โดย รศ.พญ. รังสิมา วณิชภักดีเดชา
ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนั
ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเดิ นทางมารักษาฝ้า (Melasma)กับหมอผิวหนังเป็ นจำนวนมาก ฝ้ามักพบในคนที่อยู่ ในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย พม่า ลาวและกัมพูชา เนื่องจากได้รับแสงแดดมากกว่า ทำให้อุบัติการณ์ของการเกิดฝ้ าในประเทศไทยพบได้ประมาณ 0.25-0.33% และอัตราส่วนของผู้หญิงต่อผู้ ชายคือ 2-24 ต่อ 1 โดยข้อมูลสถิติโรคผิวหนั งของภาควิชาตจวิทยา โรงพยาบาลศิริราชในปี พ.ศ. 2545 พบว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษาฝ้ าถึง2.3% ของผู้ป่วยทั้งหมด สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย จึงอยากจะให้คำแนะนำเพื่อเป็ นความรู้สู่ประชาชนในเรื่ องการดูแลรักษาฝ้าให้กับสาว ๆ ทุกคนที่รักความสวยความงามเฝ้ าระวังไม่ให้เป็นฝ้าอย่างถูกวิ ธี
เรื่องของฝ้าเป็นปัญหาในเรื่ องของความสวยงาม ไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อสุขภาพ ดังนั้นอาจไม่จำเป็นต้องรักษาก็ ได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีความกังวลเรื่ องความสวยงาม อาจต้องทำความเข้าใจว่าการรั กษาฝ้านั้นค่อนข้างยาก ใช้เวลาในการรั กษานานและอาจหายไม่หมดหรื อหายแล้วก็อาจกลับเป็นใหม่ได้ง่ าย ฝ้า จะมีลักษณะเป็นผื่นที่มีลั กษณะเป็นปื้นสีคล้ำที่อยู่ บนใบหน้า และมักเป็นเท่ากันทั้งสองข้าง (symmetry) โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าผาก โหนกแก้ม ดั้งจมูก เหนือริมฝีปาก และคาง เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเม็ ดสี (melanin pigments) ที่บริเวณผิวหนัง ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด ดังนั้นผื่นจึงมีสีคล้ำขึ้นเมื่ อถูกแสงแดด ภาวะนี้มักเกิดในผู้หญิงเป็นส่ วนใหญ่ ในผู้ชายก็พบได้ และพบในผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฝ้า ประกอบด้วย 1.การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตทั้ ง A (UVA) และ B (UVB) ที่มีอยู่ในแสงแดด เป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นให้ เกิดฝ้า 2.ฮอร์โมนเพศหญิง โดยเฉพาะ estrogen เนื่องจากผู้หญิงเป็นฝ้ามากกว่ าผู้ชาย โดยมักพบในช่วงที่รับประทานยาคุ มกำเนิดและช่วงตั้งครรภ์ และ 3.พันธุกรรมและเชื้อชาติ โดยพบว่าคนเอเชียเป็นฝ้าได้ง่ ายกว่าคนผิ วขาวและสามารถพบในครอบครัวเดี ยวกันได้บ่อยด้วย
สำหรับในเรื่องของการรักษาฝ้านั้ น มักใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกั น คือ 1.การรักษาตามสาเหตุและแก้ไขหรื อหลีกเลี่ยงจากสาเหตุนั้น เช่น พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด หรือใช้ครีมกันแดด 2.การทำให้ฝ้าจางลงโดยการใช้ สารที่ทำให้ผิวขาว โดยทั่วไปมักใช้ยาทาผสมกั นหลายตัว และต้องดูผลการรักษาบ่อย ๆ ทุก 1-2 สัปดาห์ เพื่อสังเกตผลข้างเคียงที่ อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ผิวตรงที่ทายามีอาการแดง หรือบางลงกว่าปกติ ถ้ามีผลข้างเคียงอาจต้องปรับยา และ 3.การลอกฝ้าด้วยสารเคมี ซึ่งเป็นวิธีการเสริม เพื่อทำให้ฝ้าจางเร็วขึ้น โดยทั่วไปจะใช้กรดอ่อน ๆ เช่น alpha hydroxyl acids (AHAs) หรือ trichloracetic acid 30-50% เพื่อทำให้เซลล์ผิวหนังในชั้นบน ๆ หลุดลอกออก และทำให้เม็ดสีที่อยู่ด้านบนหลุ ดออกไป การลอกฝ้านั้นจะต้องทำติดต่อกั นอย่างน้อย 3-4 ครั้ง ทุก 2-4 สัปดาห์ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น แต่หากทำเองหรือไม่ใช่แพทย์ผู้ ไม่ชำนาญมีโอกาสเสี่ยงซึ่งผลข้ างเคียงค่อนข้างรุนแรง เช่น หน้าลอกหรือไหม้ได้