เทรนด์ ไมโคร ประเทศไทย เปิดเผยถึงเทรนด์ของภัยคุกคามที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ 8 รูปแบบ
1. การโจมตีของ แรนซัมแวร์ (Ransomware) ที่จะเข้ารหัสข้อมูลภายในเครื่อง และเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อกข้อมูล จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 25% โดยในช่วงปีที่ผ่านมาถือว่าเริ่มเข้าสู่ยุคอิ่มตัวแล้ว
2. IoT จะเป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ในการโจมตีแบบ DDoS ด้วยการใช้ช่องโหว่ในอุปกรณ์เหล่านี้มาเป็นฐานในการเข้าโจมตีเว็บไซต์ รวมถึง IIoT หรืออุปกรณ์ IoT ในภาคอุตสาหกรรม
3. การโจมตีจากอีเมลหลอกลวงยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความง่าย และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง รวมถึงได้ค่าตอบแทนที่สูงตามมาด้วย
4. การเจาะระบบกระบวนการทางธุรกิจจากข้อมูลที่รั่วไหล (BPC : Bussiness Process Compromise) โดยมุ่งเป้าหมายไปที่หน่วยงานทางการเงินเป็นหลัก โดยเข้าไปใช้ช่องโหว่จากรูปแบบการทำงานในแต่ละองค์กรเพื่อทำธุรกรรม ทำให้มีมูลค่าความเสียหายที่สูงกว่าการหลอกลวงทางอีเมลมาก
5. อะโดบี และแอปเปิล ถูกโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ไมโครซอฟท์ มีการโจมตีลดน้อยลง จากปริมาณผู้ใช้งานของแอปเปิลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่มีผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย
6. ภัยคุกคามจากการชวนเชื่อทางอินเทอร์เน็ต กลายเป็นเรื่องที่พบได้อย่างแพร่หลาย จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เชื่อถือข่าวสารออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย โดยไม่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล ส่งผลให้เกิดการจ้างงานในแง่ของการสร้างข้อมูลปลอมเพื่อส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป
7. การบังคับใช้กฎหมายการเก็บข้อมูล (GDPR) กับข้อมูลของประเทศสมาชิกในกลุ่มสหภาพยุโรป ที่จะเริ่มใช้งานในปี 2018 ทำให้องค์กรธุรกิจต้องมีการลงทุน และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประมวลผลใหม่ให้สอดคล้องตามข้อกำหนด
8. รูปแบบการโจมตีของแฮกเกอร์จะพัฒนาการโจมตีใหม่ๆ ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีแบบเดิมๆ
ไทยเจอ 6 ภัยคุกคาม
ส่วนในประเทศไทย น่าจะโดนประมาณ 6 เรื่อง คือ แรนซัมแวร์ IIoT การหลอกลวงผ่านอีเมล ปัญหาข้อมูลรั่วไหล ช่องโหว่จากอะโดบีและระบบปฏิบัติการ รวมถึงรูปแบบการโจมตีใหม่ๆ ที่จะพัฒนาขึ้น
ที่มา : บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด