“ฟิลิปส์ มุ่งครองตลาดเฮลท์แคร์อย่างครบวงจรจับเทรนด์สุขภาพ และร่วมมือกับพันธมิตรเน้นให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพคนไทยผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี”


ธุรกิจของ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัดประกอบไปด้วย 2 กลุ่มธุรกิจหลัก คือธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนชิ้นเล็ก (Personal Health) และ กลุ่มธุรกิจเครื่องมือแพทย์ (Health Systems) ซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ภายใต้ธุรกิจหลอดไฟของ บริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อนที่จะแยกบริษัทออกจากกันเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559


ฟิลิปส์ ประเทศไทย ยังคงครองตำแหน่งที่แข็งแกร่งในตลาดเฮลท์แคร์ ด้วยข้อมูลเชิงลึกด้านคลินิคและผู้ป่วย เพื่อตอกย้ำในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพระดับโลก โดยมีวิสัยทัศน์ในการตั้งเป้ายกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนถึง 3 พันล้านคนภายในปี พ.. 2568 เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพของฟิลิปส์ถูกขับเคลื่อนด้วยโซลูชั่นและนวัตกรรมด้านสุขภาพอย่างครบวงจร เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งกลุ่มธุรกิจเครื่องมือแพทย์และธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนชิ้นเล็ก โดยครอบคลุมทุกด้านของสุขภาพดังนี้ ความเป็นอยู่ที่ดี (Healthy Living), การป้องกัน (Prevention),การตรวจวินิจฉัย (Diagnosis), การรักษา (Treatment) และ การดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน (Home Care) โดยภาพรวมธุรกิจเฮลท์แคร์ในประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้น เนื่องด้วยปัจจัยหลักๆ คือ การที่ประเทศไทยเข้าสู่ยุคของสังคมผู้สูงอายุและการที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ยังส่งผลให้ประเทศเพื่อนบ้านหันมาใช้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย


นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สัดส่วนของการประกันสุขภาพในประเทศไทย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.5 ในปี .. 2545 เป็นร้อยละ 99.8 ในปี พ.. 2558 ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8-9 ต่อปี ค่ารักษาพยาบาลมีมูลค่า 6.5 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 80:20 ระหว่างการใช้จ่ายภาครัฐบาลและภาคเอกชนตามลำดับ ขณะที่การบริการสาธารณสุขได้รับการพัฒนาและขยายไปครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ รัฐบาลได้จัดตั้งคลินิกและโรงพยาบาลแห่งใหม่ขึ้นเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสถานพยาบาลในประเทศไทยประมาณ 17,000 แห่ง โดยร้อยละ 70 เป็นของรัฐบาล ขณะที่อีกประมาณ 1,300 แห่งเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาลเฉพาะทางขั้นสูง1 รัฐบาลใช้จ่ายเงินร้อยละ 14 ของงบประมาณทั้งหมดในด้านการแพทย์และสาธารณสุข เหล่านี้รวมถึงเงินเดือนของบุคลากรทางการแพทย์ โครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องมือแพทย์ต่างๆ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.6 ของ GDP ประเทศ เพื่อเสริมสร้างประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชีย รัฐบาลมีนโยบายที่จะช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมาย ประเทศไทย ศูนย์กลางสุขภาพและบริการทางการแพทย์ภายในระยะเวลา 10 ปี แผนยุทธศาสตร์สิบปีเริ่มตั้งแต่ปี .. 2560-2568 ดิจิตัลเฮลท์แคร์ หรือการนำเอาเทคโนโลยีด้านดิจิตัลมาช่วยในด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมไปถึงการบริการด้านสุขภาพ กลายเป็นสิ่งกุญแจสำคัญในยุคเฮลท์แคร์ 4.0 ซึ่งจะผลักดันอุตสาหกรรมด้านเฮลท์แคร์ให้ก้าวหน้าครับ”

1 https://www.krungsri.com/bank/getmedia/9edb9946-cb72-4e47-bed8-91d9b38a0a78/IO_Hospital_2016_EN.aspx