นักวิจัยความงามเกาหลีเจาะจริตคนไทย มั่นใจตลาดยังไปไกล

กระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา ประเทศเกาหลี (MFDS) ร่วมกับ สมาคมเครื่องสำอางประเทศเกาหลี (KCA) และ สำนักงานส่งเสริมการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศของเกาหลี (KOTRA)  จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “2018 One Asia Cosmetic & Beauty Forum ” ชี้แนวโน้มทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทย , การเติบโตของตลาดเอเชีย , กลยุทธ์ในการจัดจำหน่ายพร้อมเคล็ดลับในการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรวมไปถึงการจัดการความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเกาหลีและประเทศไทยเป็นต้น

ลิซ่า ฮอง นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านความงามและแฟชั่นในเอเชีย บริษัท Euromonitor International กล่าวถึงทิศทางแบรนด์เครื่องสำอางนำเข้าจากเกาหลีและทัศนคติคนไทยที่มีต่อแบรนด์ว่ายังคงได้รับความสนใจจากชาวไทยอย่างต่อเนื่องเกาหลีใต้โดดเด่นด้านความสวยความงามผลิตภัณฑ์บำรุงความงามอย่างพวกครีมบำรุงผิวครีมลบเลือนริ้วรอยก็ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกันเพราะนอกจากคุณภาพที่ดีเทียบเท่าแบรนด์ดังจากญี่ปุ่นยุโรปและอเมริกาแล้วเครื่องสำอางเกาหลียังได้เปรียบในเรื่องของราคาที่ถูกกว่า

แต่ด้วยความที่ผู้บริโภคมีความหลากหลายมากมาย บางครั้งข้อมูลพื้นฐานที่เจ้าของสินค้าให้มาไม่สามารถช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ แต่ผู้บริโภคหลายคนต้องการคนที่เคยใช้สินค้าหรือเคยมีประสบการณ์ตรงมาแล้ว มาให้ข้อมูลอีกด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ และหากเป็นคนที่มีชื่อเสียงมาพูด ยิ่งทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น

ลิซ่า ฮอง โดยแบ่งกลุ่มผู้บริโภคในไทยเป็น 4 กลุ่ม  คือ

1. กลุ่มผู้ไม่ชอบช้อปปิ้งและไม่สนใจแบรนด์คนกลุ่มนี้จะให้เลือกซื้อสิ่งของยากลำบาก

2. กลุ่มนักผจญภัย คนกลุ่มนี้จะสนใจว่าคนอื่นมองตนอย่างไร จึงมักจะซื้อสินค้าแบรนด์ดัง แต่ราคาถูก มีข้อเสนอลด แลก แจก แถม

3. กลุ่มคนชอบช้อปปิ้งชอบแบรนด์ดังคนกลุ่มนี้ชอบซื้อของแพง

4. กลุ่มคนที่ชอบคุณภาพจะใช้จ่ายหรือตัดสินใจซื้อเมื่อได้เห็นสินค้าด้วยตัวตัวเอง

5. กลุ่มผู้สนใจการตลาดที่ใช้เซเลบ หรือ ดารามาเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณา ซึ่งการใช้พรีเซ็นเตอร์ก็ช่วยทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้ดีขึ้น สู้ในตลาดได้ดี

แม้ว่าอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของเกาหลีมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันคนให้ความสนใจสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายหลักส่วนใหญ่เน้นความเป็นธรรมชาติมากขึ้น  ดังนั้นผู้ประกอบการควรเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคและเธอยังมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ปัจจุบันกลายเป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั่วโลกแล้วนั้นจะยังคงเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆในอนาคต

กลยุทธ์การเจาะตลาดและช่องทางการขาย

อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ชอบความสะดวกสบาย ดังนั้นจึงเลือกซื้อสินค้าของคนไทยยังมีจากหลากหลายช่องทาง ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ลิซ่าบอกว่า ผู้บริโภคแต่ละคนคาดหวังประสบการณ์ในการช็อปปิ้งที่แตกต่างกันในแต่ละช่องทาง หากเป็นช่องทางออฟไลน์ไม่ว่าจะเป็น Department Store หรือ Convenience Store ต้องเข้าถึงง่าย ทันสมัย ดูแลเอาใจใส่อย่างเป็นมิตร และได้ข้อเสนอที่คุ้มค่า

ขณะที่ช่องทางขายออนไลน์ ผู้ค้าจำเป็นต้องอัพเดทสินค้าและโปรโมชั่นใหม่เสมอๆ จากการสำรวจพบว่าปี 2017 คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 52% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 50% ในปี 2020 ขณะที่การซื้อขายผ่านโทรศัพท์มือถือที่ปัจจุบันมีน้อยกว่าที่เกาหลี ก็จะเริ่มแข็งแรงและมีเพิ่มมากขึ้น

นักวิจัยเกาหลียังบอกว่า เกาหลีให้ความสำคัญประเทศไทย เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพตลาดเครื่องสำอางไทยที่เป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญในอาเซียน โดยสถาบันวิจัยและสำรวจภาวะธุรกิจ Yano research institute ของประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า โครงสร้างตลาดเครื่องสำอางของไทย มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียนกว่า 30 % รองลงมา คือ อินโดนีเซีย 28% และฟิลิปปินส์ 20 %

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน แต่ไม่อาจปฎิเสธได้ว่าธุรกิจเครื่องสำอางและบริการเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น ไม่เพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่ให้ความสาคัญกับการดูแลตัวเอง แม้แต่ผู้ชายยังหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความงามมากขึ้น ดังนั้นเชื่อว่าในปีนี้ ยังมีการเติบโตต่อเนื่อง และเติบโตในระดับที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกลุ่ม Cosmetics ของไทยที่มีขนาดใหญ่

ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคแม้จะไม่ได้เพิ่มขึ้นในทุกส่วนแต่ก็มีส่วนที่เพิ่มขึ้นขณะที่เครื่องสำอางเกาหลีมีคุณภาพราคาไม่แพงจึงคาดว่าธุรกิจเกี่ยวกับความงามจากเกาหลีจะเติบโตในไทยขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งนี้ Euromontior บริษัทวิจัยตลาดของอังกฤษ รายงานภาพรวมตลาดความงามในไทยเมื่อปี 2559 มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นกว่า 6.5% มีมูลค่ารวมกว่า 154,000 ล้านบาท ถือเป็นหนึ่งในตลาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มอาเซียน ตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิว” (Skincare) ในปี 2559 เติบโต 6.1% มูลค่าตลาดรวม 70,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า  83%, ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวร่างกาย  17%,

ขณะที่ตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Makeup) เติบโต 7.0% มูลค่าตลาดรวม 21,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ผิวหน้า  56%, ริมฝีปาก  26%, แต่งตา  17%, เล็บ 1%