ไอบีเอ็มเปิดตัว z14 ที่สุดแห่งเมนเฟรม อัดแน่นศักยภาพก้าวล้ำ เข้ารหัสทุกข้อมูล พร้อมรองรับยุคแห่งการปกป้องข้อมูลรั่วไหลที่กำลังลุกลามทั่วโลก

ไอบีเอ็มเปิดตัว z14 เมนเฟรมสำหรับการทำธุรกรรมที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลก สามารถประมวลผลธุรกรรมที่เข้ารหัสวันละกว่า 1.2 หมื่นล้านรายการ ครั้งแรกกับนวัตกรรมการเข้ารหัสสุดล้ำที่ช่วยให้สามารถเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวโยงกับแอพพลิเคชัน บริการคลาวด์ หรือฐานข้อมูลได้ตลอดเวลา

ความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลของ IBM Z ได้รับการออกแบบมาเพื่อจัดการกับปัญหาข้อมูลรั่วไหลที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก อันเป็นหนึ่งในเหตุอาชญากรรมไซเบอร์ที่โดยรวมคาดว่าจะสร้างความเสียหายมูลค่าถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกภายในปี 2562 [2]ทั้งนี้ จากข้อมูลจำนวนกว่า9,000 ล้านรายการที่ถูกขโมยหรือสูญหายนับตั้งแต่ปี 2557 มีเพียงสี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับการเข้ารหัส[3] ทำให้ข้อมูลส่วนใหญ่เหล่านี้กลายเป็นช่องโหว่ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามจากวงจรอาชญากรรมไซเบอร์และพนักงานที่นำสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนไปใช้ในทางที่ผิด

“ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ถูกขโมยหรือรั่วไหลในปัจจุบันมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้รับการเข้ารหัส ซึ่งสามารถถูกเปิดดูและนำไปใช้ได้เลย เพราะที่ผ่านมาการเข้ารหัสข้อมูลจำนวนมากนั้นทำได้ยากมากและมีค่าใช้จ่ายสูงหากต้องการทำในระดับใหญ่” นายสุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจระบบคอมพิวเตอร์สำหรับคลาวด์แพลตฟอร์ม บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “วันนี้เราได้สร้างเครื่องมือปกป้องข้อมูลสำหรับยุคคลาวด์ ซึ่งเราเชื่อว่าจะส่งผลอย่างใหญ่หลวงและในทันทีต่อระบบซิเคียวริตี้ของข้อมูลทั่วโลก”

ครั้งแรกกับเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมดที่ก้าวล้ำรองรับยุคคลาวด์
การศึกษาของไอบีเอ็มเมื่อเร็วๆ นี้ชี้ให้เห็นว่าการเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมดเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถลดผลกระทบและการสูญเสียเงินอันเนื่องมาจากการรั่วไหลของข้อมูล โดยดัชนีตรวจภัยคุกคามอัจฉริยะไอบีเอ็มเอ็กซ์ฟอร์ซรายงานว่าในปี 2560 มีข้อมูลรั่วไหลแล้วมากกว่าสี่พันล้านรายการ (เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 556 เปอร์เซ็นต์)

อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่องค์กรและศูนย์ข้อมูลคลาวด์ส่วนใหญ่มักไม่ได้ทำการเข้ารหัสข้อมูล เนื่องจากโซลูชันปัจจุบันสำหรับการเข้ารหัสในสภาพแวดล้อม x86 จะไปลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบลงอย่างมาก (ซึ่งส่งผลต่อประสบการณ์ของผู้ใช้) อีกทั้งยังเป็นเรื่องซับซ้อนและมีราคาสูงในการที่จะจัดการเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับ ด้วยเหตุนี้จึงมีข้อมูลองค์กรเพียงสองเปอร์เซ็นต์ที่ได้รับการเข้ารหัสในปัจจุบัน ขณะที่มีข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือถึงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับการเข้ารหัส[4]

นวัตกรรมที่ช่วยให้สามารถเข้ารหัสข้อมูลจำนวนมากของ IBM Z ครอบคลุมถึง
·        การเข้ารหัสข้อมูลจำนวนมากทั้งหมดได้ตลอดเวลานับเป็นครั้งแรกที่ IBM Z ช่วยให้องค์กรสามารถเข้ารหัสข้อมูลที่เชื่อมโยงกับทั้งแอพพลิเคชัน บริการคลาวด์ ฐานข้อมูลทั้งที่ใช้งานอยู่และไม่ได้ใช้งานได้ในวงกว้างภายในคลิกเดียว ไม่ว่าขณะใช้งานอยู่หรือไม่ก็ตาม ต่างกับแนวปฏิบัติมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบันซึ่งเน้นเข้ารหัสข้อมูลแต่ละครั้งในปริมาณน้อยๆ แต่กลับให้ความสำคัญกับการทุ่มกำลังคนจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่คัดเลือกและจัดการฟิลด์ต่างๆความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลจำนวนมากของ IBM Z มาจากการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้ารหัสถึง 7 เท่าเมื่อเทียบกับ z13 ที่เป็นรุ่นเก่า และการเพิ่มซิลิคอน 4 เท่าสำหรับอัลกอริธึมการเข้ารหัสโดยเฉพาะ ทำให้เร็วกว่าระบบ x86 (ซึ่งปัจจุบันเน้นไปที่ข้อมูลบางส่วนในปริมาณจำกัดเท่านั้น) ถึง 18 เท่า โดยมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นเพียงห้าเปอร์เซ็นต์ของโซลูชันที่ใช้ x86
·        คีย์การเข้ารหัสเพื่อป้องกันการถูกแฮ็ค ปัญหาที่องค์กรส่วนใหญ่กังวลคือการปกป้องคีย์การเข้ารหัส ในองค์กรขนาดใหญ่ แฮ็คเกอร์มักมุ่งเป้าไปที่คีย์การเข้ารหัสซึ่งมักพบได้ในหน่วยความจำขณะที่มีการใช้งาน IBM Z คือระบบเดียวที่สามารถปกป้องคีย์นับล้าน (รวมถึงกระบวนการเข้าถึง การสร้างคีย์ และการนำคีย์กลับมาใช้ใหม่) ในอุปกรณ์ “ป้องกันการแฮ็ค” ซึ่งจะทำให้คีย์ใช้การไม่ได้ในกรณีที่ตรวจพบสัญญาณการบุกรุก และสามารถสร้างคีย์ใหม่ในภายหลังได้อย่างปลอดภัย ระบบการจัดการคีย์ของ IBM Z ออกแบบมาให้เป็นไปตามมาตรฐานของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการประมวลผลข้อมูล (FIPS) ระดับ 4 ขณะที่การรักษาความปลอดภัยระดับสูงทั่วไปอยู่เพียงแค่ระดับ 2 โดยความสามารถดังกล่าวของ IBM Z ยังครอบคลุมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ในระบบคลาวด์ นอกจากนี้IBM Secure Service Container ยังช่วยปกป้องภัยคุกคามภายในอันอาจเกิดจากผู้รับเหมาและผู้ใช้ที่นำสิทธิ์ในการเข้าระบบไปใช้ในทางที่ผิดอีกด้วย โดยจะเข้ารหัสข้อมูลและโค้ดอัตโนมัติไม่ว่าจะใช้งานอยู่หรือไม่ก็ตาม และช่วยป้องกันการแฮ็คขณะติดตั้งและใช้งานด้วย
·        API ที่เข้ารหัส เทคโนโลยี IBM z/OS Connect ช่วยให้นักพัฒนาในระบบคลาวด์สามารถค้นหาและเรียกใช้แอพพลิเคชันหรือข้อมูลจาก IBM Z จากบริการคลาวด์ได้อย่างง่ายดาย โดย IBM Z เปิดให้องค์กรต่างๆ สามารถเข้ารหัส API ที่เชื่อมบริการ แอพพลิเคชัน และระบบต่างๆ เข้าด้วยกันเหล่านี้ ได้เร็วกว่าทางเลือกอื่นที่ใช้ x86 เกือบ 3 เท่า [5]

“การเข้ารหัสที่ครอบคลุมทุกส่วนที่ได้รับการบิวท์อินและออกแบบมาให้สามารถขยายครอบคลุมได้ในวงกว้างของ IBM Z รุ่นใหม่นี้ ถือเป็นระบบแรกที่มอบโซลูชันจัดการครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามด้านซิเคียวริตี้ หรือการรั่วไหลของข้อมูลที่เราได้พบเห็นในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมา” นายปีเตอร์ รัทเทน นักวิเคราะห์จากกลุ่มเซิร์ฟเวอร์และแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ของไอดีซีกล่าว
ออกแบบมาให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับใหม่ด้านข้อมูลที่เข้มงวด
IBM Z ยังออกแบบมาเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างความน่าเชื่อถือในหมู่ผู้บริโภค และถูกต้องตามมาตรฐานใหม่ต่างๆ เช่น กฎข้อบังคับของกฎหมายให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคของสหภาพยุโรป(GDPR ) ที่จะเพิ่มข้อกำหนดด้านการปกป้องข้อมูลสำหรับองค์กรที่ทำธุรกิจในยุโรปซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป โดย GDPR กำหนดว่าองค์กรจะต้องรายงานการรั่วไหลของข้อมูลภายใน 72 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะถูกปรับเป็นเงินคิดเป็นสี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้รายปีทั่วโลก หรือ 20 ล้านยูโร ขึ้นอยู่กับว่าจำนวนใดมากกว่า เว้นแต่องค์กรจะสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการเข้ารหัสข้อมูลและปกป้องคีย์ขณะที่ในระดับรัฐบาลกลางสหรัฐ สภาการตรวจสอบสถาบันการเงินแห่งรัฐบาลสหรัฐ (FFIEC) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้กำหนดกฎข้อบังคับธนาคารห้าฝ่าย ได้เสนอหลักเกณฑ์การใช้การเข้ารหัสในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน นอกจากนี้สิงคโปร์และฮ่องกงก็ได้เผยแพร่หลักเกณฑ์ที่คล้ายกัน และเมื่อเร็วๆ นี้ หน่วยงานบริการการเงินแห่งรัฐนิวยอร์คได้เผยแพร่ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเข้ารหัสในข้อกำหนดด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้สำหรับบริษัทที่ให้บริการด้านการเงิน

IBM Z ที่ผสานรวมซอฟต์แวร์ไอบีเอ็มซิเคียวริตี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อการทำงานอัตโนมัติและเพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล แอพพลิเคชัน และระบบต่างๆ ด้วยตนเอง แต่ขณะนี้องค์กรสามารถแสดงให้เห็นได้ทันทีว่าข้อมูลที่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบได้รับการเข้ารหัสและปกป้องคีย์ ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ตรวจสอบบัญชีลงได้มาก นอกจากนี้ระบบยังมีการติดตามและตรวจสอบได้เมื่อมีผู้ที่ได้รับอนุญาตในองค์กรเข้าถึงข้อมูลต่างๆ

บริการบล็อคเชนที่ปลอดภัยที่สุด
เมื่อมีการผสานรวมแอพพลิเคชันบล็อคเชนเข้ากับระบบหลักๆ ของธุรกิจมากขึ้น ความกังวลขององค์กรต่างๆ จะเริ่มตกอยู่ที่ปัจจัยด้านซิเคียวริตี้ การเข้ารหัส และความเสถียร วันนี้ไอบีเอ็มจึงได้นำ IBM Z เข้าเป็นเครื่องมือเข้ารหัสสำหรับบริการคลาวด์ของศูนย์ข้อมูลไอบีเอ็มคลาวด์บล็อคเชนที่ได้เปิดขึ้นที่นิวยอร์ค ลอนดอน แฟรงก์เฟิร์ต เซาเปาโล โตเกียว และโตรอนโต ศูนย์เหล่านี้จะได้รับการรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสระดับผู้นำวงการของ IBM Z
“การรวมตัวที่ทรงพลังของเทคโนโลยีเข้ารหัสและคอนเทนเนอร์ที่ปลอดภัยเป็นการเสริมระบบด้านความน่าเชื่อถือที่เครือข่ายบล็อคเชนต่างๆ จำเป็นต้องมี ซึ่งถือเป็นจุดต่างที่สำคัญของบริการบล็อคเชนบนไอบีเอ็มคลาวด์” มารี วิค์ก ผู้จัดการทั่วไปของไอบีเอ็มบล็อคเชนกล่าว

ใหม่…การกำหนดราคาแบบคอนเทนเนอร์ในรูปแบบที่โปร่งใสและคาดการณ์ล่วงหน้าได้
ไอบีเอ็มยังได้เปิดตัวรูปแบบการคิดราคาแบบคอนเทนเนอร์สำหรับ IBM Z จำนวนสามแบบ ซึ่งเป็นการคิดราคาซอฟต์แวร์ที่ไม่ซับซ้อน ผสานรวมการติดตั้งใช้งานที่ยืดหยุ่นเข้ากับราคาที่ประหยัดเมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อม x86 ทั้งแบบติดตั้งในองค์กร (on-premise) และแบบคลาวด์สาธารณะ
·        แอพพลิเคชันและไมโครเซอร์วิสแบบใหม่ ที่ช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากระบบที่ติดตั้งในองค์กรที่มีความปลอดภัยสูงแบบเรียลไทม์ โดยลูกค้าสามารถติดตั้งและจัดวางแอพพลิเคชันในหลายที่เพื่อเพิ่มคุณภาพของบริการ ในราคาที่ได้รับการกำหนดอย่างเหมาะสมสำหรับทั้งคลาวด์สาธารณะหรือระบบที่ติดตั้งในองค์กร
•        การพัฒนาและทดสอบแอพพลิเคชันโดยมีอิสระในการเพิ่ม capacity ของสภาพแวดล้อมการพัฒนาใน z/OS ถึงสามเท่าโดยไม่เสียค่าไลเซนส์รายเดือนเพิ่ม ทั้งนี้เพื่อรองรับเครื่องมือและกระบวนการ DevOps ที่ออกมาล่าสุด
•        ระบบการชำระเงินที่คิดราคาตามปริมาณการชำระเงินที่ธนาคารประมวลผล ไม่ใช่ตาม capacity ที่มี ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ลูกค้าสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยราคาไม่แพงและในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจการชำระเงินด่วนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ทางเลือกการคิดราคาแบบคอนเทนเนอร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อมอบความโปร่งใสและความสามารถในการคาดการณ์แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องการ รูปแบบการคิดราคานี้สามารถปรับขนาดได้ทั้งภายในและข้ามลอจิกพาร์ติชัน (LPAR) นอกจากนี้ยังให้ความสามารถในการวัด จำกัด และการเรียกเก็บเงิน ที่ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพ การคิดราคาแบบคอนเทนเนอร์ของ IBM Z จะพร้อมให้บริการภายในสิ้นปี 2017 และเปิดใช้ใน z/OS V2.2 และ z/OS V2.3

ระบบรองรับการทำธุรกรรมที่ทรงพลังที่สุดสำหรับยุคคลาวด์
IBM Z สร้างขึ้นบนพื้นฐานของระบบประมวลผลธุรกรรมที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลก และมีบทบาทสำคัญในการรับมือข้อมูลธุรกรรมปริมาณมหาศาลในแวดวงธุรกิจระดับโลกในปัจจุบัน โดยรองรับ
·        87 เปอร์เซ็นต์ของธุรกรรมบัตรเครดิต และการชำระเงินมูลค่าเกือบ 8,000,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
·        ธุรกรรมทางเอทีเอ็มมูลค่า 29,000 ล้านรายการต่อปี ซึ่งมีมูลค่าเกือบ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน
·        เที่ยวบินของผู้โดยสาร4,000,000 ล้านเที่ยวต่อปี
·        ธุรกรรมมากกว่า 30,000 ล้านรายการต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าปริมาณการค้นหาบน Google ในแต่ละวัน
·        68 เปอร์เซ็นต์ของเวิร์คโหลดจากการผลิตทั่วโลก ด้วยค่าใช้จ่ายเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายรวมด้านไอที

ธนาคาร 92 แห่งจากธนาคารชั้นนำ 100 อันดับแรกของโลกวางใจใช้เมนเฟรมของไอบีเอ็มเนื่องด้วยความสามารถที่ไม่มีใครเทียบเท่าในการประมวลผลธุรกรรมจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อช่วยให้องค์กรที่ให้บริการด้านการเงินสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในยุคคลาวด์ IBM Z จึงมอบความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลได้ภายในคลิกเดียวไม่ว่าแอพพลิเคชันจะทำงานอยู่หรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถย้ายข้อมูลจากที่ไม่ได้เข้ารหัสไปสู่การเข้ารหัสได้โดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อันจะเป็นการช่วยป้องกันการฉ้อโกงและอาชญากรรมไซเบอร์ได้ดียิ่งขึ้น

IBM Z ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเมนเฟรมระดับผู้นำอุตสาหกรรมรุ่นที่ 14 ของไอบีเอ็มที่มาพร้อมกับไมโครโปรเซสเซอร์ที่เร็วที่สุดในวงการ โดยทำงานที่ความเร็ว 5.2GHz พร้อมด้วยโครงสร้างระบบที่ปรับขนาดได้ซึ่งเพิ่มความสามารถถึง 35 เปอร์เซ็นต์สำหรับเวิร์คโหลดทั่วโลก และเพิ่มขึ้น 35 เปอร์เซ็นต์สำหรับเวิร์คโหลดลินุกซ์เมื่อเทียบกับ IBM z13 รุ่นก่อน ระบบนี้สามารถรองรับ
·        ธุรกรรมที่เข้ารหัสกว่า 12,000 ล้านรายการต่อวันในระบบเดียว
·        รองรับการสร้าง MongoDB ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีประสิทธิภาพ NodeJS เร็วกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้ x86 ถึง 2.5 เท่า
·        Docker Container 2,000,0000 แพลตฟอร์ม
·        ฐานข้อมูล NoSQL ที่ทำงานพร้อมกัน 1,000 รายการ

ความสามารถอื่นๆ ที่ประกาศเปิดตัวในวันนี้ยังประกอบด้วย
·        หน่วยความจำเพิ่มขึ้นสามเท่าจาก z13 เพื่อการตอบสนองที่เร็วขึ้น ทำงานได้มากขึ้น และประสิทธิภาพการวิเคราะห์ที่ดีขึ้น ด้วยหน่วยความจำ 32TB IBM Z จึงถือว่ามีหน่วยความจำใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมระบบหนึ่ง
·        I/O เร็วขึ้นสามเท่าและการประมวลผลธุรกรรมที่รวดเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับ z13 เพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่สูงขึ้น จำนวนธุรกรรมที่มากขึ้น และช่วยลดเวลาในการตอบสนอง
·        ความสามารถในการรันเวิร์คโหลด Java เร็วกว่าแพลตฟอร์ม x86 50 เปอร์เซ็นต์ [6]
·        ผู้นำด้านเวลาการตอบสนองของเครือข่ายจัดเก็บข้อมูล (Storage Area Network) ด้วย zHyperLink ช่วยลดเวลาหน่วงได้ 10 เท่าเมื่อเทียบกับ z13 และลดเวลาตอบสนองของแอพพลิเคชันลงได้ครึ่งหนึ่ง ทำให้ธุรกิจสามารถทำงานได้เยอะขึ้น เช่น การวิเคราะห์แบบเรียลไทม์หรือการโต้ตอบกับอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ (IoT) และแอพพลิเคชันคลาวด์ในธุรกรรมเดียวกัน โดยไม่ต้องแก้โค้ดของแอพพลิเคชันแม้แต่บรรทัดเดียว [7]

ในการประกาศเปิดตัววันนี้ไอบีเอ็มยังได้แสดงตัวอย่างซอฟต์แวร์ z/OS ตัวใหม่ที่มอบความสามารถพื้นฐานสำหรับการให้บริการไพรเวทคลาวด์ เปลี่ยนจากเดิมที่ฝ่ายไอทีเป็นศูนย์รวมค่าใช้จ่ายให้กลายเป็นผู้ให้บริการที่สร้างมูลค่าได้ ความสามารถเหล่านี้จะรองรับการขยายตัวของเวิร์คโฟล์วสำหรับ IBM Cloud Provisioning and Management ของ z/OS และการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ SMF

ทั้งนี้ ไอบีเอ็มโกลบอลไฟแนนซิงสามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ผ่านการรับรองเครดิตในการซื้อระบบ IBM Z ใหม่ได้ ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายรวมในการเป็นเจ้าของและเร่งผลตอบแทนจากการลงทุน องค์กรสามารถรับข้อเสนอจากไอบีเอ็มโกลบอลไฟแนนซิงสำหรับโซลูชันเมนเฟรมไอบีเอ็มได้จากไอบีเอ็มและพาร์ทเนอร์ของไอบีเอ็ม ด้วยข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นซึ่งสามารถปรับให้เหมาะกับค่าใช้จ่ายต่อกำไรจากโครงการหรือความต้องการอื่นๆ ของลูกค้า