Haier ผนึก SEAC เสริมความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระดับโลก จัดตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ (HMI) ร่วมกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) จัดตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างผู้นำด้านนวัตกรรมองค์กรและการเรียนรู้เชิงประยุกต์ระดับภูมิภาค ก่อเกิดเป็นประโยชน์ในการต่อยอดสำหรับองค์กรรวมไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในอนาคต

เมืองชิงเต่า สาธารณรัฐประชาชนจีน และ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กลุ่มบริษัทไฮเออร์ (Haier) และ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในระดับประเทศและภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อดำเนินโครงการให้องค์กรขนาดเล็กและใหญ่สามารถบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนทางธุรกิจ ผ่านการออกแบบองค์กร การจัดการนวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือครั้งนี้เกิดจากการผนึกกำลังของสององค์กรชั้นนำที่ต้องการสร้างสรรค์ระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และเสริมศักยภาพความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศไทย รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มร.จาง รุ่ยหมิ่น ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทไฮเออร์ กล่าวว่า ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้ เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ (HMI) และศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ที่ต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ก่อเกิดคุณค่าทั้งตัวองค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องของทั้งสององค์กร ซึ่งได้วางเป้าหมายร่วมกัน คือ การยกระดับคุณค่าของ ทั้งสององค์กร โดยการสร้างพันธมิตรในระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ ผ่านความร่วมมือและการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไร้ขีดจำกั

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “SEAC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมงานกับ สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ปรับให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละองค์กร เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมให้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น ผ่านความเป็นผู้นำองค์กร ซึ่งวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ และเร่งการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ด้านการจัดส่งสินค้า การปฏิรูปห่วงโซ่อุปทาน จนเกิดเป็นความท้าทายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และต่อการศึกษาของประเทศไทย ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลของลูกค้า ทำให้เราค้นพบโอกาสในการก่อตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเปิดโอกาสให้องค์กรระดับภูมิภาคเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ผ่านการวางแผน และรังสรรค์นวัตกรรมในระดับองค์กร เพื่อให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ได้ พร้อมทั้งสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และเสริมศักยภาพความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศไทย รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เกี่ยวกับ Haier

กลุ่มบริษัทไฮเออร์ ผู้นำด้านการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของโลก โดยบริษัทมีรายได้รวมทั่วโลกกว่ 38,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีกำไรกว่า 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2562 กลุ่มบริษัทไฮเออร์มีพันธกิจที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของกลุ่มลูกค้าทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทไฮเออร์ถูกขนานนามโดย Euromonitor International ว่า เป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า อันดับหนึ่งของโลก อีกทั้งในปี พ.ศ. 2555 Boston Consulting Group ยังได้จัดอันดับไฮเออร์ให้เป็นหนึ่งในสิบบริษัทที่โดดเด่นในด้านนวัตกรรมมากที่สุดของโลก และยังเป็นบริษัทที่มีความคิดริเริ่มมากที่สุดในด้านค้าปลีกและผู้บริโภค สำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ ณ เมืองชิงเต่า สาธารณรัฐประชาชนจีน อีกทั้ง ยังมีสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาค ณ กรุงปารีส และมหานครนิวยอร์ก เพื่อให้บริการลูกค้าในยุโรปและสหรัฐอเมริกา บริษัทก่อตั้งศูนย์วิจัย “RenDanHeyi” 6 แห่ง บริษัทจัดหาสินค้าแบบครบวงจร 66 แห่ง และนิคมอุตสาหกรรมอีก 21 แห่งทั่วโลก นอกจากนั้นยังมีนิคมอุตสาหกรรมอีก แห่ง และโรงงานผลิตอีก แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในประเทศไทย

ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของบริษัทไฮเออร์เกิดจากหลักปรัชญาและหลักการที่เรียกว่า “Rendanheyi” คำว่า “Ren” หมายถึง พนักงาน ซึ่งในนิยามที่กว้างกว่านั้น “Ren” สื่อถึงบุคคลใดก็ได้ ไม่ว่าจะในหรือนอกองค์กร กล่าวคือผู้ที่มีศักยภาพสำหรับตำแหน่งในบริษัท พนักงานมิได้เป็นเพียงผู้ปฏิบัติงานหรือรับคำสั่ง แต่เป็นผู้ประกอบการและพันธมิตรที่ได้รับสิทธิ์ ข้อ ได้แก่ สิทธิ์ในการตัดสินใจในองค์กร สิทธิ์ด้านทรัพยากรบุคคล และ สิทธิ์ในการใช้ทรัพยากร คำว่า “Dan” หมายถึง คุณค่า ซึ่งก็มีคำจำกัดความหลายมิติเช่นกัน ประการแรก ทุกคนจะต้องแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่ง คุณค่า แทนที่จะเป็นการได้รับมอบหมายหรือรับคำสั่งจากหัวหน้างาน ประการสอง “Dan” คือ งานที่ขับเคลื่อนมุ่งบรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน ส่วนคำว่า “Heyi” หมายถึง การบูรณาการระหว่างคุณค่าของพนักงานและคุณค่าที่ผู้ใช้ได้รับ พนักงานทุกคนจะต้องเข้าใจคุณค่าของตนผ่านการสร้างคุณค่าให้กับผู้ใช้ และในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา หลักการ “Rendanheyi” ได้รับการยอมรับโดยผู้เชี่ยวชาญและองค์กรชั้นนำระดับโลก และได้รับการขนานนามว่า เป็นรูปแบบการจัดการแบบ Disruptive ที่แท้จริงโมเดลแรกของโลก นับตั้งแต่การปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

เกี่ยวกับสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์

สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ คือ มันสมองของกลุ่มบริษัทไฮเออร์ที่มุ่งเน้นด้านการวิจัยและสนับสนุนโมเดล “Rendanheyi” โดยสถาบันมีบทบาทสำคัญในฐานะแพลตฟอร์มที่เชื่อมมันสมองด้านการวิจัยสมัยใหม่ ในแง่ของการสร้างนวัตกรรม การอบรม และการให้คำปรึกษา เพื่อก่อให้เกิดรูปแบบการวิจัยเชิงประยุกต์ใหม่ๆ สำหรับนวัตกรรมและกระบวนทัศน์ด้านการจัดการ และความเป็นผู้นำในยุค Internet of Things (IoT) สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ยังมุ่งมั่นที่จะเติบโตในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่หยุดยั้งที่จะสร้างจุดยืนในตลาดโลกและสนับสนุนระบบนิเวศทางธุรกิจที่ออกแบบมา เพื่อการสร้างสรรค์คุณค่าที่เอื้อประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน หลักการ “Rendanheyi” และการจัดการนวัตกรรม คือ พื้นฐานของกลยุทธ์โดยรวมของไฮเออร์ ในขณะที่สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์คือแกนกลางการวิจัยระบบนิเวศและหลักปฏิบัติขององค์กร ความร่วมมือในการก่อตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับ SEAC นั้น มีเป้าประสงค์เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญในโมเดล “Rendanheyi” เพื่อสร้างสรรค์ชุมชนนักปฏิบัติที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านการจัดการให้เหมาะสมกับธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์: http://www.rendanheyi.com/home

เกี่ยวกับศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (IMRC)

IMRC เกิดจากความร่วมมือของ SEAC และสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อให้องค์กรตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงผลลัพธ์ กลยุทธ์ ทรัพยากรบุคคล ศักยภาพระดับองค์กร นวัตกรรมการจัดการด้านทรัพยากรบุคคล และโมเดลธุรกิจแบบผสมผสาน IMRC สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้และการให้คำปรึกษาสำหรับผู้บริหาร ตลอดจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการนวัตกรรม และนักวิชาการด้านความเป็นผู้นำระดับองค์กร เพื่อให้เข้าใจถึงโมเดลการบริหารที่หลากหลาย เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบธุรกิจ นอกจากนั้น SEAC ยังมุ่งมั่นที่จะผนึกกำลังกับสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ในการยกระดับศักยภาพองค์กรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในทันที ก่อให้เกิดความสามารถอย่างมืออาชีพสู่การสร้างสรรค์ผลงานอย่างยั่งยืน

เกี่ยวกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC)

SEAC คือผู้นำในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยมีจุดมุ่งมั่นหลักคือ เติมเต็มทุกเป้าหมายของการใช้ชีวิตให้สมบูรณ์แบบผ่านการเรียนรู้ ตลอดระยะเวลากว่า ทศวรรษ SEAC ได้สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้ผู้เรียนกว่า 1.5 ล้านคนจาก 1,000 กว่าองค์กร ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เมื่อ 2 ปีที่แล้ว SEAC ได้กำหนดพันธกิจหลักที่จะยกระดับศักยภาพองค์กรในระดับประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ตอบสนองความต้องการต่อโลกเศรษฐกิจดิจิตอลรูปแบบใหม่

SEAC เดินหน้าขับเคลื่อนพันธกิจยกระดับและพัฒนาศักยภาพในตัวมนุษย์ทุกช่วงวัย และทุกๆ ภาคธุรกิจ พร้อมสร้างความร่วมมือกับผู้นำด้านความคิดและผู้สร้างนวัตกรรมระดับโลก เฉกเช่นเดียวกับ กลุ่มบริษัทไฮเออร์ที่มีเป้าหมายเดียวกัน ดังนั้น การพัฒนาและต่อยอดสินค้าและบริการของ SEAC จึงตอบโจทย์การสร้าง Lifelong Learning Ecosystem ภายใต้แพลตฟอร์ม “YourNextU” ซึ่งเป็นโมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสานในรูปแบบระบบสมาชิก นอกจากนั้น ยังมีการเรียนรู้แบบ Contextualized ที่ปรับให้เหมาะสมตามบริบท ที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กรผ่านความเป็นผู้นำ นวัตกรรม และความคล่องตัว

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC): www.seasiacenter.com.