ดร. สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยโครงการ “สนับสนุนข้อมูลวิจัยเชิงลึกด้ านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)” สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิ ทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า นักวิทยาศาสตร์ในประเทศจีน (บริษัท Sinovac Biotech Ltd., Beijing, China.) ได้ผลิตวัคซีน PiCoVacc ซึ่งเป็นวัคซีนประเภทวัคซีนเชื้ อตาย (inactivated vaccine) ได้สำเร็จ และพบว่าวัคซีนสามารถกระตุ้ นการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกั นโรคโควิด-19 ในลิงสายพันธุ์ Rhesus Monkey หรือลิงวอกได้ วัคซีน PiCoVacc ได้มาจากการแยกเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ CN2 จากผู้ป่วยในประเทศจีน ซึ่งสายพันธุ์นี้มีความใกล้เคี ยงกับเชื้อไวรัสโคโรน่าที่ พบในค้างคาว โดยถูกแยกและนำมาเลี้ยงเพิ่ มจำนวนในจานเพาะเชื้อในห้องปฏิ บัติการ โดยใช้เซลล์ของมนุษย์เป็นเซลล์ เจ้าบ้าน หลังจากที่ไวรัสถูกนำมาเลี้ ยงและสามารถขยายพันธุ์ใน Vero cells (เซลล์เพาะเลี้ยงที่ได้ จากไตของลิง) ได้ดี จึงนำมาเลี้ยงเพิ่มในถังเลี้ ยงขนาดใหญ่ (Cell Factory System) จากนั้นนำไวรัสมาฆ่าให้ ตายโดยผสมกับสาร β-propiolactone จากนั้นนำมาทำให้บริสุทธิ์ด้ วยวิธี Depth Filtration และ Two Optimized Steps of Chromatography และได้วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อตาย ชื่อว่า “PiCoVacc”
หลังจากที่ผลิตวัคซีน PiCoVacc เป็นที่เรียบร้อย นักวิทยาศาสตร์ได้นำวัคซี นไปทดสอบความปลอดภัยและศึ กษาประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิ คุ้มกันในสัตว์ทดลอง 2 ชนิด
1. การทดสอบในหนูทดลอง นักวิทยาศาสตร์นำวัคซีน PiCoVacc ไปฉีดให้กับหนูทดลอง (Mus musculus สายพันธุ์ BALB/c) จำนวน 2 ครั้ง (วันที่ 0 และ วันที่ 7) ร่วมกับสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (adjuvant) ผลการศึกษาพบว่า หนูทดลองสร้างแอนติบอดี Immunoglobulin G (Ig G) ที่มีความจำเพาะต่อ S Protein ได้อย่างรวดเร็ว โดย IgG มีระดับสูงสุดภายในเวลา 6 สัปดาห์ และเมื่อนำ IgG จากเลือดหนูไปทดสอบประสิทธิ ภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้ อไวรัสในจานเพาะเชื้อ โดยใช้ Microneutralization Assays (MN50) พบว่าระบบภูมิคุ้มกันของหนูได้ สร้าง Neutralizing Antibody (NA) หรือ แอนติบอดีที่ยับยั้งเชื้อไวรั สได้ภายในสัปดาห์แรกหลังจากได้ รับวัคซีน
A closeup shot of a Rhesus macaque primate monkey sitting on a metal railing and eating something
2. การทดสอบในลิง ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้นำวัคซีน PiCoVacc ไปฉีดให้กับลิงวอก (Macaca mulatta) จำนวน 3 ครั้ง (วันที่ 0, 7 และ 14) โดยแบ่งลิงเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ได้วัคซีนขนาดสูงต่อครั้ ง หรือ high dose (6 ไมโครกรัม), กลุ่มที่ได้วัคซีนขนาดกลาง หรือ medium dose (3 ไมโครกรัม) และกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน ผลการศึกษาพบว่า ลิงที่ได้รับวัคซีนเริ่มสร้าง IgG ที่จำเพาะต่อโปรตีน S และสร้างแอนติบอดีที่ยับยั้งเชื้ อไวรัสได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 และระดับแอนติบอดีทั้งสองชนิดมี ค่าสูงสุดภายในสัปดาห์ที่ 3 และเมื่อนำลิงที่ได้รับวัคซี นเเล้วไปรับละอองฝอยที่มีไวรัส SARS-CoV-2 (challenge infection) พบว่า ลิงที่ได้รับวัคซีนแบบ high dose มีภูมิคุ้มกันที่สามารถกำจัดเชื้ อไวรัสในร่างกายได้หมดในเวลา 7 วัน โดยไม่พบเชื้อในคอหอย และปอด แสดงให้เห็นว่า วัคซีน PiCoVacc ป้องกันเชื้อโควิดได้อย่ างความปลอดภัย
ขณะนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้นำ PicoVacc มาฉีดให้ประชาชนทั่วไป เพื่อศึกษาประสิทธิ ภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกั นในมนุษย์ ตลอดจนศึกษาผลข้างเคียงที่ อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่เมษายน 2020 ที่ผ่านมา หากการทดสอบวัคซีนในขั้นที่ 1 ประสบความสำเร็จ (การทดสอบจะเสร็จสิ้นประมาณเดื อนธันวาคม 2020) ก็จะเป็นการทดสอบประสิทธิ ภาพของวัคซีนในขั้นที่ 2 และ 3 ต่อไปซึ่งต้องกินเวลาอีกอย่างน้ อย 12–18 เดือน ถ้าวัคซีนได้ผลดี เราน่าจะมีวัคซีนอย่างเร็วที่สุ ดประมาณในปี 2022
เอกสารอ้างอิง
Gao Q, Bao L, Mao H, Wang L, Xu K, Yang M, et al. Rapid development of an inactivated vaccine candidate for SARS-CoV-2. Science. 2020. doi: 10.1126/science.abc1932
Related