ขยายธุรกิจไม่ใช่เรื่องยาก คำตอบอยู่ในกระเป๋าสตางค์ของคุณ

ผู้เขียน สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

ในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเห็นผู้คนหยิบบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตออกมาใช้แทนเงินสดสำหรับการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน  อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยยังมีแนวโน้มที่จะใช้บัตรพรีเพด (หรือบัตรเติมเงิน) สำหรับการใช้จ่ายที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยเมื่อเดินทางในต่างประเทศ  ด้วยเหตุนี้ จึงถือเป็นเรื่องปกติที่เราจะเห็นคนไทยพกบัตรสำหรับการใช้จ่ายแทนเงินสดหลายๆ ใบในกระเป๋าสตางค์ การชำระเงินดิจิทัลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของคนไทยจำนวนมาก  และแนวโน้มที่ว่านี้ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องสอดคล้องไปกับความแพร่หลายของกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) รวมถึงการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ไอโอทีต่างๆ

กระนั้น แนวโน้มดังกล่าวอาจไม่จริงเสมอไปสำหรับองค์กร และผู้ประกอบกิจการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เพิ่งเริ่มก้าวย่างเข้าสู่สังคมไร้เงินสด  ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ยังคงทำธุรกรรมผ่านเช็คและเงินสด โดยอาจมีเหตุผลมาจากการที่ยังไม่เข้าถึงข้อมูล และการรับรู้ถึงผลประโยชน์มากมายที่มาพร้อมกับบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเพื่อธุรกิจ

ประเทศไทยมีตัวเลขผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 300,000 รายโดยประมาณ สัดส่วนเทียบเท่า 43 เปอร์เซ็นต์1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ  ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้วางแผนการปฏิบัติงานโดยกำหนดวาระแห่งชาติที่เป็นแผนงานระยะยาวในการเปลี่ยนผ่านประเทศเข้าสู่สังคมดิจิทัล นั่นคือ กลยุทธ์ไทยแลนด์ 4.0  เพื่อมุ่งพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลในภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ การเกษตร การท่องเที่ยว การศึกษา การแพทย์ และการลงทุน

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและองค์กรต่างๆ มักนิยมใช้เช็คในการชำระเงิน เพราะมองว่าวิธีการนี้ สามารถช่วยยืดระยะเวลาในการชำระเงินให้กับซัพพลายเออร์ ซึ่งจะเสริมสภาพคล่องให้แก่กระแสเงินสดของบริษัทได้

ในความเป็นจริงแล้ว การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตองค์กรนั้นช่วยให้กระแสเงินสดมีความคล่องตัวได้ยิ่งกว่า เพราะผู้ประกอบการสามารถ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ได้ตามกำหนดเวลาปลอดดอกเบี้ยที่ผู้ให้บริการบัตรต่างๆ เสนอให้แก่ผู้ประกอบการ  ซึ่งในบางกรณีนั้นนานถึง 55 วันเลยทีเดียว

ยกตัวอย่างที่ประเทศสิงคโปร์  จากข้อมูลของวีซ่า ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตของผู้บริโภคในสิงคโปร์มีการใช้จ่ายในรูปแบบคล้ายคลึงกับการใช้จ่ายในเชิงของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี  จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนไม่น้อย ยังคงใช้บัตรส่วนตัวเพื่อชำระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอยู่

ส่วนสาเหตุนั้น มีความเป็นไปได้ที่เจ้าของธุรกิจบางรายนิยมเลือกใช้บัตรส่วนตัวเพื่อชำระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เพราะพวกเขายังอยากได้รับผลประโยชน์จากการรับคะแนนสะสมจากการใช้บัตรอยู่  หรือบางรายอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีตัวเลือกบัตรเครดิตองค์กรให้ใช้ด้วย และอีกจำนวนมากอาจไม่ได้รับการเสนอผลิตภัณฑ์นี้จากธนาคารที่บริษัทใช้บริการอยู่  ทั้งนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจว่าเมื่อธุรกิจมีการเติบโต  วงเงินสินเชื่อจากบัตรเครดิตส่วนบุคคลของเจ้าของกิจการ อาจจะไม่เหมาะสมกับความต้องการที่แท้จริงในการดำเนินการของธุรกิจนั้นๆ ก็เป็นได้

อนึ่ง มีข้อดีมากมายจากการใช้บัตรเครดิตองค์กรและยังช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี  องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และแม้แต่หน่วยงานภาครัฐ ที่สามารถช่วยในด้านการประหยัดเวลา เสริมความก้าวหน้าของธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการให้องค์กรเหล่านั้น

สำหรับวีซ่า เราสนับสนุนการเติบโตของผู้ประกอบธุรกิจในทุกๆ ที่ โดยยึดมั่นในวิสัยทัศน์ของเราที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ในการชำระเงินและได้รับการชำระเงินแบบไร้รอยต่อและปลอดภัยอย่างสูงสุด

ขณะที่การค้าขายมุ่งนำเสนอประสบการณ์การชำระเงินแบบไร้รอยต่อเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง  ธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยก็จำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป  รวมทั้งการยอมรับแนวคิดที่จะใช้ช่องทางดิจิทัลเป็นตัวเลือกอันดับแรก  ซึ่งรวมถึงการเลือกวิธีการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัล และการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจก้าวทันโลกที่เปลี่ยนไป พร้อมทั้งเติบโต และเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นในอนาคต

ความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับบัตรชำระเงินเพื่อธุรกิจ ได้แก่

  • ธุรกิจเสียผลประโยชน์:

เจ้าของกิจการเอสเอ็มอีมีความกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียผลประโยชน์ต่างๆ หากเลือกใช้บัตรเครดิตองค์กรอาทิ เครดิตเงินคืน และคะแนนสะสม  อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ควรทราบเป็นอย่างยิ่งว่าบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเพื่อธุรกิจให้ผลประโยชน์ที่คล้ายคลึงกัน หรือมากกว่าบัตรส่วนบุคคลด้วยซ้ำ

วีซ่าจับมือกับผู้ให้บริการต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อมอบส่วนลดให้กับผู้ถือบัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Grab, Lalamove, Seekster, Skootar, Fastwork, Servcorp, โรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลพญาไท เป็นต้น

โซลูชั่นดังกล่าวถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี  ที่ไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่ยังช่วยให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการย้ายขั้นตอนการชำระเงินมาทางดิจิทัล เพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น  ดำเนินการด้วยประสิทธิภาพสูงสุด หรือแม้แต่เพิ่มผลประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพให้กับพนักงานของบริษัทนั้นๆ อีกด้วย

  • ช่วยควบคุมกระแสเงินสดและสภาพคล่อง:

นอกจากความสะดวกสบายและความปลอดภัยที่จะได้รับจากการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลแล้ว เป็นที่น่าเสียดายที่เจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวนมากกลับมองข้ามการใช้บัตรเครดิตองค์กรเพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนธุรกิจและการจัดสรรงบประมาณ

ด้วยบัตรเครดิตองค์กรผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถขยายเวลาการค้างชำระและจัดการสินทรัพย์หมุนเวียนได้อย่างเหมาะสม  โดยเลือกใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยได้นานสูงสุดถึง 55 วันเพื่อเพิ่มกระแสเงินสดหมุนเวียนให้กับธุรกิจ

ยิ่งไปกว่านั้น  ในกระแสของการผลักดันให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล  ธนาคารบางแห่งยังได้ขึ้นค่าธรรมเนียมการออกเช็คเพื่อส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ลดการใช้เช็คเพื่อชำระเงิน  ซึ่งไม่รวมกับค่าใช้จ่ายที่ซ่อนอยู่สำหรับการออกเช็คโดยเจ้าของธุรกิจ เช่น บริการเดินเอกสารเพื่อรับและฝากเช็ค เป็นต้น  และแม้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็มีผลในการเพิ่มยอดในบัญชีงบดุลของธุรกิจได้  ด้วยเหตุนี้ เราจึงเชื่อว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรพิจารณาใช้บัตรชำระเงินเพื่อธุรกิจมากกว่าการชำระด้วยเช็ค เพื่อช่วยลดต้นทุน และประหยัดเวลาการดำเนินงานให้แก่บริษัท

  • ความกังวลว่าซัพพลายเออร์จะไม่รับชำระด้วยบัตร:

กล่าวกันว่าการรับบัตรในกลุ่มผู้ประกอบการอาจจะไม่เป็นที่แพร่หลาย ทั้งนี้ วีซ่าจึงได้มีการสนับสนุนการขยายการยอมรับของการใช้บัตรเพื่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานร่วมกันกับพันธมิตรต่างๆ ที่เรียกว่า ผู้ให้บริการโชลูชั่นการชำระเพื่อธุรกิจ (Business Payment Solution Providers: BPSP) เพื่อขยายการรับบัตรในกลุ่มซัพพลายเออร์ B2B

BPSP ในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพวกเขามีบทบาทในการผสานช่องว่างระหว่างผู้ซื้อและซัพพลายเออร์ ด้วยการเอื้อให้ผู้ซื้อสามารถชำระเงินด้วยบัตรเครดิตองค์กร โดยซัพพลายเออร์ก็สามารถได้รับการชำระเงินเข้าบัญชีของพวกเขาโดยตรงได้เช่นกัน และวิธีนี้ยังช่วยทำให้ขั้นตอนการพิสูจน์ยอดสำหรับผู้ซื้อและซัพพลายเออร์ง่ายดายยิ่งขึ้น ด้วยการส่งข้อมูลการชำระเงินไปให้ทั้งสองฝ่าย

  • การใช้บัตรชำระเงินเพื่อธุรกิจอย่างไม่ถูกต้อง:เจ้าของกิจการเอสเอ็มอีบางรายมีความกังวลว่าหากให้บัตรชำระเงินเพื่อธุรกิจกับพนักงานไปใช้ พวกเขาอาจนำบัตรไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง และทิ้งปัญหาไว้ให้เจ้าของกิจการรับผิดชอบ

ในความเป็นจริงการให้บัตรชำระเงินเพื่อธุรกิจแก่พนักงานไปใช้นั้น สามารถช่วยให้เจ้าของกิจการไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินคืนให้แก่พนักงานเมื่อถึงกำหนดสิ้นเดือน  ซึ่งเป็นการเสียเวลากับทั้งเจ้าของกิจการและพนักงาน

จากการศึกษาของวีซ่า2 ปัญหาการชำระเงินคืนถือเป็นประเด็นสำคัญของผู้ประกอบการมากมาย และ 34 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างกล่าวว่า พวกเขาประสบปัญหาในเรื่องกระแสเงินสดส่วนตัวไม่พอใช้ เนื่องจากนโยบายการคืนเงินค่าใช้จ่ายที่ล่าช้าของบริษัท

เพื่อให้มั่นใจว่าปัญหาการใช้บัตรชำระเงินเพื่อธุรกิจอย่างไม่ถูกต้องจะได้รับการแก้ไข วีซ่าสามารถร่วมมือกับผู้ออกบัตรชำระเงินเพื่อธุรกิจเพื่อผนวกเอาฟีเจอร์ควบคุมการทำธุรกรรมมาใช้ในการจัดการว่าบัตรชำระเงินเพื่อธุรกิจจะถูกนำมาใช้ได้อย่างไร เมื่อใด และที่ไหน  ซึ่งสามารถออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของบริษัทและนโยบาย อีกทั้งยังสามารถดึงข้อมูลมาเพื่อสร้างรายงานการใช้จ่าย เพื่อให้เจ้าของกิจการหรือเอสเอ็มอีได้ติดตามและสร้างความมั่นใจว่าบัตรชำระเงินเพื่อธุรกิจจะไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด  สิ่งนี้จะช่วยให้เจ้าของกิจการเอสเอ็มอีคลายความกังวล และพุ่งเป้าไปที่การขยายธุรกิจ

โดยสรุป เมื่อกล่าวถึงการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจ เจ้าของกิจการและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กำลังจะเป็นอีกกลุ่มที่จะได้รับผลประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยี ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถือเป็นอีกหนึ่งแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างชุมชนและการจ้างงาน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรต้องเริ่มเปิดรับการชำระแบบดิจิทัลที่จะช่วยให้พวกเขาได้ตระหนักถึงศักยภาพที่แท้จริงของพวกเขา โดยหนึ่งในคำตอบสำหรับสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจในอนาคตอาจเป็นบัตรใบเล็กๆ ในกระเป๋าสตางค์นั่นเอง