3เอ็ม ประเทศไทย ผนึกกำลังโครงการอาเซียนรวมใจ บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยโควิด-19

3เอ็ม ร่วมกับ องค์กรยูไนเต็ดเวย์ (United Way Worldwide) มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)และ คอมมูนิตี้ เชส ออฟ โคเรีย (Community Chest of Korea) จัดตั้งโครงการอาเซียนรวมใจบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในชุมชนที่ขาดแคลนอาหารและประสบปัญหาด้านสุขอนามัยในประเทศมาเลเซีย ประเทศเมียนมาร์ และประเทศไทย โดยประเทศไทย ได้รับเงินสนุนกว่า 2.6 ล้านบาทสำหรับโครงการดังกล่าว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง ทำให้ประชากรจำนวนมาก ประสบกับภาวะความยากจนและความไม่มั่นคงทางด้านอาหาร ทั้งนี้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ได้ประเมินว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและการเลี้ยงชีพของแรงงานนอกระบบจำนวน 218 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 67 ของการจ้างแรงงานทั้งหมดในภูมิภาคและยิ่งไปกว่านั้นทางธนาคารโลก (World Bank) ได้ประเมินสถานการณ์ว่า ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวจะผลักดันให้ประชากรเผชิญกับภาวะยากจนเพิ่มขึ้นถึง 11 ล้านคน

โครงการในระยะแรกจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เข้าถึงอาหารและสุขอนามัยพื้นฐานต่างๆ สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง เช่น ครอบครัวที่มีเด็ก คนพิการ ผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้อพยพ ผู้ลี้ภัยสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ในประเทศมาเลเซีย ประเทศเมียนมาร์และประเทศไทยโดยให้ทุนสนับสนุนผ่านองค์กรการกุศลในประเทศเหล่านั้นที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศและทั่วภูมิภาคเพื่อสร้างการตระหนักรู้และให้ข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองให้พ้นจากเชื้อไวรัสโควิด-19 และการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ

โจเซ่ เปโดร เฟราว (José Pedro Ferrão) ประธานองค์กรยูไนเต็ดเวย์ (United Way Worldwide) กล่าวว่า “รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในชุมชนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19การแพร่ระบาดครั้งนี้เป็นความท้าทายครั้งใหม่ของมวลมนุษยชาติ แต่ยังมีความเชื่อมั่นว่าพวกเราจะสามารถรองรับการช่วยเหลือด้านอาหารและด้านอื่นๆด้วยการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนได้ และยินดีร่วมงานกับมูลนิธิอาเซียน(ASEAN Foundation)เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยจนสามารถฟื้นตัวได้ในระยะยาว”

มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) และองค์กรยูไนเต็ดเวย์ (United Way Worldwide) จะร่วมมือกับองค์กรการกุศลในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย เพื่อนำทุนช่วยเหลือจำนวน USD 160,000 ที่ได้รับจากองค์กร 3เอ็มมาจัดสรรให้ผู้ประสบภัยในชุมชนกว่า 5,000 ครัวเรือนในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย และสร้างความมั่นใจได้ว่าความช่วยเหลือดังกล่าวจะส่งไปถึงผู้ประสบภัยของทั้ง 2 ประเทศอย่างแท้จริง

นางวิยะดา ศรีนาคนันทน์ ประธานบริหารบริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “บริษัทฯ ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จะให้ความช่วยเหลือชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตโครงการความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งในทุนจำนวน USD 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่บริษัท 3เอ็ม สำนักงานใหญ่ ได้บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิด-19 ทั่วโลก และเรารู้สึกซาบซึ้งใจอย่างยิ่งที่เงินบางส่วน จะถูกนำมาสนับสนุนช่วยผู้ประสบภัยในประเทศมาเลเซียและไทยในช่วงเวลาที่ยากลำบาก โดยประเทศไทยได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 2.6 ล้านบาท”

ทั้งนี้โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศเมียนมาร์ได้รับทุนช่วยเหลือจำนวน USD 30,000 จาก Community Chest of Korea ประเทศเกาหลี โดยจะทำงานร่วมกับองค์กรการกุศลเพื่อนำอาหาร อุปกรณ์สุขอนามัย และข้อมูลความรู้ด้านการป้องกันโควิด-19 นำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจำนวน 1,700 คน

ยอน ซอน คิม (Yean-sun Kim) เลขาธิการ คอมมูนิตี้ เชส ออฟ โคเรีย (Community Chest of Korea) กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นโอกาสอันมีค่าอย่างยิ่งที่ทำให้พวกเราได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในชุมชนเมียนมาร์ที่ต้องประสบความเดือดร้อนจากภาวะขาดแคลนอาหารจากวิกฤตโควิด-19ในครั้งนี้ และความร่วมมือที่เกิดขึ้นกับองค์กรยูไนเต็ดเวย์ (United Way Worldwide) ทำให้เกิดการระดมทุนแนวทางการพึ่งพาตนเองและการสร้างศูนย์รวมแห่งการแบ่งปันอย่างยั่งยืนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีความยินดีที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความร่วมมือในภาคสังคมในการช่วยเหลือชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19”

โครงการอาเซียนรวมใจบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยโควิด-19 เป็นผลมาจากการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 ที่ให้ความสำคัญของความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในอาเซียนเพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคชนิดใหม่ที่กระจายเป็นวงกว้างทั่วโลก

ดร.หยาง มี่อิง ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า “โครงการอาเซียนรวมใจ ได้พยายามสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับนานาชาติและระดับท้องถิ่น เพื่อร่วมกันส่งความช่วยเหลือให้ไปถึงผู้ประสบภัยโควิด-19 อย่างแท้จริง”

องค์กรความร่วมมือในโครงการอาเซียนรวมใจบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยโควิด-19

เกี่ยวกับ 3เอ็ม

ที่ 3เอ็ม เราใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงชีวิตประจำวัน ด้วยยอดขาย 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และพนักงาน 96,000 คนเพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้าทั่วโลก

เกี่ยวกับองค์กรการกุศล Community Chest of Korea (CCK)

องค์กรการกุศล Community Chest of Korea (CCK) ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของเกาหลีที่รัฐบาลอนุมัติภายในเกาหลีเท่านั้นและเป็นสถาบันสวัสดิการที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีและด้วยความพยายามระดมทุนจากชุมชนในการสนับสนุนศูนย์สวัสดิการต่างๆ มาตลอด 20 ปี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมเกาหลีโดยอาศัยความสมัครใจของประชาชน Community Chest of Korea (CCK) เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อการกุศลในประเทศเกาหลีด้วยผลงานที่เป็นรูปธรรม และการก้าวไปข้างหน้าร่วมกันกับพันธมิตรและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรและองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น สัญลักษณ์ขององค์กร คือ “ผลแห่งความรัก” หมายถึง ตัวฉัน ครอบครัวของฉัน และคนรอบข้างของฉัน วิสัยทัศน์ คือ การสร้างสังคมที่เอื้ออาทรร่วมกัน

เกี่ยวกับองค์กรยูไนเต็ดเวย์ (The United Way)

องค์กร United Way ต่อสู้เพื่อสุขภาพ การศึกษา และความมั่นคงทางการเงินของทุกคนในทุกชุมชน องค์กร United Way ได้รับการสนับสนุนจากอาสาสมัครจำนวน 2.9 ล้านคน มีผู้บริจาคจากทั่วโลกอีกจำนวน 8.1 ล้านคน และระดมทุนได้ 4.8 พันล้านดอลลาร์  องค์กร United Way เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนรายใหญ่ที่สุดในโลก องค์กร United Way มีส่วนร่วมในชุมชนเกือบ 1,800 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในมากกว่า 40 ประเทศและดินแดนทั่วโลกเพื่อสร้างแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต่อความท้าทายที่ชุมชนของเราต้องเผชิญ. พันธมิตรของ United Way ประกอบด้วยธุรกิจระดับโลก ธุรกิจระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร รัฐบาล องค์กรพลเมืองและสถาบันศาสนา ตลอดจนนักวิชาการศึกษา ผู้นำแรงงาน ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุ นักเรียนและอื่นๆ

เกี่ยวกับมูลนิธิอาเซียน (The ASEAN Foundation)

กว่าสามทศวรรษหลังจากที่อาเซียนก่อตั้งขึ้น ผู้นำของอาเซียนยอมรับว่า ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศในอาเซียน และการติดต่อกันระหว่างประชาชนในอาเซียนนั้นยังมีความไม่เท่าเทียม และไม่ทั่วถึงกันอยู่ มันจึงเป็นความกังวล ผู้นำอาเซียนจึงได้จัดตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้นในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครบรอบ 30 ปี ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540

มูลนิธิอาเซียนเป็นองค์กรเพื่อประชาชนในอาเซียน มูลนิธิสามารถดำรงอยู่ได้ตามวิสัยทัศน์เดียว คือ เพื่อสร้างประชาคมอาเซียนที่มั่นคงและมั่งคั่ง ในฐานะหน่วยงานของอาเซียนมูลนิธิได้รับมอบหมายให้สนับสนุนอาเซียนเป็นหลักในการส่งเสริมการรับรู้อัตลักษณ์ ปฏิสัมพันธ์ และการพัฒนาประชาชนในอาเซียน การสร้างจิตสำนึกของความเป็นอาเซียนในหมู่ประชาชนและเพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม/โครงการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกอาเซียนอย่างเท่าเทียมกัน