มนุษย์ออฟฟิศกลุ่มมิลเลนเนียล…เครียด! Work-life ไม่ Balance

“เครียด – เหนื่อย – นั่งหน้าเมื่อยอยู่แต่ออฟฟิศ” ถ้าคำเหล่านี้ฟังดูช่างเข้ากับชีวิตของคุณเหลือเกินก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะคุณไม่ได้เผชิญกับสิ่งนี้คนเดียว แต่นี่คือวัฎจักรอันแสนเจ็บปวดที่เหล่ามนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศในกลุ่มมิลเลนเนียล (อายุ 18 – 35 ปี) โดยจากผลสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360° ของซิกน่า บริษัทประกันสุขภาพระดับโลกจากประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า “เรื่อง Work-Life ไม่ Balance” เป็นหัวเรื่องแรงแซงโค้งที่น่าสนใจสำหรับ #คนรักงาน2018 มากเลยทีเดียว

“มนุษย์ออฟฟิศ ชีวิตไม่ง่าย”

ผลสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360° ของ “ซิกน่า” เผยข้อค้นพบที่น่าตกใจว่า คนไทยถึง 91% กล่าวว่าตนเองอยู่ในภาวะเครียด ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 86% โดยจากทุกช่วงอายุ กลุ่มมิลเลนเนียล (อายุ 18 – 35 ปี) เป็นกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องสมดุลของการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life balance) รวมถึงมีความกังวลเรื่องความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Job stability)มากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุ 35 – 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยสิ่งที่คนไทยกังวลมากที่สุดคือ เรื่องการเงิน (43%) ตามมาด้วยเรื่องการงาน (35%)

เครียดแล้วทำอย่างไร นายจ้างช่วยไหม?

แม้ 91% ของคนไทยจะยอมรับว่าตนเองเครียด แต่คนไทยในกลุ่มนี้อีก 81% กล่าวว่าแม้จะเครียดแต่ตนก็สามารถจัดการกับปัญหาความเครียดเหล่านั้นได้โดยใช้วิธีการพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว การออกกำลังกาย และการนอนหลับพักผ่อน นอกจากนั้นผลสำรวจฯ ยังพบว่า แม้กลุ่มวัยทำงานจะเป็นกลุ่มที่เปิดรับการรักษาเกี่ยวกับสุขภาพจิตมากกว่ากลุ่มอายุอื่น แต่มีคนไทยเพียง 13% เท่านั้นที่เข้าพบบุคลากรด้านสุขภาพจิต เช่น นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพื่อปรึกษาปัญหาความเครียดของตนเอง โดยนอกจากสาเหตุด้านค่าใช้จ่ายที่สูงแล้ว ยังเกี่ยวกับความรู้สึกอับอายที่จะบอกให้ผู้อื่นรับรู้ว่าตนเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้นายจ้างในประเทศไทยจำนวนถึง 63% จะให้ความสำคัญกับการจัดการความเครียดของพนักงาน (Stress management) แต่มีหนุ่มสาวออฟฟิศเพียง 30% เท่านั้นที่กล่าวว่าที่ทำงานของตนมีการให้ความช่วยเหลือในการจัดการความเครียดอย่างเพียงพอ ในขณะที่อีก 37% กล่าวว่านายจ้างไม่มีการช่วยเหลือใดๆเกี่ยวกับการจัดการความเครียดเลย นอกจากนั้นผลสำรวจฯยังเผยอีกว่า โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ของพนักงาน (Workplace Wellness program) เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยจัดการความเครียดให้กับพนักงานได้ โดยบริษัทที่มีโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ของพนักงานจะมีจำนวนพนักงานที่รู้สึกว่าตนไม่สามารถจัดการความเครียดได้เองน้อยกว่าบริษัทที่ไม่มีโปรแกรมฯดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ

ผลสำรวจฯยังเผยเพิ่มเติมว่า สิ่งที่พนักงานต้องการให้นายจ้างจัดหาให้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากโรคมะเร็ง ความคุ้มครองสุขภาพดวงตาและสายตา และการจัดให้มีโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ของพนักงาน ข้อค้นพบที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือมนุษย์ออฟฟิศถึง 82% บอกว่าการมีโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน เช่น มีการจัดตั้งชมรมกีฬาให้พนักงานเข้าร่วม การจัดคอร์สโยคะ หรือ การขยายความคุ้มครองของประกันสุขภาพกลุ่มให้กับสมาชิกในครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกองค์กรที่จะทำงานด้วย

“ป่วยแล้วมา ดีกว่าไม่มาจริงหรือ?”

เคยไหมที่ไข้ขึ้นแต่ก็ยังต้องมาประชุม? ขาหักแต่ก็ยังต้องกะเผลกมาถึงออฟฟิศ? หรืออยู่ดึกดื่นเกินจำเป็น เพราะในแผนกไม่มีใครลุกกลับบ้านสักคน? ภาวะเช่นนี้เรียกว่า “Presenteeism” หรือการมาทำงานแม้จะเจ็บป่วยหรือมีสภาวะร่างกายหรือสภาพจิตใจที่ยังไม่พร้อม ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของงาน (Job security) จำนวนงานที่มากเกินไป (Overloaded work) วัฒนธรรมองค์กร (Work culture) ที่อาจกดดันให้พนักงานต้องแสดงตนในที่ทำงานเพื่อแสดงความทุ่มเท หรือแม้แต่การไม่ยอมรับความจริงของตัวพนักงานเอง (Denial) ที่ทำให้ฝืนร่างกายตนเองเข้ามาทำงาน โดยจากผลสำรวจฯ พบว่า คนไทยถึง 9 ใน 10 หรือราว 89% กล่าวว่าตนจะเข้ามาทำงานแม้จะเจ็บป่วย ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 67% โดยการมาทำงานแม้จะเจ็บป่วยหรือมีสภาวะร่างกายหรือสภาพจิตใจที่ไม่พร้อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน (Productivity) โดยทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงจาก 100% เหลือเพียง 74% เท่านั้น

เกษียณไม่สุข

ต่อเนื่องจากผลสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ360° ของซิกน่าเมื่อปีที่แล้วที่เราพบว่า 75% ของคนไทยยังไม่มีเงินเพียงพอสำหรับใช้ในยามเกษียณ เนื่องจากขาดการเตรียมพร้อมด้านการเงินที่ดีพอ เพราะคิดว่า“ตนเองยังไม่แก่”ทำให้หลายคนตกสู่ “กับดักอายุ”(Age Trap) ในปีนี้คนไทยก็ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเงินของตนเองเช่นเดียวกัน โดยคนไทยถึง 40% คาดว่าเมื่อเกษียณแล้วจะต้องควักกระเป๋าจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยเงินเก็บของตนเอง อีก 29% คิดจะพึ่งพาสวัสดิการจากภาครัฐในการดูแลและจ่ายค่ารักษาพยาบาล และมีคนไทยเพียง 23% เท่านั้นที่บอกว่ามีความคุ้มครองที่เพียงพอจากแผนประกันสุขภาพส่วนบุคคลที่ทำไว้

การสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360°ของซิกน่า ได้ทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่สี่แล้ว โดยได้สำรวจและติดตามทัศนคติของผู้คนเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ของตนเองในห้าด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านครอบครัว ด้านการเงิน และด้านการทำงาน ใน 23 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ซิกน่าจะนำข้อมูลและผลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ในการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวไทยให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีความเป็นอยู่และความมั่นคงในชีวิตที่ดีขึ้นในทุกช่วงเวลาของชีวิตต่อไป

เกี่ยวกับซิกน่า ประเทศไทย     

ซิกน่า ประเทศไทย เป็นบริษัทในเครือของซิกน่า บริษัทประกันสุขภาพระดับโลกจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีลูกค้ากว่า 95 ล้านคนทั่วโลก  ซิกน่าเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2545 โดยดำเนินธุรกิจเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการนำเสนอประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลและประกันสุขภาพผ่านช่องทางเทเลมาร์เก็ตติ้งและการตลาดทางตรงในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ของซิกน่าประเทศไทยคือแผนประกันสุขภาพ แผนประกันอุบัติเหตุ และ แผนประกันการเดินทางที่เป็นนวัตกรรมเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกค้ารายบุคคลรวมถึงบุคคลในครอบครัวอันเป็นที่รัก สามารถพบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซิกน่าประเทศไทยได้ที่ www.cigna.co.th                                                                                                                                            เกี่ยวกับซิกน่า

ซิกน่า คอร์ปอเรชั่น (NYSE: CI) เป็นบริษัทประกันสุขภาพระดับโลกที่มีพันธกิจในการช่วยเหลือผู้คนให้พัฒนาสุขภาพ ความเป็นอยู่และความมั่นคงในชีวิตให้ดียิ่งขึ้น  ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดของบริษัทได้รับการจัดหาให้แต่เพียงผู้เดียวผ่านทางบริษัทลูกของซิกน่า คอร์ปอเรชั่น  รวมถึงConnecticut General Life Insurance Company, Cigna Health and Life Insurance Company, Life Insurance Company of North America, Cigna Life Insurance Company of New York และสาขาของบริษัทเหล่านั้น ผลิตภัณฑ์และบริการดังกล่าวครอบคลุมถึง บริการครบวงจรด้านสุขภาพ เช่น การแพทย์ ทันตกรรม พฤติกรรมสุขภาพ เภสัชกรรม และสวัสดิการการดูแลรักษาสายตา รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การคุ้มครองเป็นกลุ่มสำหรับภาวะทุพพลภาพ ชีวิต และอุบัติเหตุ ซิกน่ามีทีมงานด้านการขายอยู่ใน 30 ประเทศและเขตแดน และมีลูกค้าที่เราให้บริการอยู่ประมาณ 95 ล้านรายทั่วโลก สามารถพบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cigna® รวมถึงลิงก์เพื่อติดตามเราบนเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ ได้ที่ www.cigna.com