AIS เปิดวิสัยทัศน์ 5G สำหรับประเทศไทย เปิดให้สัมผัส Use case บนเครือข่าย 5G LIVE Network เป็นรายแรก จากการสนับสนุนของ กสทช. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวในโอกาสร่วมเสวนางาน “5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน” ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า “5G กำลังเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายและการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมาก สามารถช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น AIS ในฐานะ Digital Service Provider จึงมีภารกิจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายและให้การสนับสนุนโครงการทดสอบ 5G ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ภายใต้การสนับสนุนของ กสทช. มาอย่างต่อเนื่อง

โดยผนึกกำลังสนับสนุนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ทั้ง กสทช., กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินหน้าศึกษา วิจัย ทดลอง ทดสอบเทคโนโลยี 5G และสร้างสรรค์นวัตกรรม 5G โชว์เคสที่แตกต่างและตอบสนองการใช้งานในทุกมิติ ทั้งเรื่องความเร็ว,การตอบสนอง และการสนับสนุน IoT พร้อมสนับสนุนในการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ 5G ในสถาบันการศึกษา เพื่อเปิดพื้นที่จัดแสดงตัวอย่างเทคโนโลยีที่กำลังจะมาถึงในอนาคต อาทิ 5G และ IoT ให้แก่ นิสิตนักศึกษา นักพัฒนา พาร์ทเนอร์ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงของเทคโนโลยีดิจิทัลของไทย ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบ บนLIVE Network ที่ติดตั้งเป็นรายแรก เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจัทัลของประเทศ

นอกจากนี้ AIS ยังผสานความร่วมมือกับทีม AIS-CU Training Center เตรียมจัดอบรมหลักสูตร 5G Sharing Session For Thais เพื่อให้ความรู้เรื่อง 5G ในทุกมิติอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องใน 5G Ecosystem และผู้สนใจเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากเทคโนโลยี 5G ตลอดจนเกิดแรงบันดาลใจในการผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ให้สอดรับกับเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพื่อปักหมุดประเทศไทยสู่ผู้นำเทคโนโลยีเครือข่ายในระดับสากล”

โดยภายในงาน “5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน” ครั้งนี้  AIS จึงร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพาร์ทเนอร์ อย่าง Huaweiนำ 5G Used Case มาจัดแสดงโชว์ศักยภาพบนเครือข่าย 5G Live Network หรือ เครือข่ายที่ปล่อยสัญญาณจริงแล้ว ซึ่งเกิดจากการนำขีดความสามารถและศักยภาพของ AIS ที่มีอยู่มาทดลองผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยี 5G เพื่อให้คนไทยได้สัมผัสประสบการณ์การใช้งาน 5Gบนสภาพแวดล้อมจริง และเห็นผลในเชิงรูปธรรมว่าในวันที่ 5G มาถึง เราจะสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่แตกต่างจากรายอื่น พร้อมยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของคนไทยและพลิกโฉมการทำงานของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมไปอีกขั้น ทั้งนี้ Used Case ต่างๆ ประกอบด้วย

  1. 1st 5G Connected Car – รถยนต์ไร้คนขับคันแรกของไทยที่เชื่อมต่อบนเครือข่าย Live Network 5G ที่เกิดจากการศึกษาและทดลองอย่างจริงจังร่วมกันระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเอไอเอส ที่ทำให้รถยนต์สามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้คนขับ ผ่านการใช้งานเครือข่าย 5G ของเอไอเอส
  2. 5G Face Detection – เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าที่พัฒนาโดยทีมงานเอไอเอส เพื่อเป็นก้าวแรกของการนำไปสู่ Smart School โดยนำมาทดสอบใช้ที่โรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยบันทึกการเข้าออกโรงเรียนของนักเรียนและเป็นการยกระดับเรื่องความปลอดภัยในพื้นที่ไปอีกขั้น
  3. 5G Cloud Robot Assistant – หุ่นยนต์กายภาพบำบัดอัจฉริยะ สำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัพฤกษ์ สามารถบันทึกและรายงานข้อมูลการออกแรง การเคลื่อนไหวในการทำกายภาพบำบัดของผู้ป่วยผ่านระบบ 5G ขึ้น Cloud Network มีระบบการตรวจสอบและติดตามเปรียบเทียบผลการฝึกได้แบบ Real Time
  4. 5G Connected Drone – โดรนบังคับผ่านเครือข่ายมือถือข้ามประเทศ ระหว่างไทยและจีน ด้วยโดรนตัวแรกที่ใส่ซิมการ์ด 5G และสามารถ Streaming Video ที่มีความละเอียดสูงกลับมาหาผู้ใช้ได้ทันที
  5. 5G Garage Innovation Lab – พื้นที่ทดลอง ทดสอบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม 5G ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลเทคโนโลยีเกี่ยวกับ 5G ที่จะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานแบบครบวงจร และUse case ที่มาจากความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์ระดับโลก
  6. 5G IRB 120 – หุ่นยนต์แขนกลที่สามารถนำไปปรับใช้การทำงานได้หลายอย่าง เช่น ควบคุมการทำงานระยะไกลผ่านเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สะดวกสบายยิ่งขึ้น และไม่จำเป็นต้องลงไปในพื้นที่เสี่ยง

นอกจากนี้ AIS ยังเตรียมพัฒนา ซิม AIS 5G เพื่อที่ว่าในวันที่เทคโนโลยี 5G มาถึง บริษัทจะสามารถให้บริการได้อย่างครบวงจร