ปัจจุบัน “ปัญหาการนอน” ไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ ส่งผลให้ “การนอนไม่มีประสิทธิภาพ”กลายเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของคนทำงานซึ่งต้องเผชิญกับวิถีชีวิตที่เร่งรีบ แข่งขันสูง ทำงานไม่เป็นเวลา และยังมีภาวะเศรษฐกิจมาเป็นตัวบีบรัด ในขณะกลุ่มผู้สูงวัยเมื่ออายุมากขึ้น “ปัญหาการนอน” มักเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง
เทรนด์การดูแลสุขภาพเริ่มเห็นชัดเจนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ จนเกิด“กระแสรักสุขภาพ” รวมทั้งมีความตระหนักมากขึ้นหลังจากการเกิดโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ผู้คนหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเองและครอบครัวจริงจังมากขึ้น
จากการสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข พบคนไทย 30% หรือประมาณ 19 ล้านคน นอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่งโมง ซึ่งสอดคล้องกับประชากรโลกที่มีชั่วโมงการนอนหลับใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ข้อมูลการสำรวจผู้คนใน 5 ประเทศ จีน ฮ่องกง สิงค์โปร์ มาเลเซีย และประเทศไทยของกลุ่มบริษัทเอไอเอ พบว่าคนไทย 61% นอนหลับเพียง 6 ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น โดย 55% ของคนกลุ่มนี้กังวลว่าจะนอนไม่พอและต้องหาเวลาในการนอนมากขึ้น อีกส่วนรู้สึกไม่พอใจกับคุณภาพการนอนของตนเอง และ 73% รู้สึกว่าการได้นอนเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั่วโมง ช่วยให้มีอารมณ์ดีและกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น
“ปัญหาการนอน” เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการหลงลืม เบลอ สมองไม่แล่น อ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดเวลา ไม่สดชื่น และคนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามสัญญาณเตือนเริ่มต้นของสุขภาพและคิดว่าเกิดจากความเครียดสะสม จนกลายเป็นความเจ็บป่วยด้วยหลายโรค เช่น โรคร่างกายขาดออกซิเจนอ่อนเพลีย ความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคหัวใจวาย โรคปอดอักเสบ และอัมพฤกษ์ อัมพาตและอีกหลายโรคตามมา
สถิติของ RAND Corporation ชี้ให้เห็นว่า คนที่มีเวลานอนในแต่ละวันน้อยกว่า 6 ชั่วโมง จะต้องสูญเสียเวลาในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับการหยุดงานไปเป็นเวลา 6 วันต่อปี นั้นหมายความว่า นอนที่ไม่เพียงพอ นอกจากจะผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง นั่นหมายถึงผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในทางอ้อมได้อีกด้วย การนอนเป็นเรื่องสำคัญและเป็นการลงทุนที่ชาญฉลาด” เพราะหากมีสุขภาพดีจากการนอน ประสิทธิภาพของคนก็จะเพิ่มขึ้น ปัญหาสุขภาพลดลง คุณภาพชีวิตไม่ดี นำไปสู่การไร้เสถียรภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่งผลให้ปัญหาการนอนไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป
จากปัญหาสุขภาพ สู่ปัญหาเศรษฐกิจทางอ้อม ผู้เล่นในตลาดหลายรายมองเห็นโอกาสในปัญหานี้และกระโดดเข้ามาเล่นใน “ตลาดคนนอนไม่หลับ” หรือ “Sleep Market” กลายเป็นตลาดที่มีโอกาส ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและบริการช่วยเรื่องการนอน เผยในปี 2019 อุตสาหกรรมที่ช่วยเรื่องการนอนไม่หลับในตลาดโลกมีมูลค่าโดยรวมราว 2.4 ล้านล้านบาท อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยา อาหารเสริม มีมูลค่าอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาท และกลุ่มเทคโนโลยีเครื่องนอน และแอปพลิเคชั่นที่ช่วยเรื่องการนอนหลับมีมูลค่าอยู่ที่ 0.3 ล้านล้านบาท ในแง่ตลาดรวมปี 2030 ตลาดนี้จะมีมูลค่า เป็น 4.2 ล้านล้านบาท ด้วยการเติบโตเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 7.1% ระหว่างปี 2020-2030 ปัจจุบันกลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ ที่เข้ามาทำตลาดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยา อาหารเสริม ที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ ตัวอย่างเช่น Sanofi บริษัทวิจัยและผลิตยา จากประเทศฝรั่งเศส Merck & Co บริษัทยา จากประเทศสหรัฐอเมริกา Pfizer บริษัทวิจัยและผลิตยา จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
“ตลาดนอนไม่หลับ ในประเทศไทยเดิมที่จำกัดอยู่ในกลุ่มผู้สูงวัย อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มขยายวงกว้างออกไปในกลุ่มคนทำงานและวัยรุ่น เนื่องด้วยสังคมไทยไหลเข้าสู่วิถีชีวิตเร่งรีบมากขึ้น เผชิญกับความกดดันทางสังคมและเศรษฐกิจมากขึ้น ในขณะที่คนไทยตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับตลาดนี้ในประเทศไทยเริ่มตื่นตัว ส่งผลให้ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะสินค้าประเทศวิตามินอาหารเสริมเพื่อช่วยเรื่องการนอน สินค้าในกลุ่มสมุนไพรและสารสกัดจากธรรมชาติ ประกอบกับผู้บริโภคไทยฉลาดซื้อมากขึ้น มองหาสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัยเชื่อถือได้ โดยจะเลือกสินค้าที่มีเครื่องหมาย อย. หาข้อมูลสินค้าและสรรพคุณอย่างละเอียดก่อนซื้อมากขึ้น” นายธนา ภูโชคอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ อมาโด้ (amado) กล่าว
ทั้งนี้ อมาโด้พัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใหม่ “อมาโด้ บี-ลินซ์” (AMADO B-LiNZ) ช่วยเรื่องการนอน โดยมีส่วนผสมจากสมุนไพรธรรมชาติ ผลิตจากเห็ดหลินจือ น้ำมันจมูกข้าว สารสกัดจากมะระขี้นก สารสกัดจากข้าว วิตามินบีรวม และแอล-ธีอะนีน ช่วยให้นอนหลับได้ลึกและดีขึ้น พร้อมทั้งบำรุงระบบร่างกาย สำหรับตอบโจทย์ ตลาด “คนนอนไม่หลับ” ในประเทศไทย
การนอนหลับมากขึ้นในปริมาณที่เพียงพอไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง หรือนอนหลับเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมงจากเวลานอนเดิม จะส่งผลดีต่อหัวใจ สมองปลอดโปร่งทำงานได้ดีขึ้น สมาธิดีขึ้น สดใสมากขึ้น ผิวพรรณดี ช่วยชะลอวัย เล่นกีฬาได้ดีขึ้น ระบบเผาผลาญของร่างกายดีขึ้น เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย เจ็บป่วยน้อยลง และทำให้ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดัน และโรคอื่น ๆ ส่งผลให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีและยาวนานขึ้น เมื่อคนมีประสิทธิภาพ ก็นับเป็นปัจจัยหนุนทางอ้อมที่ส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “อมาโด้ บี-ลินซ์” ได้ที่ https://www.amadogroup.co.th