ทักษะจำเป็นของคนทำงานยุคดิจิทัล ต้องมีอะไรบ้าง?


ท่ามกลางธุรกิจที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดในยุคดิจิทัล อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด หันมามองตัวเราในฐานะคนทำงาน ทักษะสำคัญที่จำเป็นสำหรับการทำงานยุคนี้มีอะไรบ้าง มีจุดไหนที่ยังขาด แล้วเราจะพัฒนาทักษะเหล่านั้นได้อย่างไร นี่เป็นคำถามที่หลายคนที่ตระหนักถึงความสำคัญของพลังแห่ง Digital Disruption ต่างพยายามค้นหาคำตอบ

ดร.สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์ อาจารย์ หลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ได้เผยให้เห็นถึงภาพรวมการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยยกตัวอย่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ผสานข้อดีของนวัตกรรมในยุคดิจิทัลมาใช้ในการประกอบธุรกิจ รวมไปถึงการวางรากฐานต่างๆ ที่ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศ

“อาจารย์มีโอกาสได้ไปศึกษาคอร์สด้านการบริหารจัดการกับทางอาลีบาบามาช่วงหนึ่ง ก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศจีนที่เปลี่ยนไปแบบก้าวกระโดด เมื่อก่อนประเทศจีนนั้นมีจุดแข็งที่เรารับรู้ได้ก็คือเรื่องของกำลังการผลิต แรงงานและความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนทำให้สามารถแข่งขันด้านราคาจากการผลิตสินค้าในปริมาณมากๆ ทำให้สินค้ามีราคาถูก

ปัจจุบันจุดแข็งนี้ก็ยังคงอยู่ แต่สิ่งที่เขาพัฒนาต่อไปก็คือการต่อยอดหันมาสร้างแบรนด์จนผลิตภัณฑ์ที่ตีตรา made in china นั้นเริ่มได้รับการยอมรับจากทั่วโลก แบรนด์อย่าง Huawei หรือ Xiaomi นั้นเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกและ ชื่อของแจ็คหม่ากับอาลีบาบาก็เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่ติดปีกให้แดนมังกรนั้นปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างเรื่องการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ Cashless Society ที่ผู้คนในสังคมจีนสามารถใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นคิวอาร์โค้ดโดยไม่ต้องพกเงินสดกันได้อย่างเป็นปกติ แม้แต่เด็กหรือผู้สูงวัยก็สามารถปรับตัวเข้ากับเทรนด์นี้ได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อมองย้อนกลับมายังประเทศไทย ดร.สุทธิภัทร ได้ชี้ให้เห็นถึงทักษะที่จำเป็นสำหรับคนทำงาน หากต้องการอยู่รอด หรือยกระดับตัวเองให้มีความสามารถที่โดดเด่น ทักษะแรกที่สำคัญก็คือภาษา

“ในยุคที่เราสามารถเชื่อมต่อผู้คนจากทุกมุมโลกเข้าหากันได้อย่างสะดวกและง่ายดายนี้ หากมีพื้นฐานทางภาษาที่ดีก็จะช่วยให้การเรียนรู้และพัฒนาตัวเองนั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยในการติดต่อและขยายธุรกิจไปสู่ระดับนานาชาติ การเรียนรู้ภาษาที่ 2 ที่ 3 อย่างภาษาอังกฤษ หรือจีนเพิ่มเติมไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ทักษะที่ 2 ก็คือ Soft Skill การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ทักษะนี้มีความจำเป็นสำหรับองค์กรในปัจจุบัน สำหรับการเรียนการสอนระดับปริญญาโทของ ม.แสตมฟอร์ด ในปีที่ผ่านๆ มา มีนักศึกษาที่เข้ามาจากหลากหลายองค์กร ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการเก็บประสบการณ์และหาความรู้ เวลาที่ให้งานหรือ assignment ไป เราจะเห็นความร่วมมือของนักศึกษาในการทำงาน ได้มุมมองที่หลากหลายจากเพื่อนร่วมห้องที่มาจากหลากหลายองค์กร ต่อยอดความสัมพันธ์จากในคลาสไปสู่พันธมิตรที่ช่วยเหลือกันทางธุรกิจ

ทักษะที่ 3 ก็คือ Presentation Skill รู้จักการเล่าเรื่องและนำเสนอแนวความคิด ที่สามารถชักจูง และโน้มน้าวใจให้กับผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายคนที่ทำงานเก่ง ทำงานดี แต่พรีเซ็นต์ไม่เป็น ทักษะเหล่านี้จะแข็งแรงขึ้นได้ เมื่อได้รับโอกาสฝึกฝนและชี้แนะจากผู้มีประสบการณ์

ในแวดวงการศึกษาเองก็หนีไม่พ้นที่จะถูกกระแส Disrupt จากเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยเหมือนกัน เทรนด์หรือแนวโน้มการศึกษาของคนในปัจจุบันมีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป คืออยากจะเรียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ในเวลาที่ตัวเองต้องการ เราจึงเห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของดีมานด์คอร์สเรียนแบบออนไลน์ โดยจะเห็นได้จากจำนวนนักศึกษาที่สมัครเรียน หลักสูตรMBA แบบออนไลน์ของ ม.แสตมฟอร์ด ที่มากขึ้นในทุกปี นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยฯ เองก็ได้ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโทเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของนักศึกษา โดยแนวคิดหลักสูตร MBA ใหม่อยู่ภายใต้องค์ประกอบหลัก 3 อย่างคือ

* Customizable เลือกกลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้านที่สนใจได้ ประกอบกับเสริมสร้างทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

* Achievable หลักสูตรได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์คนทำงาน ให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลาได้

* Practical รูปแบบ IS หรือการทำ Thesis ที่ช่วยผลักดันให้นักศึกษาบรรลุเป้าหมายของการเรียน MBA ของตนเองให้มากที่สุด

หลักสูตร Stamford MBA ใหม่นี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียนให้แก่นักศึกษามากกว่าหลักสูตรปริญญาโทโดยปกติทั่วไป มุ่งให้ความรู้ที่สอดคล้องและเป็นประโยชน์กับการทำงานในโลกธุรกิจปัจจุบันเน้นพัฒนาทักษะที่นำไปใช้ได้จริงโดยวิชาเฉพาะด้านที่เพิ่มเติมเข้ามานั้น มี 4 หลักสูตรด้วยกันนั่นคือ

1.International business management การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

2.Entrepreneurship การเป็นเจ้าของธุรกิจ / ผู้ประกอบการ

3.Brand communication การสื่อสารตราสินค้า

4.Digital marketing การตลาดดิจิทัล

หากพิจารณาลึกลงไป ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งนั้นเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ค่อยค่อยเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราทีละน้อย การเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นเร็วมากจนเราแทบไม่รู้ตัว ดังนั้น หากเราหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่พัฒนาหรือปรับตัว เราอาจถูกเทคโนโลยีเหล่านี้ทิ้งห่างไปไกลจนก้าวตามไม่ทัน

คุณมุทิตา กิมาคม CEO & CO-Founder ของ บริษัท Userscientist และ อาจารย์พิเศษ MBA วิชาการตลาดดิจิทัล และ วิทยากรหลักสูตรระยะสั้น Digital Marketing Management ของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด กล่าวถึงทักษะจำเป็นในยุคที่กำลังจะเปลี่ยนเป็นดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบว่า

“หากภาคธุรกิจจะปรับตัวให้ทันและรวดเร็วในยุคดิจิทัลนี้ สิ่งแรกที่จะต้องมีก็คือความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และทัศนคติในการพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลไปยัง Corporate Culture การทำงานขององค์กรในแต่ละวันที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปจากเดิม ที่เป็น Bureaucratic เจ้านายหรือหัวหน้าเป็นผู้สั่งงาน มีลำดับขั้นตอน ไปสู่การทำงานแบบ Agile ที่สอดคล้องกับการทำงานในยุคใหม่มากขึ้น เน้นผลสัมฤทธิ์ของงานโดยไม่ยึดติดกับวิธีการทำงาน

สำหรับการเรียนดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งนั้น จุดสำคัญที่สุดก็คือ ผู้เรียนจะต้องรู้จักนำข้อมูล และเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำธุรกิจ สร้างนวัตกรรมทางการตลาด โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลสำหรับนำมาใช้ในธุรกิจอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้การทำการตลาดนั้นตรงตามอินไซต์ของผู้บริโภค เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกที่ถูกเวลา และเต็มไปด้วยประสิทธิภาพ”

ผู้ที่สนใจและกำลังมองหาหลักสูตรที่จะมาเพิ่มทักษะในการทำงาน ทำธุรกิจในยุคดิจิทัล ที่ได้เรียนรู้โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญภาคธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งแบบ interactive ผ่านการทำ workshop ต่างๆ สามารถเรียนจบได้ภายใน 1 ปี หรือ 1.5 ปี หลักสูตร Part-Time มีให้เลือกเรียนทั้งแบบนานาชาติ และภาษาไทย สามารถเลือกวันเวลาสถานที่ได้ตามความสะดวก และสามารถแบ่งชำระค่าเล่าเรียนแบบรายเดือนได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>www.stamford.edu