ดีแทคท้าทายพนักงานทุกคนด้วยโปรแกรม “40-hour Challenge” เพื่อสนับสนุนให้พัฒนาทักษะด้านดิจิทัล และเข้าร่วมคอร์สอบรมเกี่ยวกับดิจิทัลผ่านระบบออนไลน์จำนวน 40 ชั่วโมงให้เสร็จสิ้นภายในปี 2561 นี้ ซึ่งจำนวนชั่วโมงการอบรมดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยปัจจุบันของดีแทคถึง 3-4 เท่า และมากกว่าที่กฎหมายกำหนดสูงสุดถึง 10 เท่า โปรแกรมนี้นำเสนอชั้นเรียนออนไลน์ระดับโลก ซึ่งจัดทำโดยความร่วมมือระหว่าง Lynda.com Coursera และเทเลนอร์
นางสาวนาฎฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ยิ่งใหญ่กว่าโปรแกรมอื่นๆที่เราได้เคยจัดมา โดยมีเป้าหมายการฝึกอบรมให้สำเร็จภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งตั้งไว้มากกว่า 100,000 ชั่วโมงสำหรับทั้งองค์กร
ที่สำคัญ โปรแกรมนี้สนับสนุนหลักความเชื่อของดีแทคที่ว่าทุกคนสามารถกลายเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านดิจิทัลได้หมด ถ้ามีกระบวนการทางความคิดที่ถูกต้อง โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัททั่วโลกมีช่องว่างเพิ่มขึ้นในทักษะด้านดิจิทัลของพนักงาน และช่องว่างนั้นกว้างขึ้นเรื่อยๆเมื่อพูดถึงซอฟท์สกิลด้านดิจิทัล นั่นหมายถึงไม่เพียงแต่การเขียนโปรแกรม และการวิเคราะห์ที่มีความต้องการสูง แต่ทักษะอื่นๆเช่น ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ความชำนาญและความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรก็เป็นที่ต้องการด้วยเช่นกัน”
“ดีเอ็นเอของดีแทคคือการลงมือทำอย่างรวดเร็ว คิดแตกต่าง กล้าที่จะทำ และมีความกระตือรือร้นที่จะมุ่งสู่ชัยชนะ ขณะนี้ดีเอ็นเอดังกล่าวได้ถูกฝังอยู่ในวัฒนธรรมของบริษัทแล้ว พนักงานของเรากำลังถามว่า ‘เราจะช่วยอย่างไรได้บ้าง มีที่ไหนบ้างที่เราสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆได้’ นี่คือตัวตนของโปรแกรม ‘40-hour Challenge’ นั่นเอง เรากำลังให้เครื่องมือที่พนักงานต้องการในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง”
โปรแกรม “40-hour Challenge” นี้จะช่วยพัฒนาบุคลากรทั้งทักษะดิจิทัลในรูปแบบฮาร์ดสกิล และซอฟท์สกิล โดยจะมีคะแนนของแต่ละคลาสในหัวข้อตั้งแต่รูปแบบการทำงานแบบอะไจล์ ไปสู่การวิเคราะห์ และประสบการณ์ของลูกค้าดิจิทัล คลาสต่างๆที่มีให้เรียนออนไลน์จะพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา กับการใช้งานด้วยโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นพนักงานสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา การอบรมของดีแทคครั้งนี้ยังใช้เกมเข้ามาประยุกต์ใช้ (gamification) ซึ่งเมื่อเรียนคลาสไหนสำเร็จแล้วสามารถปลดล็อกรับ badge คอร์สขั้นสูง และดีแทคคอยน์ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนพนักงานให้จัดการการเรียนรู้ในหัวข้อที่พวกเขารัก และสามารถช่วยพวกเขาวางแผนความก้าวหน้าของการเรียนตามความต้องการส่วนบุคคลและยังรวมถึงความต้องการของทีมอีกด้วย
“เราไม่สามารถบอกพนักงานว่าพวกเขาต้องเป็นบุคคลดิจิทัล แต่ไม่เคยติดต่อสื่อสารกับพวกเขาออนไลน์”นางสาวนาฎฤดีกล่าวต่อ “การอบรมของเราให้โอกาสแบบ bottom-up approach คือพนักงานและผู้จัดการของพวกเขาสามารถดูแลจัดการสิ่งต่างๆเกี่ยวกับความรู้ที่ตรงกับความต้องการของทีมอย่างถูกต้องแม่นยำ และมันไม่ใช่แค่เรื่องเนื้อหาเท่านั้น การอบรมของเรายังถูกออกแบบตั้งแต่พื้นฐานขึ้นไปจนถึงระดับประสบการณ์ดิจิทัลที่มีคุณค่า
การฝึกอบรมจะได้รับแรงสนับสนุนจากการจ้างผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลหน้าใหม่ๆ และการโยกย้ายภายในของพนักงาน ดีแทคมีอัตราการย้ายหน่วยงานภายในสูงมากถึง 38% ในแต่ละปี และกำลังประกาศรับพนักงานใหม่ในด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) การตลาดโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
“วันนี้เราใช้บางส่วนของการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทย เรากำลังทำงานอยู่กับข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมหาศาล การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของดีแทคทำให้เราเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับผู้ที่มีความสามารถด้านดิจิทัล และเราก็รู้ว่าผู้มีความสามารถทางดิจิทัลจะดึงดูดซึ่งกันและกัน”
ในปี 2560 ลูกค้าดีแทคมากกว่าครึ่งหนึ่งชำระเงินค่าบริการผ่านแอปดีแทค ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมถึง 50% แอปสำหรับรีเทลเลอร์เติมเงินชื่อ ดีแทควัน ได้ถูกดาวน์โหลด 60,000 ครั้ง และสามารถลดขั้นตอนการทำงานพวกการเติมเงินลงจาก 45 วินาที เหลือแค่ 5 วินาทีเท่านั้น Chatbot สามารถตอบสนองได้มากถึง 30% ของความต้องการของลูกค้าทั้งหมด จากช่องทาง SMS และจะมีการขยายช่องทางไปยัง Facebookฟีเจอร์เหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมอะไจล์ ซึ่งทำงานแบบ Project-driven โดยที่บุคลากรต่างสายงานมาทำงานร่วมกัน และสามารถทำงานได้สำเร็จอย่างรวดเร็วในระยะเวลาแค่สองสัปดาห์
“ปี 2561 จะเป็นปีที่สำคัญสำหรับดีแทค เราได้รุกนำไปแล้วในอุตสาหกรรมด้วยทีมอะไจล์ที่มีมากกว่า 10 ทีมทั่วทั้งองค์กร แต่มันยังเป็นปีที่เราต้องนำดิจิทัลไปสู่ทุกคนอีกด้วย การฝึกอบรมจะช่วยให้ผู้ที่เต็มใจที่จะรับโอกาสเพื่อที่จะอยู่แถวหน้าของการเปลี่ยนแปลงนี้”