โรเบิร์ต บ๊อช ตั้งเป้าขึ้นแท่นผู้นำทางด้าน IoT ประกาศภายในปี 2563 ทุกผลิตภัณฑ์ของBosch ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ระบบ IP มั่นใจระบบรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการจาก Bosch ทำให้โซลูชัน Smart Building มีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนตั้งแต่การตรวจจับวิเคราะห์ แจ้งเตือน และบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัย ด้านเทคโนโลยีระบบวิดีโอตอบโจทย์ Smart City ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์อัจฉริยะ พร้อมการทำงานร่วมกับพันธมิตรทางเทคโนโลยี จัดสัมมนา “Bosch Connected Security & Safety Solutions” โชว์โซลูชั่นล่าสุด
นายเอกรินทร์ วัชรยิ่งยง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด (Robert Bosch Limited) แผนกเทคโนโลยีอาคาร เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดแสดงโซลูชันนวัตกรรมระบบรักษาความปลอดภัย Smart City และ Smart Building เพื่อรองรับการขับเคลื่อนที่เชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต (Connected Mobility) ยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยเน้นให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญด้านการเชื่อมต่อในทุกๆ ระบบของ Security & Safety เพื่อตอบโจทย์ภายใต้แนวคิดงานสัมมนา “Bosch Connected Security & Safety Solutions” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรม แบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงจากสำนักงานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมด้วย คือ Mr. Michael Goh,Director Sales Asean และ Mr. Daniel Quek Senior Manager, Regional Marketing, Installed Audio ทั้งนี้ Bosch มีเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำทางด้าน IoT โดยภายในปี 2563 ทุกผลิตภัณฑ์ของ Bosch จะเป็นผลิตภัณฑ์ระบบ IP ทั้งสิ้น ภายในงานได้มีนำเสนอโซลูชันระบบรักษาความปลอดภัยและการสื่อสารสำหรับอาคาร และเมืองอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีล่าสุดจาก Bosch พร้อมกับให้ผู้เข้าเยี่ยมชมงานได้สัมผัสประสบการณ์ของการใช้งานจริง เข้าใจถึงแนวคิด รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้และต่อยอดกับโครงการต่างๆได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
Bosch นำเสนอโซลูชัน Smart City ด้วยการโชว์นวัตกรรมและเทคโนโลยีของกล้อง Bosch อาทิ (1) ระบบวิเคราะห์ภาพ กล้องสำหรับอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์ กล้อง MIC IP starlight 7000i วิเคราะห์ภาพอัจฉริยะที่แยกแยะวัตถุได้ 4 ประเภท ได้แก่ คน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ และรถบรรทุก และ (2) เทคโนโลยี starlight ที่ทำให้กล้อง Bosch ให้ภาพที่มีความคมชัดแม้ในสภาวะแสงน้อย ข้อมูลวิดีโอที่ได้จากกล้องวงจรปิด Bosch ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิดที่ใช้จับภาพป้ายทะเบียนยานพาหนะ หรือจับใบหน้าบุคคลต่างๆ (Face Detection) ด้วยความละเอียดสูง เมื่อนำซอฟต์แวร์เข้ามาประมวลข้อมูล ก็จะได้ประโยชน์ในเชิงการเก็บข้อมูลทะเบียนรถยนต์ที่สัญจรในพื้นที่เฝ้าระวังภัย (License Plate Recognition) การแจ้งเตือนภัยกรณีมีบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลเข้ามาในพื้นที่เฝ้าระวัง หรือเชิงพาณิชย์ด้วยการใช้งานร่วมกับเสียงประกาศสาธารณะในการกล่าวต้อนรับบุคคลสำคัญที่อยู่ในฐานข้อมูลของเราได้
การวิเคราะห์และประมวลผลภาพที่คมชัดจากกล้องวงจรปิด Bosch Essential Video Analytics และ Intelligent Video Analysis ที่ทำหน้าที่เหมือนผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการเฝ้าระวังเหตุการณ์จากเงื่อนไขต่างๆที่เราตั้งค่าไว้ อาทิ การรุกล้ำพื้นที่ต้องห้าม การตรวจจับวัตถุ หรือพฤติกรรมต้องสงสัย ตรวจจับจากความหนาแน่นของฝูงชน เป็นต้น โดยผ่านการวิเคราะห์ประมวลผลจากขนาด ความเร็ว ทิศทาง อัตราส่วน รวมถึงสี
ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นภาพรวมของระบบกล้องวงจรปิด ตำแหน่งของกล้องในจุดต่างๆ และสามารถคลิกที่Geographic Information System (GIS) เพื่อดูภาพจากกล้องแต่ละจุดในแผนที่ที่เราวางตำแหน่งไว้ได้ด้วยโปรแกรมVideo Security ทั้งนี้ ระบบวิดีโอ Bosch ทั้งหมดจะมีการบริหารจัดการผ่าน Bosch Video Management Software (BVMS) ซอฟต์แวร์ Bosch ที่จัดการให้ทุกระบบทำงานได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และรองรับการทำงานของกล้องวงจรปิดมากถึง 2,000 ตัว และดูภาพแบบต่อเนื่องด้วย stitching โดยใช้เซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว ซึ่งช่วยลดต้นทุนการติดตั้งและการปฏิบัติการ ทั้งนี้ BVMS เป็นระบบเปิด รองรับการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ของพันธมิตรทางเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ กล้อง อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และระบบอื่นๆ ของพันธมิตรทางเทคโนโลยี
“โซลูชัน Smart City สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพด้วยพันธมิตรทางเทคโนโลยีของ Boschได้แก่ ระบบสื่อสารจาก Allied Telesis และ RADWIN และบริษัท จีฟินน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูลสัญญาณเตือนภัยแบบบูรณาการ สำหรับ โซลูชัน Smart Building ทาง Bosch ได้นำเสนอระบบบูรณาการที่รองรับความต้องการเฉพาะของการใช้งาน การตอบโจทย์ของการรักษาความปลอดภัยให้แก่สถานที่ Bosch ช่วยให้สามารถตรวจจับพฤติกรรมที่น่าสงสัยได้ในช่วงต้น และช่วยยืนยันและตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาณเตือนด้วยระบบวิดีโอที่ความละเอียดของภาพสูง รวมถึงมีฟังก์ชัน Essential Video Analytics (EVA) และ Intelligent Video Analysis (IVA) ช่วยในการวิเคราะห์วิดีโอด้วยเงื่อนไขตามที่เรากำหนดค่าไว้” นายเอกรินทร์ กล่าว
กรณีที่มีการบุกรุกจากคนภายนอก เราจะได้รับการแจ้งเตือนด้วยระบบการตรวจจับที่มีการทำงานแบบผสมผสานระหว่างระบบเตือนการบุกรุก แจ้งเตือนอัคคีภัย ควบคุมการเข้าออก และระบบวิดีโอ โดยลูกค้าสามารถใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อตรวจการณ์และสั่งการได้ในขณะเดียวกัน เนื่องจากระบบมีความยืดหยุ่น และรองรับการปรับแต่งค่าตามความต้องการของลูกค้าได้ โดยเราสามารถกำหนดโซนการบุกรุกได้มากถึง 599 โซน รวมทั้งยังสนับสนุนการควบคุมการเข้าออกได้ถึง 32 ประตูเพื่อจำกัดการเข้าถึงเฉพาะผู้ใช้ที่กำหนดเท่านั้น และการใช้เครื่องอ่านบัตร สแกนนิ้ว อุปกรณ์ควบคุมที่เหมาะสมแก่การใช้งานจะจำกัดการเข้าถึงพื้นที่หวงห้าม เพื่อให้แน่ใจว่าเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้ามาได้ นอกจากนี้ระบบยังรับรองการเตือนอัคคีภัยเชิงพาณิชย์ (UL) ซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในระบบเดียวกันนี้ และทำงานร่วมกับกับการประกาศสาธารณะโดยข้อความจากลำโพงสามารถส่งไปยังโซนที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น
ในส่วนของการตรวจจับอัคคีภัยและแจ้งเตือนการอพยพหนีไฟ Bosch นำเสนอโซลูชันการตรวจจับอัคคีภัยที่ทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วยอุปกรณ์ตรวจจับกลุ่มควัน และเพลิงไฟด้วยวิดีโอ AVIOTEC fire-based detection ที่รองรับพื้นที่ที่มีความสูงเกินกว่า 9 เมตรหรือพื้นที่เสี่ยง รวมถึงอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟความไวสูง Aspiration smoke detector ที่เหมาะสำหรับห้องศูนย์คอมพิวเตอร์แม่ข่าย Bosch สามารถตรวจหาการลุกไหม้และการอพยพของทริกเกอร์ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ในเวลาเดียวกันก็จะการเกิดสัญญาณเตือนที่ผิดพลาด ทั้งนี้ เมื่อระบบตรวจจับอัคคีภัยได้จะทำงานร่วมกับระบบเสียงประกาศสาธารณะให้แจ้งเตือนการอพยพหนีไฟได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
ระบบรักษาความปลอดภัยของ Bosch ไม่ได้ตอบโจทย์ในเชิงของฟังก์ชันการใช้งานเท่านั้น แต่ยังได้รับการออกแบบมาให้มีความสวยงามกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมของสถานที่ Bosch ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์กล้อง Panoramic ที่ให้ความความละเอียดเซนเซอร์ระดับ 5 หรือ 12 ล้านพิกเซลพร้อมเลนส์ fish eye ที่ช่วยให้มองเห็นภาพรวมทั้งหมดได้อย่างไร้จุดบอด และการจับภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดาย และอุปกรณ์ตรวจจับอัคคีภัย Invisible Smoke Detector ที่เรียบเนียนไปกับพื้นผิวทำให้การติดตั้งสวยงาม อีกทั้งยังดูแลรักษาได้ง่าย
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.boschsecurity.com/th
เกี่ยวกับ Bosch ในประเทศไทย
Bosch ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ปัจจุบัน Boschสร้างความหลากหลายในธุรกิจถึงสี่ด้าน ได้แก่ โซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค และเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร บริษัทมีโรงงานผลิตในธุรกิจโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อนถึงสามแห่ง พร้อมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา อีกทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการสำหรับอุปกรณ์ไฮดรอลิกและเครื่องจักรในจังหวัดระยอง และสายการผลิตโซลูชั่นส์และการบริการส่วนเครื่องจักรเพื่อบรรจุภัณฑ์ในจังหวัดชลบุรี ในปีที่ผ่านมา Boschในประเทศไทยมียอดขายถึง 12.8พันล้านบาท (335 ล้านยูโร) และมีพนักงานมากกว่า 1,400 คน ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.bosch.co.th และ https://www.facebook.com/BoschThailand.
เกี่ยวกับกลุ่ม Bosch
กลุ่มบริษัท Bosch ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 402,000 คน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ในปี 2559 บริษัทมียอดขายรวมทั้งสิ้นกว่า 78.1 พันล้านยูโร โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจสำคัญได้แก่ กลุ่มโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน กลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร ในฐานะผู้นำทางด้าน IoT (Internet of Things) Boschนำเสนอนวัตกรรมแห่งโซลูชั่นส์เพื่อบ้านอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ยานยนต์ และ อุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมต่อถึงกัน ด้วยความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเซนเซอร์ ซอฟท์แวร์ และการให้บริการ รวมถึงไอโอทีคลาวด์ของBoschเอง เราจึงสามารถให้บริการโซลูชั่นส์ที่เชื่อมต่อแบบข้ามโดเมนได้เบ็ดเสร็จจากแหล่งเดียว เป้าหมายกลยุทธ์ของเรา คือการส่งมอบนวัตกรรมและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อชีวิตที่เชื่อมต่อถึงกัน ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเสนอคำตอบที่ล้ำสมัยและเป็นประโยชน์ที่นับได้ว่าเป็น“เทคโนโลยีเพื่อชีวิต” กลุ่มBosch ประกอบด้วยบริษัท โรเบิร์ต Bosch จีเอ็มบีเอช และบริษัทในเครืออีกกว่า 440 บริษัท รวมถึงสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศต่าง ๆ อีกกว่า 60 ประเทศ หากรวมบริษัทคู่ค้าผู้จัดจำหน่ายและให้บริการต่าง ๆ ทั้งส่วนการผลิต งานวิศวกรรม และเครือข่ายด้านการขาย Boschครอบคลุมอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก เพราะพื้นฐานสำคัญสำหรับการขยายตัวในอนาคตของบริษัทขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรม บริษัทจึงมีพนักงานในส่วนการวิจัยและพัฒนากว่า 64,500 คน ในศูนย์วิจัยกว่า 125 แห่งทั่วโลกในปัจจุบัน
ข้อมูลเพิ่มเติม: www.bosch.com, www.iot.bosch.com www.bosch-press.com, twitter.com/BoschPresse