.0 ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีการวางแผนที่จะซื้อสินค้าและบริการในช่วงวันที่ 14-31 ธันวาคม 2559 เพื่อต้องการใช้สิทธิ์จากมาตรการดังกล่าวมาทำการลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว

นอกจากนี้ จากการที่ปีนี้มีการรับรู้ข่าวสารล่วงหน้าและด้วยระยะเวลาในการใช้สิทธิ์ที่นานขึ้น (เป็นระยะเวลาเกือบ 3 สัปดาห์จากเดิมปีที่แล้วเพียง 1 สัปดาห์) ทำให้มีเวลาเตรียมตัวและวางแผนการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่นานขึ้น ซึ่งน่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนที่จะใช้สิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ไม่ต้องเร่งรีบเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีระยะเวลาในการใช้จ่ายที่ค่อนข้างสั้นและกะทันหัน การเข้าแถวต่อคิวเพื่อรับใบกำกับภาษีที่น่าจะสะดวกรวดเร็วขึ้นไม่ต้องต่อคิวรอนาน

34% ใช้สิทธิ์เต็ม

อย่างไรก็ตาม ในจำนวนนั้นผู้ที่สิทธิ์ดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 34 ที่ใช้สิทธิ์เต็มจำนวน

โดยคาดว่าน่าจะกระตุ้นการใช้จ่ายซื้อสินค้าของประชาชนคิดเป็นเม็ดเงินที่กระจายไปสู่ธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร และธุรกิจบริการอื่นๆ ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท 

แบ่งเป็นการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกและบริการทั่วไปรวม 1.2 หมื่นล้านบาท และการรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร 1 พันล้านบาท

ทั้งนี้ เม็ดเงินดังกล่าวคำนวณโดยให้น้ำหนักกับกลุ่มผู้บริโภคที่มีความสามารถในการใช้จ่ายที่คาดว่าจะซื้อสินค้าและบริการในวงเงินตามที่ภาครัฐกำหนด และใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีค่อนข้างเต็มที่ ในขณะที่มีกลุ่มผู้บริโภคอีกส่วนหนึ่งที่อาจจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีรายได้ต่อเดือน หรือมีเงินออมที่ไม่สูงนัก จึงทำให้มีเม็ดเงินสำหรับนำมาใช้จ่ายและลดหย่อนภาษีตามมาตรการนี้ได้จำกัดกว่า

มาตรการดังกล่าวจึงน่าจะเป็นโอกาสให้กับบรรดาผู้ประกอบการค้าปลีก (ที่จดทะเบียนอยู่ในระบบและสามารถออกใบกำกับภาษีได้) เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าเฉพาะที่อยู่นอกห้างฯ (อาทิ ร้านเฟอร์นิเจอร์ ศูนย์จำหน่ายประดับยนต์) รวมถึงร้านอาหารโดยเฉพาะ เช่น ร้านอาหาร ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารในโรงแรม และภัตตาคาร รวมถึงธุรกิจบริการอื่นๆ อาศัยช่วงเวลาดังกล่าวในการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ

ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรมีการเตรียมความพร้อมทางด้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่คาดว่าจะเข้ามาจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าและรับประทานอาหารนอกบ้านในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าช่วงปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมจุดให้บริการออกใบกำกับภาษีที่สะดวกรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เห็นได้ชัดถึงความไม่พร้อมในเรื่องของการออกใบกำกับภาษีในปีที่แล้วที่ทำให้ลูกค้าบางส่วนตัดสินใจที่จะไม่ซื้อสินค้า เพราะต้องต่อแถวยาวและรอคิวนาน หรือแม้แต่การบริหารจัดการสต็อกสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า

ดึงร้านค้าเข้าระบบ

นอกจากนี้ ยังมองว่าผลจากมาตรการดังกล่าวก็น่าจะทำให้กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีก ร้านอาหาร และธุรกิจบริการบางส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน หรืออยู่นอกระบบ เช่น ผู้ประกอบการค้าปลีกและร้านอาหาร SMEs หรือผู้ประกอบการ e-Commerce ตระหนักถึงโอกาสและข้อได้เปรียบดังกล่าวก็อาจจะนำมาซึ่งการดึงกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ให้เข้าสู่ระบบได้เพิ่มขึ้น

tax_new