หัวเว่ยเผยผลประกอบการในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 รวมรายได้ทั้งสิ้น 325.7พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 15% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีกำไรจากการดำเนินงาน 14% [1]
บริษัทยังคงเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงานให้สูงขึ้น เพื่อเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทให้มีความแข็งแกร่ง โดยคาดว่าจะคงอัตราการเติบโตให้อยู่ในระดับนี้ต่อไป พร้อมเดินหน้าเสริมสถานะทางการเงินให้เติบโตแข็งแกร่งตลอดทั้งปี
ไฮไลท์ของแต่ละกลุ่มธุรกิจ – โทรคมนาคม, เอ็นเตอร์ไพรส์, คอนซูมเมอร์ และคลาวด์
ในกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม หัวเว่ยยังเน้นใช้จุดแข็งด้านโซลูชั่น 5G แบบครบวงจรของบริษัทเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา LTE อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเครือข่าย Intent-Driven Network ศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์ และอื่น ๆ เพื่อช่วยลูกค้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถรับมือกับความท้าทายทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ เพื่อช่วยผู้ให้บริการดังกล่าวเตรียมความพร้อมทางธุรกิจสำหรับอนาคต ด้วยการใช้งานเครือข่ายแบบ All-Cloud เพื่อเชื่อมโยงผู้คนและสิ่งต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้นและวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่าย
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ออกแบบโซลูชั่นสำหรับการใช้งานเฉพาะด้าน เพื่อช่วยผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถสร้างผลตอบแทนให้ได้มากที่สุดจากเครือข่ายที่มีอยู่ บริษัทได้ใช้ระบบการดำเนินงานด้านดิจิทัลที่มีความคล่องตัว และโซลูชั่นการบริหารจัดการประสบการณ์การใช้งานที่ครบวงจร เพื่อสนับสนุนให้ผู้ให้บริการสามารถมอบประสบการณ์ด้านการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้ระดับบุคคล บ้าน และองค์กร บริษัทยังแสวงหาแนวทางเพื่อช่วยผู้ให้บริการสามารถพัฒนาบริการที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจใหม่ ๆ รวมทั้งข้อเสนอด้านบริการวิดีโอ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) โฮมบรอดแบนด์ระดับพรีเมี่ยม การผสานระบบเครือข่ายและคลาวด์เข้าด้วยกัน รวมถึงบริการอื่น ๆ
สำหรับกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีนวัตกรรมและเปิดกว้างสำหรับลูกค้า แพลตฟอร์มเหล่านี้จะช่วยให้รัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ในทุกอุตสาหกรรมสามารถคิดค้นนวัตกรรมได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเป็นดิจิทัล และทำให้การปฏิบัติงานประจำวันของพวกเขามีความชาญฉลาดมากขึ้น หัวเว่ยยังคงสร้างสรรค์นวัตกรรมไอซีทีขั้นสูง ได้แก่ คลาวด์ คอมพิวติ้ง, IoT,ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และบิ๊กดาต้า ระบบดาต้าเซ็นเตอร์, Enterprise Campus, เครือข่าย Intent-Driven, All-Flash Storage, eLTE นอกจากนี้ โซลูชั่นการสื่อสารสำหรับองค์กรของหัวเว่ยยังมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคพลังงาน การขนส่ง การเงิน และการผลิต
ในขณะเดียวกัน หัวเว่ยก็กำลังทำงานอย่างแข็งขันเพื่อสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล จากการสร้างแพลตฟอร์ม ICT, โอเพ่นแล็บ (OpenLab) แพลตฟอร์มต่างๆ สำหรับการตลาด ตลอดจนการฝึกอบรมและบริการทั่วโลก ทำให้หัวเว่ยสามารถดึงพันธมิตรคู่ค้าได้มากยิ่งขึ้น จึงเอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมร่วมกัน รวมถึงระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าร่วมกัน
ส่วนกลุ่มธุรกิจคอนซูมเมอร์ หัวเว่ยยังคงเน้นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อมอบคุณค่าที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้ใช้ โดยในปี พ.ศ. 2561 หัวเว่ยได้เน้นพัฒนาในส่วนหลักๆ ดังนี้
- หัวเว่ย P20 ซึ่งใช้นวัตกรรมด้านการถ่ายภาพและ AI ช่วยยกระดับการถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟนไปอีกระดับ
- GPU Turbo เทคโนโลยีเร่งการประมวลผลใหม่ที่ช่วยลดปัญหาคอขวดของการประมวลผลระหว่างระบบปฏิบัติการ EMUI ของหัวเว่ย, GPU ของสมาร์ทโฟนและซีพียู ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลกราฟิกอย่างมีนัยสำคัญ และลดการใช้พลังงาน ด้วยการเพิ่มความสมดุลระหว่างสมรรถนะและการใช้พลังงาน GPU Turbo ถือเป็นการยกระดับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ใช้โดยรวม
- หัวเว่ย MateBook X Pro โน้ตบุ๊คตัวแรกของหัวเว่ยที่มีดีไซน์แบบ FullView ช่วยให้สามารถแสดงภาพได้แบบเกือบไร้ขอบ พีซีเครื่องใหม่นี้มาพร้อมกับนวัตกรรมที่หลากหลาย และได้รับการยกย่องจากผู้บริโภคและสื่อมวลชน ตอกย้ำตำแหน่งของหัวเว่ยในตลาดพีซีระดับพรีเมี่ยมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ในกลุ่มคลาวด์ หัวเว่ยได้เลือกใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ มุ่งเน้นเรื่องการให้บริการคลาวด์ที่มีความเสถียร เชื่อถือได้ ปลอดภัยและยั่งยืนสำหรับลูกค้า และการสร้างแพลตฟอร์ม AI ในราคาที่สมเหตุสมผล ใช้งานง่ายและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ทุกคน สำหรับความคืบหน้าในแต่ละด้านของปี พ.ศ. 2561 มีดังนี้
- ด้าน AI: หัวเว่ย คลาวด์ ได้เปิดตัว EI Intelligent Twins และบริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การเรียนรู้เชิงลึกซึ้ง การค้นหาภาพ และวิดีโออัจฉริยะ EI เพื่อให้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่น AI ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้านได้
- ด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง: หัวเว่ยได้เปิดตัว C3ne เซิร์ฟเวอร์คลาวด์ที่เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการส่งต่อกลุ่มข้อมูลได้หลายสิบล้านกลุ่มต่อวินาที
- ด้านความปลอดภัยระบบคลาวด์: หัวเว่ย คลาวด์ ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน PCI-DSS ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของการ์ดชำระเงิน (PCI-DSS) สำหรับบริการและโหนดทั้งหมดของบริษัท ถือเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์รายแรกในประเทศจีน หัวเว่ย คลาวด์ ยังผ่านการประเมินผลทั้งหมดสำหรับการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ระดับ 4 ตามข้อกำหนดของกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะ ในประเทศจีน
หัวเว่ยยังคงได้รับความไว้วางใจและการยอมรับในตลาดอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงย้ายบริการหลักๆ ของตนเองไปใช้บริการคลาวด์ของหัวเว่ย
หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะนำดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อสร้างโลกอัจฉรยะที่เชื่อมโยงถึงกันเต็มรูปแบบ บริษัทจะยังคงใช้กลยุทธ์ Pipe ต่อไป โดยมุ่งเน้นที่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที และอุปกรณ์อัจฉริยะ เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า ทำให้เกิดการพัฒนาสังคมอัจฉริยะที่เชื่อมโยงผ่านดิจิทัล และมีการเติบโตอย่างยั่งยืน
[1] ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ และยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีของหัวเว่ย อัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561: 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ = 6.6392 หยวน (ที่มา: Bloomberg)