บนโลกที่เทคโนโลยีเข้ามากลืนกินและเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของการทำงานทั่วโลก ทำให้หลายองค์กร เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวิถีการทำงานใหม่ ลุกลามถึงกลุ่มธุรกิจเล็กๆ และกลุ่มฟรีแลนซ์ สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนต้องรับรู้ คือ เราต้องปรับตัว เสริมองค์ความรู้ หรือต้องอัพเลเวลด้วยทักษะใหม่ๆ เพื่อพิชิตชัยสมรภูมิธุรกิจที่แข่งขันกัน อย่างเข้มข้น แน่นอนว่ากลไกหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือ “คน” ดังนั้น การช่วยให้พนักงานพัฒนาและยกระดับทักษะให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจจึงนับเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน แต่หลายองค์กรยังไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงความหมายของคำว่า เทรนนิ่ง (Training) และรีสกิลลิ่ง (Reskilling) ทำให้เกิดความสับสน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและประสิทธิผลของผลงานที่ไม่เต็มที่
คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “การสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า “ปัญหาขององค์กร อยู่ตรงไหน เราจะอุดรูรั่วและสร้างเส้นทางใหม่ๆ ได้อย่างไร” สิ่งหนึ่งที่หลายองค์กรคิด คือ การส่งบุคลากรเข้า “เทรนนิ่ง (Training)” ในแต่ละเรื่อง ซึ่งเป็นแนวคิดการแก้ปัญหาที่เริ่มต้นจากการถ่ายทอดประสบการณ์ ปัญหา แนวทางแก้ไข จากผู้ที่มีประสบการณ์สูงสู่คนที่อยู่ในระดับล่าง หรือโดยส่วนมากคือการนำกลุ่มคนระดับผู้นำเข้าอบรมเรื่องใหม่ๆ เพื่อหาแนวทางออกรวมกัน ซึ่งมักจะได้ผลในการแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะคนที่อยู่ระดับล่างลงมาจะไม่เข้าใจว่าองค์กรกำลังทำอะไรและต้องการขับเคลื่อนอย่างไร ทำให้เราต้องจัด “เทรนนิ่ง (Training)” เป็นกลุ่มให้มีความเชี่ยวชาญอยู่ตลอดเวลา แต่สุดท้ายบุคลากรก็จะเกิดความเคยชินและอาจเกิดความเบื่อหน่าย ที่ต้องเทรนนิ่งเรื่องเดิมๆ แต่สำหรับ “รีสกิลลิ่ง (Reskilling)” เสมือนทางออกในยุคนี้ คือ เป็นการฝึกฝนและพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อนและเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของธุรกิจในอนาคต ทั้งฮาร์ดสกิลและซอฟต์สกิลต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดความเชี่ยวชาญและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากการเรียนรู้บนประสบการณ์”
ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง เทรนนิ่ง (Training) และรีสกิลลิ่ง (Reskilling) |
|
1. เทรนนิ่ง ทำให้เกิดคอมมิวนิตี้ (Community) รูปแบบเดิมๆ | 1. รีสกิลลิ่ง ทำให้เกิดคอมมิวนิตี้ (Community) รูปแบบใหม่ๆ และเน็ตเวิร์กกิ้ง (Networking) ที่หลากหลาย |
2. เทรนนิ่ง ทำให้เกิดประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหา และผลลัพธ์แบบเดิม | 2. รีสกิลลิ่ง ทำให้เกิดทักษะใหม่ ทางออกใหม่ และผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหารูปแบบใหม่ๆ |
3. เทรนนิ่ง มักทำกับบุคลากรกลุ่มเดิมหรือหน่วยงานเดิม | 3. รีสกิลลิ่ง สามารถทำได้กับทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ |
4. เทรนนิ่ง ส่วนใหญ่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบเดียว | 4. รีสกิลลิ่ง สามารถผสานการเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ |
คุณอริญญา กล่าวต่อไปว่า “ปัจจุบัน หลายประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับการสร้างระบบ Learning ecosystem มากขึ้น อย่าง ประเทศสิงคโปร์ สนับสนุนการเงินแก่ประชาชนภายใต้โครงการ Individual Learning Accounts ให้ผู้ใหญ่ได้รีสกิลผ่านคอร์สอบรมตลอดชีวิต ประเทศเยอรมัน ปรับนโยบายการประกันการว่างงาน (Employment Insurance) มาเป็นการสนับสนุนการเงินเพื่อการพัฒนาทักษะตลอดชีวิตแก่พลเมือง ประเทศฟินแลนด์ วางรากฐานระบบ Learning ecosystem ตั้งแต่เริ่มเรียนหนังสือ โดยนำเทคโนโลยีและแหล่งความรู้จากภายนอก เช่น ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือพิพิธภัณฑ์ มาประกอบการศึกษา เพื่อให้เด็กมีทักษะที่พร้อมสำหรับใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับประเทศไทย หลายองค์กรโดยเฉพาะองค์กรใหญ่ๆ กำลังตื่นตัว เพื่อ “รีสกิลลิ่ง (Reskilling)” บุคลากรในองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งเชิงปฎิบัติและทฤษฏี เราจะเห็นธุรกิจมิติใหม่ๆ อย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB ที่ได้ “รีเฟรม (Reframe)” องค์กรพร้อมกับ “รีสกิลลิ่ง (Reskilling)” จนเกิดเป็น SCB Academy ขึ้น เป็นต้น และยังมีอีกหลายกลุ่มบริษัทฯ ได้สนใจส่งบุคลากรเข้าร่วม “รีสกิลลิ่ง (Reskilling)” เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากองค์กรใหญ่ๆ แล้ว ยังมีกลุ่มคนที่ตื่นตัวและสนใจในการ “รีสกิลลิ่ง (Reskilling)” เพราะถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ อาจเกิดการปรับเปลี่ยนการทำงานก็เป็นได้ อาทิ พนักงานบริษัท (Self-Employee) ในช่วงอายุ 25-40 ปี ที่ต้องเสริมทักษะใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างโอกาสและการเติบโตต่อการทำงานในอนาคต กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก (Small Business) เป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นข้อดีที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา และสุดท้าย กลุ่มฟรีแลนซ์ (Freelancer) อาทิ ติวเตอร์ กราฟฟิคดีไซเนอร์ ที่ต้องเสริมทักษะใหม่ๆ เพราะปัจจุบันเทรนด์ หลักสูตร หรือโปรแกรม มีเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่อัพเกรดทักษะใหม่ๆ เรียนรู้แต่โปรแกรมเดิมจะทำให้ไม่สามารถต้านทานคู่แข่งและต่อยอดธุรกิจของตัวเองได้”
ซึ่งการเทรนนิ่ง (Training) และรีสกิลลิ่ง (Reskilling) หรือการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้น คือ การปรับมายด์เซ็ต (Mindset) ให้พร้อมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต กำหนดแนวทางเรียนรู้และระบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องบนโลกดิจิตอล วันนี้ SEAC ได้ร่วมมือกับสถาบันระดับโลกใน การจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ ภายใต้โมเดลชื่อ “YourNextU” เป็นโมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่มีทั้งระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ การสร้างคอมมิวนิตี้การเรียนรู้ มีเทรนนิ่งหลักสูตรใหม่ๆ รวมทั้ง เป็นคลังแสงของหลักสูตรระดับโลก เพื่อรองรับรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคน พร้อมกระตุ้นให้คนเกิดความอยากรู้ เรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและฉับพลันได้อย่างทันท่วงที โดย YourNextU เกิดจากการผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดของโลก หรือ “4Line Learning” ได้แก่ วิธีการเรียนรู้แบบ Online เน้นการเรียนรู้ผ่านหลักสูตรด้วยวิดีโอคลิป หรือ Visual ต่างๆ วิธีการเรียนรู้แบบ Classroom เน้นการเข้าคลาสเพื่ออบรมในหลักสูตรต่างๆ วิธีการเรียนรู้แบบ Social Learning เน้นการเรียนรู้ในรูปแบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล หรือเรื่องราวจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และ วิธีการเรียนรู้จาก Library คลังการเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้เข้าเรียนเข้าถึงข้อมูลการเรียนรู้ และดาวน์โหลดออกมา เป็นคัมภีร์พิชิตความสำเร็จ
พร้อมสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ YourNextU โมเดลการเรียนรู้แบบแบบผสมผสาน (Blended Learning Model) ที่ให้คุณเรียนรู้ในรูปแบบไม่จำกัด ด้วยราคาสุดพิเศษเพียง 12,000++/คน/ปี ได้แล้ววันนี้ที่ www.yournextu.com