แจ็ค หม่า ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ เป็นสมัยที่ 2

นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติได้แต่งตั้ง นายแจ็ค หม่า ประธานกรรมการบริหารของอาลีบาบาเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (U.N.’s panel of Sustainable Development Goals Advocates)เป็นสมัยที่ 2
นายหม่า ได้เข้าร่วมคณะที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17  คน ในช่วงต้นปี 2559 ซึ่งเขาเป็นตัวแทนจากประเทศจีนและนับเป็นผู้ประกอบการรายเดียวในกลุ่มที่ปรึกษา โดยคณะที่ปรึกษาได้รับมอบหมายให้สร้างการรับรู้ สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความพยายามและผลักดันให้มีการดำเนินการอย่างรวดเร็วในประเด็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ผู้นำโลกเห็นพ้องร่วมกันและประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 เป้าหมายเหล่านี้เป็นพิมพ์เขียวเพื่ออนาคตที่ดีและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยจัดการกับความท้าทายระดับโลกที่เราเผชิญอยู่ที่เกี่ยวกับ ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ความมั่งคั่ง ความสงบสุข และความยุติธรรม
จากจุดเริ่มต้น สหประชาชาติคาดหวังให้คณะที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนใช้ช่องทางเฉพาะของแต่ละคนและความเป็นผู้นำที่โดดเด่น ที่เป็นเอกลักษณ์ สร้างแรงบันดาลใจในการปลุกเร้าชุมชนทั่วโลก เพื่อเร่งการบรรลุเป้าหมายภายในปี 2573 ซึ่งผู้แทนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17  คนมาจากทั่วทุกมุมโลก และรวมถึงกลุ่มที่มีความหลากหลายในเส้นทางชีวิตรวมถึงสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม นักแสดงฟอเรสต์ วิทเทคเกอร์ นักฟุตบอลหญิง มาร์ธา วิเอร่า ดา ซิลวา รวมทั้งผู้นำและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ
นอกเหนือจากงานของนายหม่าในฐานะที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้ว แจ็คยังทำหน้าที่ในคณะกรรมการระดับสูงของสหประชาขาติในเรื่องความร่วมมือทางดิจิทัล (Digital Cooperation) และเป็นที่ปรึกษาพิเศษในการประชุมของสหประชาชาติ เรื่องการค้าและการพัฒนาสำหรับผู้ประกอบการเยาวชนและธุรกิจขนาดเล็ก ขณะดำรงตำแหน่ง นายหม่าริเริ่มให้อาลีบาบาเปิดตัวโปรแกรม eFounders เพื่อให้การศึกษาและเพิ่มขีดความสามารถแก่ผู้ประกอบการจากประเทศกำลังพัฒนาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจดิจิทัลและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของพวกเขา นอกจากนี้ เขายังได้ก่อตั้งมูลนิธิแจ็ค หม่า ที่มุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อมในปี 2557 และยังเป็นผู้ดูแลและอนุรักษ์ธรรมชาติมานานกว่าทศวรรษ
โดยรวมแล้วแนวทางการคืนสู่สังคม (philanthropy) ของอาลีบาบา ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ทางสังคม แบ่งปันคุณค่าหลายอย่าง เช่นเดียวกับของสหประชาชาติ โดยอาลีบาบาได้ตั้งเป้าหมายการบรรเทาความยากจนผ่านกองทุนจำนวน 10,000 ล้านหยวน หรือ กว่า  46,000 ล้านบาท ที่เปิดตัวในปี 2560 การคุ้มครองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียมทางเพศ และการพัฒนาการศึกษาในชนบท อาลีบาบาได้จัดการประชุมสตรีเพื่อการกุศลที่จัดขึ้นปีเว้นปี โดยมูลนิธิอาลีบาบา โดยกลุ่มที่ปรึกษาเชื่อว่า ผู้นำและพนักงานมีหน้าที่รับใช้และช่วยเหลือผู้ที่ลำบากและสนับสนุนให้ทุกคนทำงานอาสาสมัครอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อปี อาลีบาบาได้เปิดตัวมูลนิธิสวัสดิการสาธารณะของอาลีบาบาในปี 2554 โดยจัดสรรรายได้ประจำปี ร้อยละ 0.3 เพื่อการกุศล
ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ https://www.un.org/sustainabledevelopment/blog/2019/05/new-sdg-advocates/ 
เกี่ยวกับอาลีบาบา
พันธกิจของอาลีบาบา กรุ๊ป คือการทำให้ทุกคนสามารถทำธุรกิจได้อย่างสะดวกสบายจากทุกหนแห่งทั่วโลก โดยมีเป้าหมายที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนไปถึง 102 ปี สำหรับผลประกอบการประจำปีที่ผ่านมา สิ้นสุดงวดวันที่ 31 มีนาคม 256บริษัทฯ รายงานรายได้ที่ 39,900 ล้านเหรียญสหรัฐ