นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรร ม เป็นประธานในการประชุมหารื อระหว่างคณะผู้แทนเกาหลีใต้ นำโดย มร. ยอง–ซับ จู ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานส่งเ สริม SME ของเกาหลี (Small and Medium Business Administration – SMBA) และคณะผู้แทนไทยซึ่งประกอบด้วยห น่วยงานหลักในการส่งเสริมเอสเอ็ มอี ได้แก่ ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกล างและขนาดย่อม (สสว.) ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ฯลฯ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัด ให้มีกรอบความร่วมมือในรูปแบบคณ ะกรรมการร่วม (Joint Committee) ซึ่งจะมีการประชุมกันทุกๆ ปี เพื่อหารือมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริม การแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน การร่วมทุน และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างเ อสเอ็มอีทั้งสองประเทศ โดยการประชุมคณะกรรมการร่วมที่ จะจัดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศเกาห ลี จะประกอบด้วย 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1. การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีสำหรับ SMEs 2. ความร่วมมือด้าน Tech Startups 3. การส่งเสริ มและอำนวยความสะดวกให้นักลงทุ นจากเกาหลีใต้เข้ามามีส่วนร่ วมในระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวั นออก หรือ Eastern Economic Corridor – EEC
ในการนี้ ฝ่ายไทยและเกาหลี ได้ร่วมลงนามใน MOU 2 ฉบับ โดยฉบับแรก เป็นการลงนาม ระหว่าง สสว. และ SMBA เน้นความตกลงร่วมกันให้เกิดความ ร่วมมือในการแลกเปลี่ ยนเทคโนโลยีไทย-เกาหลี ผ่านแนวทางการร่วมกันจัดตั้ง Thailand-Korea Technology Exchanges Center (TKTEC) เพื่อช่วยผู้ประกอบการไทยให้ได้ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จากเกาหลี ผ่านการร่วมลงทุน และรูปแบบต่างๆ ของการจับคู่ธุรกิจ โดยมีแผนในการผลักดัน เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม S Curve กลุ่ม Hi-Growth SMEs และกลุ่ม Smart Farmer เข้าสู่ช่องทางกระบวนการถ่ายทอด เทคโนโลยีนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญเกาหลีที่จะมาปร ะจำที่ไทยและจะมีการคัดเลือกและ วิเคราะห์ SMEs ไทย เพื่อไปสู่การจับคู่ธุรกิจทางเท คโนโลยีกว่า 100 คู่ ภายในเดือนพฤศจิกายน นี้
ส่วนกิจกรรมแรกของความร่วมมือ ที่จะมีการคิกออฟในเดือนมิถุนาย น ศกนี้ เกาหลีจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาประจำ ที่ สสว. เพื่อมาอบรมในรูปแบบ Train the Trainers ให้กับผู้เชี่ยวชาญไทยที่จะเข้า ไปให้ความช่วยเหลือและวินิจฉั ยปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยี กับ SMEs ไทย
ทั้งนี้ ท่านอุตตมฯ ได้เน้นความสำคัญในการให้ความร่ วมมือต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างจริงจังและมีคว ามต่อเนื่อง เห็นได้จากการประชุมในวันนี้ ที่ท่านอุตตมฯ เข้าร่วมให้เกียรติเป็นสักขีพยา นการลงนาม MOU และเป็นประธานการประชุม และให้เริ่มการหารือหลักในการปร ะชุมไปที่แนวทางการจัดตั้งกลไกก ารทำงานในรูปแบบคณะกรรมการร่วม 2 ฝ่าย (Joint Committee) โดยประกอบด้วย หน่วยงานจากทั้งสองฝ่ายที่รับผิ ดชอบงานส่งเสริม SME ที่ครอบคลุมหลายบริบท จะเข้าร่วมมาเป็นคณะกรรมการฯ เพื่อให้เป็นกลไกหลักในการทำงาน ตามกรอบความร่วมมือตาม MOU ทั้งสองฉบับนี้ได้อย่างต่อเนื่อ ง โดยความตกลงเรื่อง Joint Committee นี้ ได้ถูกระบุอยู่ใน MOU ฉบับที่สอง ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ SMBA
ส่วนเนื้อหาความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่ถูกรวมในไว้ใน MOU ทั้งสองฉบับนี้ ยังประกอบด้วย การเสริมสร้างความเข้าใจและความ ร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของสองปร ะเทศ ในด้านการเงิน Startup เทคโนโลยี การออกแบบ แรงงาน การค้า และการร่วมมือทางยุทธศาสตร์ด้าน อื่นๆ การแลกเปลี่ยนนโยบายส่งเสริม SMEs และผู้ประกอบการ การร่วมกันประเมินผลกระทบของกฎร ะเบียบ และการลดขั้นตอนภาครัฐ การจัดกิจกรรมส่งเสริม Startup ในสาขายุทธศาสตร์ทางธุรกิจและกา รตลาด ตลอดจนเสริมสร้างขีดความสามารถใ นการแข่งขันให้ SMEs และจะมีการแลกเปลี่ยนการเยือนแล ะการเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม การจัดงานสัมมนาและการนำเสนอต่า งๆ การหารือและการเจรจา โดยการมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนา ดย่อม ผู้ประกอบการ บริษัทขนาดใหญ่ และองค์กรที่เกี่ยวข้องของคู่ตก ลงทั้งสองฝ่ายเข้าร่วม การฝึกอบรม และแบ่งปันทักษะความรู้เกี่ยวกั บโครงการความร่วมมือสำหรับ SMEs ของทั้งสองประเทศ