วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ล่าสุดได้เปิดเผยผลการสำรวจเกี่ยวกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวไทยช่วงวันหยุดเทศกาลในปีที่ผ่านมา โดยวันคริสต์มาสครองแชมป์ที่มีผู้ใช้จ่ายมากที่สุด คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ จากยอดรวมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลทั้งหมด ซึ่งรวมถึง วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (วันพ่อแห่งชาติ) วันสิ้นปี วันปิยมหาราชวันตรุษจีน และวันสงกรานต์
การศึกษาครั้งนี้ของวีซ่า[1]เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยวีซ่าเน็ต (VisaNet) หนึ่งในเครือข่ายด้านการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดเทศกาลของผู้บริโภคชาวไทยได้ดียิ่งขึ้น โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนานวัตกรรมและทางเลือกในด้านการชำระเงินต่างๆ และต่อยอดความร่วมมือกับพันธมิตรของวีซ่าในหลากหลายอุตสาหกรรม
สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “สำหรับวีซ่า เราไม่เคยหยุดยั้งในการคิดค้นนวัตกรรมด้านการชำระเงินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพันธมิตรและผู้บริโภค ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่เราใช้คือการนำข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในระบบเครือข่ายทั่วโลกของวีซ่าเน็ตมาศึกษาและวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามจรรยาบรรณและมีความปลอดภัยอย่างสูงสุด ทีมงานผู้ให้คำปรึกษาด้านการชำระเงินของวีซ่าได้วิเคราะห์ข้อมูลด้านการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดเทศกาลเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของบรรดาพันธมิตรของวีซ่าและภาคอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้า รวมทั้งการขยายการยอมรับการชำระเงินทางดิจิทัลในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย”
หกอันดับวันหยุดเทศกาลในประเทศไทย วัดจากการใช้จ่ายโดยรวม
วันหยุดเทศกาลที่ได้รับความนิยมสูงสุดวัดจากการใช้จ่ายโดยรวม ได้แก่ วันคริสต์มาส (30 เปอร์เซ็นต์) วันพ่อแห่งชาติ (16 เปอร์เซ็นต์) วันสิ้นปี (15 เปอร์เซ็นต์) วันปิยมหาราช (15 เปอร์เซ็นต์) วันตรุษจีน (13 เปอร์เซ็นต์) และวันสงกรานต์ (11 เปอร์เซ็นต์)
โดยเฉลี่ยยอดการใช้จ่ายสูงสุดต่อหนึ่งธุรกรรมการเงิน คือวันคริสต์มาส (4,949 บาท) ตามด้วยวันตรุษจีน (2,773 บาท) วันปิยมหาราช (2,742 บาท) วันพ่อแห่งชาติ (2,517) วันสิ้นปี (2,492 บาท) และวันสงกรานต์ (2,137 บาท)
คนไทยใช้จ่ายในด้านใดบ้าง: สิบอันดับประเภทการใช้จ่ายในประเทศ[2]
เนื่องจากวันหยุดเทศกาลของไทยถือเป็นโอกาสในการพบปะสังสรรค์ รวมถึงการเดินทางไปเยี่ยมครอบครัว จึงไม่น่าแปลกใจที่สถานที่ที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดสองอันดับแรกจะเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งแต่ละแห่งคิดเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ของยอดการใช้จ่ายรวม นอกจากนี้ ประเภทการใช้จ่ายอื่นๆที่คนไทยจับจ่ายในช่วงวันหยุดเทศกาลที่ติดอันดับสูงสุด ได้แก่ ร้านอาหาร (15 เปอร์เซ็นต์) ห้างสรรพสินค้า (11 เปอร์เซ็นต์) ร้านค้าปลีก (10 เปอร์เซ็นต์) โทรคมนาคมและระบบสาธารณูปโภค (8 เปอร์เซ็นต์) เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ (7 เปอร์เซ็นต์) ดิสเคาท์สโตร์ (6 เปอร์เซ็นต์) ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด (6 เปอร์เซ็นต์) และบริการเฉพาะกิจ (5 เปอร์เซ็นต์)
ประเทศยอดนิยมของคนไทย สำหรับการท่องเที่ยวและใช้จ่าย
ผู้บริโภคชาวไทยจำนวนมากยังใช้เวลาในช่วงวันหยุดเทศกาลเพื่อเดินทางท่องเที่ยวในต่างแดนอีกด้วย โดยสิบอันดับจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมวัดจากการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดเทศกาลทั้งหกวัน ได้แก่ ญี่ปุ่น (25 เปอร์เซ็นต์) สหราชอาณาจักร (8 เปอร์เซ็นต์) เกาหลีใต้ (7 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา ( 6 เปอร์เซ็นต์) ฝรั่งเศส (5 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และ อิตาลี (4 เปอร์เซ็นต์) และไต้หวัน (3 เปอร์เซ็นต์)
ยอดใช้จ่ายในต่างประเทศของคนไทยเฉลี่ยยอดสูงสุดต่อธุรกรรม
จากข้อมูลการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในต่างแดนของลูกค้าวีซ่า คนไทยมีการใช้จ่ายสูงสุดต่อธุรกรรมที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (14,240 บาท) ตามด้วยฝรั่งเศส (13,444 บาท) อิตาลี (13,356 บาท) ฮ่องกง (8,393 บาท) สหราชอาณาจักร (8,014)ญี่ปุ่น (5,961 บาท) สิงคโปร์ (5,778 บาท) ไต้หวัน (5,333 บาท)เกาหลีใต้ (4,486 บาท)และสหรัฐอเมริกา (4,445 บาท)
“ผู้ถือบัตรวีซ่าชาวไทยจะได้รับประโยชน์จากการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หรือในช่วงเวลาไหนนอกจากนั้นเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนทั้งภาคการเงิน และอุตสาหกรรมอื่นที่ระบบการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จะเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานและความแตกต่างและเหนือสิ่งอื่นใด เราจะยังคงเดินหน้าร่วมมือกับทุกหน่วยงานเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในอนาคต” นายสุริพงษ์ กล่าวสรุป
เกี่ยวกับหน่วยงานวิเคราะห์และให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ
หน่วยงานวิเคราะห์และให้คำปรึกษาด้านธุรกิจของวีซ่า (Visa Consulting & Analytics)เป็นหน่วยธุรกิจด้านการให้คำปรึกษาในการชำระเงินในเครือของวีซ่า เราเป็นทีมงานระดับโลกที่มีที่ปรึกษาด้านการชำระเงินและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหลายร้อยคนทั่วโลก ที่ปรึกษาของเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ การบริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์ ความเสี่ยง ดิจิทัล และอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจด้านการชำระเงินมานานหลายทศวรรษ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติ การวิเคราะห์ขั้นสูง และการเรียนรู้ของเครื่องด้วยการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกในแบบเฉพาะจาก VisaNetซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายการชำระเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก การผสมผสานระหว่างความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านการชำระเงินเชิงลึกและข้อมูลที่หลากหลายของเราช่วยให้เราสามารถทราบถึงข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปดำเนินการได้และคำแนะนำที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น
เกี่ยวกับวีซ่า
Visa Inc. (NYSE:V) เป็นผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ภารกิจของเราคือการเชื่อมโยงโลกผ่านเครือข่ายนวัตกรรมการชำระเงินที่เชื่อถือได้และมีความปลอดภัยมากที่สุด ช่วยให้ผู้บริโภค ธุรกิจต่างๆ สถาบันการเงิน และหน่วยงานรัฐมากกว่า 200 ประเทศ สามารถดำเนินการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และเชื่อถือได้ VisaNet(วีซ่าเน็ต) ซึ่งเป็นเครือข่ายประมวลผลระดับโลกที่ทันสมัยของเราให้บริการการชำระเงินที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ทั่วโลก และมีความสามารถในการจัดการธุรกรรมมากกว่า 65,000 รายการต่อวินาที ด้วยการป้องกันการฉ้อโกง และให้ความมั่นใจในการชำระเงินกับผู้ค้า วีซ่าไม่ใช่ธนาคารและออกบัตรให้บริการ ขยายสินเชื่อ หรือกำหนดอัตราและค่าธรรมเนียมสำหรับลูกค้า ด้วยนวัตกรรมของบริษัทที่ช่วยให้ลูกค้าที่เป็นสถาบันการเงินสามารถมอบทางเลือกการให้บริการกับลูกค้าได้หลากหลายยิ่งขึ้น อาทิ การชำระด้วยเดบิต การชำระล่วงหน้าด้วยระบบพรีเพด หรือชำระภายหลังด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อต่างๆ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ https://usa.visa.com/, visacorporate.tumblr.com and @VisaNews.
1 การสำรวจด้านการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดเทศกาลของวีซ่า ครอบคลุมวันหยุดนักขัตฤกษ์ของไทยทั้งหมดหกวัน ได้แก่ วันตรุษจีน (5 กุมภาพันธ์) วันสงกรานต์ (13 เมษายน) วันปิยะมหาราช (23 ตุลาคม) วันพ่อแห่งชาติ(5 ธันวาคม) วันคริสต์มาส (25 ธันวาคม) และวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ข้อมูลที่วีซ่าเน็ตนำมาใช้วิเคราะห์รวบรวมในช่วงเทศกาลดังกล่าวในปี 2562
2 “สินค้าขายปลีก” รวมการซื้อที่เกิดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายสินค้าขายปลีกทั่วไป อาทิ อัญมณี เครื่องสำอาง แต่ไม่รวมดิสเคาท์สโตร์ และร้านจำหน่ายเสื้อผ้าและเครื่องประดับ “ดิสเคาท์สโตร์” รวมการซื้อผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ “การบริการเฉพาะกิจ” รวมการทำธุรกรรมซื้อกองทุน LTF และสินเชื่อเงินสดล่วงหน้า