ยูโอบี ร่วมกับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกระดับหลักสูตรพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจขนาดเล็กให้ครอบคลุมทักษะทางด้านดิจิตอล

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรับปรุงหลักสูตรพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจขนาดเล็ก UOB-TBS Banker’s Executive Certification Programme เพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ประกอบการมีทักษะในการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก้าวทันการแข่งขันในยุคดิจิตอล

โครงการ UOB-TBS Banker’s Executive Certification Programme จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดย หลักสูตรในปีนี้มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาช่วยเอสเอ็มอีขยายธุรกิจ เพิ่มเติมจากเนื้อหาด้านการจัดการธุรกิจและการเงิน ความรู้ด้านสินเชื่อและการจัดหาเงินทุนทางการค้า

ธุรกิจเอสเอ็มอีถือเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย สร้างรายได้คิดเป็นร้อยละ 42 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และเป็นกลไกหลักในการกระตุ้นการจ้างงาน เนื่องจากอัตราการจ้างงานมากกว่าร้อยละ 80 มาจากธุรกิจเอสเอ็มอี1 ธนาคารยูโอบีจึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิตัล

นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “ธุรกิจเอสเอ็มอี มีส่วนในการเสริมสร้างเศรษฐกิจไทยให้มีศักยภาพแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ธนาคารยูโอบี (ไทย) ได้อยู่เคียงข้างผู้ประกอบการ SME ในการนำดิจิตัลโซลูชั่นมาช่วยจัดการในธุรกิจ อาทิ ยูโอบี บิสสมาร์ท โซลูชั่นจัดการธุรกิจครบวงจรบนคลาวด์ที่จะช่วยผู้ประกอบการ SME ลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการบริหารธุรกิจ ช่วยผู้ประกอบการลดเวลาการจัดการระบบหลังบ้าน ทำให้มีเวลาไปมุ่งสร้างกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลกำไรให้องค์กร เรายังให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และฝึกฝนทักษะแก่บุคคลากรของเรา เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการในการปรับเปลี่ยนวิธีในการธุรกิจแบบดั้งเดิม ให้ทันสมัยและสามารถแข่งขันในยุคดิจิตัล”

รศ.ดร.พิภพ อุดร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “เอสเอ็มอีต้องการที่ปรึกษาทางธุรกิจที่เข้าใจถึงสถานการณ์การแข่งขันท่ามกลางยุคเศรษฐกิจดิจิตัล เพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจในอนาคต หลักสูตร UOB-TBS Banker’s Executive Certification programme ปีนี้ได้เพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจในยุคดิจิตัล เข้าไปจากเนื้อหาเดิมที่มีความเข้มข้นอยู่แล้ว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการต่อยอดโอกาสของธุรกิจเอสเอ็มอีให้เติบโตในอนาคต”

การเรียนการสอนตลอดระยะเวลาสามเดือนของหลักสูตร UOB-TBS Banker’s Executive Certification Programme จะเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียนควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงานจริง จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2560 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาชีพ เพื่อให้พนักงานได้รับการพัฒนาและฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานอย่างต่อเนื่อง อันเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการเติบโตในสายงานและพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าตามมาตรฐานของกลุ่มธนาคารยูโอบี โดยในปีที่ผ่ายมาจัดอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ประกอบการไปแล้ว 25 คน และคาดว่าจะสามารถฝึกอบรมที่ปรึกษาด้านธุรกิจเอสเอ็มอีได้อีก 25 คนในปีนี้

เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย)

ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จำกัด ประเทศไทย (กลุ่มธนาคารยูโอบี) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยเครือข่ายสำนักงาน 153 แห่ง เครือข่ายเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 349 เครื่อง และจุดบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอีก 9 แห่ง ทั่วประเทศ (ข้อมูลถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559) ยูโอบีเป็นธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย มีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยสำนักงานมากกว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตการปกครอง ทั้งในเอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ กลุ่มธนาคารยูโอบี มีสินค้าและบริการด้านการเงิน โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหัวใจในการให้บริการ

ธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AAA โดยฟิทช์ เรทติ้งส์

กลุ่มธนาคารยูโอบี ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเน้นที่ศิลปะ เยาวชนและการศึกษา กลุ่มธนาคารยูโอบีได้จัดเวทีประกวดศิลปะที่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ซึ่งได้ขยายมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการยืนยันถึงบทบาทของกลุ่มธนาคารยูโอบีในการสนับสนุนวงการศิลปะ สมาคมศิลปะประจำชาติแห่งประเทศสิงคโปร์ได้ยกย่องกลุ่มธนาคารยูโอบีให้เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะทรงเกียรติ 10 ปีติดต่อกัน ในปี 2557 กลุ่มธนาคารยูโอบียังได้สนับสนุนให้พนักงานทั่วภูมิภาคร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงกิจกรรม UOB Heartbeat Run ซึ่งจัดในประเทศจีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย

1 Source: The Office of SME Promotion (OSMEP)