LINE ตอกย้ำตำแหน่งผู้นำองค์กรเทคระดับโลก จัดงาน LINE DEVELOPER DAY 2019 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 2 วันเต็มภายใต้ธีม“LIFE WITH LINE”คาดเป้ารวมพลนักพัฒนาจากทั่วโลกกว่า 3,000 คนร่วมอัพเดทแนวทางเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นและทิศทางในอนาคต หวังเป็นแหล่งระดมสมอง แลกเปลี่ยนความรู้ ให้นักพัฒนาสร้างบริการตรงใจผู้ใช้ได้มากขึ้น พร้อมประกาศวิสัยทัศน์เดินหน้าพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพิ่มความสะดวกสบาย ความมีประสิทธิภาพ เชื่อมต่อโลกมาอยู่ในมือของทุกคน
ปาร์คอึยบิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี LINE Corporation ได้ประกาศจุดยืนในการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการของไลน์ ในงาน LINE DEVELOPER DAY 2019 ว่า “เรามุ่งมั่นในการพัฒนาแพลตฟอร์มไลน์ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการใช้ชีวิตของคนในยุคดิจิทัล สามารถตอบสนองทุกความต้องการในชีวิตประจำวัน โดยนำเสนอบริการที่หลายหลายนอกเหนือไปจากการเป็นแชทแอพ ในปีที่ผ่านมาได้มีการเปิดบริการใหม่กว่า 20 บริการในหลายประเทศทั่วโลก โดยแบ่งการบริการเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ฟินเทค (Fintech) ธุรกิจ (Commerce)O2O (Online-to-Offline) และ คอนเทนต์และบันเทิง (Content & Entertainment)”
นางอึยบิน เพิ่มเติมว่า การที่ไลน์จะพัฒนากลุ่มบริการเหล่านี้ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ในหลากหลายประเทศทีมนักพัฒนาจะต้องมีกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) การรู้จักนำเอาเทคโนโลยี AI เข้ามาพัฒนาร่วมใช้งานเพื่อให้บริการมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยจะต้องสามารถเข้าถึง เข้าใจและได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้งานบริการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการแปลงไฟล์ภาพเอกสารให้เป็นข้อความโดยอัตโนมัติหรือ OCR (Optical Character Recognition) และเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาและประโยคในบทสนทนาภาษาพูดที่ใช้กันทั่วไปหรือ NLU (Natural Language Understanding) เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ใช้ว่ามีประสิทธิภาพ แม่นยำ และปลอดภัย ในก้าวต่อไป เรายังคงเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี AI ให้มีความใกล้เคียงสมองมนุษย์มากที่สุด เพื่อสอดแทรกเข้าไปในบริการของเราอย่างเป็นธรรมชาติ โดยมีการจัดตั้งทีม LINE Brain ขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยเฉพาะ
2) การจัดการโครงสร้างและแพลตฟอร์มดาต้าให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันLINE มีเซิร์ฟเวอร์กว่า 40,000 ยูนิตเพื่อรองรับดาต้าที่มีมากมายมหาศาลการจัดการโครงสร้างและแพลตฟอร์มเพื่อรองรับดาต้าจำนวนมากจึงต้องมั่นคงและปลอดภัยที่สุด LINE จีงมีการใช้แพลตฟอร์ม Verdaซึ่งเป็น Private Cloud ในการเก็บดาต้าดังกล่าว
3) การคำนึงถึงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลด้วยการกำกับดูแลดาต้า (Data Governance) โดยมีการออกแบบนโยบายด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มบริการ, ด้านเทคโนโลยี มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Machine Learning เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาการถูกขโมยบัญชี รวมถึงการนำเทคโนโลยี FIDO (Fast IDentity Online) เป็นเครื่องมือในการอนุญาติเจ้าของบัญชีในการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่าน LINE Pay ซึ่งในปีหน้านี้ FIDO จะถูกนำไปใช้งานในบริการอื่นๆ โดยเฉพาะบริการทางการเงินที่ต้องการความปลอดภัยขั้นสูงด้วย และด้านสุดท้ายคือความโปร่งใส(Transparency) โดย LINE ได้จัดตั้งและเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัด LINE x Intertrust Summit และการจัดตั้งโครงการ LINE Security Bug Bounty Program เพื่อให้บุคคลภายนอกสามารถรายงานจุดแก้ไขหรือข้อบกพร่องใน LINEเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่ดีในการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลร่วมกัน
ภายในงานปีนี้ มีการนำเสนอเรื่องราวทางด้านเทคโนโลยีทั้งหมดกว่า 70 หัวข้อทั้งจากบุคลากรของ LINE และผู้เชี่ยวชาญภายนอกจากหลากหลายประเทศให้กับผู้ร่วมงานทั้งสิ้นกว่า 3 พันคนโดยรวบรวมเรื่องราวหลากหลายแง่มุมไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยี AI มาใช้งานได้อย่างแม่นยำ และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ (Machine Learning) มาส่งเสริมการทำงานของนักพัฒนา เช่น หัวข้อเกี่ยวกับ Front end, Infrastructure,server และ Product Management ต่างๆ รวมถึงต่อยอดการพัฒนาบริการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น LINE Ads platform, Openchat, Smart channel และ Timeline เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีโซนพูดคุยและนิทรรศการแสดงผลงานและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้นักพัฒนาและผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงข้อคิดเห็นอีกทั้งยังมีการจัดโซนให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทดลองบริการใหม่ๆของ LINE มากมายอีกด้วย
LINE ยังคงตอกย้ำพันธกิจ “CLOSING THE DISTANCE”เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำให้ทุกคนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นรวมไปถึงการนำพาทุกคนไปใกล้กับบริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อชีวิตที่ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้นต่อไป