“ถอดรหัสบทเรียนจาก Blogger’s Bootcamp by CP All ปีที่ 2 บล็อกกาภิวัตน์อย่าให้อนาคต Disrupt เรา”

โครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All ปีที่ 2 บล็อกกาภิวัตน์ อย่าให้อนาคต Disrupt เรา กับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบล็อกเกอร์ผู้เข้าร่วมงานทั้ง 60 คนที่ได้เข้าร่วมเวิร์คช็อปลงมือปฎิบัติงานจริงผ่านโจทย์ที่ได้รับ พร้อมทั้งความรู้จากประสบการณ์จริง โดยวิทยากรผู้มากประสบการณ์ทั้ง 7 ท่านที่ได้เข้าร่วมให้ความรู้ตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์ อาทิ

คุณเอม นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการข่าวออนไลน์ จาก Workpoint, คุณเอ็ม ขจร เจียรนัยพานิช จาก MangoZero วิทยากร, คุณท้อฟฟี่ ชญาน์ทัต วงศ์มณี นักเขียนและนักสัมภาษณ์ จาก เพจท้อฟฟี่ แบรดชอว์ เป็นต้น โดยมีการสรุปบทเรียนจากวิทยากรทั้ง 7 ดังนี้

“Facebook จะยังคงลด Reach ลงอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีแก้ปัญหาทางหนึ่งก็คือ ให้ลองขยายช่องทางไปใช้ Twitter ซึ่งปีที่แล้วก็มียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและทั่วโลก หรือ LINE เองก็เป็นช่องทางทำคอนเทนต์อีกทางที่น่าสนใจ ช่วยดึงคนให้เกิดความสนใจเพิ่มมากขึ้น ส่วน YouTube ก็เป็นอีกช่องทางที่ทำรายได้สำหรับกลุ่มบล็อกเกอร์ด้วยเช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากยังไม่สามารถขยายไปช่องทางอื่นนอกจาก Facebook ควรทดลองการสร้าง Facebook Group เพราะยังไม่ลด Reach มากนักอีกทั้งยังสามารถสร้างCommunity ให้เพจได้ด้วยอีกด้วย” กล่าวโดย คุณเอ็ม ขจร เจียรนัยพานิช จาก MangoZero วิทยากรผู้บรรยายในสัปดาห์ที่ 1 ในหัวข้อ “อิทธิ Reach! เมื่ออิทธิฤทธิ์ของReach ลดลง บล็อกเกอร์จะปรับตัวยังไง?” พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า “การเลือกทำคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่บล็อกเกอร์จำเป็นต้องยึดไว้เป็นสิ่งสำคัญ”

ทางด้านคุณท้อฟฟี่ ชญาน์ทัต วงศ์มณี หรือ คุณท้อฟฟี่ แบรดชอว์ นักเขียนและนักสัมภาษณ์ จาก เพจท้อฟฟี่ แบรดชอว์ และ The Standard วิทยากรผู้บรรยายในสัปดาห์ที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “มีแบรนด์อยู่ ก็สนุกได้ ทำคอนเทนต์พ่วงแบรนด์อย่างไรให้จริงใจและคุณภาพถูกใจเรา” ได้ให้ความรู้กับกลุ่มบล็อกเกอร์ผู้ร่วมงานโดยสรุปว่า “สำหรับบล็อกเกอร์ หรือคนทำคอนเทนต์นั้น ควรจะเริ่มลองหันมามองว่าคอนเทนต์ของเราทำให้เกิดอะไรได้บ้าง อยู่ในขั้นของการให้ข้อมูล หรือเหนือขึ้นไปอย่างวิเคราะห์และคาดเดาอนาคต เขย่าความคิดของคน เชื่อมโยงคนเข้าด้วยกัน ทำให้คนบรรลุจุดมุ่งหมายของเขาได้ หรือไปถึงจุดสูงสุดอย่างการสร้างแรงบันดาลใจให้คนใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ยิ่งทำได้ในระดับที่สูงขึ้น ก็ยิ่งดีต่อตัวเราและคนอื่นๆ ซึ่งในท้ายสุดแล้ว Asset (สินทรัพย์) ที่สำคัญที่สุดของคนทำคอนเทนต์คือ “ความน่าเชื่อถือ” เมื่อไหร่ที่เราหวั่นไหวกับเงิน คนอ่านก็จะเสียความเชื่อมั่นในตัวเราได้ง่าย วงการนี้มันโหด เพราะสิ่งล่อใจมันเยอะ เมื่อไหร่ที่เราให้เงินมาอยู่เหนือคุณค่าตัวเอง ทุกอย่างก็จะ “จบ” ”

ซึ่งในสัปดาห์ที่ 2 นั้น ในหัวข้อ มีบล็อกช่องทางเดียวพอมั้ย ปรับตัวยังไงให้เข้าได้ทุก Platform ได้รับการบรรยายโดย คุณเนม ธีรนัย สิทธิจำลอง จากWongnai.com พร้อมข้อคิดจากการบรรยายความว่า “ในปัจจุบันการมีบล็อกเพียงช่องทางเดียวนั้นอาจจะไม่เพียงพอสำหรับคนในปัจจุบัน เพราะการมีหลายช่องทางคือการช่วยกระจายความเสี่ยง แต่ไม่ใช่ว่าทุกสายจะต้องมีทุกช่องทาง เพราะบางช่องทางเองก็อาจจะจำเป็นต่อบางสาย แต่ไม่จำเป็นสำหรับบางสาย โดยสามารถประยุกต์แนวการวิเคราะห์แบบเป็ด หรือ DUCK โดยแบ่งออกเป็น 4 ข้อด้วยกัน ได้แก่ D : Define Target Audience กลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร ถ้าจะสื่อสารกับเขาควรไปลงช่องทางไหน เพราะทุกวันนี้ Facebook ก็ลด Reach ลงเรื่อยๆ U : Useful คอนเทนต์ที่ดีต้องมีประโยชน์และสร้างคุณค่าได้ อาจช่วยแก้ปัญหา สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความสนุก หรือรวดเร็ว ควรจะมีคีย์เวิร์ดที่ดีเพื่อให้คนค้นหามาเจอได้ง่ายขึ้น C : Consistency ทำอย่างไรให้ต่อเนื่อง ทาง Wongnai จะมีเป้าหมายวางไว้ในแต่ละ Quarter สำหรับแต่ละคน นอกจากนี้ต้องมีการวัดผลที่ชัดเจนได้ด้วย  K : Keep Feedback พยายามเรียนรู้จากความล้มเหลว”

ทางด้าน คุณเอม นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการข่าวออนไลน์ จาก Workpoint ได้ร่วมแชร์มุมมองผ่านประสบการณ์จริงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสายตาของนักข่าวว่า “เนื่องจากสื่อโทรทัศน์กับออนไลน์มีความแตกต่างกันหลายอย่าง เมื่อวันที่โลกออนไลน์เข้ามาก็ต้องมีการปรับตัวหลายๆ อย่างไม่ให้ถูก Disrupt ซึ่งเอาจริงๆ แล้วทุกวันนี้ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่พร้อมจะเข้ามา Disrupt ตลอดเวลา การปรับตัวจากโทรทัศน์สู่ออนไลน์ อย่างแรกคือ Conversational หรือภาษาที่ใช้ เพราะเมื่อก่อนทีวีคือแหล่งที่รวบรวมสิ่งที่เป็นที่ยอมรับในสังคม คนจะมองว่าเป็นที่ที่เป็นทางการ แต่มือถือเป็นที่รวบรวมของทุกอย่าง ภาษาที่ใช้ก็จะเปลี่ยนไป แต่ละช่องทางเองก็มีภาษาที่ต่างกันอีก”

และในสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งถือเป็นสัปดาห์สุดท้ายของโครงการฯได้พูดถึงเกี่ยวกับ Data Analysis โดยเริ่มจาก คุณอร อรวี สมิทธิผล จาก Content Shifu ที่มาแชร์เนื้อหาทางเทคนิคเกี่ยวกับการวิเคราะห์ Data ในหัวข้อ “วิเคราะห์ Stat อย่างมีสติ! ปรับคอนเทนต์อย่างไรให้เหมาะสมกับ Consumer Insight ของแฟนคลับ” กล่าวว่า “บล็อกเกอร์ส่วนมากนั้น สามารถทำคอนเทนต์ได้ดี เพียงแต่ไม่เคยดู Stats บางคนดูแต่ไม่เคยวิเคราะห์ว่าจะทำให้ดีขึ้นอย่างไร จึงมีเคล็ดลับ 5 ข้อมาช่วยในการในการดูและวิเคราะห์ Stat ให้ลองปรับใช้คือ 1) อย่าดูเฉพาะ Metrics ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า : Stats ที่ Facebook วัดได้นั้นมันลึกกว่าที่เราเห็นโชว์อยู่ เราสามารถ Export ออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้ ซึ่งสามารถใช้ Tools ของ Excel อย่าง Pivot Table ช่วยให้เราวิเคราะห์ต่อได้ 2) เลือกวัด Performance หลายๆ ประเภทที่เหมาะกับตัวเอง : เพราะบล็อกแต่ละบล็อกไม่เหมือนกัน ควรดูว่าตัวเองเป็นบล็อกสไตล์ไหน และควรใช้ Metrics อะไรในการวัด ยอดแชร์อาจสำคัญสำหรับบางเพจ บล็อกที่เน้นเทคนิกไปเลย ไม่ได้เข้าถึงคนทั่วไปมาก อาจจะไม่ต้องสนใจค่าแชร์เลยด้วยซ้ำ 3) อย่าลืมความสำคัญของข้อมูลเชิงคุณภาพ : ไม่ใช่แค่ยอดตัวเลข แต่ลองหาวิธีวัดความคิดเห็นของผู้ติดตามของเราด้วย จริงๆ แล้วถ้าเรามีช่องทางให้เขา Feedbackหลายๆ คนก็ยินดีที่จะบอกเราเหมือนกัน 4) นอกจาก Internal Data ให้ศึกษา External Data ด้วย : มี Tools หลายอย่างที่ช่วยให้เราได้ข้อมูลที่เป็นเทรนด์ เป็นกระแส หรือดูภาพรวมของบล็อกใกล้เคียง หรือคนที่น่าสนใจด้วย เช่น Google Trends, Google Keyword Planner, Social.gg, Likealyzer, Buzzumo ฯลฯ 5) เปลี่ยน Data ให้เป็น Knowledgeและ Action : Data หรือข้อมูลที่มีจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าเราไม่เอามาวิเคราะห์และนำไปใช้งาน เพราะฉะนั้นจงใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้มากที่สุด”

สำหรับในช่วงการบรรยายสุดท้ายของโครงการฯ ในปีที่ 2 นี้ ทางด้าน คุณนกแก้ว นเรศ ติยะวัฒน์วิทย์ จาก Rainmaker และ คุณแอ๊ม ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต จากสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ได้สรุปปิดท้ายในหัวข้อ “บูสต์หรือไม่บูสต์ยังไงดี? จ่ายตังค์ทั้งทีอย่าเสียไปเปล่าๆ” โดยได้มีการแชร์เทคนิคในการบูสต์โพสต์ทั้ง 5 ข้อไว้ดังนี้

  1. ควรรู้ว่าคอนเทนต์ที่ทำ ใครจะเป็นคนอ่าน เพื่อบูสได้ตรง Target
  2. คอนเทนต์ที่ไปได้ดีแบบ Organic อาจจะลองบูสต์ เพราะพิสูจน์มาแล้วว่ามีคนอยากอ่านเยอะ
  3. ติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ จาก Facebook อยู่เสมอ
  4. เราต้องเข้าใจคนที่ติดตามเราอยู่ให้มากที่สุด เขาเป็นคนแบบไหน เขาชอบอะไรและไม่ชอบอะไร
  5. จงอย่าเสียดายเงินที่บูสต์โพสต์ เพราะเราเสียเงิน เสียเวลาทำคอนเทนต์มาเยอะแล้ว ควรวางอัตราส่วนในการบูสต์โพสต์ ต่อส่วนของคอนเทนต์ที่เราทำ

ถึงแม้ โครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All บล็อกกาภิวัตน์ อย่าให้อนาคต Disrupt เรา ได้จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี 2561 นี้ แต่องค์ความรู้ต่างๆ ที่ถูกถ่ายถอดไปในโครงการครั้งนี้จะยังคงถูกพัฒนาและส่งต่อผ่านการสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพและรับผิดชอบต่อสังคมโดยผู้เข้าร่วมงานทั้ง 60 คนต่อไป และสำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All ได้ที่ เว็บไซต์ http://blogger.cpall.co.th/ และ Facebook Page:https://www.facebook.com/blogger.cpall/