ฮิตาชิ และ ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับไปรษณีย์ไทย ในการสนับสนุนบริการไปรษณีย์แบบดิจิทัล

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อย่อในลาดหลักทรัพย์ TSE: 6501, “ฮิตาชิ”) และ บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (“ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย)”) ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้เครือฮิตาชิ ประกาศในวันนี้ว่า ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (“ไปรษณีย์ไทย”) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลไทยที่ให้บริการไปรษณีย์ บันทึกความเข้าใจฉบับนี้เน้นไปที่ความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อทำให้บริการให้ข้อมูลข่าวสารสำหรับประชาชนไทย และบริการใหม่ด้านอื่น ๆ ภายใต้ไปรษณีย์ไทยเป็นจริงขึ้นมา

ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ ฮิตาชิ และฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จะร่วมมือกับไปรษณีย์ไทยในการพัฒนาการทดสอบการใช้ระบบ (Proof of Concept : PoC) ด้านการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไปรษณีย์ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นช่องทางที่มีความน่าเชื่อถือสูงในการส่งข้อมูลด้านการบริการสาธารณะไปยังประชาชนไทย โดยไปรษณีย์ไทยจะแนะนำการทดลองใช้ไปรษณีย์ดิจิทัล*1 ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับข้อมูลได้รับการแจ้งเตือนจากหน่วยงานรัฐบาลบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนได้ PoC ยังรวมถึงการให้บริการรับพิมพ์จดหมาย และจะมีการศึกษาวิจัยในเรื่องความจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารด้านการบริการสาธารณะอื่น ๆ และประเภทของการแจ้งเตือนจากบริษัทเอกชนที่หลากหลายต่างกัน เช่น จดหมายทางตรง (Direct Mail) และใบแจ้งหนี้ (Invoice) เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของบริการจากไปรษณีย์ไทยสำหรับการแจ้งเตือนประเภทดังกล่าวโดยเฉพาะ การใช้ผลการศึกษาจาก PoC ยังรวมถึงการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงไปในทางเลือกอื่น เพื่อให้เกิดบริการแบบใหม่ที่สามารถมีบทบาทในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจ และการรับมือกับความท้าทายในอนาคตของไปรษณีย์ไทย โดยไปรษณีย์ไทย, ฮิตาชิ, และฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จะประมวลสรุปแผนเพื่อพัฒนาบริการสำหรับปีต่อ ๆ ไป และพิจารณาการนำ ICT ในมุมต่าง ๆ มาสนับสนุนให้เกิดบริการ

ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยกำลังเสริมสร้างนโยบายระดับชาติเพื่อจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีความก้าวหน้า และเพื่อบรรลุการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้มากยิ่งขึ้น ในงานด้านบริการไปรษณีย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งญี่ปุ่น (MIC) โดยในปีงบประมาณ พ..2559 MIC ได้จัดทำโครงการวิจัยที่เสนอแนะว่า การใช้เครือข่ายไปรษณีย์เพื่อการบริการสาธารณะน่าจะเกิดประสิทธิภาพในการระบุความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (ช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร)*2

ในประเด็นดังกล่าว เมื่อเดือนมิถุนายน พ..2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งญี่ปุ่นและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงบริการไปรษณีย์ โดยกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งญี่ปุ่นจะทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลการบริการสาธารณะไปยังประชาชนไทยผ่านเครือข่ายไปรษณีย์ของประเทศไทย หลังจากได้รับตัวสัญญาเพื่อทำการวิจัยดังกล่าว ฮิตาชิกำลังทำการ PoC ที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น

ฮิตาชิมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่กว้างขวางในด้านการพัฒนา และการนำเสนอระบบไปรษณีย์และบริการสาธารณะอื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่น การส่งข้อมูลข่าวสารที่จะนำมาเสนอในที่นี้มีพื้นฐานจากการใช้ไปรษณีย์ดิจิทัล และถูกวางให้เป็นทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากการส่งด้วยข้อมูลเป็นเอกสาร โดยฮิตาชิตั้งเป้าหมายว่า จะมีบทบาทในการสนับสนุนบริการผ่านไปรษณีย์ดิจิทัล หรือการให้บริการพิมพ์และส่งจดหมาย เพื่อพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลของประชาขนไทย

รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0” หรือวิสัยทัศน์เพื่อสังคมเศรษฐกิจเชิงอุดมคติที่ประเทศไทยต้องการพัฒนาไปให้ถึง และกำลังส่งเสริมแผนการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการหลักในการทำวิสัยทัศน์นี้ให้เป็นจริง ฮิตาชิและสำนักงาน EEC ได้ลงนามร่วมกันในข้อตกลงความร่วมมือในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงเทคโนโลยี IoT และสร้างสภาพแวดล้อมเชิงนวัตกรรม*3 จากข้อตกลงดังกล่าว ฮิตาชิได้เริ่มพิจารณาการสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้งาน Lumada ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม IoT ของฮิตาชิ และกำลังเสริมสร้างแนวทางในการนำเสนอโซลูชั่นส์ดิจิทัลทั่วประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน

เมื่อรวมเครือข่ายไปรษณีย์ของไปรษณีย์ไทยและเทคโนโลยีดิจิทัลของฮิตาชิเข้าด้วยกัน ฮิตาชิและฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จะร่วมมือกับไปรษณีย์ไทยในการสร้างบริการใหม่ ที่จะเอื้อต่อการส่งข้อมูลแบบโต้ตอบไปสู่คนไทย และเร่งประสานความร่วมมือด้านการสร้างสรรค์นี้ในการพัฒนาบริการไปรษณีย์ต่อไปในอนาคต

  1. ไปรเษณีย์ดิจิทัล (Digital Post) คือระบบตู้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ส่ง เมื่อมีการระบุตัวตนผู้ใช้เป็นที่เรียบร้อย ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูและจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในระบบได้

  2. ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital Divide) คือช่องว่างระหว่างผู้ที่สามารถใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร (เช่น คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต) กับผู้ที่ไม่สามารถใช้ได้

  3. ฮิตาชิและสำนักงานระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเห็นพ้องร่วมกันในข้อตกลงความร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยี IoT ในแผนพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (12 กันยายน พ..2560) http://www.hitachi.com/New/cnews/month/2017/09/170912.html

    เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ จำกัด

    บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อย่อในลาดหลักทรัพย์ TSE: 6501) มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถ่ายทอดนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม รายรับตามบัญชีงบประมาณของบริษัทเมื่อปีงบประมาณ พ..2559 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ..2560) คิดเป็นจำนวน 9,162.2 พันล้านเยน (81.8 พันล้านเหรียญ) กลุ่มฮิตาชิเป็นผู้นำระดับโลกในด้านธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม และมีพนักงานทั่วโลกกว่า 304,000 คน ฮิตาชินำเสนอโซลูชั่นส์ให้แก่ลูกค้าผ่านการสร้างสรรค์เชิงร่วมมือในหลายแขนง ทั้งด้านพลังงาน อุตสาหกรรม การกระจายสินค้า น้ำ การพัฒนาเมือง การเงิน รัฐบาล สาธารณะ และการดูแลสุขภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮิตาชิ กรุณาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทได้ที่ http://www.hitachi.com.

    เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย จำกัด

    บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทฮิตาชิ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสิงคโปร์ มีสำนักงานกระจายอยู่ในประเทศกลุ่มอาเซียนเจ็ดประเทศ คือ มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม บริษัทให้ความสำคัญกับธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม บริษัทฮิตาชิ เอเซีย และบริษัทในเครือนำเสนอระบบข้อมูลข่าวสารและโทรคมนาคม ระบบพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและระบบอุตสาหกรรม ระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรในการก่อสร้าง อุปกรณ์และชิ้นส่วนที่มีความสามารถระดับสูง ระบบยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และอื่น ๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทฮิตาชิ เอเซีย กรุณาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทได้ที่ https://www.hitachi.com.sg.