ในการเปลี่ยนแปลงของโลกมีผลกระทบไปทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ต้องปรับตัวอย่างหนัก ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจเพลงซึ่งว่ากันว่าหลังการเข้ามาของการสตรีมมิ่งและออนไลน์แพลตฟอร์ม ธุรกิจเพลงได้รับผลกระทบหนักเหมือนกันทั่วโลก แต่สำหรับ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กลับสามารถปรับตัวเข้ากับโลกดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว และดูเหมือนว่าจะเป็นการยืนหยัดสู้กับ Disruption (ดิสรัปชั่น) ได้อย่างมั่นคงที่สุด ส่งผลให้ในปี 2561 ที่ผ่านมา จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีผลงานรายรับรวมเติบโตเฉลี่ยที่ 22% ซึ่งเติบโตกว่าตลาดเพลงโลกที่มีค่าการเติบโตที่ 8.1%
นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลงานของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ในปี 2561 ยังคงสร้างรายรับรวมเป็นเงิน 3,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2560 ที่มีรายรับรวมเป็นเงิน 3,061 ล้านบาท เติบโตขึ้น 22% เป็นผลมาจากการเติบโตของธุรกิจ Digital (ดิจิทัล) 37% ซึ่งถ้าเจาะลึกเป็นธุรกิจ Digital Platform (ดิจิทัล แพลตฟอร์ม) จะเติบโตสูงถึง 83% ตามมาด้วยธุรกิจ Showbiz (โชว์บิซ) ที่เติบโตสูงถึง 113% ธุรกิจลิขสิทธิ์ ที่เติบโต 19% ธุรกิจบริหารศิลปินและงานจ้างเติบโตขึ้น 10% และธุรกิจโรงเรียนดนตรีเติบโตขึ้น 12% ทั้งนี้ 3 ธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้แก่ ธุรกิจงานจ้างและสปอนเซอร์ชิปมีสัดส่วนรายได้ที่ 40% ธุรกิจ Digital (ดิจิทัล) 25% และธุรกิจ Showbiz (โชว์บิซ) 15%
การเติบโตของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ยังรวมถึงความสำเร็จในการทำคอนเทนต์ผ่านผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อขยายช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยปัจจุบันในกลุ่ม VDO Content (วิดีโอคอนเทนต์) จะอยู่ที่ Youtube (ยูทูป) เป็นหลัก จึงทำให้จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ครองอันดับ 1 ของมิวสิคแชนแนล ที่มียอดวิวกว่า 15,000 ล้านวิว เติบโตเฉลี่ยที่ 29% และมีผู้ติดตามมากกว่า 53 ล้าน Subscribers (ซับสไครเบอร์) เติบโตขึ้น 20 ล้าน Subscribers (ซับสไครเบอร์) หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้นเฉลี่ยที่ 88% โดยจีเอ็มเอ็ม มิวสิค มียอด Watch Time (วอทช์ไทม์) ใน Youtube (ยูทูป) เติบโตขึ้น65,000 ล้านนาที คิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้นเฉลี่ยที่ 37%
หากเจาะลึกถึงความสำเร็จในการเติบโตของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ในการทำคอนเทนต์ใน Youtube (ยูทูป) สามารถสรุปได้ ดังนี้
-
Grammy Gold Official (แกรมมี่โกลด์ ออฟฟิเชียล) เป็นมิวสิคแชนแนลที่มี Views (วิว) และ Subscribers (ซับสไครเบอร์) เติบโตที่สุดในตลาด โดยมียอดวิวเติบโตที่ 78% และมีจำนวนผู้ติดตามเติบโตที่ 93%
-
GMM Grammy Official (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออฟฟิเชียล) เป็นมิวสิคแชนแนล ที่มี Views (วิว) และ Subscribers (ซับสไครเบอร์) รวมมากที่สุดในช่องทางเพลง มียอดวิวรวมกว่า 13,000 ล้านวิว และมี Watch Time (วอทช์ไทม์) รวมสูงสุดถึง 52,000 ล้านนาที
-
จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีวิดีโอคอนเทนต์ที่ได้วิวเกิน 100 ล้านวิวมากที่สุดบน Youtube (ยูทูป) ประเทศไทย ถึง 51 วิดีโอคอนเทนต์
-
เพลง รำคาญกะบอกกันเด้อ ของศิลปิน ลำเพลิน วงศกร จากแกรมมี่ โกลด์ ทำลายสถิติการเข้าถึง 100 ล้านวิวได้เร็วที่สุดเพียง 41 วัน
-
มิวสิคแชนแนลของค่ายเพลงป็อบและร็อค มียอดวิวรวมเติบโตมากที่สุดถึง 5,432 ล้านวิว คิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้นเฉลี่ยที่ 10% และมีผู้ติดตามรวมกันมากกว่า 29 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้นเฉลี่ยที่ 35%
-
มิวสิคแชนแนล ของ genierock (จีนี่ร็อค) เป็นแชนแนลที่มีมิวสิควิดีโอเพลงเกิน 100 ล้านวิว เยอะที่สุดในประเทศไทย รวม 22 มิวสิควิดีโอ
-
มิวสิควิดีโอเพลงเชือกวิเศษ ศิลปินลาบานูน เป็นวิดีโอคอนเทนต์ ที่มียอดวิวเกิน 400 ล้านวิว เป็นเพลงแรกในประเทศไทย
- Grammy Gold Official (แกรมมี่โกลด์ ออฟฟิเชียล) เป็นมิวสิคแชนแนลเพลงลูกทุ่งที่มีวิดีโอคอนเทนต์ 100 ล้านวิว มากที่สุด และยังเป็นแชนแนลที่มีวิดีโอคอนเทนต์ที่ได้ 100 ล้านวิว เยอะที่สุดในปี 2561
- Youtube Channel (ยูทูปแชนแนล) ของสนามหลวงมิวสิก เป็นอินดี้มิวสิคแชนแนล ที่มียอดวิวสูงถึง 123 ล้านวิว คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 39% และมีจำนวนผู้ติดตามเติบโตสูงขึ้น 71%
ผลงานของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ยังคงมีอีกหนึ่งส่วนที่เติบโตอย่างเห็นได้ชัดเจนก็คือในกลุ่มออดิโอคอนเทนต์ ด้วยการร่วมมือกับแพลตฟอร์มอย่าง JOOX (จูกซ์) เพื่อเพิ่มความสามารถในการนำคอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นให้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงและตร
กลุ่มเป้าหมายมากที่สุด จึงทำให้ในปีที่ผ่านมามีเพลงฮิตได้เข้าไปติดอันดับชาร์ตเพลงของ JOOX (จูกซ์) ไม่ว่าจะเป็น
-
จีเอ็มเอ็ม มิวสิค เป็นค่ายเพลงที่มีเพลงฮิตติด JOOX Chart (จูกซ์ชาร์ต) มากที่สุด ในส่วนของ Thailand Top 100 (ไทยแลนด์ท็อป 100) มีทั้งหมด 98 เพลง จาก 42 ศิลปิน และในด้านของเพลงลูกทุ่งกับ Top (ท็อป) 100 เพลงลูกทุ่ง มีทั้งหมด 104 เพลง จาก 26 ศิลปิน
-
เพลง Good Morning Teacher ของศิลปิน อะตอม ชนกันต์ ติด JOOX Thailand Top 100 (จูกซ์ ไทยแลนด์ ท็อป 100) ยาวนานที่สุดถึง 51 สัปดาห์
-
เพลง รำคาญกะบอกกันเด้อ ของศิลปิน ลำเพลิน วงศกร ติด Chart (ชาร์ต) อันดับ 1 ของ JOOX Top 100 (จูกซ์ ท็อป 100) ลูกทุ่ง มากที่สุดที่ 9 สัปดาห์
-
ไผ่ พงศธร มีเพลงติด Chart (ชาร์ต) ของ JOOX Top 100 (จูกซ์ ท็อป 100) ลูกทุ่ง มากที่สุด 14 เพลง
จากความสำเร็จที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนี้ ในปี 2562 จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้ตั้งเป้าการเติบโตของรายรับไม่ต่ำกว่า 2 Digit (ดิจิต) โดยมีการวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวเน้นกลยุทธ์สำคัญเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
กลยุทธ์ของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ปี 2562 มุ่งเน้นกลยุทธ์หลัก 5 ส่วน ได้แก่
-
Hit Song (ฮิตซอง) คือการสร้างเพลงใหม่มากกว่า 500 เพลงของศิลปินให้กลายเป็นเพลงฮิตเพื่อสร้างรายได้ในช่องทาง Digital Platform (ดิจิทัลแพลตฟอร์ม) งานจ้าง และสปอนเซอร์ชิป
-
Original Content (ออริจินัลคอนเทนต์) คือการสร้างคอนเทนต์ที่พิเศษและ Exclusive (เอ็กซ์คลูซีฟ) ครอบคลุมแนวเพลงทุกประเภททั้งป็อบ ร็อค ลูกทุ่ง อินดี้ เพื่อนำไปสร้างสรรค์และต่อยอดในธุรกิจดิจิตอลแพลตฟอร์มของพันธมิตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น LINE TV (ไลน์ทีวี), AIS (เอไอเอส), JOOX (จูกซ์) รวมถึงการ Collaboration (คอลลาโบเรชั่น) กับศิลปินอื่นๆทั้งในและนอกค่าย ซึ่งจะทำให้เพลงและตัวศิลปินสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญยังช่วยทำให้มิติของเพลงและศิลปินมีความกว้างขึ้น สดใหม่ขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นยังผนวกกับกิจกรรมสุดพิเศษทั่วทั้งประเทศให้เพลงและแพลตฟอร์มกลายเป็น Total Music Experience (โทเทิล มิวสิค เอ็กซ์พีเรียนซ์)
-
Showbiz & Merchandising (โชว์บิซ & เมอร์แชนไดซิ่ง) คือยุทธศาสตร์ที่จะเดินหน้าขยายธุรกิจ Showbiz (โชว์บิซ) ไม่ว่าจะเป็น มิวสิค เฟสติวัล และคอนเสิร์ตรูปแบบต่างๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบครอบคลุม ทุก Segment (เซกเมนต์) ทุก Scale (สเกล) เพื่อเป็นการตอบสนองความนิยมของผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้นยังรวมถึงจะมีการผลิต Merchandising (เมอร์แชนไดซิ่ง) ให้โดนใจผู้บริโภค ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ให้ความสำคัญมากขึ้นอีกเช่นกัน
-
Right Management คือการทำธุรกิจด้านลิขสิทธิ์ ในรูปแบบการ Service (เซอร์วิส) กับธุรกิจต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะคืนรายได้กลับสู่คนเบื้องหลังและเบื้องหน้า จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จึงได้จับมือร่วมกับ Platform Facebook (แพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค) ในเรื่องสิทธิ์การใช้เพลงบนแพลตฟอร์ม เพื่อสนับสนุนให้ User (ยูสเซอร์) ใช้เพลงในการประกอบคอนเทนต์ของ User (ยูสเซอร์) ได้เองอย่างถูกลิขสิทธิ์
-
Online Content (ออนไลน์คอนเทนต์) จีเอ็มเอ็ม มิวสิค เดินหน้ารุกตลาดออนไลน์คอนเทนต์เต็มตัว เพื่อขยายฐานลูกค้าและสามารถตอบโจทย์ Online Consumer (ออนไลน์คอนซูมเมอร์) ได้มากขึ้น โดยการนำจุดแข็งคือการเป็น Music Aggregator (มิวสิคเอกกรีเกเตอร์) ที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศไทย บวกกับ Asset (แอสเซ็ท) ที่มีอยู่มากที่สุดทั้งศิลปิน เพลงฮิต ผ่านมาการนำ DNA (ดีเอ็นเอ) ของศิลปินไปสร้างสรรค์และต่อยอดในดิจิทัลแพลตฟอร์มพันธมิตรต่างๆ รวมถึงการเปิด Unit (ยูนิท) ใหม่ “ซน” Online Creator Hub (ออนไลน์ครีเอเตอร์ฮับ) ที่มีจุดยืนในตลาดชัดเจนว่าเป็น Hub ของคนรุ่นใหม่ ที่คิดและสร้างสรรค์ออนไลน์คอนเทนต์ของศิลปินครบทุก Segment (เซกเมนต์) ทั้งในและนอกค่าย
จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีความเชื่อมั่นว่าการเติบโตที่ยั่งยืนคือหัวใจที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจในตอนนี้ เราให้ความสำคัญในคุณค่าของศิลปิน ทีมงาน ทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลัง พนักงานทุกคนที่จะอยู่ในวิชาชีพที่มีแรงบันดาลใจและมีความมั่นคงในธุรกิจ ทั้งนี้ เรายึดหลักของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน ฉะนั้น เราจึงพยายามจับมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ค่ายนอก, Promotor (โปรโมเตอร์), Platform (แพลตฟอร์ม), คู่ค้าทางธุรกิจ หรือ Brand (แบรนด์) สินค้าต่างๆ เพื่อที่จะมุ่งมั่นทำให้อุตสาหกรรมเพลงเติบโตได้อย่างแข็งแรง ต่อเนื่องและยั่งยืน