บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัท สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปีการเงิน 2561 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2560 ในวันนี้
บริษัทมีปริมาณการขายในไตรมาสที่ 1 จำนวน 276,000 ตัน ซึ่งน้อยกว่าไตรมาสที่ 1 ของปีการเงิน 2560 ร้อยละ 8 โดยมีสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากความเชื่อมั่นในด้านตลาดและความต้องการที่ลดต่ำลงทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเพื่อนบ้าน ยอดขายสุทธิในไตรมาสที่ 1 ของปีการเงิน 2561 มีจำนวนใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 1 ของปีการเงิน 2560
EBITDA ในไตรมาสที่ 1 ของปีการเงิน 2561 มีจำนวน 139 ล้านบาท น้อยกว่าในไตรมาสที่ 1 ของปีการเงิน 2560 ร้อยละ 73 โดยมีสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากผลกระทบจากปริมาณการขายและกำไรส่วนเกินที่น้อยลง
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ:
ไตรมาส 1 ปีการเงิน 2561 |
ไตรมาส 1 ปีการเงิน 2560 |
|||
ปริมาณการขายรวม |
(‘000 ตัน) |
276 |
301 |
|
ยอดขายสุทธิ |
ล้านบาท |
4,608 |
4,597 |
|
EBITDA |
ล้านบาท |
139 |
509 |
|
ปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายพิเศษ |
ล้านบาท |
– |
– |
|
กำไร/(ขาดทุน) ก่อนหักภาษี |
ล้านบาท |
(34) |
345 |
|
กำไร/(ขาดทุน) หลังหักภาษี |
ล้านบาท |
(46) |
216 |
ภาพรวม
จากการคาดการณ์ด้านเศรษฐกิจ คาดว่า GDP ของไทยจะเติบโตร้อยละ 3.3 โดยมีแรงสนับสนุนจากการเติบโตของการส่งออก จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกและการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกัน คาดว่าภาคการก่อสร้างจะได้รับอานิสงค์จากการขยายการลงทุนของภาครัฐในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ
ในไตรมาสที่ 1 ของปีการเงิน 2561 มีแรงกดดันด้านราคาเหล็กลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปีการเงิน 2560 ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลง รวมถึงความเชื่อมั่นของตลาดโดยรวมในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนยังไม่ค่อยดีนัก ความต้องการเหล็กในประเทศจีนยังคงแข็งแกร่งเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จึงส่งผลให้มีการดึงวัตถุดิบเข้าสู่ประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งแร่เหล็กและถ่านหิน ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้เพิ่มขึ้นทั่วโลก จึงได้ส่งผลกระทบต่อราคาเศษเหล็กที่ยังคงแข็งแกร่งในระหว่างไตรมาส และมีผลกระทบต่อสเปรดในด้านลบ อย่างไรก็ตาม ในด้านบวก มีปริมาณการส่งออกเหล็กจากจีนที่ลดลงอย่างมาก จึงช่วยให้ปริมาณการขายเหล็กลวดของบริษัทในตลาดภายในประเทศสูงขึ้นร้อยละ 36
คำจำกัดสิทธิความรับผิดชอบ:
ข้อความอธิบายผลการดำเนินงานของบริษัทในเอกสารข่าวประชาสัมพันธ์นี้ เป็น “ข้อความที่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า” ตามความหมายของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และระเบียบอื่นใด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงอาจมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากที่ได้แสดง สรุป อนุมาน หรือบ่งชี้ไว้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ปัจจัยสำคัญที่อาจก่อให้เกิดความแตกต่างต่อผลการดำเนินงานของบริษัทนั้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์/อุปทานและเงื่อนไขของราคาตลาดในประเทศและต่างประเทศที่บริษัทประกอบกิจการอยู่ การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อม กฎระเบียบของรัฐบาล กฎหมาย กฎเกณฑ์ ผลจากการพิจารณาคดี และ/หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้