LINE แนะทางรอดธุรกิจไทยเน้นใช้ประโยชน์แพลตฟอร์มและเครื่องมือออนไลน์รับพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนจากวิกฤติโควิด-19

LINE ประเทศไทย พบพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้บริการต่างๆ บนแพลตฟอร์มของ LINE ชี้ชัดพึ่งพาแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น และมีผู้บริโภคกลุ่มใหม่หันมาช้อป-ใช้บนโลกออนไลน์ และพฤติกรรมนี้จะกลายเป็นพฤติกรรมถาวรต่อไป

เนื่องจาก LINE เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการคนไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันโดยมีผู้ใช้บริการมากกว่า 45 ล้านคนทั่วประเทศ จึงสามารถสะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปได้เป็นอย่างดี โดยผู้บริหาร LINE ประเทศไทยต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวถึงการใช้งานที่เติบโตขึ้นทั้งในมิติทางธุรกิจและการใช้ชีวิต ซึ่ง คุณพฤทธิสิทธิ์ ประทีปะวณิช หัวหน้าฝ่ายจัดการแพลตฟอร์มและบริการ LINE ประเทศไทย ได้เผยว่า ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าคนไทยมีการโทรผ่าน LINE มากขึ้น ทั้งการใช้บริการโทรฟรีและวิดีโอคอลผ่าน LINE ที่เพิ่มขึ้นกว่า 236% และ 270% ตามลำดับ สิ่งที่น่าสนใจคือ คนไทยใช้งานการโทรผ่าน LINE บนคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้นถึง 264% ในช่วงเดือนมีนาคม เนื่องจากมีการเพิ่มฟีเจอร์แชร์หน้าจอระหว่างการโทร ที่ LINE ตั้งใจพัฒนามาเพื่อสนับสนุนการทำงานจากที่บ้านในสถานการณ์ดังกล่าว

คุณกณพ ศุภมานพ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจคอนเทนต์ LINE ประเทศไทย ได้กล่าวถึงความสำคัญของคอนเทนต์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยพูดถึง LINE TODAY ที่ได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักของคนไทยในการรับข่าวสารที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ท่ามกลางข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมากมายที่อาจสร้างความสับสน โดย LINE ได้เพิ่มแท็บข่าว ‘โควิด-19’ โดยเฉพาะบน LINE TODAY เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคไทยในสถานการณ์นี้ และพบว่ามีการเข้ามาอ่านเพิ่มขึ้นถึง เท่า

ในด้านของ LINE TV ผู้บริโภคไทยบน LINE TV มีพฤติกรรมการรับชมที่เปลี่ยนไปคือรับชมผ่านจอใหญ่มากขึ้นถึง 42% ในเดือนมีนาคม เนื่องจากคนไทยเข้าสู่สภาวะการทำงานที่บ้าน ทำให้เกิดเทรนด์การดู LINE TV ร่วมกับครอบครัวมากขึ้นและนานขึ้น ต่อมาคือความนิยมของซีรีส์วาย (ชายรักชาย) ที่เติบโตสูงถึง เท่า โดยมีกลุ่มผู้ชมหลักคือผู้หญิงวัย 18-34 ปี แต่สิ่งที่น่าสนใจคือกลุ่มผู้ชมที่อันดับรองลงมาเป็นกลุ่มผู้หญิงวัย 55 ขึ้นไป แสดงให้เห็นว่าการดูคอนเทนต์ LINE TV ร่วมกับครอบครัว ได้ส่งผลให้กลุ่มคนสูงอายุสามารถเข้าถึงและเปิดรับคอนเทนต์แนวใหม่ได้มากขึ้นไปด้วย โดยคุณกณพ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ เราพบว่าหลังจากที่เด็กๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน และต้องอยู่บ้าน คอนเทนต์ที่เติบโตคือแอนิเมชัน โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เทียบกับกุมภาพันธ์แล้วนั้น มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 33% และพบว่าวันศุกร์กลายมาเป็นวันที่มีอัตราการรับชมเติบโตสูงที่สุด คือสูงขึ้นถึง 56% สิ่งนี้บ่งบอกว่าวันหยุดสุดสัปดาห์ของเด็กๆ กำลังเพิ่มขึ้นเป็น วัน

คุณกณพ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายถึงการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ว่า LINE มุ่งจะเรียนรู้สถานการณ์โควิด-1ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดให้เร็วที่สุด เพื่อจะเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เพื่อนำเสนอบริการให้ตอบสนองคนไทยให้ดีที่สุดต่อไป

LINE ชี้ความเข้าใจลูกค้าคือก้าวสำคัญของธุรกิจหลังโควิด-19

คุณธีรวัฒน์ งามวิทยศิริ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจค้าปลีก LINE ประเทศไทย ได้เผยถึงแนวทางการปรับตัวของธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์ในช่วงนี้ว่า ทุกธุรกิจต่างได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม สินค้าและบริการหลายประเภทนำเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มมาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับตัวจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการขายให้กลุ่มลูกค้าเดิมหรือขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ สร้างให้เกิด Next New Normal หลังสิ้นสุดวิกฤติครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่แบรนด์อื่นๆ ในไทยควรได้เรียนรู้และปรับใช้ให้สอดคล้องกับธุรกิจตนเอง

ก่อนอื่นผู้ประกอบการต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้นำเสนอสินค้าบริการให้ตรงจุดและครบวงจร จากนั้นเดินหน้าสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ด้วยการมุ่งแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้า โดยการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Peugeot Thailand ที่มีการเปิด LINE Official Account ช่วยให้ลูกค้าสามารถจองซื้อรถยนต์ผู้บริหารป้ายแดง และนัดหมายส่งรถให้มาทดลองขับถึงบ้าน พร้อมสอบถามข้อมูลต่างๆ ได้เบ็ดเสร็จโดยไม่ต้องเดินทางมาที่โชว์รูม เช่นเดียวกับกรณีของ OneSiam และ HomePro ที่ใช้ LINE มาเป็นช่องทางการขายสินค้าแทนหน้าร้านที่จำเป็นต้องปิดให้บริการ รวมถึงเป็นช่องทางรักษาความสัมพันธ์และแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับไม่ใช่แค่การเพิ่มยอดขาย แต่เป็นการเพิ่มโซลูชันใหม่ๆ ให้กับธุรกิจด้วย

เริ่มต้นตอนนี้เพื่อโตต่อได้หลังผ่านวิกฤติ

คุณกฤษณะ งามสม ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณา LINE ประเทศไทย กล่าวว่า สองสิ่งที่ผู้ประกอบการควรเร่งลงมือทำเพื่อฟื้นฟูธุรกิจในอนาคตหลังสถานการณ์ดีขึ้นคือ 1) การสร้างพื้นฐานของช่องทางออนไลน์ให้แข็งแกร่ง และ 2) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค Online Merges with Offline (OMO) ซึ่งประสบการณ์ออฟไลน์จะกลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแรง (Build strong fundamental) โดยหากยิ่งมีจำนวนผู้ติดตามเยอะ ยิ่งทำให้มีข้อได้เปรียบในการขายสินค้า เพราะนั่นคือฐานข้อมูลหรือดาต้า ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปวิเคราะห์ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการขายได้มากกว่า

“LINE พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการ นักการตลาด และนักโฆษณาให้สามารถฟื้นฟูธุรกิจทั้งระหว่างและหลังจากสถานการณ์ช่วงวิกฤติโควิด-1นี้ไปด้วยกัน ด้วยโซลูชันโฆษณาและการตลาดต่างๆ ที่อยู่บน LINE ecosystem ที่เพียบพร้อม เชื่อถือได้ และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ สำหรับแพลตฟอร์มของ  LINE ผู้ประกอบการสามารถใช้ LINE Offical Account (OA) เป็นเครื่องมือเริ่มต้นในการสร้างฐานลูกค้า และสามารถพิจาณาใช้สติกเกอร์ ซึ่งมีต้นทุนต่ำในการเพิ่มจำนวนฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสามารถใช้ MyShop เป็นหน้าร้านในการช่วยปิดการขาย โดยขณะนี้ LINE กำลังเดินหน้าปรับรูปแบบและช่องทางการซื้อโฆษณาสำหรับเอสเอ็มอีให้ง่ายขึ้น โดยสามารถกำหนดงบประมาณที่จะสร้างฐานลูกค้าได้ผ่านระบบหลังบ้านได้ทันที” คุณกฤษณะ กล่าวเสริม

นอกจากนี้ LINE ยังแนะนำให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านการโฆษณาออนไลน์ที่สามารถช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ เช่น เครื่องมือการโฆษณาบนแพลตฟอร์ม LINE  ที่มีรูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การ LIVE บน LINE OA ซึ่งนับเป็นตัวช่วยสำคัญที่นอกจากจะเปลี่ยนกิจกรรมรูปแบบออฟไลน์มาสู่ออนไลน์ได้แล้ว ยังเป็นการดึงคนภายนอกให้เข้ามาเพิ่มเพื่อน มาเป็นลูกค้าและแหล่งข้อมูลสำคัญของเราใน LINE ได้อีกด้วย ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่มาใช้งานบน LINE Ads Platform (LAP) ซึ่งเป็นช่องทางสำหรับซื้อโฆษณาด้วยระบบ Bidding บนพื้นที่ต่างๆ ทั้งในหน้าแชท ไทม์ไลน์ และ LINE Today โดยระบบจะช่วยทำการแสดงผลโฆษณาให้ตอบโจทย์ผู้ประกอบการอย่างมีประสิทฺธิภาพสูงสุด นับเป็นการขยายฐานลูกค้าทั้งจากโลกออฟไลน์และออนไลน์เข้ามาไว้ที่เดียว

ทั้งนี้ LINE ยังได้สรุปหลักแนวคิดแนะนำสำหรับผู้ประกอบการว่า การทำธุรกิจควรเริ่มจากการมีฐานข้อมูลลูกค้าที่มากพอและมีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยการนำเสนอสินค้าได้ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายผ่านการโฆษณาที่เหมาะสม เพื่อการบริหารต้นทุนที่ดี ส่วนในกรณีที่ต้องการขายสินค้าที่เน้นปริมาณ ก็ควรพิจารณาเครื่องมือที่มีต้นทุนต่อการเข้าถึงต่ำ แต่ให้ผลตอบรับสูงสุด

#LINEforBusiness #ฝ่าวิกฤติโควิดกับLINE