มาสเตอร์การ์ด (ประเทศไทย) ผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงินระดับโลก จัดเวิร์คช็อป “ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cyber Security)” ให้กับผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และตัวแทนจากสมาคมธนาคารไทย เพื่อสร้างความตระหนักด้านการโจมตีด้วยมัลแวร์ และเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมแนวทางในการป้องกันต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่างๆ เหล่านั้น
อาชญากรรมทางไซเบอร์ เป็นหนึ่งในภัยคุกคามร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 36 ขององค์กรทั่วโลกเคยได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดข้อมูล[1] (data breach) ในปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยในทุกๆ 3 นาที จะมีองค์กรที่ถูกมัลแวร์โจมตี ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อองค์กรได้[2]
ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อปจะได้รับรายละเอียดภาพรวมเกี่ยวกับมัลแวร์ สแปม การใช้อีเมล์หลอกลวง การโจมตีแบบฟิชชิง การเจาะระบบเว็บไซต์ หรือการฝังสคริปต์มัลแวร์ไว้ในโฆษณาที่แสดงผลในหน้าเว็บไซต์ (Malvertising) การโจมตีเว็บไซต์ที่คาดว่าจะมีผู้ใช้งานจำนวนมากเข้ามาใช้บริการ (Watering Hole Attack) ไวรัสคอมพิวเตอร์ การถูกมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware) และ การโจมตีเครื่องฝาก-ถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM Attack) และยังได้ชี้ให้เห็นถึงทำงานของอาชกรไซเบอร์อย่างไรในการโจมตีเป้าหมาย และรับทราบถึงการทำงานของมาสเตอร์การ์ดร่วมกับหลายหน่วยงานในการลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อปยังมีส่วนร่วมในการเสนอวิธีการในการทำให้เกิดความมั่นคง เสนอโปรแกรมการอบรม และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ให้ความเห็นว่า “กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย มีความยินดีที่ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งมาสเตอร์การ์ด ได้จัดขึ้น ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งทีผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องรู้เท่าทันกับพัฒนาการใหม่ล่าสุดในการป้องกันภัยทางไซเบอร์ จึงเป็นสิ่งที่ดีมากที่บริษัทต่าง ๆ ที่เป็นผู้นำในการป้องกันอาชกรรมทางไซเบอร์ ร่วมแบ่งปันความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และองค์ความรู้กับหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐ”
นายโดนัลด์ ออง ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ มาสเตอร์การ์ด ให้ความเห็นว่า “เศรษฐกิจติจิทัลของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในปี 2560 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 25 ในปีนี้ ผู้บริโภคตอบรับการใช้งานระบบดิจิทัล โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน และมีการเชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้นผ่านอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ทำให้เกิดช่องโหว่ และเพิ่มรูปแบบการถูกโจมตีทางไซเบอร์มากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน การจัดเวิร์คช็อปในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการออกกฎเกณฑ์ควบคุมดูแล เกิดความเข้าใจและรู้เท่าทันภัยทางไซเบอร์ โดยจะต้องก้าวนำหน้าอาชกรเหล่านั้นเสมอ”
นายอเล็กซานเดอร์ นีเจโล รองประธานอาวุโส Cybersecurity Coordination and Advocacy มาสเตอร์การ์ด ย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยกล่าวว่า “การมาร่วมกัน เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับระบบการเงินที่สำคัญ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทุกฝ่าย” อเล็กซานเดอร์เคยรับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับสภาความมั่นคงสหรัฐอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา ก่อนเข้าร่วมงานกับมาสเตอร์การ์ด
นางสาวรีเบคก้า เลดดิงแฮม เจ้าหน้าที่อาวุโส Cybersecurity Products มาสเตอร์การ์ด ให้ความเห็นว่า “การก่ออาชกรรมได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม มาเป็นอาชญากรรมไซเบอร์มากขึ้น สาเหตุหลักมาจากมูลค่าจากการก่ออาชญากรรม ซึ่งหากทำสำเร็จจะสร้างความเสียหายมากมายมหาศาล เปรียบเทียบการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ กับอาชญากรรมรูปแบบอื่น เช่นการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ หรือการกระทำความผิดร้ายแรงรูปแบบอื่น พบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชกรรมไซเบอร์เพียงอย่างเดียว มูลค่าความเสียหายมากกว่าอาชกรรมทุกประเภทรวมกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่เราจะต้องมีมาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้” รีเบคคก้า เคยร่วมงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการปราบปรามอาชญากรรมมากกว่า 20 ปี เคยร่วมงานกับนหน่วยปราบปรามอาชกรรมทางไซเบอร์ ประจำสำนักงานป้องกันอาชกรรมของสหราชอาณาจักร ก่อนร่วมงานกับมาสเตอร์การ์ด รีเบคก้า เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ INTERPOL ประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
นางสาวเมลานี เกอร์สเตน ผู้จัดการ Account Data Compromise มาสเตอร์การ์ด ให้ความเห็นว่า “บทบาทของมาสเตอร์การ์ดในการป้องกันข้อมูลการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตจากการถูกโจรกรรม คือการที่มาสเตอร์การ์ดได้ทำงานร่วมกันกับลูกค้าของเรา สร้างความเชื่อมั่นหากเกิดการคุกคามทางไซเบอร์ ความเสียหายจะเกิดขึ้นน้อยที่สุด และเป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยังธนาคารผู้ออกบัตร หากผู้ถึอบัตรเครดิตใดตกเป็นเป้าหมายในการโจมตี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฉ้อโกงด้านการเงิน” เมลานี ดูแลข้อมูลสถิติการโจรกรรมข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้น สำรวจภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญมากที่สุด และความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านบัตรอีกด้วย
มาสเตอร์การ์ด มีความร่วมมือกับรัฐบาล และพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อร่วมกันในการหาแนวทางในการปกป้องประชาชน และองค์กรธุรกิจจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ การยึดมั่นในหลักการเดียวกันของสถาบันทางการเงิน องค์กรธุรกิจ ร้านค้า เครือข่ายการชำระเงิน ภาครัฐ และที่สำคัญจากการที่ผู้บริโภคเฝ้าระวังภัย และแจ้งเตือน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อทำให้เรารู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดังนั้น โซลูชั่น อาทิเช่น ระบบการป้องกันภัยคุกคามที่มีการพัฒนาขึ้น จำเป็นต้องมีการป้องกันที่สร้างขึ้นหลายระดับชั้น (Multiple Layers of Technology Protect Each and every Transaction) และนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัย ให้เกิดขึ้นกับระบบการชำระเงินอิเล็คทรอนิคส์ของแต่ละประเทศต่อไป
เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด
MasterCard (NYSE: MA เว็บไซต์ www.Mastercard.com ) เป็นบริษัทเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการชำระเงินระดับสากล บริษัทฯ ดำเนินงานผ่านเครือข่ายกระบวนการชำระเงินที่รวดเร็วที่สุดในโลก เชื่อมต่อผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้ค้า หน่วยงานรัฐบาล และ ธุรกิจในกว่า 210 ประเทศ ผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นของมาสเตอร์การ์ดช่วยให้ธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจับจ่ายซื้อสินค้า การท่องเที่ยว การดำเนินธุรกิจ และการจัดการทางการเงิน เป็นเรื่องง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง ติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทฯ ได้ทาง ทวิตเตอร์ที่ @MastercardNews ร่วมสนทนากับบริษัทฯ ผ่านทาง Beyond the Transaction Blog และ สมัครที่นี่ เพื่อติดตามข่าวสารล่าสุดผ่าน Engagement Bureau
[1] https://dtr.thalesesecurity.com/
[2] https://www2.fireeye.com/advanced-threat-report-2013.html