เทสโก้ โลตัส ประกาศความคืบหน้าในการลดขยะอาหารผ่านโครงการ “กินได้ไม่ทิ้งกัน” โดยปัจจุบันร้านค้าของเทสโก้ โลตัสทั้งหมด 40 สาขาในกรุงเทพมหานครและอีก 12 จังหวัด รวมถึงศูนย์กระจายสินค้าอีก 5 แห่ง บริจาคอาหารที่ยังรับประทานได้ให้กับองค์กรการกุศลเป็นประจำ และบริจาคอาหารที่รับประทานไม่ได้แล้วเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือทำปุ๋ย นอกจากนั้น เทสโก้ โลตัส ยังได้เริ่มต้นกระบวนการวัดปริมาณขยะอาหารภายในธุรกิจ ตามปณิธานของกลุ่มเทสโก้ในการรณรงค์ให้บริษัทในธุรกิจเกี่ยวข้องกับอาหารเปิดแผยข้อมูลขยะอาหารอย่างโปร่งใส เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันในระยะยาว
นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า “เทสโก้ โลตัส ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นผู้นำลดขยะอาหารในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 โดยลดการสูญเสียและทิ้งอาหารภายในธุรกิจของเราตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งเราประสบความสำเร็จในการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากไฮเปอร์มาร์เก็ตทั้ง 24 สาขาในกรุงเทพมหานครให้กับองค์กรการกุศลภายในสิ้นปี 2560 หลังจากนั้น เราได้เดินหน้าในการขยายโครงการกินได้ไม่ทิ้งกันไปสู่สาขาขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในหัวเมืองต่างๆ วันนี้ เทสโก้ โลตัส 40 สาขารวมถึงศูนย์กระจายสินค้าอีก 5 แห่ง บริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดและยังรับประทานได้ สินค้าแตกแพ็คที่ยังมีคุณภาพดี รวมถึงอาหารที่จำหน่ายไม่หมดและไม่สามารถรับประทานได้แล้ว ให้กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เพื่อนำไปเป็นมื้ออาหารให้ผู้ยากไร้ ทำเป็นอาหารสัตว์ และผลิตปุ๋ย โดยเราสามารถช่วยให้อาหารกว่า 550,000 กิโลกรัมไม่ต้องถูกทิ้งในกองขยะและสร้างผลกระทบมหาศาลด้านสิ่งแวดล้อม อาหารเหล่านี้ถูกเปลี่ยนเป็นอาหารกว่า 1,300,000 มื้อให้กับผู้ยากไร้”
“สำหรับสาขาในกรุงเทพฯ เราทำงานกับพันธมิตรหลักคือ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ หรือ SOS ประเทศไทย ในการขนส่งอาหารที่จำหน่ายไม่หมดเพื่อนำไปบริจาคทุกวัน นอกจากนั้น เรายังร่วมงานกับมูลนิธิและองค์กรท้องถิ่นในจังหวัดอื่นๆ ในการบริจาคทั้งอาหารที่ยังรับประทานได้และไม่สามารถรับประทานได้แล้ว เช่น สาขาในจังหวัดชลบุรีบริจาคผักที่จำหน่ายไม่หมดแต่ไม่อยู่ในสภาพที่รับประทานได้แล้วให้กับศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ ส่วนในจังหวัดระยอง เราทำงานร่วมกับเอสซีจี เคมิคอลส์ ในการนำผักและผลไม้ที่รับประทานไม่ได้แล้วมาทำปุ๋ยมูลไส้เดือน ในจังหวัดลำปาง พนักงานเทสโก้ โลตัส เป็นจิตอาสานำอาหารที่จำหน่ายไม่หมดในแต่ละวันไปบริจาคให้กับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดทุกๆ เย็นหลังเลิกงาน ที่นครราชสีมา เราทำงานร่วมกับมูลนิธิพุทธธรรม ฮุก 31 ในการบริจาคอาหารที่ยังรับประทานได้ให้กับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งบ้านเมตตา ในจังหวัดขอนแก่น ผักและผลไม้ที่จำหน่ายไม่หมดและรับประทานไม่ได้ถูกนำไปทำปุ๋ยหมักใช้โดยเกษตรกรบ้านโนนเขวา ซึ่งเทสโก้ โลตัส รับซื้อผักจากเกษตรกรกลุ่มนี้ด้วย”
“ในประเทศไทย ยังขาดหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารอาหาร องค์กรที่สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศและมีศักยภาพในการขนส่งที่เพียงพอ ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการบริหารจัดการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดในต่างจังหวัดหลายๆ พื้นที่ รวมถึงร้านค้าเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรสที่มีขนาดเล็กและมีอาหารที่จำหน่ายไม่หมดปริมาณน้อยในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม เราเชื่อมั่นว่าอาหารที่รับประทานได้ไม่ควรถูกทิ้ง และจะเดินหน้าสรรหาวิธีการรวมถึงพันธมิตรในพื้นที่ต่างๆ เพื่อขยายการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากสาขาอื่นๆ ต่อไป”
“เราเชื่อว่า การจะจัดการปัญหาขยะอาหารภายในธุรกิจได้นั้น จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงต้นตอของปัญหาก่อนที่จะสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ เทสโก้เป็นค้าปลีกรายแรกในสหราชอาณาจักรที่เผยแพร่ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบโดยอิสระจากองค์กรภายนอกในปี ค.ศ. 2013 จากนั้นเทสโก้ในไอร์แลนด์และยุโรปกลางก็ได้เผยแพร่ข้อมูลขยะอาหารเช่นกัน ในประเทศไทย เราได้ริเริ่มกระบวนการวัดปริมาณขยะอาหารภายในธุรกิจของเราแล้วโดยตั้งเป้าหมายที่จะเผยแพร่ข้อมูลในอนาคตอันใกล้” นางสาวสลิลลา กล่าวสรุป
เกี่ยวกับโครงการกินได้ไม่ทิ้งกันโดยเทสโก้ โลตัส
-
โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน เริ่มต้นในปี 2560 โดยเทสโก้ โลตัส เป็นธุรกิจค้าปลีกรายแรกในประเทศไทยที่ประกาศเจตนารมณ์เป็นผู้นำในการลดขยะอาหารในประเทศไทย
-
ปัจจุบัน ร้านค้ารูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตทั้งหมด 40 สาขาใน 13 จังหวัด ( กรุงเทพมหานคร ระยอง ขอนแก่น ชลบุรี ภูเก็ต นครราชสีมา อุบลราชธานี จันทบุรี เชียงใหม่ลาพูน ลาปาง เชียงราย และ สตูล ) รวมถึงศูนย์กระจายสินค้า 5 แห่ง บริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดแป็นประจำ
-
อาหารที่จำหน่ายไม่หมดกว่า 550,000 กิโลกรัมไม่ถูกนำไปทิ้งในกองขยะและสร้างมลพิษ
-
คำนวณเป็นมื้ออาหารทั้งหมดกว่า 1,300,000 มื้อ บริจาคให้กับผู้ยากไร้
-
ศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้ โลตัส ได้บริจาคไข่ไก่ 21,422 ฟอง และข้าวสารแตกแพ็ค 17,970 กิโลกรัม
- เทสโก้ โลตัส เปิดตัวภาพยนตร์สารคดีสั้นชื่อเรื่อง “ขยะอาหาร ความจริงที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” เมื่อต้นปี พ.ศ. 2561 เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะอาหารในประเทศไทย รับชมสารคดีได้ที่นี่ https://youtu.be/r8Us6zjz0Xw
โครงการโดยกลุ่มเทสโก้
-
ในปี ค.ศ. 2013 เทสโก้เป็นค้าปลีกรายแรกในสหราชอาณาจักรที่เผยแพร่ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบโดยอิสระจากองค์กรภายนอก
-
โครงการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมด Community Food Connection เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 2016 ในสหราชอาณาจักร จนถึงปัจจุบัน อาหารกว่า 50 ล้านมื้อถูกบริจาคให้กับผู้ยากไร้
-
เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Perfectly Imperfect ในสหราชอาณาจักร นำผักและผลไม้ที่รูปร่างไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรับซื้อปกติมาจำหน่ายให้กับลูกค้าเพื่อลดการเกิดขยะอาหาร ปัจจุบันผักและผลไม้ที่ไม่สวยกว่า 14,230 ตัน ถูกนำมาจำหน่ายแทนการทิ้งให้เปล่าประโยชน์
-
เทสโก้ในไอร์แลนด์และยุโรปกลางเผยแพร่ข้อมูลขยะอาหารในปี ค.ศ. 2017
-
ในปี ค.ศ. 2018 วันหมดอายุถูกนำออกจากบรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้เกือบ 70 ชนิด ช่วยให้ลูกค้าไม่ทิ้งผักและผลไม้ก่อนเวลาอันควร