บริษัท ดิจิตอลคอม จำกัด (Digitalcom) ผู้บุกเบิกบริษัทดูแลและรักษาความปลอดภัยในประเทศไทย ผนึกกำลังกับ บริษัท ฮิตาชิ แวนทารา (Hitachi Vantara) และ บริษัท ไมล์สโตน ซิสเต็มส์ (Milestone Systems) ผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์การจัดการวิดีโอ IP ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวถึงการได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิตอลและผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่ สมาร์ทไลฟ์ สมาร์ทซิตี้ โดยมี บริษัท ดิจิตอลคอม จำกัด เป็นผู้แทนจำหน่ายโซลูชั่นแพลตฟอร์มอัจฉริยะสำหรับความปลอดภัยสาธารณะขั้นสูง (Public Safety) ในประเทศไทย ประกอบด้วย Hitachi Video Analytics (HVA) และ Hitachi Visualization Suite (HVS) จากบริษัท ฮิตาชิ แวนทารา และโซลูชั่นการจัดการวีดีโอจาก บริษัท ไมล์สโตน ซิสเต็มส์ (Milestone Systems)
ในปัจจุบันมีการพูดถึง Smart Life Smart City ในแบบต่างๆ มากมาย แต่การที่จะเป็น Smart Life Smart City ที่ดีได้นั้นจะต้องมีฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงที่ดี ซึ่งบริษัท ฮิตาชิ แวนทารา กับบริษัท ไมล์สโตน ซิสเต็มส์ สามารถทำให้ออกมาใช้งานได้จริง และการมีฐานข้อมูลที่ดี การเชื่อมโยงที่วิเคราะห์ได้หลากหลายตามความต้องการ ทั้งยังมีการรักษาความปลอดภัยที่ครบครัน บวกกับประสบการณ์และความเป็นมืออาชีพในธุรกิจรักษาความปลอดภัย ของบริษัท ดิจิตอลคอม เพื่อประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมในโลกยุคดิจิทัลแห่งอนาคตได้อย่างแน่นอน
ภายในโซลูชั่นประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์แรก Hitachi Video Analytics (HVA) มีระบบการวิเคราะห์และประมวลผลวิดีโอจากระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) หรือไฟล์วิดีโอมาทำการวิเคราะห์ คือการนำภาพวิดีโอจากระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) หรือไฟล์วีดีโอมาทำการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ระบบจะสามารถเรียนรู้และตรวจสอบเหตุการณ์ได้หลากหลายแบบ อาทิ การนับจำนวนคนที่เข้าและออกในจุดที่ต้องการ, การแจ้งเตือนเมื่อพบวัตถุต้องสงสัยเพื่อประโยชน์ทางด้านความปลอดภัย รวมไปถึงมีความสามารถปรับแต่งคุณภาพของภาพวีดีโอให้ดีขึ้น และการปกปิดข้อมูลส่วนตัวโดยจะทำการเบลอใบหน้าของบุคคลในภาพวีดีโอ ผลิตภัณฑ์เด่นถัดมาคือ Live Face Matching (LFM) ระบบอัจฉริยะที่ทำการเปรียบเทียบภาพใบหน้าของบุคคลจากระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) กับฐานข้อมูลบุคคลที่ได้มีการลงทะเบียนไว้ และเมื่อตรวจจับภาพใบหน้าตรงกับฐานข้อมูลที่มีการลงทะเบียน ระบบก็จะสามารถดำเนินการในขั้นตอนถัดไปได้ อาทิ การแจ้งเตือนเมื่อพบบุคคลต้องสงสัย หรือการบันทึกเวลาเข้าออกของบุคคล เป็นต้น ผลิตภัณฑ์สุดท้ายคือ Hitachi Visualization Suite (HVS) ระบบที่สามารถรวบรวมภาพวีดีโอจากระบบกล้องวงจรปิด (CCTV), ข้อมูลจากระบบเซนเซอร์ต่างๆ รวมไปถึง ข้อมูลจากแอพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อแสดงผลรวมอยู่ในหน้าจอเดียว ทั้งนี้ระบบ HVS ยังมีความสามารถในการค้นหาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงสามารถแสดงรายงานออกมาในรูปแบบต่างๆเพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไปได้ด้วย
นายธนาวุฒิ จ่างตระกูล Head of Sales ประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ แวนทารา กล่าวว่า “การผลักดันเทคโนโลยีที่จะทำให้ Smart City Smart Life ในประเทศไทยเป็นจริงได้นั้น พันธมิตรของเรามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ การร่วมมือกันระหว่าง บริษัทฮิตาชิแวนทารา บริษัทไมล์สโตน ซิสเต็มส์ และ บริษัทดิจิตอลคอมจำกัด จะเป็นการเปิดประตูสู่การขยายโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทย ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยสาธารณะขั้นสูง ผ่านการมีส่วนร่วมระหว่างแหล่งข้อมูลผ่านโซลูชั่นแพลตฟอร์มอัจฉริยะ ซึ่งจะเป็นการเปิดประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า ตลอดจนเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตประจำวันในสังคมเมืองอัจฉริยะ”
นายสุวิช จิตรเกษมสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิตอลคอม จำกัด กล่าวว่า “บริษัท ดิจิตอลคอม จำกัด เป็นผู้เริ่มธุรกิจเกี่ยวกับ IP Network Camera เป็นรายแรกของประเทศไทย เริ่มต้นธุรกิจจากงานบริการด้านการดูแล และซ่อมบำรุงระบบ Network และ Server หลังจากนั้นผันตัวเข้ามาสู่ธุรกิจการกระจายสินค้ามุ่งเน้นให้บริการผ่านกลุ่มตัวแทนจำหน่ายเป็นหลัก ปัจจุบันเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้า IT และ Security ที่ได้รับการยอมรับ มีตัวแทนจำหน่ายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวมกว่า 1,000 ราย และสำหรับการร่วมมือกันของเรากับบริษัท ฮิตาชิ แวนทารา และบริษัท ไมล์สโตน ซิสเต็มส์ เพื่อเปิดตัวโซลูชันแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่จะนำไปสู่สมาร์ทซิตี้นั้น พวกเราได้ทำงานร่วมกับบริษัท ไมล์สโตน ซิสเต็มส์ เป็นอย่างดีมากกว่า 15 ปี และเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากบริษัท ฮิตาชิ แวนทารา และครอบครัวดิจิตอลคอมของเราวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดในประเทศไทยในไม่ช้า”
นายเบนจามิน โลว์ รองประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกบริษัท ไมล์สโตน ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “ตามรายงานของ IHS Markit ล่าสุด Milestone Systems ยังคงเป็นผู้จัดจำหน่ายอันดับ 1 ของโลกและ APAC VMS การเปิดช่องทาง100% ทำให้พันธมิตรเช่น Hitachi Vantara และ Digitalcom มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกลยุทธ์โดยรวมของ Milestone เพื่อมอบสินค้าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา และด้วยพันธมิตรแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างของเรา เราต้องการผลักดันความร่วมมือและนวัตกรรมในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีวิดีโอระบบเครือข่ายที่มีความน่าเชื่อถือและโซลูชั่นที่ปรับขนาดที่ได้รับการพิสูจน์แล้วกว่า 150,000 ครั้งทั่วโลก”
1. Hitachi Video Analytics
Hitachi Video Analytics หรือ HVA คือ การนำภาพวิดีโอจากระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) หรือไฟล์วีดีโอมาทำการวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการทำ Video Analytics นั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน นโยบายการรักษาความปลอดภัย รวมไปถึงความต้องการเพื่อที่ให้บรรลุผลทางด้านธุรกิจ ซึ่งโซลูชั่นของ HVA จะมีการแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ตามการใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
1) Operational Intelligence จะเป็นการวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ทางด้านการปฏิบัติการ เน้นในเรื่องของค่าสถิติต่างๆ ที่เกิดขึ้น
-
People counter คือ การนับจำนวนคนที่เข้าและออกในจุดที่ต้องการ
-
Traffic Analyzer คือ การนับจำนวนยานพาหนะ แบ่งตามชนิด ในพื้นที่ที่ต้องการ
-
Queue Detector คือ การตรวจสอบปริมาณของจำนวนคนที่อยู่ในแถวหรือตรวจสอบความหนาแน่นขอบุคคลในพื้นที่
-
License Plate Recognizer คือ การอ่านป้ายทะเบียนรถ ออกมาเป็นตัวอักษร
-
Activity Visualizer คือการบอกถึงปริมาณกิจกรรมหรือความเคลื่อนไหวต่างๆ ในพื้นที่ที่ต้องการ
-
Parking Spaces Analyzer คือ การตรวจสอบช่องจอดว่ามีรถจอดอยู่หรือไม่
-
Direction Controller คือ การตรวจสอบว่ามีบุคคล หรือยานพาหนะ เคลื่อนที่ไปยังทิศทางที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
-
Camera Health Monitor คือ การตรวจสอบว่ากล้องมีสิ่งของมาบัง หรือทีการโฟกัสไม่เหมือนเดิมหรือไม่
2) Security Intelligence จะเป็นการวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ทางด้านการรักษาความปลอดภัย เน้นในเรื่องของการแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ
-
Intrusion Detector คือ การกำหนดพื้นที่ที่ไม่อนุญาตให้มีการเข้าถึง หากมีคนบุกรุกหรือล่วงล้ำเข้าไปจะมีการแจ้งเตือน
-
Facial Recognition คือ การรู้จำใบหน้า ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 รูปแบบคือ การตรวจสอบใบหน้าบุคคลเทียบกับฐานข้อมูล (Live Face Match) และ ระบบบันทึกใบหน้าบุคคล (Face Collector)
-
Object Detector คือ การแจ้งเตือนเมื่อพบวัตถุหรือสิ่งของ ถูกวางไว้ในพื้นที่ต่างๆ เกินเวลาที่กำหนดไว้ รวมไปถึงแจ้งเตือนเมื่อมีวัตถุ ถูกนำออกไปจากพื้นที่ที่กำหนด
-
Video Enhancer คือ ระบบปรับปรุงคุณภาพของวีดีโอ อาชิ การปรับปรุงภาพวีดีโอที่มีการสั่นไหวของกล้อง ให้ออกมาเสมือนเป็นภาพที่นิ่ง
3) Privacy Protection เน้นในเรื่องของความเป็นส่วนตัว โดยจะทำการเบลอใบหน้าของบุคคลที่ไม่เปิดเผยตัวเป็นสาธารณะ เช่น การเบลอใบหน้าของผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือเบลอหน้าของบุคคลในห้องพิจารณาคดี เป็นต้น
2. Live Face Matching System
Live Face Matching System หรือ LFM ถือเป็น Video analytic รูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบภาพใบหน้าของบุคคุลจากระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) กับฐานข้อมูลบุคคลที่ได้มีการลงทะเบียนไว้ และเมื่อตรวจจับภาพใบหน้าตรงกับฐานข้อมูลที่มีการลงทะเบียนไว้ จะดำเนินการในขั้นตอนถัดไปได้ อาทิ บุคคลที่กล้องจับภาพได้อยู่นั้นเป็นบุคคลต้องสงสัยที่อยู่ใน แบล็คลิสต์ จะมีการส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้ที่รับผิดชอบ ซึ่งเราสามารถจัดเก็บรายละเอียดข้อมูลของบุคคลลงในฐานข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-สกุล ที่อยู่ รวมไปถึงจัดกลุ่มของบุคคลได้เช่น กลุ่มลูกค้าวีไอพี กลุ่มแบล็คลิสต์ เป็นต้น
3. Hitachi Visualization Suite
Hitachi Visualization Suite หรือ HVS เป็นซอฟต์แวร์โซลูชั่น ที่ทางบริษัท ฮิตาชิ แวนทารา สามารถรวบรวมภาพวีดีโอจากระบบกล้องวงจรปิด (CCTV), ข้อมูลจากระบบเซนเซอร์ต่างๆ รวมไปถึงข้อมูลจากแอพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อแสดงผลรวมอยู่ในหน้าจอเดียว ทั้งนี้ระบบ HVS ยังมีความสามารถในการค้นหาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงสามารถแสดงรายงานออกมาในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไปได้ด้วย
วิธีการทำงานของ HVS หัวใจหลักของการทำงานจะเป็นการรวบรวมภาพวิดีโอจากระบบกล้องต่างๆ ซึ่ง HVS จะสามารเชื่อมโยงกับ บริษัท ไมล์สโตน ซิสเต็มส์ ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการกล้องวิดีโอ (VMS) ชั้นนำ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการกล้องวิดีโอควบคู่ไปกับบริษัท ดิจิตอลคอม จำกัด ที่ปรึกษาด้านการออกแบบระบบ ที่พร้อมจะนำเสนอโซลูชั่นที่ประกอบไปด้วยความสามารถของ HVS และ ไมล์สโตน
ในปัจจุบันที่มีการพูดถึง Smart Life Smart City และ Smart ต่าง ๆ มากมาย แต่การที่จะเป็น Smart ได้นั้นจะต้องมีข้อมูลที่ดี และการเชื่อมโยงที่ดีด้วยเช่นกัน ซึ่งตอนนี้บริษัท ฮิตาชิ แวนทารา ได้ร่วมมือบริษัท ไมล์สโตน ซิสเต็มส์ ทำให้ออกมาเป็นจริงแล้ว ทั้งฐานข้อมูลที่ดี และการเชื่อมโยงที่วิเคราะห์ได้หลายหลากตามความต้องการ ทั้งยังมีการรักษาความปลอดภัยที่ครบครันจากบริษัท ดิจิตอลคอม จำกัด อีกด้วย
ในอดีตมองว่ากล้องวีดีโอ หรือ CCTV เปรียบเสมือนตาที่ใช้เอาไว้สอดส่องเหตุการณ์ต่าง ๆ แต่ในปัจจุบัน CCTV ได้ล้าหลังไปแล้ว เพราะปัจจุบันได้ก้าวขึ้นสู่ระบบ AI หรือระบบสมองกล ที่นอกจากจะมี CCTV เป็นตา แล้วยังมีสมองซึ่งหมายถึงแพลตฟอร์มและฟีเจอร์ต่าง ๆ ช่วยในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะตามวัตถุประสงค์ที่ลูกค้าต้องการ ทำให้สามารถเปรียบเสมือนคล้าย Hollywood World ซึ่งจริง ๆ แล้วในโลกปัจจุบันก็ได้เกิดขึ้นมาจริงแล้ว ยังไม่มีบริษัทไหนที่ทำครบและเป็นแพลตฟอร์มที่ทั่วโลกยอมรับ หากแต่ในวันนี้สิ่งที่ บริษัท ฮิตาชิ แวนทารา ร่วมกับบริษัท ไมล์สโตน ซิสเต็มส์ ทำให้เห็นเป็นการประกอบร่างว่าใช้ได้จริงและไม่ใช่สิ่งที่จะต้องมาตั้งแพลตฟอร์มกันใหม่ เพราะฉะนั้นจึงมองว่าตรงนี้เป็นการเปิดไปสู่อีกยุคใหม่ของระบบ CCTV