ทีทูพีโชว์ความสำเร็จโมเดลธุรกิจแบบโซลูชั่นนวัตกรรมการเงินเพื่อองค์กร เติบโตเกือบ 5 เท่า ปิดปี 2561 ด้วยรายได้กว่า 138 ล้านบาท

บริษัท ทีทูพี จำกัด (T2P) ผู้ให้บริการ e-money อิสระรายใหญ่ที่สุดของไทย เผยความสำเร็จในการวางโมเดลการทำธุรกิจสู่การเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรเพื่อธุรกรรมด้านการเงินในยุคดิจิตอลแก่ลูกค้าภาคองค์กรธุรกิจ ดันรายได้โตเป็น 138 ล้านบาทในปี 2561 ที่ผ่านมาเทียบกับ 30ล้านบาทในปี 2560 พร้อมขยายธุรกิจเพื่อสร้างสรรค์บริการที่หลากหลายและนำนวัตกรรมพลิกโฉมวงการ eWallet และ Loyalty ให้องค์กรธุรกิจต่างๆสามารถมีบริการให้แก่ฐานลูกค้าของตนเองได้

นายทวีชัย ภูรีทิพย์ ประธานบริหาร บริษัท ทีทูพี จำกัด เปิดเผยว่า ทีทูพีได้พัฒนาโมเดลธุรกิจของบริษัทฯ และประสบความสำเร็จมาก โดยจากจุดเริ่มต้นในฐานะผู้ให้บริการ e-payment มาในวันนี้ บริษัทฯ กลายเป็นนักพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเงิน (innovative financial technologist) และได้กลายเป็นบริษัท e-money company อิสระรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นผู้ดูแลการทำธุรกรรมเงินอิเล็คทรอนิคส์ให้แก่องค์กรขนาดใหญ่จำนวนมาก คิดเป็นจำนวนรวมปีละกว่า 30 ล้านครั้งรวมมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาทต่อปี

“ปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จคือ วิสัยทัศน์และความสามารถในการมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจที่มีศักยภาพ  ผสานกับความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการพัฒนาของตลาดในประเทศไทย การมีเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูงและศักยภาพรองรับลูกค้าและการทำธุรกรรมที่มีความซับซ้อน หลากหลาย และมีขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความเข้าใจความต้องการขององค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เป็นลูกค้า ทำให้ทีทูพีมีลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่อันดับท็อปของหลายอุตสาหกรรมที่มีฐานลูกค้านับล้านคน  รวมทั้งได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้สามารถให้บริการธุรกรรม e-payment และ  e-money ใกล้เคียงกับธนาคาร และยังได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย PCI DSS ซึ่งเราเป็นเพียง 1 ใน 2 บริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ เราจึงช่วยองค์กรลูกค้ายกระดับความสำเร็จได้เป็นอย่างดีในขณะที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสร้างนวัตกรรมบริการทางการเงินได้หลากหลายมากขึ้น”

ในปัจจุบัน ทีทูพี มีธุรกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่ e-wallet, การสร้างความสัมพันธับลูกค้า (loyalty/CRM),การใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและการตลาด (AI analytics) และการใช้เทคโนโลยีAI ในการให้บริการพิจารณาสินเชื่อ (Lending/AI Scoring) ซึ่งทำให้ทีทูพีเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการทำธุรกรรมออนไลน์ครบวงจร โดยให้บริการแบบ B2B2C

โดยในปีที่ผ่านมา บริษัท ได้ก่อตั้งบริษัทในเครือคือ DeepSparks เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญบริการทางการเงินที่ใช้เทคโนโลยี AI เป็นเครื่องมือหลัก เช่น การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เป็นต้น และ DeepSparksได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก 500TukTuks กลุ่มจันวาณิชย์ และเจมาร์ทด้วย

นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ทีทูพี จำกัด กล่าวเสริมว่า “จากจุดแข็งของทีทูพีในการพัฒนาและนำเสนอโซลูชั่นด้านการเงินสำหรับองค์กร เรามองว่าในปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่มีความพร้อมแล้ว ผู้บริโภคเองก็เริ่มคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น การซื้อของออนไลน์ ชำระเงินผ่านแอพ เป็นต้น ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มปริมาณขึ้น   ถึงเวลาที่ควรจะเปิดโอกาสให้องค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME ได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย  ดังนั้น ทิศทางธุรกิจในปีนี้และในอนาคต เราจะเริ่มขยายตลาดในกลุ่ม SME ให้มากขึ้น โดยทีทูพีจะพัฒนาบริการใหม่ๆ อีกมากมาย ที่จะทำให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงคนที่ไม่มีเงินเดือนประจำ เช่น คนที่ทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ และคนที่ไม่มีบัญชีบัตรเครดิต สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินต่างๆ ซึ่งนอกจากจะให้ความสะดวกในการทำธุรกรรมแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาสังคมไร้เงินสดหรือ cashless society ได้อีกด้วย”

เกี่ยวกับบริษัท ทีทูพี จำกัด

ทีทูพี ก่อตั้งในปี 2556  ปัจจุบันเป็นผู้พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงินชั้นนำเพื่อองค์กร (Revolutionary Financial Solution for Corporations) ที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นบริษัทที่ให้บริการด้าน e-money อิสระที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา ทีทูพีเป็นผู้ให้บริการธุรกรรมออนไลน์รวมกว่า 30 ล้านครั้งรวมมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท ให้แก่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยในหลายอุตสาหกรรม

ปัจจุบันบริษัทฯ ให้บริการโซลูชั่นด้านการทำธุรกรรมออนไลน์ครบวงจร โดยให้บริการแบบ B2B2C และมีธุรกิจหลัก 4 ด้านได้แก่  

    1. e-wallet   
    2. Loyalty/CRM  หรือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า/สมาชิกขององค์กรธุรกิจ
    3. AI analytics   หรือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและตลาด
    4. Lending/AI Scoring  การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

ความสำเร็จที่สำคัญ

พ.ศ. 2555   ได้รับ e-payment license จากธปท. ทำให้สามารถให้บริการด้านธุรกรรมออนไลน์

พ.ศ. 2556   เริ่มให้บริการชำระเงิน ให้แก่องค์กรใหญ่ๆ เช่น กลุ่มเซ็นทรัลเรสเตอรองต์ เอสแอนด์พี และบาร์บีคิวพลาซ่า

พ.ศ. 2558   ได้รับ e-money license จากธปท. ทำให้สามารถให้บริการดูแลและถือครองเงินในรูปแบบแบบ e-wallet ได้

พ.ศ. 2560   ได้รับทุนสนับสนุน Pre-series A จาก 500Startups 500TukTuks และกลุ่มเบญจจินดา

พ.ศ. 2560   ได้รับทุนสนับสนุน Series A จาก 500TukTuks ดีแทค กลุ่มจันวาณิชย์ และเจมาร์ท

–   ขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศและเริ่มให้บริการลูกค้าในประเทศเมียนมาร์

–   ให้บริการ e-wallet และ loyalty แก่ Samsung, DTAC, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2561     –   เริ่มให้บริการ wallet กลุ่ม SCG และ KBANK

                    –   เริ่มบริการ ด้าน Loyalty สู่ SME

        • เปิดบริษัท DeepSparks เพื่อให้บริการเทคโนโลยี AI และ Loan Automation Platform  และได้รับทุน pre-series A จาก 500TukTuksกลุ่มจันวาณิชย์ และเจมาร์ท
        • ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย PCI DSS โดยเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้