หลายคนเคยบ่นเรื่องสภาพอากาศในเมืองไทย ที่นับวันจะคาดเดากันยากลำบากขึ้นไปทุกที อย่างเช่นวันนี้ในเดือนธันวาคม เสื้อผ้าวินเทอร์คอลเลคชั่นที่อยู่ในตู้ ควรจะได้รับการใช้งานให้สมกับราคาที่เราจ่ายบ้างแล้ว แต่ในความเป็นจริง เรากลับต้องเดินเหงื่อซึมกันเกือบตลอดทั้งวัน ซ้ำร้ายตกเย็นยังมีฝนโปรยปรายลงมาอีก พวกเราก็ได้แต่บ่นหรือโพสต์ลงในโซเชียล โดยที่ไม่ได้ฉุกคิดสักนิดเลยว่าจากเหตุการณ์ผิดปกติเหล่านี้ เหมือนโลกกำลังตะโกนบอกเราว่าไม่สบาย และต้องการความช่วยเหลือจากเราทุกคน
โลกและสภาพแวดล้อมในสังคม เกี่ยวข้องยังไงกับความทุกข์ของเรา?
คำว่า โกลบอล วอร์มมิ่ง (Global Warming) และระบบนิเวศธรรมชาติลดถอย (Nature Lost) นั้นทวีความสำคัญและได้รับการพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการประชุม Earth Summit นั้นนักวิจัยทั่วโลกชี้ว่า เราสูญเสียระบบนิเวศอันสมบูรณ์ไปแล้วถึง 12% โดยเฉพาะเขตทรอปิค (Tropics) หรือเขตร้อนชื้นแถบศูนย์สูตรของโลกความสมบูรณ์ของป่าลดลงถึง 30% ยิ่งเราสูญเสียพื้นที่สีเขียวมากเท่าไหร่ ความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราก็เพิ่มมากขึ้น
ในกรุงเทพฯ อุณหภูมิสูงขึ้นเพราะเรามีพื้นที่สีเขียวเพียง 0.62 ตารางเมตรต่อคน เรียกได้ว่าห่างชั้นเมื่อเทียบกับพื้นที่สีเขียวในเมืองหลวงอื่นอย่างปารีส (13 ตารางเมตรต่อคน) นิวยอร์ก (23 ตารางเมตรต่อคน) และลอนดอน (27 ตารางเมตรต่อคน) นี่จึงเป็นคำตอบของความผิดปกติในเรื่องสภาพอากาศของกรุงเทพฯ อันส่งผลถึงดัชนีความสุขในการดำรงชีวิตของพวกเราด้วย
แนวโน้มประชากรจากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ บ่งชี้ว่าในปี 2050 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีประชากรอายุ 60 ปี มากกว่าจำนวนประชากรเด็ก นั้นคือในอนาคตคนวัยทำงานต้องทำงานมากขึ้น เพื่อหารายได้ในการดูแลสมาชิกวัยเด็กและวัยชรา หรือหลายประเทศต้องเพิ่มอัตราจ้างงานผู้สูงวัยเป็นสาเหตุให้ต้องเพิ่มอัตราภาษี เพื่อนำเงินมาเพิ่มสวัสดิการทางสังคม
ความล้ำสมัยของเทคโนโลยีประกอบกับการขยายตัวของครัวเรือน โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีครอบครัวขนาดเล็กสูงขึ้นถึง 20.3 ล้านครัวเรือน แต่ปฏิสัมพันธ์และความอบอุ่นของคนในครอบครัวลดน้อยลง ((Distant Family Connection)) ส่งผลให้เด็กเติบโตอย่างโดดเดี่ยว (Kids Growing Up with Working parents) หรือกลายเป็นคนเก็บตัว และลุกลามจนเป็นโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder : MDD) ในที่สุด
สิ่งเหล่านี้ คือ ความจริงและบทสรุปที่ว่า มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตโดยไม่แคร์สิ่งแวดล้อม หรือผู้คนที่แวดล้อมได้ เราต่างแสวงหาการเชื่อมโยงที่สมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ หรือกับผู้คนที่อยู่ในสังคมด้วยกันเอง แต่ “ความสุขที่แท้จริงของชีวิตเราคืออะไร?”
อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายในการตอบ เพราะความสุขของแต่ละคนแตกต่าง และไม่เท่ากัน แต่มีอย่างหนึ่งที่แน่นอนคือ ความสุขนั้น ต้องส่งผลให้กับตัวเราทั้งร่างกาย จิตใจ คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา และนี่คือพื้นฐานของนิยาม “ความสุขที่ยั่งยืน”
ด้วยแนวคิด “ความสุขที่ยั่งยืน” นี้จึงเป็นแรงบันดาลใจ และแรงผลักดันให้ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ในฐานะนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มุ่งมั่นทุ่มเทในการสำรวจวิจัย ทำการศึกษาจากทั่วโลก พัฒนาทางด้านนวัตกรรม พร้อมทั้งศึกษาถึงวิกฤตต่างๆ ของโลก ทั้งโกลบอล วอร์มมิ่ง (Global Warming) ระบบนิเวศธรรมชาติลดถอย (Nature Lost) สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และปฏิสัมพันธ์ของคนในครอบครัว (Family Connection)
เพื่อที่จะคิดค้นและสร้างสรรค์โครงการที่มอบความสุขอย่างยั่งยืนที่แท้จริงให้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงชีวิตที่มีความสุขได้อย่างแท้จริงผ่านโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่นับเป็นโปรเจกต์แฟลกชิพครั้งแรกของโลก ที่แวดล้อมด้วยความสุขทั้ง 4 ได้แก่ ระบบนิเวศ (Nature) ครอบครัว (Multigenerations) คอมมิวนิตี้ (Community) และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainnovation) ผ่านคอนเซ็ปต์ Imagine Happiness… เพื่อสร้าง “ความสุขที่แท้จริง” ให้กับคุณ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2560 นี้
ข้อมูลเพิ่มเติม www.mqdc.com
Facebook: www.facebook.com/MQDC.For.All.Well.Being
IG: mqdc.official