บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. นำส่งงบการเงินเฉพาะบริษัท และงบการเงินรวมสำหรับงวด 3 เดือน และงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชี และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบของ ปตท.แล้ว โดยผลการดำเนินงานตามงบการเงินรวม เป็นดังนี้
ในไตรมาส 2 ปี 2563 ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขาย จำนวน 341,325 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิของ ปตท.และบริษัทย่อยมีจำนวน 12,053 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2563 เปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2562
เมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2562 ปตท.และบริษทัย่อยมีรายได้ลดลงจำนวน 228,997 ล้านบาท หรือ 40.2% จากทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งจากราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายเฉลี่ยที่ลดลง EBITDA ลดลง 19,596 ล้านบาท หรือ 26.6% สาเหตุหลักจากธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่มีผลการดำเนินงานลดลงตามราคาขาย และปริมาณการขายที่ปรับตัวลดลง แม้ในไตรมาสนี้จะมีปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นของโครงการมาเลเซีย และกลุ่มพาร์เท็กซ์ (Partex) ซึ่งรับรู้ผลการดำเนินงานจากการเข้าซื้อธุรกิจตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2562 และไตรมาส 4 ปี 2562 ตามลำดับ
รวมถึงกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่มีผลการดำเนินงานลดลงโดยหลักจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายที่ลดลงตามราคาอ้างอิงในตลาดโลกที่ลดลง และปริมาณขายที่ลดลงตามการปิดซ่อมบำรุง และการปรับลดกำลังการผลิตดังกล่าวข้างต้น และธุรกิจค้นหา และจัดจำหน่ายก๊าซฯ เนื่องจากปริมาณขายโดยหลักจากกลุ่มลูกค้าโรงไฟฟ้าลดลง และราคาขายอ้างอิงราคาน้ำมันเตาลดลง และกลุ่มธุรกิจน้ำมันมีผลการดำเนินงานลดลงจากปริมาณขายที่ลดลงซึ่งเป็นผลกระทบจาก COVID-19
อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกจิการค้าระหว่างประเทศมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นโดยหลักจากการรักษาความสามารถในการสร้างผลกำไร และเพิ่มโอกาสทางการค้าข้ามทวีปและข้ามภูมิภาคในภาวะตลาดเอื้ออำนวย (Arbitrage Opportunity) ภายใต้การควบคุมความเสี่ยงทุกด้านอย่างรัดกุม และกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมี EBITDA ที่ดีขึ้นจากกำไรสต๊อกน้ามันใน 2Q2563 ตามราคาน้ำามันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น แม้ว่า Market GRM ปรับลดลงตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกับน้ามันดิบส่วนใหญ่ที่ลดลง อีกทั้งส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเช่นกัน
ปตท.และบริษัทย่อยใน 2Q2563 มีกำไรสุทธิลดลงจำนวน 13,885 ล้านบาท หรือ 53.5% ตาม EBITDA ที่ลดลงและมีขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของธุรกิจสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมในไตรมาสนี้ แม้ว่ามีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้สกุลต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นตามค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และค่าใช้จ่ายภาษีเงินไดที่ลดลง โดยหลักจากภาษีเงินได้ของธุรกิจสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมตามที่กล่าวข้างตน
ผลการดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2563 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562
ในช่วงคึ่รงแรกของปี 2563 ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายลดลงจากช่วงครึ่งแรกของปี 2562 จำนวน 296,304 ล้านบาท หรือ 26.4% จากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ ตามราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายเฉลี่ยที่ลดลง ยกเว้นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี และวิศวกรรมมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเข้าซื้อ บมจ. โกลว์พลังงาน (GLOW) ของ GPSC ในช่วงปลายไตรมาส 1 ปี 2562 ใน 1H2563 ปตท.และบริษัทย่อยมี EBITDA ลดลง 67,734ล้านบาท หรือ 43.9% จาก 1H2562
สำหรับกลุ่มธุรกิจน้ำมันมีผลการดำเนินงานลดลงเช่นกัน สาเหตุหลักจากขาดทุนสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และปริมาณขายที่ลดลงจากผลกระทบของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของกลุ่มเทคโนโลยี และวิศวกรรมปรับตัวดีขึ้นจากการเข้าซื้อ GLOW ของ GPSC ในช่วงปลาย 1Q2562 อีกทั้งกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นโดยหลักจากการรักษาความสามารถในการสร้างผลกำไร และเพิ่มโอกาสทางการค้าข้ามทวีป และข้ามภูมิภาคในภาวะตลาดเอื้ออำนวย (Arbitrage Opportunity) ภายใต้การควบคุมความเสี่ยงทุกด้านอย่างรัดกุม
ปตท.และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิใน 1H2563 จำนวน 10,499 ล้านบาท ลดลง 44,751 ล้านบาท หรือ 81% จากใน 1H2562 ตาม EBITDA ที่ลดลงรวมถึงค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม และของธุรกิจเทคโนโลยีและวิศวกรรมที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวข้างต้นรวมถึงใน 1H2563 มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากลดลงเงินกู้สกุลต่างประเทศตามค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และมีการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม แม้ว่าจะมีกำไรจากตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้นและค่าใชจ่ายภาษีเงินไดที่ลดลงตามผลการดำเนินงานที่ลดลงเป็นหลัก