การผลิตสามารถเอาชนะความท้าทายของอุตสาหกรรมในปัจจุบันได้อย่างไร

ในบทความถามตอบนี้ เราได้ถามผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการผลิต คือ นายแอนโทนี บอร์น ซึ่งจะตอบคำถาม 5 ข้อเกี่ยวกับวิธีที่บริษัทผู้ผลิตสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจ

ในฐานะรองประธานด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมทั่วโลกของบริษัท ไอเอฟเอส ความรับผิดชอบของนายแอนโทนีรวมถึงการรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านอุตสาหกรรมทั่วโลกสำหรับการผลิตเชิงอุตสาหกรรมและการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้งดูแลผู้อำนวยการด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วโลก

นายแอนโทนี มีประสบการณ์กว่า 20 ปีในอุตสาหกรรมไอที รวมทั้งเคยทำงานในภาคการผลิตก่อนร่วมงานกับไอเอฟเอส ในปี 2540 เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจที่บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ และ อัลไลด์ซิกนัล(AlliedSignal) ในช่วยเวลาดังกล่าว เขาได้ปรับใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรขององค์กร (อีอาร์พี) รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ

คำถามที่ 1

ผู้ผลิตบางรายยังคงใช้สเปรดชีตเพื่อจัดเตรียมใบเสนอราคา อะไรคือข้อเสียของการทำเช่นนั้นและผู้ผลิตควรใช้อะไรแทน

คำตอบ: สเปรดชีตเหมาะกับงานหลายอย่างก็จริง แต่สเปรดชีตไม่ได้ออกแบบมาเพื่อจัดเก็บเอกสาร บันทึก การสนทนาทางอีเมล และข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งจำเป็นต่อการประมาณการ และไม่เหมาะกับการควบคุมเวอร์ชันนอกจากนี้การพึ่งพาสเปรดชีตเพื่อการประมาณการทำให้เราพลาดโอกาสที่จะทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเราต่างเคยได้ยินถึง (และเคยประสบกับ) สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณส่งสเปรดชีตทางอีเมลไปให้สมาชิกในทีมและสุดท้ายคุณต้องอัพเดตเอกสารหลายเวอร์ชันทั้งๆ ที่เป็นเอกสารเดียวกัน

นอกจากนี้ ในโลกที่เราอาศัยอยู่ตอนนี้มีกฎระเบียบมากมายที่กระทบต่อสเปรดชีตตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา มีกฎระเบียบต่างๆ เพิ่มขึ้นที่ส่งผลโดยตรงต่อข้อมูลแบบสเปรดชีต ซึ่งการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องยุ่งยากมากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย

ตอนที่ผมไปเยี่ยมผู้ผลิตและเห็นกระบวนการที่พวกเขาใช้ในปัจจุบัน สเปรดชีตที่ใช้ประมาณการมักจัดทำโดยคนที่ไม่ค่อยจะเชี่ยวชาญด้านไอทีซึ่งหมายความว่าในที่สุดแล้วไฟล์สเปรดชีตจะกลายเป็นเอกสารเฉพาะบุคคลที่จะอธิบายให้ผู้อื่นได้ลำบากดังนั้นเมื่อมีคนใหม่เข้ามาสานต่อตามหน้าที่ในธุรกิจหรือมีการเปลี่ยนแปลงบุคลากร คนที่เข้ามาดูแลอาจต้องเริ่มต้นทำใหม่หมด

เมื่อผมอธิบายความสามารถในการประมาณการอันเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชัน อีอาร์พี ของเราให้ผู้ผลิตฟัง พวกเขาก็เห็นประโยชน์ทันที

คำถามที่ 2

กระบวนการอะไรที่บริษัทผู้ผลิตควรทำเป็นระบบอัตโนมัติและมีผลดีอย่างไร

คำตอบ: กระบวนการที่สามารถทำเป็นระบบอัตโนมัติโดยใช้ความสามารถนี้คือเวิร์กโฟลว์จากกระบวนการประมาณการและกระบวนการเสนอราคาในขั้นต่อมาไปจนถึงการสร้างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกระบวนการเหล่านี้   ทำโดยบุคคลต่างๆ ดังนั้นเมื่อทำให้เป็นระบบอัตโนมัติแล้ว การแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ว่าเมื่อใดที่ใครต้องดำเนินการขั้นตอนของตนก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานและช่วยลดเวลาลง

คำถามที่ 3

มีโซลูชันใดที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจการผลิตและช่วยได้อย่างไร

คำตอบ: ประสิทธิภาพของผู้ผลิตสามารถเพิ่มได้ในหลายด้าน ไม่ใช่แค่ฝ่ายประมาณการการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กรก็สามารถเพิ่มได้ตัวอย่างเช่น ในระหว่างกระบวนการประมาณการ ทั้งทีมขายและทีมการเงินสามารถเข้าถึงข้อมูลและทำให้มั่นใจว่างบประมาณ กำไร และสมมติฐานต่างๆ นั้นถูกต้องซึ่งหมายความว่าถ้าลูกค้าเห็นชอบกับตัวเลขที่ประมาณการ/ใบเสนอราคาแล้ว รายละเอียดต่างๆ จะถูกแปลงเป็นคำสั่งผลิตและสูตรการผลิต (BOM) โดยอัตโนมัติซึ่งสร้างหรืออัพเดตเมื่อต้องการโดยไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่

กระบวนการโดยรวมนี้จะขจัดความซ้ำซ้อน เพิ่มความแม่นยำ ทลายกำแพงของฝ่ายต่างๆ และช่วยให้ทีมทำงานอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คำถามที่ 4

อะไรคือ ข้อได้เปรียบที่โดดเด่นที่ผู้ผลิตจะได้รับจากการเป็นลูกค้าของไอเอฟเอส

คำตอบ: ข้อได้เปรียบหลักที่ผู้ผลิตจะได้รับในฐานะลูกค้าของบริษัท ไอเอฟเอส คือการมีซัพพลายเออร์ที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมของผู้ผลิตและมีโซลูชันที่ตรงกับความต้องการในวันนี้และรวมไปถึงในอนาคตอุตสาหกรรมการผลิตคืออุตสาหกรรมกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ไอเอฟเอสมุ่งเน้นและคณะที่ปรึกษาสำหรับลูกค้ารับรองว่าลูกค้าสามารถนัดพบผู้บริหารอาวุโสรวมทั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนาเพื่อดูและแนะนำสิ่งที่เรากำลังพัฒนาโซลูชันของไอเอฟเอส ทำให้ผู้ผลิตในวันนี้สามารถแปรรูปธุรกิจของตนสู่ระบบดิจิทัลด้วยความสามารถด้านอุตสาหกรรม 4.0  (Industry 4.0)  และช่วยให้ผู้ผลิตก้าวสู่เส้นทางของการเป็นโรงงานอัจฉริยะ

คำถามที่ 5

มีลูกค้าหลายรายของไอเอฟเอส ที่ใช้โซลูชันและความชำนาญของ ไอเอฟเอส เพื่อเอาชนะความท้าทายของอุตสาหกรรมในปัจจุบันคุณพอจะยกตัวอย่างสักรายได้ไหม

คำตอบ: ได้ครับ บริษัท เมโคพริ้นต์ (Mekoprint) เป็นบริษัทที่เปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินธุรกิจของตนให้เป็นดิจิทัล   โดยนายลาส โบ นีลเซน ซึ่งเป็นซีไอโอของ บริษัท เมโคพริ้นต์ (Mekoprint) กล่าวไว้ในกรณีตัวอย่างของลูกค้าว่า:

“พนักงานใช้ไอแพด (iPad) หรือ ไอพอด (iPod) เพื่อดูและอัพเดตทุกอย่างตั้งแต่คำสั่งผลิต การลงบันทึกเวลา ไปจนถึงข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต สินค้าคงคลัง และการกระจายสินค้า คำสั่งงานและคำแนะนำ และเอกสารคุณภาพขั้นตอนที่เป็นดิจิทัลทั้งหมดยึดตามตรรกะธุรกิจของไอเอฟเอส ซึ่งให้ภาพรวมของบริษัทได้เป็นอย่างดีข้อมูลทั้งหมดสามารถออนไลน์ ดังนั้นถ้าเกิดความล่าช้าในการผลิตหรือการจัดส่ง ทีมขายก็จะรู้ได้ทันที”

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เอ็นอีซี (NEC) ซึ่งปรับปรุงการดำเนินงานให้คล่องตัวรวมทั้งเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน