ซีเอ เทคโนโลยี ยกนิ้วประเทศไทยรุกเดินหน้ารับกระแสดิจิทัล โดดเด่นสุดในกลุ่มตลาดเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

ซีเอ เทคโนโลยี (NASDAQ: CA) เปิดเผยถึงผลการสำรวจล่าสุด ซึ่งจัดทำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) โดยข้อมูลแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ตื่นตัว และมีความพร้อมปรับตัวตามระบบดิจิทัลมากที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยร้อยละ 95 ของธุรกิจและผู้นำตลาดด้านไอทีต่างยอมรับว่าตลาดไทยได้รับผลกระทบจากการตื่นตัวทางดิจิทัล ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วทั้งภูมิภาคนี้คือ ร้อยละ 80

ทั้งนี้ ร้อยละ 95 ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถาม ต่างยอมรับว่า ได้รับผลกระทบจาก การตื่นตัวและเติบโตของโลกดิจิทัล และเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 98 ขององค์กรที่ให้ข้อมูล) ต่างยอมรับว่า Digital Disruption มีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจในปัจจุบัน จากข้อมูลข้างต้น จึงส่งผลให้ ประเทศไทยได้รับการยกระดับสูงสุดในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) โดยค่าเฉลี่ยของภูมิภาคคือ ร้อยละ 78

จากรายงานผลกระทบและความพร้อมซึ่ง ซีเอ เทคโนโลยี ทำการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) โดยทำการศึกษากลยุทธฺ์ด้าน การพลิกโฉมธุรกิจด้วยแนวคิดดิจิทัลในกลุ่ม ผู้นำธุรกิจและไอทีกว่า 900 ราย จาก 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น โดยมีองค์กรและผู้ทรงอิทธิพลในวงการไอทีจากประเทศไทยเข้าร่วมถึง 100 ราย  ในจำนวนนี้ ร้อยละ 97 มีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าองค์กรพร้อมสำหรับการแข่งขันภายในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

ถึงแม้จะมีภาพรวมที่เป็นบวก แต่ปัจจุบัน ภาคธุรกิจยังไม่ได้เริ่มไขว่คว้าโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงและนำพาธุรกิจเข้าสู่แนวคิดดิจิตอลที่แท้จริง มีเพียงร้อยละ 44 ของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ ได้ระบุว่า องค์กรของพวกเขามีโครงการปฏิรูประบบดิจิทัลโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วนอกจากนี้เพียงร้อยละ 7 ของผู้ตอบแบบสอบถาม กล่าวว่า องค์กรของพวกเขาปรับเข้าสู่โหมดของระบบดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว ส่วนอีกร้อยละ 17 ได้วางแผนที่จะปฏิรูปเข้าสู่ระบบดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบแล้ว

นิค ลิม รองประธานกรรมการ ภูมิภาคอาเซียนและจีน ของซีเอ เทคโนโลยี ระบุว่า “ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นส์ หรือการพลิกโฉมธุรกิจด้วยแนวคิดปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัล สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างก้าวกระโดด เป็นการใช้งานเทคโนโลยีแบบองค์รวมเพื่อการพัฒนาให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างถูกทาง และใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ มีการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการลูกค้า และแม้แต่การสร้างรูปแบบธุรกิจที่แตกต่าง หรือเปิดตลาดใหม่การหารายได้ในลู่ทางใหม่ๆ การจะประสบความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้นั้น ผู้นำธุรกิจและไอที ต้องเล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่เป็นตัวเปลี่ยนเกม เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูลและไมโครเซอร์วิส ที่จะสอดคล้องกับการทำงานร่วมกันให้บรรลุไปตามเป้าหมายร่วมกัน”

ความท้าทายและการจัดลำดับความสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล

ในโลกยุคใหม่ กิจกรรมต่างๆ ต่างมีส่วนร่วมกับดิจิทัล องค์กรต่าง ๆ ต้องมีความสามารถในการแข่งขันที่แตกต่าง และแม้แต่รัฐบาลเอง ยิ่งต้องมีความสามารถในปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัลและการสร้างซอฟต์แวร์ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจด้วย

ผลการสำรวจพบว่าแรงกดดันหรือความท้าทายที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลในภูมิภาคนี้ได้แก่ (1) การตอบโจทย์ให้ตรงตามความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป (2) สภาวะเงื่อนไขเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและ (3) การใช้ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เป็นอาวุธที่จะเฉือนเอาชนะในการแข่งขันกับคู่แข่งแบบดั้งเดิม

การค้นพบนี้เป็นกระจกสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญด้านธุรกิจ 3 อันดับแรก ที่องค์กรในประเทศไทยต้องแก้ปัญหาให้ได้ในวันนี้ก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การลดต้นทุนการดำเนินงาน และการทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานสูงขึ้น

ความแตกต่างระหว่างลำดับความสำคัญทางธุรกิจกับแรงผลักดันการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงประสบการณ์ของลูกค้า แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของลูกค้าจะถูกจัดให้เป็นแรงกดดันลำดับต้นๆ สำหรับการปรับเข้าสู่ระบบดิจิทัล แต่การสร้างประสบการณ์ของลูกค้ากลับถูกจัดความสำคัญอยู่ในลำดับที่ห้าจากเจ็ดลำดับ

องค์กรในไทยต่างยืดอกมั่นใจขีดความสามารถด้านไอที

นอกจากที่องค์กรในประเทศไทยจะมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลแล้ว หนึ่งในผู้นำธุรกิจและด้านไอทีของไทยที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า บริษัท ในกลุ่ม เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เชื่อมั่นในความสามารถด้านไอทีขององค์กรเกี่ยวกับการรองรับการเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัลอีกด้วย

ในความเป็นจริงซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดในภูมิภาคนี้ก็คือ หนึ่งในสองของผู้ตอบแบบสอบถาม (51 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่าองค์กรของตนได้วางแผนงาน และบทบาทของเทคโนโลยีที่มีต่อวิสัยทัศน์ในการปฏิรูประบบดิจิทัลของบริษัทแล้ว

ขีดความสามารถด้านไอทีในการสนับสนุนการริเริ่มดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น
APJ Thailand
องค์กรของฉัน มีการวางโครงสร้างของเส้นทาง และบทบาทด้านเทคโนโลยีต่อวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของบริษัท 34% 51%
องค์กรของฉันสามารถสร้าง ริเริ่ม และดูแลให้แอพมีคุณภาพ โดยนี่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างภาพรวมด้านดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น 32% 43%
องค์กรชองฉันสามารถสนับสนุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยี และความต้องการที่ยืดหยุ่นตามช่วงเวลาธุรกิจที่มีธุรกรรมสูงสุดและต่ำสุดได้ เช่น ตามจำนวนบุคลากร และระยะเวลาในการทำแคมเปญ 31% 45%
องค์กรของฉันมีกำลังคนที่เหมาะสม และมีทักษะในการให้การสนับสนุนด้านไอทีที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อทำให้สามารถใช้ทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์ได้อย่างราบรื่น 32% 43%
องค์กรของฉันได้ลงทุนในแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อจัดหาทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่ล้ำยุค 34% 50%
องค์กรของฉันมีนโยบายที่เหมาะสม และมีเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการโจมตีจากไซเบอร์ โดยมั่นใจได้ว่าจะมีสภาวการณ์ที่ระบบดิจิทัลจะปลอดภัย 34% 55%

 

“เพื่อให้สามารถแข่งขันในยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ องค์กรต่างๆ จำเป็นต้อง “สร้างเพื่อการเปลี่ยนแปลง” โดยสร้างซอฟต์แวร์ให้เป็นดีเอ็นเอทางธุรกิจ ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้า ด้วยข้อมูลเชิงลึก และเครื่องมือเพื่อกำหนดการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้ารายใหม่ สร้างวิถีบริการ และรูปแบบธุรกิจใหม่ การใช้ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ให้เหมือนเป็นพิมพ์เขียวของโรงงาน จะช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อให้บรรลุเป้าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และกำชัยชนะในตลาดได้อย่างเต็มภาคภูมิ” ลิม กล่าวเสริม

เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและการเตรียมพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัลของ ซีเอ เทคโนโลยี ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

ปลายปี พ.ศ. 2560 ซีเอ เทคโนโลยีได้ว่าจ้างและดำเนินการสำรวจกลุ่มธุรกิจ และผู้นำทางด้านไอทีจำนวน 900 รายทั่วทั้ง 9 ประเทศในภูมิภาค APJ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไทย วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือการวัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในภูมิภาคนี้ และเรียนรู้ว่าองค์กรต่างๆ มีการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างไร

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมาจากองค์กรขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 250 คน โดยเกือบครึ่ง (ร้อยละ 47) ของผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์เป็นตัวแทนองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน

ผู้ตอบแบบสำรวจล้วนมีอำนาจการตัดสินใจ โดยตัดสินใจทางธุรกิจและ ร้อยละ 26 ตัดสินใจด้านไอที ผู้นำที่ตอบแบบสำรวจล้วนเกี่ยวข้องกับการริเริ่มด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในองค์กร และจำนวนนี้เป็นผู้ตัดสินใจหลักในโครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

อ่านรายละเอียดรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ www.ca.com/au/collateral/white-papers/ca-technologies-asia-pacific-and-japan-digital-transformation-impact-and-readiness-study.html

ดาว์นโหลดอินโฟกราฟิคสรุปเนื้อหาหลักของงานวิจัยได้ที่นี่ www.ca.com/content/dam/ca/au/files/infographic/thailand-digital-impact-and-readiness-study-infographic.pdf

เกี่ยวกับ ซีเอ เทคโนโลยี

ซีเอ เทคโนโลยี (NASDAQ: CA) เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นเพื่อการบริหารจัดการไอที ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการและรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของระบบไอทีที่ซับซ้อนเพื่อรองรับการให้บริการธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และโซลูชั่นในกลุ่ม SaaS ของซีเอ เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและอัตลักษณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ระดับดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึงระบบคลาวด์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีเอ เทคโนโลยี ได้ที่ www.ca.com