บริษัท แกรนด์ ดีไซน์ จำกัด ภายใต้ บริษัท ทรานสคอสมอส จำกัด ถือกำเนิด ณ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา ผู้พัฒนาแอปฯ Gotcha!mall ศูนย์รวมสิทธิพิเศษและโปรโมชั่นจากแบรนด์ดังและร้านค้าต่างๆ มาไว้ในรูปแบบของ ‘คูปองออนไลน์’ ซึ่งหนึ่งในจุดเด่นของความสำเร็จเว็บแอปฯ นี้ คือมีการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างระบบ AI Algorithm และ Ecosystem มาใช้เชื่อมโยงแบรนด์สินค้าและร้านค้าต่างๆ ให้เข้าถึงผู้บริโภค และศึกษารวบรวมข้อมูลหรือพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึก (Insight) เพื่อประโยชน์ต่อคู่ค้า ในเชิงการสร้างตลาดออนไลน์ และนำลูกค้าไปสู่หน้าร้านจริงๆ ด้วยประสบการณ์ Shopping is Entertainment “ช้อปสนุกทุกเวลา”
ปัจจุบันบริษัทฯ มองว่า รูปแบบการทำมาร์เก็ตติ้งทั่วๆ ไป มีปัญหาอยู่ 4 ข้อใหญ่ด้วยกัน คือ
1.Advertisement จะทำอย่างไรให้การโฆษณาเหล่านั้น ลิงก์ไปถึงการซื้อของผู้บริโภคได้จริง
2.Sales Promotion ยากที่จะมีการ Analyze ข้อมูลต่างๆ
3.Data Analysis เพื่อให้เกิดการตัดสินใจในเชิงการตลาดที่ถูกต้อง
4.Shopping Motivation หลายๆ ครั้ง ผู้บริโภคอาจรู้สึกไม่ได้รับความบันเทิงจากการใช้ หรือการทำการตลาดของบริษัทต่างๆ
ซึ่งเหล่านี้เป็น 4 ประเด็น ที่บริษัทฯ เล็งเห็นว่ามันสามารถปรับปรุงการทำให้ดีขึ้นได้ โดยใช้กลยุทธที่หลายๆ บริษัทนำมาใช้เกี่ยวกับการทำการตลาด คือการใช้คูปองเพื่อส่งเสริมการขายนั่นเอง แต่จะทำอย่างไรให้คูปองไม่ได้จบอยู่แค่กระดาษใบเดียว!
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวเว็บแอปฯ Gotcha!mall ขึ้น เพื่อนำนวัตกรรมในเชิงคูปองแบบดิจิทัลมาใช้ในการนำเสนอ ข้อมูลที่เป็นในลักษณะออนไลน์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องมากขึ้น รวมถึงนวัตกรรม AI Algorithm ที่นำมาใช้ในการเลือกคูปองที่ดีที่สุด ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ลูกค้าแต่ละท่านให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกสนุกกับการชอปปิ้งเพิ่มขึ้น
นายคะซึยะ โอกาวา ประธาน บริษัท แกรนด์ ดีไซน์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากประเทศญี่ปุ่น เผยว่า “ในปัจจุบันเทรนด์ AI ยังไม่ค่อยถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเท่าไหร่ ซึ่งนั่นก็หมายถึงเว็บแอปฯ Gotcha!mallนับว่าเป็นเจ้าแรกๆ ที่นำระบบ AI Algorithm เข้ามาช่วยซัพพอร์ตดูแลเลือกโปรโมชั่น เลือกคูปองให้เหมาะกับพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างตรงโจทย์ ซึ่งข้อดีของการนำระบบ AI Algorithm มาใช้บนเว็บแอปฯGotcha!mall คือ คู่ค้าแบรนด์ หรือห้างร้านต่างๆ จะได้เรียนรู้จากผู้ใช้ หรือ Users มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในเชิงรายละเอียด ที่มีทั้งข้อมูลในเชิงการเล่นเป็นยังไง เวลาที่ใช้เป็นยังไง สถานที่เป็นยังไง รูปแบบในการใช้ของลูกค้าเป็นยังไง ข้อมูล Big Data เหล่านี้จะถูก Analyze ใน AI ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการทำงานของ Gotcha!mallและยังสร้างโปรโมชั่น คูปองออนไลน์ที่ดีที่สุดในเวลาที่เหมาะสมที่สุดกับลูกค้า นอกจากนี้ คู่ค้าหรือแบรนด์ต่างๆ ที่เข้าร่วมกับ Gotcha!mall ยังสามารถได้รับข้อมูลที่เป็น Digital 100% และนำไปใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบในเชิงการตลาดที่จะทำต่อจากนี้ได้ ทำให้เห็นถึง Performance ได้อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีความสุขในการรับส่วนลดและสิทธิพิเศษที่เหมาะสมและถูกใจ ตรงคอนเซ็ปต์ Gotcha!mall ที่อยากให้รู้สึกShopping is Entertainment ช้อปสนุกทุกเวลา”
ขณะที่ นายโทชิยะ มัทซึโอะ กรรมการบริหาร บริษัท แกรนด์ ดีไซน์ จำกัด กล่าวถึงระบบ Ecosystem ที่นำมาใช้ในเว็บแอปฯ Gotcha!mall ว่าจุดเด่นของระบบ Ecosystem ที่นำเรานำมาใช้คือ Users ใช้ฟรี ในส่วนของห้างร้าน แบรนด์ที่เป็นคู่ค้า จะไม่มีค่าเรียกเข้าใดๆ เลย และเมื่อลูกค้าที่เป็น Users นำคูปองที่หมุนได้ไปใช้ที่ร้านต่างๆ ก็จะสามารถวัด Performance การทำงานของ Gotcha!mall ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถือเป็นEcosystem ที่น่าสนใจมาก ถ้ามองในเชิงคู่ค้า ก็ค่อนข้างมีรูปแบบในการให้บริการที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือGotcha!mall ไม่ได้เป็นแอปฯ แต่สามารถเข้าทาง Browser ได้เลย ซึ่งในปัจจุบัน เทรนด์ของการใช้ในลักษณะนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากเรื่อยๆ ดังนั้น Gotcha!mall เรียกว่าเป็นตัวอย่างของผู้พัฒนาในเชิง PWA ได้ดี และยังสามารถไปใช้ประเทศไหนก็ได้ ไม่ใช่ในเฉพาะประเทศไทย”
ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นมีผู้ใช้ Gotcha!mall แล้ว 10.4 ล้านคน พร้อมทั้งใช้เหรียญแล้วถึง 65 ล้านเหรียญ และยังมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งจำนวนพาร์ทเนอร์ที่เข้าร่วมอีกกว่า 37,000 ร้านด้วยกัน ซึ่งการที่แบรนด์ดังๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น Convenience Store, Super Market , Drug Store ฯลฯ ต่างให้การยอมรับถึงประสิทธิภาพทางการตลาดของ Gotcha!mall น่าจะพิสูจน์ได้ดีถึงความสามารถในการทำการตลาดในปัจจุบัน
ทั้งนี้ Gotcha!mall ยังมีแผนที่จะขยายพันธกิจไปอีกหลากหลายประเทศ ทั้งที่ไต้หวันซึ่งเปิดตัวไปเมื่อ กรกฎาคม ที่ผ่านมา และประเทศไทยในวันนี้ รวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียน อาทิ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และจะขยายต่อไปอีกเรื่อยๆ โดยคาดว่าในประเทศไทยจะมีผู้ใช้ถึง 3 ล้านคน และพาร์ทเนอร์อีกกว่า 20,000 ร้าน ในปี 2020
Related