วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีคือ วันเบาหวานโลก ทางอิควล (Equal) ผลิตภัณฑ์ให้ความหวาน แทนน้ำตาล แบรนด์ผู้นำจากอเมริกา ได้เห็นถึงอันตรายของโรคเบาหวาน จึงได้จับมือกับโรง พยาบาลพญาไท 2 จัดกิจกรรมตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อส่งเสริมความรู้พร้อมรับมือ กับโรคเบาหวาน เนื่องในวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day 2017) โดยแพทย์หญิง-นารีลักษณ์ กลิ่นสุคนธ์ (นิ่มน้อย) อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ศูนย์เบาหวาน และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ “เบาหวาน..โรคที่ (ไม่) น่ากลัว” ไว้ดังนี้
เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละปีและเบาหวานยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็น อันดับ 9 ของผู้หญิงทั่วโลก
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
– ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ, แม่, พี่, น้อง) เป็นเบาหวาน
– ความอ้วน ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด
– อายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป
– มีภาวะเบาหวานแฝงมาก่อน
– มีโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
– มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีลูกที่น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
– โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ได้รับการผ่าตัดตับอ่อน
เบาหวานส่งผลต่อ (ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานต่อร่างกาย)
– หัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
– สมอง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด โรคเส้นเลือดสมองตีบ อัมพฤต อัมพาต
– ไต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง
– เส้นประสาท ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลาย มีอาการชา เจ็บปวด ปลายมือ ปลายเท้า
– ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น เป็นแผลเรื้อรังหายยาก โดยเฉพาะแผลที่เท้า เพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกตัดนิ้ว ตัดเท้า
– ตา ทำให้เกิดจอประสาทตาอักเสบ เส้นเลือดที่จอประสาทตาผิดปกติเพิ่มความเสี่ยงการเกิดตา บอด
ทำอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน – ข้อสำคัญคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
- เลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพ ทานผักใบเขียว ผลไม้รสไม่หวานจัด ทานธัญพืช ถั่ว ข้าวไม่ขัดสี ทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และมัน ถ้าต้องการรสหวาน ควรใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความหวาน แทนน้ำตาล ในการประกอบอาหารและปรุงอาหาร
- งดเครื่องดื่มรสหวานเช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ควรดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ลดน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน
- เลิกสูบบุหรี่
- ทานยาตามแพทย์สั่ง และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจติดตามภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อป้องกันและรักษาตั้งแต่ แรกเริ่ม
- ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองที่บ้าน ถ้าสามารถทำได้