เป็นที่ทราบกันดีว่า “โรคลมพิษ” อาจมีทั้งสามารถทราบสาเหตุ ของโรคได้อย่างแน่นอน และในบางรายก็ไม่อาจทราบสาเหตุ ได้ โดยอาจแปรผันไปตามสภาพร่างกาย สภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิ ตของแต่ละบุคคล อีกทั้งสภาวะอากาศที่แปรเปลี่ ยนอย่างกะทันหันในยุคปัจบันก็ อาจเป็นอีกปัจจัยเร่งที่ทำให้ เกิดความรุนแรงของ “โรคลมพิษ” ไ ด้เช่นกัน ดังนั้นการมีความรู้และความเข้ าใจอย่างถูกต้องจึงเป็นพื้ นฐานสำคัญของการเริ่มต้นสั งเกตตนเองและบุคคลใกล้ชิด
ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ หัวหน้าภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันโรคลมพิ ษโลก โรงพยาบาลศิริราชจึงได้จัดกิ จกรรม “ศิริราชห่วงใย ชวนใส่ใจ โรคลมพิษ ครั้งที่ 3” เพื่อให้ความรู้และความเข้ าใจที่ถูกต้องผ่านการบรรยายให้ ความรู้เกี่ยวกับโรคลมพิษและยา รวมถึงการทดสอบต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้ องทรมานกับอาการผื่นคันที่ อาจผลต่อบุคลิกภาพของผู้ป่ วยรวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวั นอีกด้วย โดยภายในงานได้มีกลุ่มผู้ป่วย บุคคลทั่วไป และบุคลากรทางแพทย์เข้าร่ วมงานจำนวนกว่า 140 คน
โรคลมพิษ (Urticaria) เป็นอาการทางผิวหนั งที่มีลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนู นแดง ไม่มีขุย มีขนาดตั้งแต่ 0.5 – 10 ซม. มั กกระจายตามร่างกายอย่างรวดเร็ว และทำให้ผู้ป่วยมีอาการคั นตามบริเวณที่มีผื่นขึ้น โดยทั่วไปแต่ละผื่นจะอยู่ไม่เกิ น 24 ชั่วโมง แล้วผื่นนั้นก็จะราบไปโดยไม่ทิ้ งร่องรอยใดๆ แต่ก็อาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่น ๆ ของร่างกายได้อีกเช่นกัน ทั้งนี้สามารถแบ่งชนิ ดของโรคลมพิษเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ โรคลมพิษเฉียบพลัน (Acute Urticaria) ผื่นลมพิษที่จะเกิ ดขึ้นตามร่างกายในระยะเวลาติดต่ อกันไม่เกิน 6สัปดาห์ และ โรคลมพิษเรื้อรัง (Chronic Urticaria) ผื่นลมพิษที่จะมี อาการเป็นๆ หายๆ อย่างต่อเนื่องนานเกินกว่า 6 สั ปดาห์ขึ้นไป จากข้อมูลทางสถิติ ของผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรั งในประเทศไทย ซึ่งเข้ารับการรักษาตัวที่คลินิ กโรคลมพิษ ภาควิชาตจวิทยา โรงพยาบาลศิริราช พบว่า ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ ด้วยโรคลมพิษเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ปี ซึ่งตลอดช่วงชีวิตของคนทั่ วไปจะมีโอกาสเกิดโรคลมพิษเรื้ อรังได้ประมาณร้อยละ 0.5 – 1
โรคลมพิษมักจะส่งผลให้ผู้ป่วยมี ความกังวลต่อการดำเนินชีวิ ตตลอดเวลา ดังนั้นการหมั่นสั งเกตตนเองและคนใกล้ชิดที่อาจอยู่ ในกลุ่มเสี่ยงก็นับเป็นสิ่งที่ ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากผู้ป่วยลมพิ ษจำนวนมากอาจจะไม่ สามารถหาสาเหตุได้อย่างแน่ชัด ดังนั้นการมีความรู้เบื้องต้นว่ าสาเหตุของโรคลมพิษมาจากสาเหตุ ใดได้บ้างจึงนับเป็นอีกทางเลื อกที่ดีในการเลี่ยงภาวะที่ อาจกระตุ้นให้ผื่นที่มีอยู่มี อาการมากขึ้น หรือช่วยให้การวินิจฉัยของแพทย์ สามารถทำได้ง่ายขึ้น ดังเช่น
1. อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูด สีผสมอาหารบางชนิด
2. ยา ปฏิกิริยาการแพ้ ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผื่นลมพิ ษได้
3. การติดเชื้อ การติดเชื้ อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมีพยาธิ อาจเป็นสาเหตุของลมพิษได้
4. โรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมไทรอยด์
5. อิทธิพลทางกายภาพ ในผู้ ป่วยบางราย ผื่นลมพิษอาจเป็นผลจากปฏิกริ ยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติ ต่อความร้อน ความเย็น น้ำหนักกดรัด แสงแดด การออกกำลังกาย เป็นต้น
6. การแพ้สารที่สัมผัส ผื่ นลมพิษเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ผิ วหนังสัมผัสกับสารที่แพ้ เช่น การแพ้ยาง (Iatex) ขนสัตว์ พืช หรืออาหารบางชนิด เป็นต้น
7. ปฏิกิริยาแพ้พิษแมลง เช่ น ปฏิกิริยาที่เกิดจากผึ้ง ต่อต่อย
8. มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบอื่น ๆ ของร่างกาย
9. ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้ านตัวเอง ผู้ป่วยลมพิษบางรายเกิ ดจากมีภูมิคุ้มกันไปกระตุ้นให้ เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิ ดออกมาที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นลมพิษขึ้น
10. สาเหตุอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยโรคลูปัสหรือ ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดอั กเสบบางรายอาจมีผื่นลมพิษแต่มี ข้อสังเกต คือ แต่ละผื่นอยู่นานมักเกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อผื่นหายไปมักจะทิ้ งรอยดำเอาไว้
“สำหรับแนวทางการรักษาโรคลมพิ ษในกรณีที่สามารถสืบค้ นจนทราบสาเหตุและแก้ไขสาเหตุได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮิสตามี นไปแล้วผื่นลมพิษมักหายได้เร็ว แต่หากหาสาเหตุไม่พบหรือเป็ นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้โดยง่าย แพทย์จำเป็นต้องให้ยาตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไปเพื่อควบคุมอาการผื่ นลมพิษให้สงบลงได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมี อาการเรื้อรังนานเป็นปีซึ่งในปั จจุบันมีทางเลือกในการรักษาที่ มากขึ้นทั้งยารับประทานและยาฉีด เพื่อช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้ นได้” ศ.พญ.กนกวลัย กล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนี้ภายในงานยังมีสถานีให้ ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทดสอบผิ วหนังในโรคลมพิษ จำนวน 4 สถานี ประกอบด้วย สถานีที่ 1 – การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังโดยวิธี สะกิด (Skin Prick Test) สถานีที่ 2 – การทดสอบภู มิแพ้ผิวหนังโดยวิธีฉีดซีรั่ม ( Autologous Serum Skin Test) สถานีที่ 3 – การทดสอบผื่ นลมพิษจากการขีดข่วนและน้ำหนั กกดทับ และสถานีที่ 4 – การทดสอบผื่นลมพิษจากความเย็น (Cold provocation Test) โดยทุกสถานีได้เปิ ดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้รู้ จักและทดลองทดสอบจริงกับอุปกรณ์ ที่ใช้เพื่อการวินิจฉัย ทั้งยังสามารถสอบถามแพทย์ผู้เชี่ ยวชาญได้อย่างใกล้ชิดตลอดงานอี กด้วย